แคร์การเงิน

สรรพากรเป็นปลื้ม คาดเก็บ ภาษี 2563 ได้มากถึง 2.1 ล้านล้านบาท

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published January 29, 2019
  • กรมสรรพากรเปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2563 มีเป้าหมายการจัดเก็บภาษี 2.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2562 ที่มีเป้าหมายการเก็บภาษี 2 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 6% 
  • ปีนี้อินเทอร์เน็ตถูกนำมาใช้อำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีมากขึ้น ทำให้การยื่นภาษี หรือการขอคืนเงินภาษีทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

สรรพากรคาดเก็บภาษี ปีงบประมาณ 2563 ถึง 2.1 ล้านล้านบาท

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ได้กล่าวถึงการเก็บภาษีเกินเป้าในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2562 เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษีมากขึ้น ทำให้มั่นใจว่าการเก็บภาษีทั้งปีงบประมาณ 2562 และ 2563 ที่ต้องการภาษีเพิ่มขึ้นยังได้ตามเป้าหมาย

มีการระบุว่า งบประมาณ 2562 ในช่วงไตรมาสแรก ตั้งแต่เดือน ต.ค. -ธ.ค. 2561 กรมสรรพากรเก็บภาษีได้เกินกว่าเป้าหมาย 2.7 หมื่นล้านบาท หรือ 7% และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 4 หมื่นล้านบาท หรือ 11% โดยการเก็บภาษีสูงกว่าเป้าหมายทุกตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล เป็นต้น

ซึ่งหลายฝ่ายคาดการว่า เป็นผลมาจากการเพิ่มระบบออนไลน์ในปีนี้ที่ให้ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ยังให้สามารถอัปโหลดเอกสารผ่านทางออนไลน์ได้เลย โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามายื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเข้ามาช่วยการเก็บภาษี ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงอำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีให้ง่าย และรวดเร็ว เข้ากับยุคสมัยใหม่ ปรับภาพการยื่นภาษีให้ง่าย เข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้กรมสรรพากรคาดว่าจะมีบุคคลธรรมดายื่นแบบเสียภาษี 10-11 ล้านราย มีคนเสียภาษี 4 ล้านราย และตั้งเป้าหมายให้มีการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต 90% จากปีก่อนอยู่ที่ 85%

เพราะนอกจากได้คืนภาษีรวดเร็วแล้ว ยังสะดวกสบาย ไม่ยุ่งยาก เนื่องจากผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบฟอร์มทางอินเทอร์เน็ต และสามารถคืนภาษีผ่านบัญชีพร้อมเพย์ได้ภายใน 2-3 วัน เท่านั้น ในกรณีที่ไม่ต้องขอเอกสารเพิ่มเติม ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โลกออนไลน์สำคัญมากในยุคนี้

นอกจากนี้ ทางกรมสรรพากรได้เปิดเผยอีกว่า ขณะนี้ มีผู้ยื่นมาเพียง 7 แสนราย มีการขอคืนภาษี 4 แสนราย โดยกรมสรรพากรได้คืนภาษีไปแล้ว 2 แสนกว่าราย หรือประมาณ 55% ของผู้ขอคืนภาษีทั้งหมดในปัจจุบัน

สำหรับการผลักดันร่างกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-business) ซึ่งเป็นที่สนใจของเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ รวมไปถึง การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการในต่างประเทศ

ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคาดว่าจะไม่ทันรัฐบาลชุดปัจจุบัน ต้องเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่เห็นชอบใหม่อีกครั้ง และกรมสรรพากรหวังว่า กฎหมายดังกล่าวจะทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการธุรกิจบนแพลตฟอร์มในและนอกประเทศเท่าเทียมกัน และกฎหมายดังกล่าวจะไม่กระทบกับการเก็บภาษีของกรมสรรพากรในปีงบประมาณ 2562 และ 2563 แน่นอน

จะเห็นได้ว่าระบบออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญตั้งแต่ปีที่แล้ว และถูกปรับให้มีบทบาทเข้ากับคนรุ่นใหม่มากขึ้น มีการอำนวยความสะดวกในการยื่นภาษี และนี่อาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนกล้าที่จะเปิดตัวเสียภาษีมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ การเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีความสำคัญ เพราะเงินภาษีต่างๆ เหล่านั้นคิดเป็น 80% ของรายได้ที่เก็บให้ประเทศทั้งหมด สำหรับในส่วนของการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเงินได้ที่เกิดขึ้นในปี 2561 ที่ต้องยื่นตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 2562 หากยื่นทางอินเทอร์เน็ตสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 9 เม.ย. 2562

อย่าลืมไปทำหน้าที่พลเมืองที่ดี ยื่นภาษีกันล่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.khaosod.co.th/economics/news_2146249


บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024