Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

🎵 9.9 Rabbit แจกฟรี!! หูฟัง Apple Airpods Gen 3 และ Rabbit Voucher มูลค่ารวม 12,790 บาท แค่สมัครบัตรฯ UOB ผ่าน Rabbit Care คลิก! 💳

user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 07, 2024

เกิดอุบัติเหตุรถชนต้องแจ้งประกันภายในกี่วัน? สามารถแจ้งภายหลังได้หรือไม่

เรื่องเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ต่อให้ไม่ใช่มือใหม่หัดขับ ก็อาจยังสงสัยได้เหมือนกันว่าสรุปแล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุรถชนต้องแจ้งประกันภายในกี่วัน? เราจำเป็นไหมที่ต้องแจ้งภายในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุคนอื่นขับรถชน เพราะถ้าหากเจออุบัติเหตุเล็ก ๆ พอที่จะให้อภัยกันได้ แล้วเดินทางต่อเพื่อไปทำธุระของตัวเอง โดยที่ไม่ติดใจเอาความเสียเวลาต่อกัน ดังนั้นในกรณีที่มีอุบัติเหตุรถชน แจ้งประกันย้อนหลังได้ไหม ยังจำเป็นอยู่หรือไม่สำหรับการแจ้งประกันทันทีที่เกิดเหตุ ซึ่ง แรบบิท แคร์ ได้เตรียมพร้อมคำตอบเกี่ยวกับอุบัติเหตุรถชนต้องแจ้งประกันภายในกี่วัน และความรู้กับข้อมูลที่น่าสนใจอีกมากมายมานำเสนอ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเคลมประกันแบบสด และแบบแห้ง

เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเคลมประกัน ระหว่างแบบสด กับแบบแห้งคืออะไร โดยการเคลมทั้ง 2 รูปแบบที่กล่าวมา จะเป็นช่วงเวลาการเคลมที่แตกต่างกันออกไป ทำให้มีขั้นตอนดำเนินการที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นหากใครใช้งานประกันประเภทไหนอยู่ สามารถติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมของรูปแบบการเคลม เพื่อทำความเข้าใจในกระบวนการทั้งหมด จะได้เป็นการดูแลพร้อมใช้งานประกันภัยรถยนต์ของตนเองได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

เคลมประกันแบบสด

เคลมสด หมายถึง การติดต่อบริษัทประกันภัยรถยนต์เพื่อแจ้งอุบัติเหตุรถชน หรือเหตุอื่น ณ เวลาที่เกิดทันที โดยทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่ประกันรถยนต์เข้ามาดูแลโดยเร็วที่สุด เพื่อช่วยทำการพูดคุยกับคู่กรณี สรุปข้อมูลการเกิดเหตุ หากปัญหาที่เกิดขึ้นมีการพูดคุยอย่างลงตัว ทางเจ้าหน้าที่ประกันจะออกใบเคลมให้กับทุกฝ่ายตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเงื่อนไขกรมธรรม์ที่ได้ระบุเอาไว้

ขั้นตอนการเคลมสด

สำหรับขั้นตอนการเคลมสด จะมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ โทรแจ้งไปยังบริษัทประกันภัย, รอตัวแทนประกันรถยนต์มาถึงที่เกิดเหตุ, ตัวแทนทำการตรวจสอบ และทำการออกใบเคลมให้ทันที โดยรายละเอียดขั้นตอนทั้งหมดมีดังนี้

  • โทรแจ้งไปยังบริษัทประกันภัย พร้อมข้อมูลสำคัญเบื้องต้นให้ครบถ้วน เช่น หมายเลขกรมธรรม์, ชื่อผู้ขับขี่ ผู้แจ้งเคลม, ทะเบียน ยี่ห้อรถ, จุดที่เกิดเหตุ และรายละเอียดเหตุการณ์
  • รอตัวแทนประกันรถยนต์มาถึงที่เกิดเหตุ ระหว่างที่รอตัวแทนประกันมาถึง เราควรเตรียมเอกสารสำคัญเอาไว้ให้พร้อม ได้แก่ บัตรประชาชน, ใบขับขี่, เล่มทะเบียนรถ และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
  • ตัวแทนทำการตรวจสอบ ร่องรอยที่เกิดขึ้นในสถานที่เกิดเหตุ กรณีที่เราเป็นฝ่ายผิดอาจต้องมีการจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกก่อนหรืออาจไม่ต้องจ่ายเลยก็ได้ (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันรถยนต์ที่เราสมัครไว้)
  • ทำการออกใบเคลมให้ทันที และจากนั้นเราสามารถนำใบเคลมเข้าไปซ่อมแซมรถยนต์ได้ตามอู่หรือศูนย์บริการที่อยู่ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันรถยนต์ของเรา

เคลมประกันแบบแห้ง

เคลมแบบแห้ง หมายถึง การเคลมรถยนต์หลังจากที่เกิดอุบัติเหตุหรือรถชนไปแล้ว (ประมาณ 2-3 วัน) โดยวิธีการนี้มักถูกเลือกใช้ก็ต่อเมื่อร่องรอยความเสียหายที่เกิดขึ้น มีเพียงเล็กน้อย ไม่ได้ทำให้รถยนต์เสียหายจนไม่สามารถขับขี่ได้ แต่ทั้งนี้เจ้าของรถยนตืหรือผู้เอาประกันภัย ต้องมีการบันทึกเหตุการณ์อย่างละเอียด มีภาพหลักฐานชัดเจนถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น และถ้าหากเป็นประกันภัยรถยนต์ที่ไม่ใช่ประกันชั้น 1 ต้องมีช่องทางการติดต่อคู่กรณี รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดเหตุอย่างชัดเจน ไม่อย่างนั้นอาจไม่ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ แต่ถ้าเป็นประกันชั้น 1 ต่อให้ไม่มีคู่กรณีก็เคลมแบบไม่มีคู่กรณีได้นั่นเอง

ขั้นตอนการเคลมแห้ง

ภาพรวมขั้นตอนการเคลมแห้งจะมีทั้งหมด 3 ขั้นตอน คือ เตรียมถ่ายรูปเก็บข้อมูลหลักฐานเอาไว้, ติดต่อไปยังบริษัทประกันภัย และรอเจ้าหน้าที่ออกใบเคลมให้ ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดในการแจ้งเคลมแห้งมีดังนี้

  • เตรียมถ่ายรูปเก็บข้อมูลหลักฐานเอาไว้ ให้ละเอียดได้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นรถชน หรือร่องรอยอุบัติเหตุมุมไหนก็ตาม รวมถึงการบันทึกเวลา สถานที่เกิดเหตุ ข้อมุลคู่กรณีที่สามารถยืนยันได้
  • ติดต่อไปยังบริษัทประกันภัย ซึ่งทางบริษัทประกันภัยจะมีการนัดตตรวจสอบสภาพรถอีกครั้งหลังจากที่ได้มีการแจ้งเคลมกับบริษัทประกันภัย
  • รอเจ้าหน้าที่ออกใบเคลมให้ หลังจากที่ได้แจ้งเคลมประกันเรียบร้อยแล้ว

รถชนต้องแจ้งประกันภายในกี่วัน

พอได้รู้ข้อมูลการเคลมประกันทั้ง 2 แบบไปแล้ว จึงสามารถสรุปคำตอบของคำถามรถชนต้องแจ้งประกันภายในกี่วัน ได้ว่า หากต้องการเคลมสดเพื่อให้ตัวแทนประกันภัยช่วยเคลียร์อย่างชัดเจน ควรแจ้งประกันทันทีที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใครที่คิดว่าเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ไม่ต้องการเสียเวลา สามารถคุยกันได้กับคู่กรณี และได้มีการเก็บบันทึกข้อมูลทั้งหมดไว้ครบถ้วนแล้ว สามารถแจ้งประกันได้ภายใน 2-3 วัน ซึ่งไม่ควรช้าไปกว่านั้น เพราะถ้าหากรถยนต์ของเรามีร่องรอยเพิ่มขึ้น ประกันภัยจะไม่คุ้มครองร่องรอยความเสียหายที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากอุบัติเหตุ ทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หรืออาจต้องมีการจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกไปก่อน

