แคร์ไลฟ์สไตล์

ประกันสังคมเตรียมปรับขึ้นเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33 มนุษย์เงินเดือนต้องจ่ายเท่าไหร่?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: February 23,2023
ปรับเพิ่มเงินสมทบประกันสังคม

กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงนี้ ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยทีเดียว สำหรับกระทรวงแรงงานที่เตรียมกำหนดเพดานค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานใหม่ในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคม ที่เสนอให้ผู้ประกันตนประกันสังคมม.33 ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเพิ่มขึ้นสูงสุด 1,150 บาท จากฐานเดิมที่ 750 บาท ภายในปี 2573 มีอะไรบ้าง? ที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 อย่างเราต้องรู้เพื่อเตรียมตัว น้องแคร์ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันได้เลย!

เงินสมทบประกันสังคม คืออะไร?

ก่อนอื่นก็ต้องทราบกันก่อนว่าเงินสมทบประกันสังคม หรือเงินสมทบกองทุนประกันสังคม คือ เงินที่ต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทน โดยคำนวณมาจากค่าจ้างที่ลูกจ้าง (ผู้ประกันตน) ได้รับ หรือ คำนวณจากจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นผู้ประกันตนมาตราใด คูณกับอัตราเงินสมทบที่กำหนดตามกฎกระทรวง ทั้งนี้เงินสมทบประกันสังคม จะถูกแบ่งเป็น 2 มาตรา ได้แก่

  1. ประกันสังคมมาตรา 33 เงินสมทบ

    คือ เงินประกันสังคมที่นายจ้างและผู้ประกันตนประกันสังคมม. 33 ต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมในทุก ๆ เดือน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทน 7 กรณี โดยประกันสังคมมาตรา 33 เงินสมทบจะคำนวณมาจากค่าจ้างที่ผู้ประกันตนได้รับ คูณกับอัตราเงินสมทบที่กำหนดตามกฎกระทรวง ในอัตราร้อยละ 5 ซึ่งที่ผ่านมาใช้ฐานค่าจ้างในการคำนวณที่ขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และขั้นสูงไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท (เงินสมทบขั้นต่ำ 83 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน) และรัฐก็จะมีการออกเงินสมทบเข้ากองทุนด้วยอีกส่วนหนึ่งที่อัตราร้อยละ 2.75
  2. ประกันสังคมมาตรา 39 เงินสมทบ

    คือ เงินที่ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทน 6 กรณี โดยคำนวณจากจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐาน 4,800 บาท คูณกับอัตราเงินสมทบที่กำหนดตามกฎกระทรวง

แน่นอนว่าขณะนี้ได้มีร่างกฎกระทรวงฉบับใหม่เพื่อปรับขึ้นเพดานฐานค่าจ้างที่นำมาใช้ในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคม ของกระทรวงแรงงาน ที่เสนอให้มีการปรับเพดานค่าจ้างจากเดิมสูงสุดที่ 15,000 บาท ขยับไปที่ 23,000 บาท ซึ่งจะมีผลทำให้ทั้งนายจ้างและผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 33 เงินสมทบที่ต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมในทุก ๆ เดือน ในอัตราร้อยละ 5 ขยับขึ้นเป็นสูงสุด 1,150 บาท จากฐานเดิมประกันสังคมมาตรา 33 เงินสมทบจะสูงสุดที่ 750 บาท  ภายในปี 2573 โดยมีเหตุผลในการปรับเพดานค่าจ้างส่งเงินสมทบ 3 ด้าน คือ 

  1. เพื่อให้สิทธิประโยชน์ที่พอเพียงกับการครองชีพในปัจจุบัน 
  2. เพื่อกระจายรายได้จากผู้มีรายได้สูงไปยังผู้มีรายได้น้อย
  3. เพื่อเพิ่มโอกาสในการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์

ซึ่งการปรับเพดานค่าจ้างผู้ประกันตนประกันสังคมม.33 ดังกล่าว จะถูกแบ่งเป็นเพดานค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงในแต่ละช่วงปี ดังนี้

  • ปี 2567 – ปี 2569 (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2569) กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่เดือนละ 1,650 บาท และค่าจ้างขั้นสูงไม่เกิน 17,500 บาท

    ตัวอย่าง
    • ค่าจ้าง 5,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 250 บาท
    • ค่าจ้าง 10,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 500 บาท
    • ค่าจ้าง 15,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 750 บาท
    • ค่าจ้าง 17,500 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 875 บาท
    • ค่าจ้างมากกว่า 17,500 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 875 บาท
  • ปี 2570 – ปี 2572 (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2570 – 31 ธันวาคม 2572) กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่เดือนละ 1,650 บาท และค่าจ้างขั้นสูงไม่เกิน 20,000 บาท

    ตัวอย่าง
    • ค่าจ้าง 5,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 250 บาท
    • ค่าจ้าง 10,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 500 บาท
    • ค่าจ้าง 15,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 750 บาท
    • ค่าจ้าง 17,500 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 875 บาท
    • ค่าจ้าง 20,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 1,000 บาท
    • ค่าจ้างมากกว่า 20,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 1,000  บาท
  • ปี 2573 เป็นต้นไป (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2573) กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่เดือนละ 1,650 บาท และค่าจ้างขั้นสูงไม่เกิน 23,000 บาท

    ตัวอย่าง
    • ค่าจ้าง 5,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 250 บาท
    • ค่าจ้าง 10,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 500 บาท
    • ค่าจ้าง 15,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 750 บาท
    • ค่าจ้าง 17,500 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 875 บาท
    • ค่าจ้าง 20,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 1,000 บาท
    • ค่าจ้าง 23,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 1,150 บาท
    • ค่าจ้างมากกว่า 23,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมม.33ที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนในอัตราร้อยละ 5 คือ 1,150  บาท

ค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาท ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเพิ่มขึ้นหรือไม่?

สำหรับผู้ประกันตนประกันสังคมม.33 ที่รับค่าจ้างต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ทั้งสิ้นจากการปรับเพดานค่าจ้างเพื่อนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 33 เงินสมทบที่จะถูกหักนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมยังคงถูกหักในอัตรา 5% ของค่าจ้างตามจริงที่นายจ้างรายงานต่อสำนักงานประกันสังคมเช่นเดิม ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น กรณีผู้ประกันตนประกันสังคมม.33 ได้รับค่าจ้าง 10,000 บาท/เดือน ทั้งผู้ประกันตนเองและนายจ้างจะถูกหักเงินสมทบเข้าประกันสังคมที่เดือนละ 500 บาทเช่นเดิม เป็นต้น

เงินสมทบประกันสังคม

ประกันสังคมมาตรา 33 สิทธิประโยชน์ ปัจจุบันคุ้มครองอะไรบ้าง?

สำหรับสิทธิประโยชน์ประกันสังคมม.33 ที่ผู้ประกันตนได้รับในปัจจุบัน จะยังคงได้รับความคุ้มครอง ทั้ง 7 กรณี ดังนี้

  • 1. กรณีเจ็บป่วย
    • สามารถเข้ารับรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ทั้งรัฐบาลและเอกชนตามสิทธิ์ที่มีได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
    • สวัสดิการด้านทันตกรรม 900 บาท / ปี
    • สิทธิ์ในการตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปี
    • สิทธิ์รับการบำบัดกรณี ดังนี้
      • กรณีไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
      • การปลูกถ่ายไขกระดูก
      • ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ หรือเปลี่ยนอวัยวะ
    • รับเงินทดแทนการขาดรายได้ สูงสุด 250 บาท/วัน (ไม่เกิน 90 วัน/ครั้ง และ180 วัน/ปี)

      ภายในเงื่อนไขที่ผู้ประกันตนมีการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการเจ็บป่วย
  • 2. กรณีเงินบำนาญชราภาพ
    • เงินบำเหน็จ
      • กรณีผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบประกันสังคมม.33 ต่ำกว่า 12 เดือน จะรับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ เฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเข้ามา (ไม่ได้ส่วนที่นายจ้างสมทบให้)
      • กรณีผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบประกันสังคมม.33 ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป -179 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ทั้งส่วนที่ผู้ประกันตนสมทบและส่วนที่นายจ้างสมทบให้
    • เงินบำนาญชราภาพ
      • กรณีผู้ประกันตนจ่ายเงินประกันสังคมม.33 ไม่น้อยกว่า 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย โดยจะได้รับเป็นรายเดือน
      • กรณีผู้ประกันตนจ่ายเงินประกันสังคมม.33 มากกว่า 180 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำนาญเพิ่มอีก 1.5% ทุก ๆ 1 ปี (เพิ่มจาก 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย)
  • 3. กรณีทุพพลภาพ
    • แบบรุนแรง (ระดับความสูญเสียตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป)
      • จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง เป็นรายเดือนตลอดชีวิต
    • แบบไม่รุนแรง (ระดับความสูญเสีย ร้อยละ 35 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50)
      • จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศ กำหนด

        ทั้ง 2 กรณี ผู้ประกันตนจะต้องมีการจ่ายเงินประกันสังคมม.33 ครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่จะเกิดกรณีทุพพลภาพ
  • 4. กรณีว่างงาน
    • กรณีถูกเลิกจ้าง
      • จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในช่วงว่างงาน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
    • กรณีที่ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
      • จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศ กำหนด

        ทั้ง 2 กรณี ผู้ประกันตนจะต้องมีการจ่ายเงินประกันสังคมม.33 ครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่จะเกิดกรณีทุพพลภาพ
  • 5. กรณีคลอดบุตร
    • รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 15,000 บาท/การคลอด 1 ครั้ง และไม่จำกัดจำนวนครั้ง
    • เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน โดยจะสามารถเบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
    • ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ตามอายุครรภ์

      และผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินประกันสังคมม.33 ครบ 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอด ทั้งนี้หากเป็นผู้ประกันตนเพศชาย จะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 15,000 บาท
  • 6. กรณีสงเคราะห์บุตร
    • รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท ต่อบุตร 1 คน (ไม่เกิน 3 คน) ตั้งแต่เด็กแรกเกิด – 6 ปีบริบูรณ์ โดยที่ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินประกันสังคมม.33 ครบ 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์การสงเคราะห์บุตร
  • 7. กรณีเสียชีวิต
    • กรณีจ่ายเงินสมทบประกันสังคมครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต
      • รับค่าทำศพ 50,000 บาท แต่ไม่ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต
    • กรณีจ่ายเงินสมทบประกันสังคมตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน
      • รับค่าทำศพ 50,000 บาท
      • ได้รับเงินสงเคราะห์ เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
    • กรณีจ่ายเงินสมทบประกันสังคมตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป
      • รับค่าทำศพ 50,000 บาท
      • ได้รับเงินสงเคราะห์ เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน
เงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33

หากปรับขึ้นเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33 ได้สิทธิอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง?

หากมีการปรับรูปแบบการเก็บเงินสมทบประกันสังคมม.33 แน่นอนว่าผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 33 เงินสมทบที่จ่ายก็จะต้องมีการถูกเก็บเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ทางประกันสังคมม.33 กำหนดให้กับผู้ประกันตนก่อนหน้านี้ ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงในบางรายการ ที่ให้สิทธิประโยชน์เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยหากมีการปรับเพิ่มเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33 สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนที่ได้รับค่าจ้างสูงกว่า 15,000 บาท จะได้รับเพิ่มขึ้นตามช่วงระยะเวลาการปรับเพิ่มเงินประกันสังคม มีดังนี้

  • 1. กรณีเจ็บป่วย : จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบประกันสังคมม.33 เป็นระยะเวลาตามวันที่แพทย์มีคำสั่งให้ลาหยุดงาน
  • 2. กรณีเงินบำนาญชราภาพ
    • กรณีรับเงินบำนาญ : จะได้รับเงินบำนาญไม่ต่ำกว่า 20% ของค่าจ้าง ตั้งแต่เกษียณไปจนตลอดชีวิต โดยผู้ประกันตนที่ส่งเงินประกันสังคมม.33 ตั้งแต่ 15 ปี จะได้รับบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และผู้ประกันตนที่ส่งเงินประกันสังคมม.33 มากกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญเพิ่มขึ้น 1.5% ต่อปีที่ส่งเงินสมทบเพิ่มเติม
    • กรณีรับเงินบำเหน็จ : หากผู้ประกันตนส่งเงินประกันสังคมม.33ไม่ครบ 15 ปี จะได้รับเป็นเงินบำเหน็จตามจำนวนเงินสมทบที่นำส่งประกันสังคม รวมผลตอบแทนการลงทุน
  • 3. กรณีทุพพลภาพ : หากทุพพลภาพรุนแรง จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบประกันสังคม เป็นระยะเวลาตลอดชีวิต แต่หากทุพพลภาพไม่รุนแรง จะได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบประกันสังคม เป็นระยะเวลา 180 เดือน
  • 4. กรณีว่างงาน
    • หากเป็นกรณีถูกเลิกจ้าง : จะได้รับเงินทดแทนว่างงาน 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบประกันสังคม เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
    • หากเป็นกรณีสมัครใจลาออก : จะได้รับเงินทดแทนว่างงาน 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินประกันสังคมม.33 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
    • หากเป็นกรณีสิ้นสุดสัญญาจ้าง : จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินประกันสังคมม.33 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
    • หากเป็นการว่างานกรณีเหตุสุดวิสัย : จะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบประกันสังคม เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • 5. กรณีคลอดบุตร : จะได้รับเงินสงเคราะห์หยุดงาน 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบประกันสังคม เป็นระยะเวลา 90 วัน
  • 6. กรณีเสียชีวิต : ทายาทจะได้รับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินประกันสังคมม.33 เป็นระยะเวลา 4 หรือ 12 เดือน แล้วแต่กรณี

    โดยน้องแคร์ขอสรุปสิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 33 แบบใหม่ ทั้ง 6 กรณี ที่ผู้ประกันตนจะได้รับในแต่ละช่วงปี ดังนี้
  • ปี 2567 – ปี 2569 (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2569) ผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 33 เงินสมทบอัตราสูงสุดที่ 875 บาท
    • กรณีเจ็บป่วย : จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 292 บาท/วัน
    • กรณีเงินบำนาญชราภาพ
      • ส่งเงินสมทบประกันสังคม 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญ 3,500 บาท/เดือน 
      • ส่งเงินสมทบประกันสังคม 25 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินบำนาญ 6,125 บาท/เดือน
    • กรณีทุพพลภาพ : จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จากการทุพพลภาพสูงสุด 8,750 บาท/เดือน
    • กรณีว่างงาน : จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงานสูงสุด 8,750 บาท/เดือน
    • กรณีคลอดบุตร : จะได้รับเงินสงเคราะห์หยุดงานสูงสุด 26,250 บาท/ครั้ง
    • กรณีเสียชีวิต : จะได้รับเงินสงเคราะห์เสียชีวิตสูงสุด 35,000 บาท

  • ปี 2570 – ปี 2572 (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2570 – 31 ธันวาคม 2572) ผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 33 เงินสมทบอัตราสูงสุดที่ 1,000 บาท
    • กรณีเจ็บป่วย : จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 333 บาท/วัน
    • กรณีเงินบำนาญชราภาพ
      • ส่งเงินสมทบประกันสังคม 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญ 4,000 บาท/เดือน 
      • ส่งเงินสมทบประกันสังคม 25 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินบำนาญ 7,000 บาท/เดือน
    • กรณีทุพพลภาพ : จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จากการทุพพลภาพสูงสุด 10,000 บาท/เดือน
    • กรณีว่างงาน : จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงานสูงสุด 10,000 บาท/เดือน
    • กรณีคลอดบุตร : จะได้รับเงินสงเคราะห์หยุดงานสูงสุด 30,000 บาท/ครั้ง
    • กรณีเสียชีวิต : จะได้รับเงินสงเคราะห์เสียชีวิตสูงสุด 40,000 บาท

  • ปี 2573 เป็นต้นไป (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2573) ผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 33 เงินสมทบอัตราสูงสุดที่ 1,150 บาท
    • กรณีเจ็บป่วย : จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 383 บาท/วัน
    • กรณีเงินบำนาญชราภาพ
      • ส่งเงินสมทบประกันสังคม 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญ 4,000 บาท/เดือน
      • ส่งเงินสมทบประกันสังคม 25 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินบำนาญ 8,050 บาท/เดือน
    • กรณีทุพพลภาพ : จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จากการทุพพลภาพสูงสุด 11,500 บาท/เดือน
    • กรณีว่างงาน : จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงานสูงสุด 11,500 บาท/เดือน
    • กรณีคลอดบุตร : จะได้รับเงินสงเคราะห์หยุดงานสูงสุด 34,500 บาท/ครั้ง
    • กรณีเสียชีวิต : จะได้รับเงินสงเคราะห์เสียชีวิตสูงสุด 46,000 บาท
ประกันสังคมมาตรา 33 สิทธิประโยชน์

ถ้าเงินสมทบปรับขึ้น นายจ้างต้องสมทบเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่?

หากมีการปรับเพิ่มเงินสมทบประกันสังคมม.33 คำถามที่หลายคนสงสัยก็คงหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า นายจ้างจะต้องมีการเพิ่มเงินสมทบนำส่งประกันสังคมเหมือนกับผู้ประกันตนหรือไม่ ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมยืนยันตามกฎหมายนายจ้างว่าจะต้องเพิ่มเงินสมทบประกันสังคมม.33 ในอัตรา 5% ของค่าจ้างด้วยเช่นเดียวกับผู้ประกันตน ตัวอย่างเช่น หากผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างได้รับค่าจ้าง 20,000 บาท/เดือน ทั้งลูกจ้างและนายจ้างก็จะต้องจ่ายเงินสมทบเข้าสำนักงานกองทุนประกันสังคมในอัตราร้อยละ 5 หรือฝ่ายละ 1,000 บาท นั่นเอง

เช็คสิทธิประกันสังคมม.33 ช่องทางไหนได้บ้าง?

หากคุณต้องการเช็คสิทธิประกันสังคมม.33 และมาตราอื่น ๆ ของตัวคุณเอง จากการที่คุณนำส่งเงินสมทบประกันสังคมไป คุณสามารถเข้าไปเช็คผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมที่ www.sso.go.th ได้โดยตรง โดยทำตามขั้นตอน ดังนี้

  1. ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ กรอกรหัสผู้ใช้งานเป็นหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก และกรอกรหัสผ่านที่ตั้งไว้ 
  2. กรณียังไม่เป็นสมาชิกให้สมัครสมาชิก โดยการกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อลงทะเบียนเข้าเช็คสิทธิประกันสังคมม.33
  3. เลือกตรวจสอบสิทธิของคุณ ตามหัวข้อ ดังนี้

    – ตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล
    – ข้อมูลการส่งเงินสมทบ
    – ขอเปลี่ยนสถานพยาบาล
    – ประวัติการการใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน
    – การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ
    – ประวัติการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
    – ตรวจสอบข้อมูลใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์
    – ระบบทันตกรรม

ปรับเงินสมทบประกันสังคมแต่สิทธิค่ารักษาพยาบาลยังเท่าเดิม ถ้ายังไม่เพียงพอ “ประกันสุขภาพจากแรบบิท แคร์” ช่วยคุณได้!

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    แม้ว่าการปรับเพิ่มเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33 จะมีการกำหนดสิทธิประโยชน์ในบางรายการให้ผู้ประกันตนได้รับเพิ่มเติมขึ้นจากเดิมตามที่น้องแคร์ได้กล่าวข้างต้น แต่ในส่วนของสิทธิค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย อย่างเช่น กรณีแอดมิดต้องเข้ารักษาตัวที่โรงเรียนพยาบาล ก็ยังคงเป็นสิทธิประโยชน์จำนวนเท่าเดิม คือหากคุณเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นสิทธิ์สวัสดิการประกันสังคมของคุณ ในฐานะผู้ป่วยใน คุณจะสามารถเบิกค่าห้องและค่าอาหารได้ที่วันละไม่เกิน 700 บาท ส่วนค่ารักษาพยาบาลเบิกได้ตามความจำเป็นที่จ่ายจริง

    ซึ่งแน่นอนว่าค่าห้องและค่าอาหารเพียง 700 บาทต่อวัน อาจจะไม่เพียงพอต่อการเข้ารับการรักษาตัวในแต่ละครั้งแน่นอน ยิ่งหากคุณต้องการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแล้วล่ะก็ ในส่วนของค่าห้องและค่าอาหารที่ได้รับจากสิทธิ์สวัสดิการประกันสังคมนี้จะไม่เพียงพออย่างแน่นอน เพราะโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่มีอัตราค่าบริการค่าห้องและค่าอาหารโดยรวมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3,000 – 3,500 บาทต่อวันเลยทีเดียว นั่นหมายความว่าหากคุณไม่มีสิทธิ์สวัสดิการส่วนอื่น ๆ อย่างเช่น ประกันกลุ่ม หรือประกันสุขภาพผู้ป่วยในส่วนตัว ที่จะมาเป็นตัวช่วยในการเบิกเคลมค่ารักษาพยาบาลและค่าห้องอีกแรงแล้วละก็ ส่วนเกินที่เหลือก็จะตกมาอยู่ที่คุณต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษากับโรงพยาบาลทั้งหมด 

    ดังนั้นคำแนะนำที่ดีที่สุดจากน้องแคร์ก็คือ นอกจากการนำส่งเงินสมทบประกันสังคมเพื่อรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมแล้ว คุณควรเตรียมความพร้อมด้านประกันสุขภาพส่วนตัวของคุณร่วมด้วย โดยการซื้อประกันสุขภาพผู้ป่วยใน – ผู้ป่วยนอก จากแรบบิท แคร์ ที่เพียงพอกับค่าห้องหรือค่ารักษาพยาบาลไว้สัก 1 กรมธรรม์ เพื่อนำไปใช้ในการเบิกเคลมร่วมกันกับสวัสดิการประกันสังคมหรือสวัสดิการอื่น ๆ ที่คุณมี ช่วยเพิ่มวงเงินความคุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าห้อง ให้คุณได้อุ่นใจเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวกรณีเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุมากขึ้น

    จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องเลือกทำประกันสุขภาพแผนไหนดี?

    น้องแคร์ขอแชร์เทคนิคง่าย ๆ ที่จะสามารถช่วยให้คุณได้ตัดสินใจเลือกซื้อแผนประกันสุขภาพได้เหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุด ดังนี้

    1. เริ่มจากสำรวจสิทธิ์สวัสดิการต่าง ๆ ที่คุณมี เช่น สวัสดิการประกันสังคม ประกันกลุ่ม เป็นต้น
    2. ตรวจสอบทุกสิทธิ์สวัสดิการที่คุณมีอยู่ว่ามีการให้ความคุ้มครองในหมวดค่าห้องและค่าอาหาร หรือค่ารักษาพยาบาลมากเท่าไหร่
    3. ให้คุณนำความคุ้มครองที่มี อย่างเช่น ค่าห้องและค่าอาหาร มาเทียบกับอัตราค่าบริการค่าห้องและค่าอาหารของโรงพยาบาลตามสิทธิ์นั้น ๆ ที่คุณมี ว่าครอบคลุมหรือไม่ 
    4. หากความคุ้มครองยังไม่ครอบคลุม หรือยังขาดความคุ้มครองไปเป็นจำนวนเท่าไหร่ ให้คุณเลือกแผนประกันสุขภาพที่ให้ความครอบคลุมในส่วนที่ขาดให้มากที่สุด เช่น ค่าห้องและค่าอาหารที่คุณมี ยังขาดความคุ้มครองไป 3,000 บาท ก็ควรเลือกซื้อประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองค่าห้องและค่าอาหาร 3,000 บาท หรือมากกว่านี้ เป็นต้น

    แต่ถ้าหากวิธีการข้างต้นยังคงสร้างความวุ่นวายหลายขั้นตอนให้กับคุณ น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณเข้ามาใช้บริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพ จากแรบบิท แคร์ ที่จะช่วยลดขั้นตอนความวุ่นวายข้างต้นโดยการคลิกและกรอกข้อมูลของคุณเพียงไม่กี่ขั้นตอน ระบบของเราก็จะแนะนำแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณขึ้นมาทันที ไม่ต้องเสียเวลา สะดวกรวดเร็วได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมแน่นอน!

    สิทธิประโยชน์ประกันสังคมม.33

    บทความที่เกี่ยวข้อง


     

    บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

    Rabbit Care Blog Image 96153

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

    การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
    Thirakan T
    27/08/2024
    Rabbit Care Blog Image 89764

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    แมวอ้วก แมวอาเจียน อันตรายไหม ? เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร ?

    ‘แมวอ้วก’ สถานการณ์ที่สำหรับเหล่าทาสแล้วคงถือเป็นเรื่องหนักอกหนักใจ ว่านายท่านแมวของเราเกิดความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติในร่างกายอย่างไรหรือไม่
    คะน้าใบเขียว
    31/05/2024