แค่จุดธูปไหว้เจ้าที่ในบ้านก็ต้องระวัง! เพราะอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งได้?!
เราคงปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการจุดธูปเป็นหนึ่งในกระบวนการขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ ในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การไหว้พระบนบาน ไหว้เจ้าที่ในบ้าน เพราะตามความเชื่อแล้ว การจุดธูปถือเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ประกอบพิธีกรรมกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่คุณรู้หรือไม่ หากไม่ระวังให้ดี คุณอาจได้สารก่อมะเร็งที่เทียบเท่ากับการดมควันบุหรี่ได้!
ว่าแต่ทำไมแค่การจุดธูปถึงเสี่ยงเป็นมะเร็งกันนะ? ถ้าเปลี่ยนไปใช้ธูปไร้ควัน หรือ ธูปเทียนไฟฟ้า จะช่วยได้ไหม? มีแค่ควันธูปเท่านั้นหรือที่เป็นอันตรายต่อคน? ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กับ แรบบิท แคร์ กันดีกว่า!
มีอะไรในควันจากการจุดธูป? ทำไมถึงกลายเป็นความเสี่ยงเกิดมะเร็ง?
หลายคนอาจจะเคยได้ยินข่าวที่ว่า มีเคสผู้ป่วยเป็นมะเร็งปอดทั้งที่สภาพแวดล้อมไม่มีใครสูบบุหรี่ และเมื่อสืบไปมาก็พบต้นตอว่าผู้ป่วยจุดธูปเป็นประจำ แต่หลายคนก็อาจจะมีข้อสงสัยอยู่ดี ทำไมการจุดธูปจนเกิดควันถึงเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งไปได้กันนะ?
เรื่องนี้เคยมีการวิจัยออกมาแล้วพบว่า ในธูปนั้นมีส่วนประกอบที่ทำจาก ขี้เลื่อย, กาว, น้ำมันหอมสกัดจากพืช, ไม้หอม, ใบไม้, เปลือกไม้ และสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม
ดังนั้น เมื่อเราจุดธูปจนเกิดการเผาไหม้กลายเป็นควัน เกิดอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เมื่อทุกสูดดมเข้าไป ควันจะลงสู่ระบบทางเดินหายใจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพในอนาคตได้ รวมถึงควันเหล่านี้จะเกิดเป็นสารก่อมะเร็ง 3 ชนิด ได้แก่
- เบนซีน 1,3 ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- บิวทาไดอีน เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งระบบเลือด
- เบนโซเอไพรีน เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอด ผิวหนัง และกระเพาะปัสสาวะ
โดยสิ่งที่น่าสนใจในการวิจัย คือ ธูป 1 ดอก พบว่าปริมาณสารก่อมะเร็งไม่ต่างจากบุหรี่ 1 มวน ส่งผลให้คนที่สูดดมกลิ่นธูปก็ได้รับสารก่อมะเร็งไม่แตกต่างจากการสูบบุหรี่ และเฉลี่ยแล้ว การจุดธูปในบ้าน 3 ดอก โดยไม่ระบายอากาศ อาจก่อเกิดมลพิษจะเทียบเท่าสี่แยกที่มีการจราจรหนาแน่น
และไม่ใช่แค่ความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเท่านั้นที่มาพร้อมควันธูปเท่านั้น แต่สารพิษในควันธูป เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด, ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์, ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา เช่น ตาแห้ง แสบตา น้ำตาไหล ระคายเคืองจมูก และระบบทางเดินหายใจเกิดอาการระคายเคือง เช่น จาม ไอ ระคายคอ หายใจลำบาก
บางรายอาจมีอาหารปวดศีรษะ, เหนื่อยล้า, ง่วงนอน และหมดสติได้หากสูดดมระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก, สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด จะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือสูดดมควันธูปจะดีที่สุด
นี่เองที่ทำให้ วัด หรือศาลเจ้าต่าง ๆ เป็นสถานที่เสี่ยงก่อมะเร็งในเลือดสูงกว่าทั่วไป 4 เท่า แต่ทั้งนี้ก็มีงานวิจัยออกมาเช่นกันว่า สภาพแวดล้อมต่าง ๆ อย่าง อุณหภูมิ, ความเร็วลม, ความชื้น, การระบายอากาศ ก็ล้วนส่งผลต่อการสูดดมควันธูปด้วย
แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ควันธูปที่จุดไหว้เจ้าที่ในบ้าน ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง กำยานหอม ธูปหอม เทียนหอมอีกด้วย ทางที่ดีอาจเลือกเป็นน้ำมันหอมระเหยที่ไม่มีการเผาไหม้จะดีกว่า!
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุเป็นระยะเวลาที่ชัดเจนว่า เราจะต้องสูดดม หรือรับควันธูปเป็นระยะเวลานานเท่าใดจึงจะก่อเกิดเป็นโรคมะเร็ง แต่จากการวิจัยโดยทั่วไปเฉลี่ยแล้ว ต้องมีระยะเวลานานติดต่อกันเป็น 10 ปี ขึ้นไป โดยระยะเวลาต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น พันธุกรรม, สภาพแวดล้อมว่าสามารถระบายอากาศได้มากน้อยแค่ไหน, ความถี่ในการจุดธูปในแต่ละวัน หรือสัปดาห์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้มีการวิเคราะห์ด้วยว่า หาก 1 ปี ทั้งโลกมีคนจุดธูปเป็นในระดับ 10,000 – 100,000 ตัน จะถูกนับเป็นการปล่อย CO2 ไม่ต่ำกว่า 3.25 ล้านกิโลกรัมเลยทีเดียว!
ไม่ใช่แค่ควันธูป แต่การเผาไหม้รูปแบบอื่นก็เสี่ยงเช่นกัน!
จริงอยู่ที่ควันธูปเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งที่ใกล้ตัว แต่คุณรู้หรือไม่ว่ายังมีควันประเภทอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันที่เป็นพิษ และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น PM 2.5 , ควันท่อไอเสียรถยนต์, ควันบุหรี่, ควันจากการเผาขยะ เผากระดาษเงินกระดาษทอง หรือเผาไร่นา, ควันจากกิจกรรมในอาคาร เช่น การใช้เชื้อเพลิงจุดอาหาร, การจุดยากันยุง เป็นต้น
อย่างการสูบบุหรี่เอง จัดเป็นหนึ่งในปัจจัยอันดับหนึ่งที่ทำให้คนเป็นโรคมะเร็งปอดมากที่สุด ไม่เพียงแต่เสี่ยงกับตัวผู้สูบเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงกับคนรอบตัวไม่แตกต่างไปจากการควันธูป หรือการสูดดมฝุ่น PM 2.5 เป็นระยะเวลานาน ๆ
แน่นอนว่ากรณีของธูปที่ไร้ควัน หรือธูปอโรมานั้น ทางการแพทย์ยังถือว่ายังเป็นหนึ่งในความเสี่ยงอยู่ และบางงานวิจัยแจ้งว่า ธูปไร้ควัน หรือ ธูปอโรมา มีการปล่อยสารเบนซินไม่ต่างจากธูปธรรมดา เนื่องจากมีการเผาไหม้
และไม่เพียงแค่โรคมะเร็งปอดเท่านั้นที่เสี่ยงเป็นจากการสูดดมควันดั่งกล่าว แต่ยังรวมไปถึงโรคร้ายอื่น ๆ เช่น เช่น โรคปอด, โรคถุงลมโป่งพอง หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ได้ด้วย
แก้อย่างไร ถ้าไม่อยากเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดหรือโรคร้ายอื่น ๆ
หลาย ๆ บ้านไม่สามารถเลิกจุดธูป ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลด้านศาสนา ไหว้เจ้าที่ในบ้าน ทาง แรบบิท แคร์ เลยขอแนะนำวิธีหลีกเลี่ยงการจุดธูปที่ถูกต้อง โดยมีวิธี ดังนี้
- พยายามลดการจุดธูป เช่น จากเดิมจุดเป็นประจำทุกวัน อาจจะลดเหลือ สามวันครั้ง สัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละครั้ง เพื่อลดโอกาสในการดมควันธูปเป็นระยะเวลายาวนานและต่อเนื่อง
- หากต้องจุดธูปไหว้เจ้าที่ในบ้านจริง ๆ ควรจุ่มธูปลงในน้ำหรือทรายก่อนปักลงในกระถาง จะช่วยลดควันธูปได้
- พยายามใช้ธูปขนาดสั้นเพื่อให้เกิดควันระยะสั้น เพื่อลดระยะเวลาและปริมาณของควันธูป รวมถึงเลือกใช้ธูปทางเลือก เช่น ธูปเทียนไฟฟ้า หรือธูปไร้สารก่อมะเร็ง แทนก็ได้
- หลีกเลี่ยงการจุดธูปในบ้าน, สถานที่ทำงาน หรือศาสนสถาน ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ห้องแอร์, ห้องที่ไม่มีประตูหน้าต่าง และเลือกจุดในบริเวณที่โล่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก พยายามจุดธูปให้อยู่เหนือทิศทางลมเพื่อลดการรับสัมผัสสาร หรือสูดดมควันมากเกินไป
- ถ้าต้องทำงานในบริเวณที่มีควันธูป หรืออยู่กับควันธูปเป็นระยะเวลานาน ควรใช้หน้ากากป้องกันโรคปิดปากและจมูก ใช้ถุงมือในการจับธูป
- เมื่อเสร็จพิธีสักการะ ควรดับหรือเก็บธูปให้เร็วขึ้นเพื่อลดโอกาสการสะสมของฝุ่นละอองจากควันธูปที่อาจตกค้างในบริเวณรอบ ๆ และช่วยป้องกันอันตราย ลดเสี่ยงการเกิดไฟไหม้ด้วย
- หลังการสัมผัสควันธูปควรล้างมือ ล้างหน้า ล้างตา ให้สะอาด และควรไปตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีอย่างต่อเนื่อง
จะเห็นได้ว่า ปัจจัยเสี่ยงในโรคมะเร็ง หรือโรคร้ายต่าง ๆ นั้น อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ดังนั้นการระมัดระวัง หลีกเลี่ยง รวมถึงตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณไม่ควรละเลย และสำหรับใครที่อยากเพิ่มความมั่นใจในการดูแลให้มากขึ้น ต้องนี่เลย! ประกันสุขภาพ กับ แรบบิทแคร์!
ที่นี้ นอกจากจะมีบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพแล้ว ยังมีหลากหลายประกันสุขภาพให้คุณเลือกหลากหลาย ทั้ง ประกันโรคร้ายแรง, ประกันสุขภาพเด็ก และประกันเฉพาะทางที่ช่วยครอบคลุมการดูแลให้คุณอุ่นใจได้มากขึ้น! คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct