แคร์สุขภาพ

ได้เวลาจัด “ตู้ยาสามัญประจำบ้าน” อย่างมือโปร

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: August 28,2020
  
Last edited: April 3, 2024
ยาสามัญประจำบ้าน

การมี “ตู้ยาสามัญประจำบ้าน” คือ สิ่งจำเป็นสำหรับการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ครอบครัวของคุณต้องการตู้ยาที่มีอุปกรณ์ครบครันเพื่อให้คุณสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วเมื่อสมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ ตรวจสอบรายการยาเหล่านี้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีอุปกรณ์พื้นฐานทั้งหมด เพื่อให้ลูกของคุณมีสุขภาพที่ดีและปลอดภัย อย่าลืมเก็บยาทั้งหมดให้พ้นมือเด็ก และควรตรวจสอบกับกุมารแพทย์ของคุณก่อนใช้ยา

สิ่งที่ควรมีในตู้ยาสามัญประจำบ้าน

สิ่งที่ควรมีในตู้ยาสามัญประจำบ้าน

1. ยาแก้ปวดลดไข้

ผู้เล่นหลักในวงการยาแก้ปวดคือ พาราเซตามอล (Paracetamol) และ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ซึ่งส่วนใหญ่รู้จักกันดีในชื่อแบรนด์เช่น Tylenol และ Panadol คุณอาจเลือกใช้ยาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุและความเจ็บป่วยหรือผลข้างเคียงของยาที่จะมีต่อลูกของคุณ พาราเซตามอลสำหรับเด็กสามารถรับประทานได้ตั้งแต่ 2 เดือน ไอบูโพรเฟน อยู่ที่ 6 เดือน ในการใช้ยาแต่ละครั้ง สามารถให้ได้ทุก ๆ 6 ชั่วโมง และเพื่อการบรรเทาที่ได้ผล คุณสามารถใช้ยาทั้งสองสลับกันในทุก 3 ชั่วโมง ปริมาณยาที่ลูกของคุณจะใช้นั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ไม่ใช่อายุ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหากคุณต้องการ

  • พาราเซตามอล
    คุณสามารถใช้มันสำหรับอาการปวดศีรษะของเด็ก เคล็ดขัดยอก และมีไข้ แต่จะเป็นเพียงการบรรเทาความไม่สบายตัวเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่ลดอุณหภูมิจากอาการไข้ หากลูกของคุณมีไข้ แต่ยังมีความสุขร่าเริงดีอยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยา
  • ไอบูโพรเฟน
    ยานี้สามารถลดอาการปวดและไข้ แต่คุณสมบัติในการต้านการอักเสบของมันทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับอาการเคล็ด ในขณะที่ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลกแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ไอบูโพรเฟนเพื่อรักษาอาการ Covid-19 แต่ตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า,yoจะทำให้อาการแย่ลงเมื่อใช้กับเด็กและผู้ใหญ่ หากจะใช้ยาตัวนี้อย่าลืมตรวจสอบวันหมดอายุเป็นประจำ

2. ดูแลผิวหนังและบาดแผล

ผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลผิวเหล่านี้สามารถรับมือกับงานได้หลายอย่าง

  • ปิโตรเลียมเจลลี่ ใช้มันเพื่อช่วยรักษาผิวแห้ง กลาก และผื่นผ้าอ้อม
  • โลชั่น เลือกใช้แบบที่ปราศจากการแต่งสีและกลิ่น คุณสามารถใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลลอก ริมฝีปากแห้ง และผื่นผ้าอ้อม
  • ไฮโดรคอร์ติโซน (ความเข้มข้น 1%) ครีมสเตียรอยด์อ่อน ๆ นี้สามารถลดอาการระคายเคืองจากผื่นคันและแมลงสัตว์กัดต่อยได้ เพียงแค่หลีกเลี่ยงการใช้งานกับแผลเปิด และคุณยังสามารถทาปิโตรเลียมเจลลี่หรือโลชั่นทับไว้ด้านบนยานี้ได้เช่นกัน และจำกัดการใช้ในบริเวณที่บอบบาง เช่น ใบหน้า บริเวณผ้าอ้อม ให้เหลือน้อยกว่า 1 สัปดาห์ หากผื่นยังไม่หายไป ให้รีบปรึกษากุมารแพทย์
ไฮโดรคอร์ติโซน ควรมีติดในตู้ยาประจำบ้าน
  • ครีมยาปฏิชีวนะ สามารถกำจัดการติดเชื้อในบาดแผล รอยไหม้ และรอยขีดข่วนเล็กน้อย หรือใช้เมื่อผิวหนังมีสีแดง บวม หรือรู้สึกเจ็บ
  • ครีมทาผื่นผ้าอ้อม คุณสามารถใช้ปิโตรเลียมเจลลี่ที่มีเนื้อใสผสมเข้ากับครีมเนื้อสีขาวที่มีซิงค์ออกไซด์ เพราะมันจะช่วยปกป้องผิวและสร้างเกราะป้องกันในขณะที่มันเยียวยาผิว
  • ครีมกันแดด มองหาครีมกันแดดสูตรซิงค์ออกไซด์ที่มีค่า SPF30 เป็นอย่างน้อย และมีคุณสมบัติในการป้องกันน้ำและเหงื่อยาวนานถึง 80 นาที ทาซ้ำบ่อย ๆ แม้ว่าพวกเด็ก ๆ จะไม่ได้มีกิจกรรมกลางแจ้งในวันที่แดดจัดก็ตาม

3. ยาแก้แพ้

  • ยาต้านฮิสทามีน (Antihistamines) น้ำมูกไหล อาการคันระคายเคืองบริเวณดวงตาหรือผิวหนัง จาม เป็นสัญญาณบ่งชี้ทั้งหมดของโรคภูมิแพ้ ควรลองใช้ยาที่ไม่ทำให้ง่วงซึมเป็นเวลานาน หากคุณพบว่าอาการยังไม่บรรเทาภายใน 3 วัน หรืออาการแย่ลง โปรดติดต่อแพทย์
  • น้ำเกลือพ่นจมูก ลองใช้วิธีนี้เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก คันจมูก หรือจมูกแห้ง ขั้นแรกให้คุณดูดน้ำมูกด้วยด้วยลูกยางแดงก่อน จากนั้น สอดหัวฉีดโดยชี้ให้ห่างจากกึ่งกลางจมูกออกไปทางหู ฉีดพ่นครั้งหรือสองครั้งในรูจมูกแต่ละข้าง ซับจมูกให้แห้งอย่างเบามือ คุณสามารถทำสิ่งนี้ได้มากถึง 6 ครั้งต่อวันถ้าจำเป็น

4. ยาน้ำแก้ไอ

ไม่ควรให้ยาแก้ไอและแก้หวัดกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 4 ขวบ สำหรับเด็กที่อายุ 4-6 ให้ยาเมื่อมีคำสั่งจากแพทย์เท่านั้น และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ยาบนบรรจุภัณฑ์อย่างระมัดระวัง มองหายาน้ำที่มีเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) และไกวเฟนิซิน (Guaifenesin) ที่ช่วยขับเสมหะด้วย

5. ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูก

ทาผลิตภัณฑ์ประมาณ ¼ ช้อนชาลงบนหน้าอกและหลังของลูกน้อยก่อนนอนเพื่อลดอาการคัดจมูก

ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูก

6. ยาสำหรับทารก

  • ยาแก้ท้องอืด ประกอบด้วยซิเมทิโคน (Simethicone) ซึ่งสามารถสลายฟองก๊าซและบรรเทาอาการปวดท้อง
  • ไกร๊ปวอเตอร์ (Grip water) ยาตัวนี้เป็นการผสมผสานกันของสะระแหน่ คาโมมายล์ หรือยี่หร่า สามารถช่วยบรรเทาอาการจุกเสียดในเด็กได้ หลีกเลี่ยงยาบางตัวที่ผลิตจากต่างประเทศซึ่งอาจมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  • อุปกรณ์ดูดน้ำมูก ทารกไม่รู้วิธีที่จะหายใจทางปากเมื่อจมูกของพวกเขาอุดตัน การใช้อุปกรณ์ดูดน้ำมูกจะช่วยเปิดทางเดินหายใจ เด็กจะเริ่มเรียนรู้ที่จะสั่งน้ำมูกได้เมื่อพวกเขามีอายุราว 2 ขวบ

7. เครื่องมือเครื่องใช้

  • ปรอทวัดไข้ แพทย์บอกว่าควรใช้ปรอทวัดไข้ทางทวารหนักสำหรับเด็กอายุ 1 ขวบไปจนถึง 3 ขวบ และแบบใช้ทางปาก รักแร้ หรือหน้าผากสำหรับเด็กโต
  • พลาสเตอร์ ผ้าพันแผลมีหลากหลายขนาดตั้งแต่ทรงกลมเล็กไปจนถึงทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ใช้สำหรับหัวเข่าที่มีแผลถลอก และคุณควรให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมในการติดพลาสเตอร์ เพราะมันช่วยทำให้พวกเขาสงบในสถานการณ์ที่ตึงเครียด
  • ผ้าก๊อซและเทปติดแผล หากบาดแผลที่มีนั้นใหญ่เกินกว่าที่จะใช้พลาสเตอร์ ให้ตัดผ้าก๊อซให้ได้ขนาดและยึดด้วยเทปติดแผล ซึ่งเทปนี้สามารถรักษานิ้วเท้าที่หักได้
  • แหนบ คือ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการกำจัดเสี้ยนตำหรือหนาม
  • หน้ากากอนามัย ในช่วงที่ Covid-19 ยังระบาดเช่นนี้ หากสมาชิกครอบครัวมีใครที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ก็ให้สวมหน้ากากอนามัยไว้แม้ยามอยู่บ้าน ตอนนี้เราสวมมันหรือสวมหน้ากากผ้า แม้กระทั่งเด็กวัยหัดเดิน เพื่อป้องกันตัวเองและคนอื่น ๆ เมื่อเราออกไปข้างนอก

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

  • วิตามิน สำหรับเด็กที่ไม่ค่อยได้รับประทานอาหารอย่างสมดุล การรับประทานวิตามินรวมสามารถช่วยได้ แต่วิตามินหลายตัวก็มีรสชาติเหมือนขนม ดังนั้น คุณควรเก็บให้พ้นมือเด็ก

สรุป

สรุปบทความ

ยาจำเป็นที่ควรมีติดตู้ยาสามัญประจำบ้าน สำหรับการบาดเจ็บ และความเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ มีดังนี้

  • ยาแก้ปวด ลดไข้ เช่น พาราเซตามอล สามารถใช้สำหรับลดอาการปวดศีรษะ เคล็ดขัดยอก และลดไข้
  • ยาดูแลผิวหนัง และบาดแผล
  • ยาแก้แพ้ เช่น ยาต้านฮิสทามีน (Antihistamines) ลดน้ำมูกไหล อาการคันระคายเคืองบริเวณดวงตา หรือผิวหนัง จากโรคภูมิแพ้
  • ยาน้ำแก้ไอ
  • ยาแก้ท้องอืดสำหรับเด็ก
  • เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ เช่น พลาสเตอร์ ผ้าก๊อซ และเทปติดแผล
จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024