จู่ๆ ถูกสุนัขกัด แบบนี้ทำยังไงดี?
สุนัข คือ สัตว์ที่แสนรู้ และได้ชื่อว่าเป็นเพื่อนแท้ของมนุษย์ แต่ในบางครั้ง สัญชาตญาณของมันอาจะทำร้ายเราได้โดยไม่รู้ตัว หากเป็นสุนัขข้างทาง ก็คงทำได้ยาก แต่ถ้าเป็นสุนัขที่มีเจ้าของละ มีวิธีให้อีกฝ่ายรับผิดชอบได้ไหม ? สามารถเรียกร้องขอค่าชดเชย เพื่อที่เราไม่ต้องใช้ ประกันสุขภาพ ของตัวเองเบิกเคลมอาการบาดเจ็บเหล่านี้ได้รึเปล่านะ ? มาดูกันเลยดีกว่า
หากถูกสุนัขกัดควรปฐมพยาบาลอย่างไร?
เริ่มต้นปฐมพยาบาลอย่างไรถ้าถูกสุนัขกัด
เมื่อถูกสุนัขกัด เบื้องต้น คุณสามารถปฐมพยาบาลก่อนพบแพทย์ได้ ดังนี้
- กรณีถูกกัดโดยไม่มีแผลหรือรอยถลอก แต่สัมผัสน้ำลาย หรือเลือดของสุนัข
เบื้องต้นให้ล้างบริเวณที่ถูกกัดให้สะอาด และพยายามสังเกตอาการของสุนัขอย่างน้อย 10 วัน หากมีอาการต้องสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนทันที
- กรณีถูกกัดเป็นรอยช้ำ หรือถูกข่วนที่ผิวหนัง เป็นรอยถลอก แต่ไม่มีเลือดออก
เบื้องต้นให้ล้างบาดแผลด้วยน้ำ และสบู่โดยฟอกหลายๆ ครั้ง ล้างสบู่ออกให้หมด และรักษาบาดแผล ก่อนพบแพทย์ เพื่อขอฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
- กรณีถูกกัดโดยฟันของสุนัข หรือถูกข่วน จนมีเลือดออก
ก่อนอื่น ให้รีบล้างบาดแผลด้วยน้ำสบู่โดยฟอกหลายๆ ครั้ง พยายามล้างให้เข้าถึงรอยลึกของแผล อย่างน้อย 15 นาที ล้างสบู่ออกให้หมด ก่อนทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น 70% แอลกอฮอล์ โพวิดีน – ไอโอดีน เป็นต้น
ที่สำคัญ ระวังอย่าให้บาดแผลช้ำ และห้ามทาครีมใดๆ ก่อนไปพบแพทย์ เพื่อทำการฉีดวัคซีน และอิมมูโนโกลบุลินโดยเร็วที่สุด
หลังจากที่ปฐมพยาบาลเรียบร้อย คุณควรไปพบแพทย์ ภายใน 2 วัน หลังจากที่ถูกสุนัขกัด และในกรณีที่แพทย์นัดฉีดวัคซีน ใน 3 เข็มแรก ควรมาตามนัดของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆ
รู้จักกับกฎหมายใกล้ตัว ทำยังไงดี เมื่อโดนสุนัขกัด ?
หากเป็นสุนัขข้างทาง อาจจะต้องปล่อยเลยตามเลย แต่ถ้ากรณีที่สุนัขตัวนั้น มีเจ้าของ คุณอาจทำการฟ้องร้อง เพื่อเรียกชดใช้ค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ที่เราเสียไปได้จากกฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ที่โดนสุนัขกัด ตามข้อกฏหมายที่ว่า
“หากเจ้าของสัตว์เลี้ยง ปล่อยปละละเลยจนทำให้สัตว์เลี้ยงของตนไปทำอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์ จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่ง 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
สำหรับการชดใช้ค่าสินไหมนั้น คือการที่ฝ่ายเจ้าของสัตว์เลี้ยง จะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นการทดแทนให้กับแก่ฝ่ายที่เสียหาย เพราะสัตว์เลี้ยงของบุคคลนั้นๆ โดยที่เราไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของสัตว์เลี้ยงได้ระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายแล้วจริงๆ
เช่น หากเราเดินอยู่บนถนนสาธารณะ ไม่ได้รุกล้ำ เข้าเขตบ้านของฝ่ายเจ้าของสัตว์เลี้ยง หรือไม่ได้ทำการรังแก แหย่ ยั่วยุสุนัข แต่กลับมีสุนัขที่มีเจ้าของพุ่งมากัด แบบนี้สามารถเรียกร้องได้ทันที
แต่บางครั้ง ก็มีข้อยกเว้น ไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมชดเชยให้ โดยกรณีที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ต้องรับโทษ เจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องพิสูจน์ได้ว่า คนที่ถูกกัดนั้น ทำให้สุนัขทำร้ายตามสัญชาตญาณ หรือเจ้าของสัตว์เลี้ยงเอง ก็ได้ระมัดระวังอย่างดีแล้วในการดูแลสัตว์เลี้ยง เพียงแต่สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเหตุสุดวิสัยที่ตนไม่สามารถควบคุมได้
เช่น เจ้าของได้ผูกสายจูงสุนัขไว้ในบ้าน แต่ผู้ถูกกัดได้เข้ามาบ้าน และเข้าใกล้ในรัศมีที่สุนัขสามารถทำร้ายได้ เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้ เจ้าของสุนัขไม่จำเป็นต้องโทษแต่อย่างใด และไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายต่างๆ
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเกิดเหตุ ผู้ถูกสุนัขกัดอาจจะไปแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อนัดหมาย และเจรจาเพื่อตกลงเรื่องค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยต่างๆ ได้
และไม่ว่าจะเป็นผู้ถูกกัด หรือเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยง เราขอแนะนำว่า ควรเรียกทั้งสองฝ่ายมาเจรจาจะดีกว่า เพื่อตกลงถึงค่าใช้จ่าย ค่าทดแทนต่างๆ กันเอง จะดีกว่า เพราะถ้าไปขึ้นศาล นอกจากจะกลายเป็นเรื่องใหญ่โตแล้ว อาจทำให้ทั้งสองฝ่ายสูญเสียเงินในการฟ้องร้องกันเกินความจำเป็นได้
แล้วถ้าป้องกันตัว ด้วยการตีสุนัขที่เข้ามากัด จะผิด พรบ. คุ้มครองสัตว์ไหม ?
เรียกได้ว่าเป็นข้อถกเถียงที่น่าสนใจมากๆ เพระาหลายคนอาจจะกังวลว่า เมื่อเกิดเหตุสุนัขกัด มีการลงไม้ลงมือ เจ้าของสัตว์เลี้ยงบางรายอาจปฎิเสธ ฟ้องกลับ และแจ้งผู้ถูกสุนัขกัดคืนว่า ทำผิด พรบ.คุ้มครองสัตว์ได้
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจใหมม่อีกสักรอบกันก่อนว่า พ.ร.บ.ป้องกันทารุณกรรมสัตว์ นั้น คือ กฏหมายที่ป้องกันการฆ่ารุณกรรม และตัวกฏหมายนี้ มีข้อยกเว้นตามมาตรา 21 การกระทําดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์
- การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร
- การฆ่าสัตว์ตามกฎหมาย เช่น การฆ่า เพื่อนำเนื้อสัตว์มาจำหน่าย
- การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
- การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถเยียวยา หรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้
- การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา
- การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน
- การกระทําใดๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์เท่านั้น
ดังนั้น หากเจอสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ประเภทไหนเข้ามาทำร้าย และคุณไม่สามารถหยุดเหตุการณ์ได้จนถึงที่สุดแล้ว คุณสามารถป้องกันตัวเองได้โดยไม่ถือเป็นความผิด
เช่น จู่ๆ สุนัขที่มีเจ้าของพุ่งเข้ามากัด และคุณใช้ไม้ตีเพื่อให้สุนัขถอยหนี โดยที่ไม่ตามไปทุบตีซ้ำ แบบนี้ถือว่าป้องกันตัว และไม่ผิด พรบ.คุ้มครองสัตว์ แต่ในกรณีที่เมื่อกระทืบเท้า แล้วสุนัขหนี แต่ยังเอาไม้ไปไล่ทุบตี แบบนี้คดีอาจจะพลิก ถือว่าผิดกฏหมายได้
จะเห็นได้ว่า การถูกสุนัขกัดนั้น เราอาจจะต้องสูญเสียค่ารักษาพยาบาลต่างๆ มากกว่าที่เห็น ไม่ว่าจะเป็นค่าทำแผล ค่าวัคซีน หากไกล่เกลี่ย เจรจา ได้ข้อตกลงที่ดีกับเจ้าของสุนัขนั้นๆ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าสุนัขที่ว่า ไม่มีเจ้าของ และยังเจรจา ไกล่เกลี่ยยังไม่แล้วเสร็จคงแย่แน่ เพราะค่าวัคซีนต่อเข็ม ก็ไม่ใช่ราคาน้อยๆ ซ้ำยังต้องฉีดให้ตรงกับกำหนดการนัดของแพทย์
จะดีกว่าไหม ถ้าเรามี ประกันสุขภาพ เอาไว้ติดตัว เพื่อความอุ่นใจ ไม่ใช่แค่ในกรณีที่ถูกสุนัขกัดเท่านั้น แต่ยังครอบคลุม ช่วยเหลือได้ถึงค่ารักษาพยาบาล อาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดูเพิ่มเติมของความคุ้มครองจากประกันสุขภาพและ ประกันอุบัติเหตุ จาก Rabbit Care ที่มีหลากหลายรูปแบบประกันให้คุณได้เปรียบเทียบ เลือกสรรให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ได้ไม่ยาก!
สรุป
สัตว์เลี้ยงเช่นสุนัขมีความรู้สึกและเป็นเพื่อนแท้ของมนุษย์ แต่อาจเกิดความเสี่ยงที่ทำให้สุนัขทำร้ายมนุษย์ได้ เมื่อถูกสุนัขกัดการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งสำคัญ และตามกฎหมายการเรียกร้องชดเชยค่ารักษาอาจกระทำได้ตามข้อกฎหมายคุ้มครองผู้ที่โดนสุนัขกัด และการป้องกันตัวจากการโจมตีของสุนัขไม่ถือว่าผิด พรบ.คุ้มครองสัตว์
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct