
บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?
เตรียมพร้อมเข้าสู่ฤดูกาลยื่นภาษีบุคคลธรรมดาปี 2567 ที่ผู้มีเงินได้ทั้งหลายจะต้องดำเนินการยื่นเป็นประจำในทุก ๆ ปี หลายคนคงทราบกันแล้วว่ารายการลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง แต่ก็อาจจะมีบางคนที่ยังไม่ทราบว่ารายการในการลดหย่อนภาษีปี 2567 ที่จะต้องนำไปยื่นใช้สิทธิในปี 2568 ที่จะถึงนี้ มีรายการอะไรบ้าง สามารถยื่นได้ผ่านช่องทางไหนบ้าง และหมดเขตเมื่อไหร่ น้องแคร์มีข้อมูลมาอัพเดต!
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า ภาษี คือ สิ่งที่รัฐบาลกำหนดให้ทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่รัฐกำหนด จะต้องจ่ายเงินภาษีให้กับรัฐ สำหรับนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป โดยหน่วยงานกระทรวงการคลังอย่างกรมสรรพากรจะทำหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีอากรจากประชาชน และนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ส่วนเงินได้ ก็คือ เงินต่าง ๆ ที่เราได้รับทั้งจากการทำงาน อย่างเช่น เงินเดือน หรือจากการลงทุน อย่างเช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้น โดยจะสามารถแบ่งประเภทของเงินได้ของบุคคลเมื่อมีรายได้ ทั้งหมด 8 ประเภท มาตรา 40 (1) – 40 (8) ดังต่อไปนี้
รายได้ที่มาจากการทำงาน การจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน, ค่าจ้าง, OT, โบนัส เป็นต้น
อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ คือ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
รายได้ที่เกิดจากตำแหน่งงานหน้าที่ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า, ค่ารับจ้าง, ค่าธรรมเนียม เป็นต้น
อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ คือ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
รายได้ที่ได้มาจากการค่าแห่งกู๊ดวิลล์ รายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ค่าแห่งลิขสิทธิ์ เป็นต้น
อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ (เฉพาะค่าลิขสิทธิ์) คือ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
รายได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร อย่างเช่น ดอกเบี้ยธนาคาร, เงินปันผลจากการลงทุนในกองทุนรวม, กำไรจากการขายหุ้น เป็นต้น ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้
รายได้ที่มาจากการให้เช่าสินทรัพย์ เช่น ค่าเช่าต่าง ๆ อย่างบ้าน, รถ, ที่ดิน เป็นต้น
อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ คือ 15-30%, ทรัพย์สินอื่นหักค่าใช้จ่ายได้ 10%
รายได้ที่เกิดจากการประกอบวิชาชีพอิสระ ได้แก่ แพทย์, ทนาย, ผู้ตรวจสอบบัญชี, วิศวกร, สถาปนิกและจิตกร
อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ คือ แพทย์ 60%, อาชีพอื่นที่เหลือ 30%
รายได้ที่มาจากการรับเหมาพร้อมอุปกรณ์ เช่น รับเหมาก่อสร้าง
อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ คือ 70%
รายได้จากการประกอบธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือจาก (1) – (7)
อัตราค่าใช้จ่ายที่สามารถหักภาษีได้ คือ 60% อาชีพดารานักแสดงรายได้น้อยกว่า 300,000 บาท สามารถหักได้ 60% หากรายได้มากกว่า 300,000 บาท สามารถหักได้ 40% รวมไม่เกิน 600,000 บาท
ดังนั้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็คือ ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ ในประเภทต่าง ๆ 8 ประเภทข้างต้น และเป็นรายได้ที่ถึงเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนด ก็จะต้องยื่นภาษีบุคคลธรรมดาด้วยแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ในทุก ๆ ปี ตามประเภท ได้แก่
สำหรับรายการลดหย่อนภาษี 2567 จะมีการแบ่งกลุ่มประเภทของรายการลดหย่อนออกเป็นหมวด ซึ่งในแต่ละปีอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรายการลดหย่อนในบางหมวดไป เนื่องจากนโยบายรัฐบาลที่ไม่เหมือนกันในแต่ละปี โดยรายการลดหย่อนจะประกอบไปด้วยหมวดในการลดหย่อน ดังนี้
ในหมวดแรกที่สามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีก็คือ ค่าลดหย่อนที่เกิดขึ้นจากตนเอง รวมไปถึงบุคคลในครอบครัว โดยมีรายการดังนี้
รัฐจะให้ค่าลดหย่อนส่วนนี้เป็นพื้นฐานกับบุคคลผู้มีเงินได้ทุกคน ซึ่งสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนในส่วนนี้ เป็นอัตราเหมาต่อคน โดยจะมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่อปีไม่น้อยกว่า 60,000 บาท
สำหรับบุคคลผู้มีเงินได้ที่มีคู่สมรสทุกคน ในส่วนนี้รัฐก็จะให้สิทธิในการยื่นลดหย่อนเป็นอัตราเหมาขั้นต่ำอีก 60,000 บาท
บุคคลผู้มีเงินได้ที่มีบุตร จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ได้ โดยหากมีบุตรคนแรก ก็จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษี 2565 ได้ 30,000 บาท แต่หากมีบุตรตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไป (ที่เกิดหลังปีพ.ศ. 2561) จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือ
สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการฝากครรภ์และการคลอดบุตร ไปใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีได้ เฉพาะส่วนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาทต่อครรภ์ไม่ใช่ต่อคน โดยมีเงื่อนไข คือ
บุคคลผู้มีเงินได้ที่ดูแลบิดามารดาอยู่ หากบิดามารดาที่ดูแลอยู่นั้นอายุเกิน 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีในการดูแลบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท แต่ทั้งนี้ลูกจะสามารถใช้สิทธิได้เพียงคนเดียว หากมีลูกหลายคนสามารถสลับกันใช้สิทธิยื่นภาษีบุคคลธรรมดาคนละปีภาษีได้ แต่ไม่สามารถใช้สิทธิพร้อมกันได้
ในส่วนนี้หากบุคคลผู้มีเงินได้กำลังเป็นผู้ดูแลคนพิการหรือบุคคลทุพพลภาพอยู่ จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษี 2565 ได้คนละ 60,000 บาทต่อปี
ในหมวดนี้หากบุคคลผู้มีเงินได้คนไหนมีการวางแผนทำประกันบริหารความเสี่ยงด้วยตนเอง โดยการซื้อประกัน ก็จะสามารถได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีจากรัฐบาลได้ โดยประกันที่สามารถลดหย่อนได้มี ดังนี้
หากบุคคลผู้มีเงินได้มีการวางแผนบริหารความเสี่ยง โดยการซื้อประกันชีวิต หรือซื้อประกันสะสมทรัพย์ ก็จะสามารถใช้สิทธิในการยื่นลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงได้สูงสุด 100,000 บาท
หากซื้อประกันสุขภาพ ก็จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุด 25,000 บาท แต่ทั้งนี้เมื่อนำไปรวมกับประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ที่มีอยู่ ก็จะต้องลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
หากคุณซื้อประกันสุขภาพให้กับบิดามารดา เพื่อบริหารความเสี่ยงเมื่อบิดามารดาเกิดเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล คุณจะสามารถนำค่าเบี้ประกันสุขภาพของบิดามารดาที่คุณชำระ มาใช้ในสิทธิยื่นลดหย่อนภาษี 2565 ได้สูงสุด 15,000 บาท
นอกจากประกันชีวิตทั่วไปและประกันสะสมทรัพย์ ที่สามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีได้สูงแล้ว หากคุณมีการซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อวางแผนเกษียณอายุ คุณจะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อยื่นลดหย่อนรวมกับหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./สงเคราะห์ครูฯ, RMF, SSF, และกองทุนการออมแห่งชาติ) จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท
หากมีการลงทุนในส่วนนี้ จะสามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ, RMF, SSF, และกองทุนการออมแห่งชาติ
RMF เป็นอีกหนึ่งกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี ที่หากใครมีการลงทุนใน RMF ก็จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./สงเคราะห์ครูฯ, SSF, และกองทุนการออมแห่งชาติ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
การลงทุนในส่วนนี้ จะสามารถใช้สิทธิในการยื่นลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./สงเคราะห์ครูฯ, RMF, และกองทุนการออมแห่งชาติ โดยกำหนดเงื่อนไข คือ จะต้องถือครองหลังจากซื้อไม่น้อยกว่า 10 ปีเต็ม และสามารถซื้อได้ตั้งแต่ปี 2563 – 2567 ปีภาษี 2567 จึงเป็นปีสุดท้ายที่สามารถใช้ SSF ลดหย่อนภาษีได้
Thai ESG เป็นกองทุนที่ลงทุนระยะยาวในกิจการที่เน้นความยั่งยืน โดยจะสามารถใช้สิทธิในการยื่นลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้หรือไม่เกิน 300,000 บาทต่อคนต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./สงเคราะห์ครูฯ, RMF, และกองทุนการออมแห่งชาติ โดยกำหนดเงื่อนไข คือ จะต้องถือครองหลังจากซื้อไม่น้อยกว่า 5 ปีเต็ม และสามารถซื้อได้จนถึงปี 2569 ซึ่งกระทรวงการคลังจะพิจารณาต่ออายุโครงการในภายหลัง
สามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนในส่วนนี้ได้ไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./สงเคราะห์ครูฯ, RMF, และ SSF
ปี 2567 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนส่วนของประกันสังคมได้สูงสุดที่ 9,000 บาทตามปกติ จากยอดสูงสุดเดือนละ 750 บาท
สำหรับสิทธิยื่นภาษีบุคคลธรรมดา เพื่อลดหย่อนภาษีในหมวดนี้ แต่ละปีอาจจะไม่เหมือนกัน โดยอาจจะการเปลี่ยนแปลงรายการไปตามมาตรการรัฐที่ออกมาเพื่อส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งหมวดมาตรการรัฐ กระตุ้นเศรษฐกิจที่สามารถนำมาใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีในปี 2567 ที่ผ่านมาได้ มีดังนี้
หากเรามีการซื้อบ้านหรือคอนโดด้วยการผ่อนชำระ เราสามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารไปใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท โดยจะสามารถลดได้เฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเท่านั้น ไม่รวมเงินต้น
ใครที่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt ของรัฐบาลที่มีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 15 ก.พ. 2567 ที่ส่งเสริมให้เราใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบกิจการขายหนังสือและ E-Book และผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้า OTOP ในประเทศที่เข้าร่วมรายการและสามารถออกใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ Easy Invoice & E-Receipt ของกรมสรรพากร จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และหากซื้อสินค้าหรือบริการแล้วได้รับส่วนลด ก็จะสามารถลดหย่อนได้ตามราคาที่จ่ายจริง หลังหักส่วนลด
ในส่วนเงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise หากบุคคลผู้มีเงินได้มีการลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจ ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไปและเป็นผู้จ่ายเงินเพื่อจัดตั้งหรือเพื่อเพิ่มทุนของธุรกิจที่เป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลของไทย (ได้รับการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562) สามารถนำเงินที่ลงทุนนั้นไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปี
หากผู้มีเงินได้ประสงค์ที่จะบริจาคเพื่อสังคม ก็สามารถที่จะใช้สิทธิลดหย่อนได้ โดยการบริจาคเพื่อสังคมที่สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้ ได้แก่
สามารถใช้สิทธิได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว
การบริจาคประเภทนี้ก็อย่างเช่น การบริจาคให้วัด เป็นต้น สามารถขอหลักฐานการบริจาคเพื่อนำมายื่นลดหย่อนภาษีได้ 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว
คุณสามารถบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองที่คุณชื่นชอบได้ โดยที่เงินที่นำไปบริจาคนั้น สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วย ซึ่งจะสามารถใช้สิทธิได้สูงสุด 10,000 บาท
สำหรับมนุษย์เงินเดือนมือใหม่ที่ยังไม่ทราบว่าเราจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ น้องแคร์มีวิธีคำนวณมาฝาก เบื้องต้นในการคำนวณฐานภาษีเพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี จะคำนวณโดยการนำจำนวนรายได้ทั้งหมดในปีนั้น ๆ นำมาหักด้วยอัตราค่าใช้จ่ายของรายได้แต่ละประเภท และหักส่วนรายการลดหย่อนภาษี จะได้เป็นเงินได้สุทธิ (เงินได้สุทธิ = รายได้ทั้งหมด – อัตราค่าใช้จ่ายของรายได้แต่ละประเภท – รายการลดหย่อนภาษี) เมื่อทราบเงินได้สุทธิแล้ว จะต้องนำไปคำนวณจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายตามขั้นอัตราภาษี ดังนี้
นั่นหมายความว่าถ้าหากน้องแคร์ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนและนำรายได้ทั้งหมดในปีนั้น ๆ ที่น้องแคร์ได้รับ (รวมโบนัส) นำมาหักอัตราค่าใช้จ่ายของรายได้แต่ละประเภท และหักส่วนรายการลดหย่อนภาษีทั้งหมดแล้ว เหลือเงินได้สุทธิอยู่ 500,000 บาท แสดงว่าน้องแคร์จะต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลในปีนั้น ๆ ที่อัตราภาษี 10% ดังนั้นน้องแคร์ก็จะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงิน 27,500 บาท (อัตราภาษีขั้นที่1 7,500 บาท บวกกับ อัตราภาษีขั้นที่ 2 20,000 บาท) นั่นเอง
หลายคนยังคงสงสัยว่า การซื้อประกันลดหย่อนภาษี จะทำให้เราจ่ายภาษีลดลงได้อย่างไร? น้องแคร์ขออธิบายโดยสมมติว่าเรามีเงินได้สุทธิที่ 1,000,000 บาท ซึ่งจะต้องจ่ายภาษีในอัตราภาษีขั้นที่ 5 คือ 115,000 บาท ทีนี้หากเรามีการวางแผนลดหย่อนภาษีโดยการซื้อประกัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อประกันชีวิตทั่วไป ประกันสะสมทรัพย์ ประกันสุขภาพ หรือประกันบำนาญ เช่นเราซื้อประกันสะสมทรัพย์ ค่าเบี้ย 100,000 บาทต่อปี จะทำให้เราจ่ายภาษีลดลงเหลือเพียงแค่ 15,000 บาท เท่านั้น เพราะได้ลดหย่อนค่าประกันไป100,000 บาท ใช่หรือไม่? ซึ่งน้องแคร์ต้องบอกตรงนี้ว่าเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะจริง ๆ แล้วการซื้อประกันเพื่อการลดหย่อนภาษีนั้น จากตัวอย่างสมมติว่าซื้อที่ค่าเบี้ย 100,000 บาท ในส่วน100,000 บาทที่ซื้อประกันไป จะถูกนำมาคิดในส่วนของรายการลดหย่อนภาษีในหมวดประกัน โดยจะต้องนำไปหักลบจากเงินได้สุทธิ (เงินได้สุทธิ = รายได้ทั้งหมด – อัตราค่าใช้จ่ายของรายได้แต่ละประเภท – รายการลดหย่อนภาษี) ไม่ใช่การนำมาหักออกจากจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี
นั่นหมายความว่า หากคุณมีเงินได้สุทธิ 1,000,000 บาท และได้ซื้อประกันสะสมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษี ที่ค่าเบี้ย 100,000 บาท แสดงว่าการซื้อประกันของคุณจะทำให้คุณมีเงินได้สุทธิลดลง เหลือ 900,000 บาท จากเดิมที่1,000,000 บาท ดังนั้นตัวเลขที่จะถูกนำไปคำนวณจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีก็คือ 900,000 บาท ไม่ใช่ 1,000,000 บาท เมื่อคำนวณจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีก็จะทำให้คุณสามารถจ่ายภาษีได้จำนวนน้อยลงจากเดิม หรือหากมีการซื้อประกันบำนาญร่วมด้วย ก็จะสามารถลดหย่อนภาษีได้เพิ่มอีก 200,000 บาท ซึ่งจะทำให้คุณมีเงินได้สุทธิลดลงเหลือ 700,000 บาท จาก 1,000,000 บาท ซึ่งก็จะทำให้ขั้นภาษีที่คุณต้องนำมาคำนวณลดลงจากขั้นที่ 5 (อัตราภาษี 20%) ลงมาที่ขั้นที่ 4 (อัตราภาษี 15%) แน่นอนว่าจะทำให้คุณจ่ายภาษีถูกลงกว่าเดิม นั้่นเอง
คำถามที่ว่ายื่นภาษี 2567 หมดเขตเมื่อไหร่ ดูเหมือนจะยังคงเป็นคำถามยอดฮิตที่มีการถามถึงในทุก ๆ ปีที่มีการกำหนดจ่ายภาษี โดยปกติวันหมดเขตการยื่นภาษี จะสามารถยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึงวันที่ 31 มี.ค.ของปีถัดไป (2568) และ หากเป็นการยื่นภาษีแบบออนไลน์จะสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เม.ย. 2568 ซึ่งหากใครที่ประสงค์จะยื่นภาษีแบบออนไลน์ สามารถยื่นภาษีออนไลน์ 2567 ได้ตามขั้นตอนนี้
กรณีที่ต้องการขอคืนภาษี กรมสรรพากรจะให้คุณปริ้นท์หรือเซฟไฟล์เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน และสามารถอัพโหลดเอกสารได้ที่เมนู นำส่งเอกสารขอคืนภาษี ได้ทันที หลังจากยื่นเสร็จ
และทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลสรุปรายการลดหย่อนภาษีทั้งหมดที่น้องแคร์นำมาอัพเดตให้ทุกคนได้เตรียมตัวก่อนที่จะต้องทำการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาจริง ๆ ในช่วงเดือนม.ค. – มี.ค. 2568 ที่จะถึงนี้และแน่นอนว่าการวางแผนลดหย่อนภาษีที่คุ้มค่าและมีประโยชน์กับคุณมากที่สุด คือการวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยการซื้อประกันทุกรูปแบบ เพราะนอกจากเรื่องผลประโยชน์ด้านภาษีที่คุณจะได้รับเป็นโบนัสแล้ว หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันใด ๆ ในชีวิตคุณ คุณก็จะสบายใจได้ว่าคุณได้มีประกันประเภทต่าง ๆ เป็นหลักประกันให้กับชีวิตของคุณและคนที่คุณรักเรียบร้อยแล้ว หากคุณกำลังสนใจวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยสินค้าประกัน อย่าลืม!แวะมาดูรายละเอียดแผนประกันกับเราที่แรบบิท แคร์ ตัวจริงเรื่องประกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
บทความแคร์การเงิน
บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?
ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด
ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน