แคร์สุขภาพ

ประตูหนีบนิ้ว! อุบัติเหตุเล็กๆ ที่ไม่เล็กอย่างที่คิด

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
 
Published: January 22,2021
ประตูหนีบนิ้ว

ประตูหนีบนิ้ว อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ แน่นอนว่าดูผิวเผินอาจจะเป็นอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า บางครั้ง ประตูหนีบนิ้ว อาจจะเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คุณคิดก็ได้ ว่าแต่ถ้าเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น เราจะทำอย่างไรดีนะ ? อาการแบบไหนควรไปพบแพทย์ คลิกเลย! 

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ประตูหนีบนิ้ว

    ประตูหนีบนิ้ว! อุบัติเหตุเล็กๆ ที่ไม่เล็กอย่างที่คิด

     

    เช็กความรุนแรงของบาดแผล และอาการบาดเจ็บ

    นอกจากอย่าตื่นตกใจ พยายามคุมสติแล้ว คุณลองตรวจเช็กนิ้ว มือ ที่โดนประตูหนีบมีบาดแผล มีเลือดออกหรือไม่ รวมไปถึงเช็กว่า มีอาการเล็บฉีกหรือเปล่า 

    ในกรณีที่มีอาการดั่งกล่าว ควรเริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดบาดแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด ซับให้แห้ง และทำแผลด้วยเบตาดีน หรือปิดพลาสเตอร์ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในแผล

     

    บรรเทาอาการปวด ด้วยการประคบเย็น

    หลังจากเช็กอาการของนิ้ว หรือมือที่ถูกประตูหนีบแล้ว ให้คุณใช้น้ำแข็ง หรือแผ่นทำความเย็น ห่อด้วยผ้าขนหนูสะอาด แล้วมาประคบในบริเวณนิ้วที่โดนประตูหนีบ และควรทำทันที เพราะการประคบเย็นในทันที จะสามารถช่วยลดอาการปวดและอาการบวมลงได้ และควรประคบเย็นต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 10 นาที และประคบทุกๆ 20 นาที ตลอดวัน 

    ที่สำคัญ ต้องระวังอย่าให้น้ำแข็งสัมผัสกับผิวโดยตรงเป็นเวลานาน เพราะอาจเสี่ยงโดนน้ำแข็งกัดได้ และอย่าประคบแรงเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้เกิดอาการช้ำ และปวดรุนแรงแทนได้

    หรือในกรณีที่ไม่มีน้ำแข็งจริงๆ คุณอาจจะหาอะไรที่เย็นๆ มาประคบแทนแก้ขัดไปก่อนก็ได้ อย่าง ถุงผัก, ถุงอาหารแช่แข็งที่อยู่ในช่องฟรีซ ก็สามารถใช้ได้ทดแทนชั่วคราวเหมือนกัน

     

    บรรเทาอาการปวดจากการโดนประตูหนีบนิ้วด้วยการประคบเย็น

     

    ควรยกนิ้วขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจ

    การยกนิ้วขึ้นให้สูงกว่าระดับของหัวใจ จะทำให้เลือดไหลเวียนไปยังบริเวณที่บาดเจ็บได้ช้าลง และช่วยลดแรงดัน อาการบวม และอาการอักเสบได้

    นอกเหนือจากการหมั่นยกนิ้วแล้ว แนะนำว่า อย่าเพิ่งใช้นิ้วที่โดนประตูหนีบในทันที ควรหยุดพักให้นิ้วมีอาการดีขึ้น เพราะอาจทำให้อาการบาดเจ็บนั้นรุนแรงขึ้นมากกว่าเดิม 

    ที่สำคัญ อย่าลืมหมั่นเช็กอาการ หรือคอยสังเกตดูว่า นิ้วที่โดนหนีบนั้นมีอาการบวม อักเสบ หรือมีอาการอื่นๆ แทรกซ้อนเข้ามาหรือไม่อีกด้วย เพราะโดยทั่วไป อาการที่โดนประตูหนีบนิ้ว สามารถหายได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ 

    แต่ในบางครั้ง หากโดนประตูหนีบแรงๆ หรือมีบาดแผลที่ดูแลทำความสะอาดได้ไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดปัญหา และหากมีอาการดั่งต่อไปนี้ ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ 

    • นิ้วรู้สึกชาทหรือไม่มีความรู้สึก
    • ไม่สามารถขยับนิ้ว หรืองอนิ้วไม่ได้
    • นิ้วเบี้ยวผิดรูป หรือกระดูกหัก
    • มีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น น้ำหนอง นิ้วบวมแดง หรือมีไข้
    • ข้อหรือกระดูกที่ฝ่ามือบาดเจ็บ
    • เนื้อรองเล็บบาดเจ็บ
    • มีแผลบาดลึก
    • มีสิ่งสกปรกติดค้างที่ต้องเอาออกไม่ให้ติดเชื้อ
    • ไม่หายสนิทเสียที หรืออาการไม่ดีขึ้น

     

    ประตูหนีบที่นิ้วมือ นิ้วเท้า

     

    ทานยาแก้ปวด หากยังปวดแผลอยู่

    หากมีอาการปวดมากจนทนไม่ไหว สามารถกินยาแก้ปวด หรือยาลดอักเสบที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาและควรมีติดไว้ในตู้ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาพาราเซตามอล ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือยาแอสไพริน เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการอักเสบได้ แต่ก่อนทานยานั้น ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชก่อนซื้อเสมอด้วย

    อย่าลืม กินยาให้ครบโดสตามที่คุณหมอสั่ง หรือเภสัชกรแนะนำ อย่างยา Acetaminophen ต้องกินทุก 4 – 6 ชั่วโมง ส่วน ibuprofen ทุก 6 – 8 ชั่วโมง และถ้าคุณมีปัญหาเรื่องกระเพาะ ไต หรือท้องอยู่ อย่าทานยา ibuprofen โดยไม่ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อนเด็ดขาด

    ทั่วไปแล้ว อาการบาดเจ็บก็ควรจะดีขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วัน อย่าลืมลองขยับนิ้วที่โดนประตูหนีบดู ว่าสามารถขยับได้ตามปกติหรือไม่ หากคุณไม่สามารถขยับนิ้วได้ หรือไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกในบริเวณนิ้วนั้นได้ ควรรีบไปพบหมอเพื่อทำการตรวจในทันที

     

    ปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อโดนประตูหนีบนิ้ว

     

    สิ่งที่ไม่ควรทำ หากโดนประตูหนีบ

    ในกรณีที่มีแผลเลือดไหล หลังจากทำความสะอาด เราจะแนะนำให้ใช้พลาสเตอร์ปิดแผล มากกว่าการพันผ้าพันแผล หรือรัดในบริเวณนิ้วที่โดนประตูหนีบ เพราะอาการบาดเจ็บจากการโดนประตูหนีบจะทำให้มีเลือดไหลมาในบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก การพันหรือรัดแผลในบริเวณนี้ จะทำให้เลือดไม่สามารถมาเลี้ยงได้อย่างเพียงพอ และทำให้เนื้อเยื่อในบริเวณที่โดนประตูหนีบเสียหายมากขึ้น

     

    นอกจากนี้ก็พยายามอย่าใช้เพิ่งรีบใช้นิ้วที่บาดเจ็บจนกว่าจะหายดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดมากขึ้น หรือทำให้แผลแย่ลงได้

     

    บางครั้ง เลือดจะเริ่มมาสะสมในบริเวณที่ถูกประตูหนีบ ทำให้เกิดเป็นรอยช้ำ หรือห้อเลือด ในบริเวณนิ้ว หรือใต้เล็บ ที่อาจทำให้รู้สึกปวดหรือชาได้ คุณควรเจาะห้อเลือดนั้นโดยใช้เข็มที่ทำการฆ่าเชื้อแล้ว เพื่อช่วยระบายเลือดที่ค้างอยู่ให้ออกไป และทำให้แผลหายได้ไวขึ้น

    ประตูหนีบนิ้วนั้น หายได้ไม่ยาก ไม่กี่สัปดาห์ อาการก็จะดีขึ้น และหลังจากนั้นควรพยายามขยับ และยืดนิ้วที่บาดเจ็บนั้น หรือนวดเบาๆ ในบริเวณที่โดนหนีบ เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดการสะสมของเซลล์เนื้อเยื่อ และเซลล์เลือดที่ตายแล้ว ทำให้อาการบาดเจ็บฟื้นฟูเร็วขึ้นอีกด้วย

     

    สิ่งที่ไม่ควรทำหากโดนประตูหนีบนิ้ว

     

    เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ อย่างประตูหนีบนิ้ว หายเราดูแล รักษาไม่ดี หรืออาการไม่ดีขึ้น ก็อาจนำพาไปสู่อาการที่ใหญ่กว่าได้ อย่างงี้ ต้องนี่เลย! ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล จาก Rabbit Care ที่ช่วยให้คุณอุ่นใจได้มากขึ้นกับทุกย่างก้าวของชีวิต

    ไม่ว่าจะเรื่องใหญ่ประตูหนีบนิ้วจนกระดูกแตก หรือแค่หกล้มเป็นแผล ก้างปลาติดคอ ประกันอุบัติเหตุเหล่านี้ก็ช่วยเหลือคุณได้!

    ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


    สรุป

    สรุปบทความ

    ประตูหนีบนิ้วเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ ความรุนแรงของอุบัติเหตุขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น แรงที่หนีบ ระยะเวลาที่หนีบ และตำแหน่งที่โดนหนีบ หากหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุไม่ได้ ก็ควรรีบปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นแต่หากอาการรุนแรง เช่น ปวดมาก เลือดออกมาก เล็บฉีกมาก หรือสงสัยว่ากระดูกนิ้วหักหรือร้าว ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

    จบสรุปบทความ
     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024