สวัสดิการพนักงานที่ลูกจ้างควรรู้มีอะไรบ้าง?
ใคร ๆ ก็บอกว่า คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก โดยเฉพาะกับสถานที่ทำงาน! หากโชคดีนอกจากได้เงินเดือนที่ใจฝันแล้ว เจ้านายดี สวัสดิการพนักงานดีคงยิ่งกว่าสวรรค์! แล้วแบบไหนละที่เรียกว่าสวัสดิการดี เป็นไปตามสวัสดิการพนักงาน ตามกฎหมายแรงงาน มีสิทธิ์ลูกจ้างอะไรบ้างที่ควรรู้ มาตามเช็กลิสต์ไปพร้อม ๆ กับ แรบบิท แคร์ ดีกว่า!
รวมมิตรสวัสดิการพนักงานที่ไม่ควรพลาด
รู้หรือไม่ ? สิทธิ์ลูกจ้างพื้นฐานที่กระทรวงแรงงานได้กำหนดให้นายจ้างต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อป้องกันลูกจ้างถูกเอารัดเอาเปรียบไว้มากมาย โดยสวัสดิการพนักงาน ตามกฎหมายแรงงาน หลัก ๆ ที่เราควรรู้ มีดังนี้
ระยะเวลาการทำงาน และการพักผ่อนของลูกจ้าง
ตาม กฏหมายแรงงาน กำหนดเอาไว้ว่า ลูกจ้างต้องมีเวลาพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ภายหลังจากที่เริ่มทำงานไปแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง และกำหนดระยะเวลาต่าง ๆ ไว้ตามงาน ดังนี้
- งานด้านพาณิชกรรม หรืองานอื่น ๆ ทั่ว ไประยะเวลาในการทำงานวันละไม่เกิน 9 ชั่วโมง แต่สัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 48 ชั่วโมง
- งานด้านอุตสาหกรรม ไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง
- งานขนส่ง ไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง
- งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายตามที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดไว้ ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง
ส่วนการกำหนดวันหยุด และค่าทำงานในวันหยุด ได้กำหนดไว้ว่าง
- ใน 1 สัปดาห์ ต้องมีวันหยุดอย่างน้อย 1 วัน โดยวันหยุดต้องห่างกันไม่เกิน 6 วัน
- ใน 1 ปี ลูกจ้างมีสิทธิหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่า 13 วัน
- ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปี มีสิทธิลาพักร้อนได้อย่างน้อย 6 วัน
สวัสดิการพนักงานในเรื่องการลา
เบื้องต้นแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้ ไม่เกิน 30 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ และหากการลาป่วยนั้นเกินกว่า 3 วัน นายจ้างจึงจะมีสิทธิขอดูใบรับรองแพทย์จากลูกจ้าง หากลูกจ้างไม่สามารถแสดงใบรับรองแพทย์ได้ ลูกจ้างสามารถแจ้งเป็นกรณีไป
นอกจากนี้ สวัสดิการพนักงาน ตามกฎหมายแรงงาน ก็ได้กำหนดเรื่องระยะเวลาอื่น ๆ ไว้ว่า
- ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์สามารถลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ 45 วัน และจากรับจากประกันสังคมอีก 45 วัน หากลูกจ้างมาทำงานก่อนกำหนดลาคลอด 90 วัน ในวันที่มาทำงานนั้นให้จ่ายค่าจ้างตามจำนวนวันที่มาทำงาน
- ลูกจ้างมีสิทธิทำหมันและหยุดทำงานได้ ตามคำวินิจฉัยของแพทย์ และจะได้รับค่าจ้างตามปกติ
- ลูกจ้างสามารถลากิจเพื่อกิจธุระอันจำเป็นโดยได้รับค่าจ้างตามปกติ
- ลูกจ้างที่แจ้งลาเพื่อรับราชการทหาร ไม่เกินปีละ 60 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ
- ลูกจ้างที่แจ้งลาเพื่อฝึกอบรม สามารถทำได้ โดยการจ่ายค่าจ้างจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด
เรื่องเงิน ๆ ระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง
สำหรับค่าจ้างทั้งรายวัน หรือรายนั้นนั้น นายจ้างจะต้องจ่ายเป็นเงินเท่านั้น โดยจำนวนเงินต้องไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด โดยอาจคำนวณตามผลงานที่ทำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งปัจจุบัน ปรับเป็น 300 บาท/วัน
- วันหยุดประจำปี วันหยุดประจำสัปดาห์ วันลาป่วย และวันลาพักร้อน ลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้าง
- วันลาอื่น ๆ ลูกจ้างจะมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างตามกำหนดของแต่ละชนิดวันลา เช่น ลาคลอด ได้รับค่าจ้าง 45 วัน, ลารับราชการทหาร ได้รับค่าจ้าง 60 วัน เป็นต้น
และทางนายจ้างไม่สามารถจ่ายค่าจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนดไว้ได้โดยเด็ดขาด ยกเว้นลูกจ้างอยู่ในช่วงทดลองงาน แต่ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอัตราค่าจ้างในระหว่างทดลองนี้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
นอกจากนี้ ในกรณีที่นายจ้างแจ้งปรับลดเงินเดือน สามารถแจ้งปรับลดเงินเดือนได้เพียงร้อยละ 25 จากเงินเดือน เช่น คุณใส่ใจได้รับเงินเดือน 30,000 บาท หากถูกแจ้งปรับลดเงินเดือนจากนายจ้าง จะต้องได้เงินเดือนที่ถุกปรับลดไม่ต่ำกว่า 22,500 บาท
การจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้าง
ตามกฎหมายแรงงานได้ระบุถึง กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย ถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง นายจ้างจำเป็นต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างตามนี้
- กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 50,000 บาท และถ้าในกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้ป่วยใน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ให้นายจ้างจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ 1,300 บาท
- กรณีทุพพลภาพเนื่องจากการทำงาน
ลูกจ้างจะได้รับ ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนจำนวน 60% ของค่าจ้างรายเดือน ในกรณีไม่สามารถทำงานได้เกิน 3 วัน และค่าทดแทน 60% ของค่าจ้างรายเดือน ในกรณีทุพพลภาพเป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี และหากจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ก็จะได้รับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพด้วย
- กรณีตายหรือสูญหายจากการทำงาน
โดยนับแต่วันที่เกิดเหตุ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน ทางญาติของลูกจ้างจะได้รับ ค่าทำศพ จำนวน 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน, ค่าทดแทนของค่าจ้างรายเดือนในอัตรา 60% ของค่าจ้างรายเดือน มีกำหนด 8 ปี (จ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด)
แล้วจะทำอย่างไร ถ้าเกิดว่างงาน อยากได้เงินจากประกันสังคม
อย่างที่หลายคนอาจจะทราบกันดีว่า ในกรณีที่ต้องออกจากงาน และยังอยู่ในช่วงเวลาว่างงานอยู่นั้น เราสามารถขอรับเงินสมทบจากประกันสังคมที่จ่ายไปทุก ๆ ปี สมัยที่ยังถูกจ้างงานอยู่ได้ เบื้องต้นแล้ว การจะขอเงินชดเชยได้นั้น จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป (รูปถ่ายต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน)
- หนังสือรองรับการออกจากงาน สำเนาการแจ้งการลาออก หรือ สปส. 6-09 และในกรณีที่ไม่มีสำเนา สปส. 6-09 ก็ยังคงสามารถขึ้นทะเบียนว่างงานได้
- หนังสือ หรือเอกสารแจ้งให้ออกจากนายจ้าง (หากมี)
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคาร โดยชื่อที่ระบุในหน้าสมุดบัญชีต้องเป็นชื่อของผู้ประกันตนที่ทำการลงทะเบียนว่างงาน
ที่สำคัญ ต้องไม่ได้ทำผิดกฎหมายจนเป็นเหตุให้ถูกไล่ออกจากงาน หรือต้องไม่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร และสำหรับขั้นตอนและวิธีการขอเงินชดเชย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีถูกเลิกจ้าง
จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เช่น คุณต่ายได้เงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท จะได้รับเงินชดเชย 7,500 บาท
เงื่อนไขการรับเงินชดเชย : ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนถูกเลิกจ้าง โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ e-service.doe.go.th ภายใน 30 วัน หลังถูกเลิกจ้าง
กรณีลาออกเอง หรือ หมดสัญญาจ้างงาน
ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เช่น คุณแคร์ได้เงินเดือนเฉลี่ย 20,000 บาท จะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 6,000 บาท
เงื่อนไขการรับเงินชดเชย : ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนลาออก โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่าน e-service.doe.go.th ภายใน 30 วัน หลังการลาออกจากงาน
เบื้องต้นแล้ว หากต้องออกจากงานให้รีบลงทะเบียนรายงานว่าตนว่างงานทันที เพื่อผลประโญชน์สูงสุดของเราในการขอรับเงินชดเชยต่าง ๆ นอกจากนี้ หากคุณได้ทำประกันสังคมไว้ ยังสามารถใช้สิทธิสวัสดิการจากประกันสังคมต่าง ๆ เช่น ค่าทำฟัน ค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร ต่อได้อีก 6 เดือน โดยไม่ต้องเสียค่าจ่ายประกันสังคมตลอดระยะเลาดังกล่าวอีกด้วย!
แต่ถึงแม้ประกันสังคมจะเป็นสวัสดิการพื้นฐานของลูกจ้างที่น่าสนใจมากแค่ไหน แต่ปัจจุบันเนื่องจากเป็นระบบข้าราชการ จึงทำให้เกิดความล่าช้า นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ จำนวนคนที่มารับขอสิทธิ์ชดเชยมีจำนวนมาก และคงไม่ดีแน่ หากระหว่างรอการดำเนินการคุณจะต้องควักเงินเก็บออมก้อนโตมาใช้ก่อน
ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท การทำประกันออมทรัพย์เพื่อออมเงินก้อนโตไว้ใช้เผื่อกรณีฉุกเฉิน ก็นับได้ว่าเป็นตัวเลือกที่ดีไม่แพ้กัน
หรือจะในกรณีที่เจ็บป่วย จริงอยู่ที่ประกันสังคมช่วยต่ออายุเวลาไปอีก 6 เดือน ให้คุณใช้งานในแง่สวัสดิการสุขภาพได้ แต่ด้วยวงเงินจำกัด ก็อาจเป็นของจำกัดในการรักษาไปด้วย ดังนั้น การมองหาประกันสุขภาพคู่ใจดี ๆ สักกรมธรรม์ จะช่วยให้คุณหมดห่วงได้ หากเจ็บป่วยระหว่างการว่างงาน
ทั้งประกันออมทรัพย์ และประกันสุขภาพ ดี ๆ ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล เพราะเรารวบรวมไว้ให้ในเว็บไซต์เดียวแล้ว ที่นี้เลย แรบบิท แคร์! โบรกเกอร์ด้านการเงินที่ทำให้คุณหมดกังวลทุกปัญหาที่ไม่คาดฝัน อยู่เคียงข้างทุกปัญหา ที่สำคัญสมัครง่าย พร้อมบริการเปรียบเทียบค้นหาประกันที่เหมาะสมให้กับคุณ คลิกเลย!
บทความที่เกี่ยวข้อง
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct