แคร์สุขภาพ

ต้องระวัง! อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้เมื่อเล่นสงกรานต์

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: April 7,2022
  
Last edited: February 21, 2024
วันสงกรานต์ โควิด

ใกล้ถึงช่วงเวลาวันหยุดยาวอย่างเทศกาลสงกรานต์กันแล้ว! แน่นอนว่าหลายคนอาจจะวางแผนสำหรับการเที่ยวโดยที่ไม่ต้องเล่นน้ำสงกรานต์กันมาบ้าง และบางคนอาจจะวางแผนเล่นน้ำสงกรานต์แบบเป็นกันเองในครอบครัว กับญาติ ๆ แบบนี้มีอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์อะไรบ้างที่พบได้บ่อย และเราควรระวังบ้าง มาเตรียมรับมือไปพร้อม ๆ กับ แรบบิท แคร์ กันดีกว่า!

ส่องมาตราต่าง ๆ ก่อนเล่นน้ำกับวันสงกรานต์ โควิด

สำหรับสงกรานต์ ปี 2565 ที่ถึงแม้โควิดยังคงระบาดอยู่ ก็ได้อนุญาตให้มีการจัดงาน และสามารถเล่นน้ำได้ มีผลตั้งแต่วันที่ 10-15 เมษายน 2565 แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข มาตราการ ดังนี้

  • ให้พิจารณาตรวจ ATK ก่อนเดินทาง หรือ ก่อนร่วมงานภายใน 72 ชั่วโมง
  • ผู้จัดงาน และกิจการ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานสงกรานต์ อนุญาตให้เล่นน้ำ และจัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว, สรงน้ำพระ, การละเล่น, การแสดงทางวัฒนธรรม, ประเพณีท้องถิ่น, ขบวนแห่, การแสดงดนตรี และการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในชุมชน, ศาสนสถาน, ร้านอาหาร, ขนส่งสาธารณะ และอีก ฯลฯ โดยต้องลงทะเบียนบนระบบ TSC2+ และประเมินตนเองตามประเภทมาตรการ COVID Free Setting
  • ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม จำหน่าย และบริโภคแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน และนอกงาน หรือพ้นที่สาธารณะ
  • สำหรับพื้นที่ที่มีการจัดกิจกรรม ต้องมีกำหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จัดจุดคัดกรอง และควบคุมความหนาแน่นในพื้นที่จัดงาน (1:4 ตารางเมตร)
  • สวมหน้ากากตลอดเวลา พกเจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง ตลอดเวลาที่ร่วมงาน
  • สามารถจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในครอบครัว เช่น รดน้ำดำหัว, จัดกิจกรรมในที่มีการระบายอากาศได้ดี หรือที่โล่ง ไม่หนาแน่น หรือคับแคบ และพยายามสวมหน้ากากตลอดเวลา

สงกรานต์ โควิด

  • งดกิจกรรมการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกัน
  • เลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน
  • ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ควรได้รับวัคซีนให้ครบก่อนร่วมกิจกรรมสังสรรค์ และสัมผัสใกล้ชิดลูกหลาน
  • ผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสเสี่ยงสูงห้ามร่วมกิจกรรม
  • หลังกลับจากงานสงกรานต์ ให้สังเกตอาการตนเอง 7 วัน
  • หลีกเลี่ยงพบปะกับผู้คนจำนวนมาก หากพบว่ามีอาการสงสัยติดเชื้อ และให้ทำการตรวจ ATK
  • พิจารณามาตรการ Work From Home ให้เป็นไปตามความเหมาะสม และการพิจารณาของหน่วยงาน

โดยสรุปแล้ว วันสงกรานต์สามารถจัดงานได้ตามข้อกำหนดต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้างต้น และควรสังเกตอาการต่าง ๆ ตัวเอง ทั้งก่อนเข้าร่วมและหลังร่วมงาน ร่วมถึงควรปฎิบัติตามมาตราต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด 

อุบัติเหตุช่วงสงกรานต์

เตรียมตัวพร้อมแล้ว มีอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์อะไร ที่เราต้องระวังบ้าง?

นอกจากการเตรียมตัวทำตามาตราการสงกรานต์แล้ว สิ่งที่เราควรระวังไม่ต่างกันคืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ตลอดช่วงเทศกาล โดยอุบัติเหตุที่เกิดได้ และเราต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ 

  • อุบัติเหตุจากระวังการลื่นล้มจากพื้นเปียก

ไม่ว่าจะเป็นการเล่นน้ำ หรือขับขี่รถบนท้องถนน หากมีพื้นที่ไหนมีกิจกรรมเล่นน้ำ ก็อาจอันตรายเกิดอุบัติเหตุทำให้ลื่นล้ม และในกรณีที่ร้ายแรงอาจทำให้เกิดการกระแทกจนกระดูกหักได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยผู้สูงอายุที่ล้มเพียงครั้งเดียว อาจเสี่ยงถึงขั้นแขนขาหัก

หรือในบางรายที่ต้องขับรถแล้วเจอถนนลื่น ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นการมีประกันอุบัติเหตุ หรือประกันรถยนต์ติดตัวไว้เสมอ จะช่วยให้คุณอุ่นใจได้แน่นอน! 

  • อุบัติเหตุจากการเหยียบของมีคม แก้วแตก ขณะเล่นน้ำ

แม้จะมีกฎข้อห้ามเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ก็ตาม แต่เราก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าพื้นถนนจะปลอดภัย เพราะอาจมีเศษแก้ว เศษขวด หรือของมีคมอื่น ๆ ตกอยู่ขณะเล่นน้ำ เราอาจเผลอเหยียบโดน และอาจบาดเจ็บมากกว่าเดิม เนื่องจากรองเท้าที่สวมใส่ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ มักจะเป็นรองเท้าแตะ หรือรองเท้าที่พื้นไม่หนา ทำให้เกิดของมีคมต่าง ๆ สามารถฝังลึกได้มากกว่าปกตินั่นเอง

นอกจากอาการบาดเจ็บจากของมีคมแล้ว สิ่งที่คุณยังต้องระวังอันตรายเพิ่มเติมคือ พวกสารพิษปนเปื้อน และเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย เชื้อโรคทั่วไป หรือเชื้อบาดทะยัก ที่อาจอันตรายได้ถึงชีวิต

ประกันออนไลน์

  • อุบัติเหตุทางรถยนต์ เมาแล้วขับ

เรียกได้ว่าเป็นอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ที่เกิดบ่อยที่สุดเลยก็ว่าได้ แม้ว่าเราจะไม่ใช่คนเมา แต่ก็อาจพบเจออุบัติเหตุที่ผู้อื่นเมาแล้วขับก็ได้เช่นเดียวกัน และไม่เพียงแค่เมาแล้วขับเท่านั้น แต่อาการหลับในเองก็พบได้บ่อย เมื่อต้องขับขี่เป็นระยะเวลานาน ๆ ข้ามจังหวัด ดังนั้น การขับขี่บนท้องถนนในช่วงนี้ จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ 

  • ไม่ได้มีแค่อุบัติเหตุ ยังมีโรคภัยจากการเล่นน้ำด้วย!

นอกเหนือจากอุบัติเหตุแล้ว ยังมีโรคและอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่พบได้อีกในระหว่างวันสงกรานต์ ไม่ว่าจะเป็น โรคตาแดง, โรคลมแดด, โรคอาหารเป็นพิษ, โรคปอดบวม, ไข้หวัด และโรคผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสาดน้ำเย็น ๆ ในช่วงอากาศร้อน ๆ อาจทำให้คุณไม่สบาย และน้ำที่ไม่สะอาดก็อาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ได้อีก และคงไม่ดีแน่ เพราะเมื่อร่างกายอ่อนแอ ก็อาจเป็นบ่อเกิดอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงโควิดอีกด้วย!

ดังนั้น การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และเตรียมประกันสุขภาพไว้พร้อมรับทุกอาการเจ็บป่วย จึงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว! สำหรับใครที่อยากมองหาประกันสุขภาพสมัครง่าย ไม่ยุ่งยาก<ทำได้เองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ในวันสงกรานต์ โควิด ต้องที่นี้เลย แรบบิท แคร์

ที่แรบบิท แคร์ นอกจากจะมีบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพแล้ว เรายังแคร์และเข้าใจถึงทุกความเสี่ยงในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว มาพร้อมกับประกันและสินเชื่อที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น ประกันอุบัติเหตุ ประกันภัยรถยนต์ หรือแม้แต่บัตรเครดิตให้คุณได้เที่ยวชิล ไร้กังวลตลอดช่วงเทศกาล คลิกเลย!


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024