แคร์การเงิน

สลิปเงินเดือนคืออะไร ? ใช้ทำอะไรบ้าง ? แตกต่างอย่างไรกับหนังสือรับรองเงินเดือน

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
 
 
Published: August 24,2023

ทุกคนที่ทำงาน ไม่ว่าจะมีประสบการณ์มายาวนาน ไปจนถึงเพิ่งทำงาน แต่สิ่งที่พวกเราทุกคนจะต้องได้รับ และต้องตรวจสอบตรวจเช็กให้ดีมาก ๆ คือสลิปเงินเดือน ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะยังสงสัยอยู่ว่าใช้ทำอะไร ? มีความสำคัญอย่างไร ? และเทียบให้เห็นชัด ๆ ไปเลยว่าสลิปเงินเดือน กับหนังสือรับรองเงินเดือน แตกต่างกันอย่างไร ? คนทำงานทุกคนต้องรู้ !

สลิปเงินเดือน คือ

สลิปเงินเดือน หรือ Pay-slip คือ เอกสารที่บริษัทออกให้แก่พนักงานเป็นประจำทุกเดือน เพื่อระบุและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับค่าแรง หรือค่าจ้างต่าง ๆ ที่พนักงานได้รับในรอบเดือนนั้น การแจกแจงข้อมูลเงินเดือนไม่ได้รวมถึงค่าแรงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา (OT) ค่าโทรศัพท์ ค่าเดินทาง และรายการหักส่วนต่าง ๆ เช่น ค่าประกันสังคม ค่าวันลาแบบไม่จ่ายเงิน และภาษีเงินได้ ซึ่งทำให้พนักงานสามารถเห็นข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับรายได้และรายจ่ายของตนเองในเดือนนั้น ๆ

ข้อมูลในสลิปเงินเดือนเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน ซึ่งมีความลับและเป็นความลับของแต่ละบุคคล ดังนั้น ฝ่ายบุคคลหรือ HR (Human Resource) เท่านั้น มักมีหน้าที่แจกจ่ายสลิปฯ ให้กับพนักงานโดยใส่ในซองปิดผนึก เพื่อรักษาความลับและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลนี้ของแต่ละบุคคลให้มากที่สุด สลิปฯ จึงไม่ควรเปิดเผยต่อบุคคลอื่น โดยเฉพาะเพื่อนร่วมงานทั้งแผนกเดียวกันและคนละแผนก ควรเปิดเผยเพียงเมื่อจำเป็นเท่านั้น

สลิปเงินเดือนมีกี่ประเภท ? 

สลิปคาร์บอน

เป็นสลิปแบบคลาสสิกที่ได้ชื่อมาจากการพิมพ์สลิปอยู่บนกระดาษคาร์บอน มักใช้ในบริษัทที่มีความเก่า มีความอนุรักษ์นิยม หรือเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นกระดาษที่จะต้องฉีกข้าง ๆ เพื่อจะได้เผยให้เห็นข้อมูลภายใน

ข้อดี – ดูเป็นทางการ / เป็นความลับ

ข้อเสีย – เปลืองทรัพยากร / ยุ่งยาก

สลิปกระดาษ

ยังเป็นแผ่นกระดาษที่สัมผัสได้ แต่จะเป็นแผ่นกระดาษขาวทั่วไป ซึ่งจะให้ความรู้สึกเป็นทางการน้อยลง และมีรูปแบบที่ยืดหยุ่นมากขึ้น มักจะใส่สลิปซองขาวในซอง

ข้อดี –  ดูเป็นทางการ / มีรูปแบบหลากหลาย

ข้อเสีย – เปลืองทรัพยากร / หาย หรือปะปนไปกับเอกสารอื่นได้ง่าย

อี สลิป (E-Slip)

เป็นสลิปเงินเดือนที่ได้รับความนิยมในบริษัทสมัยใหม่ เป็นสลิปอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้คู่กับระบบ HR ออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถตรวจสอบสลิปเงินเดือนปัจจุบัน หรือย้อนหลังได้อย่างอิสระ พร้อมกับสามารถดาวน์โหลด หรือพิมพ์ออกมาได้ทุกเมื่อ

ข้อดี – เข้าถึงง่าย ไม่ต้องกลัวหาย / ไม่เปลืองทรัพยากร

ข้อเสีย – ไม่เป็นทางการ / สามารถถูกแฮกได้

ข้อมูลบนสลิปเงินเดือน

ข้อมูลบนสลิปเงินเดือนในแต่ละบริษัท ไม่ได้เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วก็มักมีข้อมูลที่คล้ายคลึงกัน โดยข้อมูลที่ต้องมีอยู่บนสลิปฯ จะสามารถมีคร่าว ๆ ตามนี้

  • ชื่อเอกสารที่บ่งบอกถึงความเป็นสลิปฯ ของพนักงาน
  • ข้อมูลของบริษัท เช่น ชื่อบริษัท ที่อยู่ หมายเลขติดต่อ ฯลฯ
  • ข้อมูลของพนักงาน เช่น ชื่อ-นามสกุลจริง ตำแหน่ง หมายเลขติดต่อ ฯลฯ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับรอบการชำระเงิน
  • ข้อมูล วัน / เดือน / ปี ที่จะทำการจ่ายเงิน
  • ข้อมูลที่มาของแหล่งรายได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าล่วงเวลา เงินโบนัส หรือค่าคอมมิชชัน เป็นต้น
  • ข้อมูลการหักค่าใช้จ่ายของพนักงาน เช่น ค่าประกันสังคม
  • ข้อมูลสรุปรายได้สุทธิของพนักงานในรอบเดือนนั้น

สลิปเงินเดือน ใช้ทำอะไร ?

หลาย ๆ คนจะคิดว่าสลิปเงินเดือน ไม่สามารถให้คนอื่นดูได้เลย แต่ความจริงแล้วสลิปฯ สามารถนำมาใช้ประกอบการทำอะไรได้หลากหลายอย่าง ซึ่งเราจะต้องมั่นใจว่าผู้ที่รับสลิปของเราจะต้องไม่นำข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่ หรือใช้ประโยชน์ในเรื่องอื่น

ใช้ยื่นขอสินเชื่อ / บัตรเครดิต / รีไฟแนนซ์

สลิปเงินเดือนจะต้องใช้เป็นตัวยืนยันในการขอสินเชื่อ บัตรเครดิต หรือสินค้าทางการเงินบางอย่างของธนาคาร หรือสถาบันทางการเงินต่าง ๆ เพื่อยืนยันในหลักทรัพย์ และความมั่นคงทางการเงินของผู้ขอสินเชื่อ และนำไปประเมินว่า ควรหรือไม่ควรที่จะปล่อยเงินให้กู้ ผู้ขอกู้มีศักยภาพในการผ่อนคืนเท่าไหร่ ? ควรปล่อยวงเงินให้กู้เท่าไหร่ ? เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ขอกู้จะไม่เบี้ยวการจ่ายหนี้ และไม่ทำให้เกิดหนี้เสียเพิ่มมากขึ้น

ใช้ยื่นจ่ายภาษี

การยื่นเสียภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคน การดำเนินกระบวนการนี้ในปีละครั้งอาจเกิดการตรวจสอบจากสรรพากรเพิ่มเติม เพื่อตรวจสอบแหล่งรายได้ของแต่ละบุคคล หากต้องการความชัดเจนในกรณีนี้ การเตรียมสลิปเงินเดือนกลับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสลิปเงินเดือนจะเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดในการชี้แจงรายได้ของตนเองในปีที่เฉพาะเจาะจงนั้น รายละเอียดที่แนบมากับสลิปฯ มากมาย ไม่ได้รวมถึงค่าแรงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา (OT) ค่าโทรศัพท์ ค่าเดินทาง และรายการหักส่วนต่าง ๆ 

ใช้ยื่นสมัครงาน

บริษัทมักจะขอสลิปเงินเดือนจากผู้สัมภาษณ์ในขั้นตอนท้าย ๆ เช่น ผ่านการสัมภาษณ์รอบสุดท้ายเรียบร้อย อยู่ในขั้นตอนพิจารณา ไปจนถึงตอนกำลังร่างสัญญาจ้าง เพื่อที่จะใช้เป็นอ้างอิงในการกำหนดเงินเดือนที่พนักงานใหม่จะต้องได้รับ โดยบริษัทมักจะขอเงินเดือนประมาณ 3-4 เดือนย้อนหลัง 

สลิปเงินเดือน VS หนังสือรับรองเงินเดือน ต่างกันอย่างไร ?

หนังสือรับรองเงินเดือน (Certificate of Employment) คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานรับรองว่า เราทำงานที่องค์กรไหน รายได้เท่าไร อายุงานกี่ปี แต่จะไม่ได้แสดงรายรับและรายการหักโดยละเอียดเหมือนสลิปเงินเดือน ฉะนั้นหนังสือรับรองเงินเดือนจะใช้ได้แค่ยืนยันว่าคุณเคยทำงานที่บริษัทนี้ อาจมีระบุวันเวลาที่ได้ทำงานอยู่ แต่จะไม่ระบุเรื่องเงินเดือนที่ได้ ฉะนั้นส่วนมากแล้วสลิป ฯ จะเป็นสิ่งที่บริษัท หรือธนาคารต้องการมากกว่า

โดยกรณีการออกหนังสือรับรองการทำงานมีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 บัญญัติว่า “เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไร และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร”

นั่นหมายถึงเมื่อการจ้างงานสิ้นสุดลง เช่น ลาออก เลิกจ้าง หรือเลิกกิจการ องค์กรมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำงานให้กับลูกจ้าง และพนักงานก็มีสิทธิร้องขอไม่ว่าจะสิ้นสุดสัญญาจ้างเป็นเวลานานเท่าใด หากองค์กรฝ่าฝืนไม่ออกหนังสือรับรองการทำงานให้ ลูกจ้างเองก็สามารถรักษาสิทธิประโยชน์ตนเองได้โดยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อให้มีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน


หลังจากรู้จักเรื่องราวของสลิปเงินเดือน และหนังสือรับรองเงินเดือนเสร็จเรียบร้อย สิ่งที่สลิปเงินเดือนมีประโยชน์มาก ๆ หลังจากที่ทำงานมาแล้ว 3 – 4 เดือนขึ้นไป คือการนำไปยื่นเรื่องทำธุรกรรมขอ บัตรเครดิต ใครมีสลิปเงินเดือนเรียบร้อย สนใจอยากได้ บัตรเครดิต สุดคุ้ม แรบบิท แคร์ มีแนะนำให้คุณ สนใจ คลิกเลย

  
บัตรไหนคุ้ม เปรียบเทียบเลย แค่ 30 วิ เช็คเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักสุขภาพ รักการกิน รักการกิน
  

 

บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024