คำแนะนำเพิ่มเติม ค่าเสียหายส่วนแรกมี 2 ประเภท คือ Excess หรือ ค่า Deductible ซึ่งมีความแตกต่างกันที่หากเป็นค่า Excess มีการบังคับให้จ่ายเงินทันทีเมื่อแจ้งเคลมแบบไม่มีคู่กรณี หรือระบุไม่ได้ ส่วนค่า Deductible จะเป็นการจ่ายตามความสมัครใจ โดยต้องจ่ายก็ต่อเมื่อเราเป็นฝ่ายผิด ถ้าหากมีการจ่ายค่าเสียหายส่วนนี้ เราจะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยประกันด้วยหากมีการต่อประกันในอนาคต

รถชน แจ้งประกันย้อนหลังได้ไหม

รถชน แจ้งประกันย้อนหลังได้ไหม สรุปคือ สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะเข้าเงื่อนไขการเคลมแบบแห้ง ตามที่หัวข้อคำถามหากเกิดเหตุรถชนต้องแจ้งประกันภายในกี่วัน โดยจะสามารถแจ้งเคลมได้อย่างช้าที่สุดประมาณ 2-3 วันตามที่ได้แนะนำเอาไว้นั่นเอง

คำแนะนำเพิ่มเติม หลังจากที่เราได้รับใบเคลมมาแล้วเรียบร้อยหลังจากเกิดเหตุรถชน ใบเคลมจะมีอายุประมาณ 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ของแต่ละบริษัทประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเราสามารถเอาไปเคลมในช่วงเวลาไหนก็ได้ แต่หากมีความเสียหายเกิดขึ้นนอกเหนือจากใบเคลม เราต้องเสียค่าซ่อมแซมเพิ่มเติมเองทั้งหมด

ทวนอีกครั้งกับกรณีที่บริษัทประกันภัยไม่รับเคลม

มาทบทวนเพิ่มเติมกันอีกสักหน่อยว่าเหตุผลไหนบ้างที่บริษัทประกันภัยไม่รับเคลม โดยเบื้องต้นจะมีอยู่ทั้งหมด 6 ข้อด้วยกัน คือ ใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมาย, ใช้แต่งซิ่งเพื่อนำไปแข่งขัน, กรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชนแล้วมีแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัม (เมาแล้วขับ), นำรถยนต์ไปใช้ลากจูง ถือว่าเป็นการใช้งานผิดประเภท, นำรถยนต์ไปใช้นอกอาณาเขตการคุ้มครอง และอุบัติเหตุจากสงคราม การปฏิวัติต่อต้าน อาวุธปรมาณู หรือความเสียหายจากกัมมันตภาพรังสี

สรุปข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับคำถามหากเกิดอุบัติเหตุรถชนต้องแจ้งประกันภายในกี่วัน ควรแจ้งทันทีหากพอที่จะมีเวลารอตัวแทนประกันเดินทางมาถึง เพื่อให้ได้รับการจัดการอุบัติเหตุรถชนอย่างรวดเร็ว และรอบคอบมากที่สุด ยิ่งถ้าใครเป็นมือใหม่หัดขับยังไม่เคยเจออุบัติเหตุมาก่อน แนะนำว่าควรรอการติดต่อจากตัวแทนประกันเพื่อมาช่วยดูแลให้เรียบร้อยก่อนเพื่อป้องกันรถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบจะดีที่สุด เว้นแต่ว่าเหตุรถชน หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มีเพียงรอยขีดข่วนที่พอจะให้อภัยและแยกทางกันได้ ก็ควรจะมีหลักฐานให้ครบตามที่นำเสนอไป เพื่อแจ้งเคลมแห้งหรือเคลมประกันย้อนหลังให้เรียบร้อยโดยไร้ปัญหา

หากผู้ใช้งานรถยนต์ท่านไหนอยากได้รับคำแนะนำเพิ่มเติม เกี่ยวกับการเคลม หรือการตัดสินใจเลือกประกันรถยนต์ที่คุ้มครองได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบไหนขึ้น ทาง แรบบิท แคร์ ยินดีให้คำปรึกษาอย่างละเอียดจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมมอบความพิเศษผ่านส่วนลดสูงสุดถึง 70% และยังมีตัวเลือกให้ผ่อน 0% ได้นานถึง 10 เดือนอีกด้วย สนใจรายละเอียดตรงจุดไหน เข้ามาสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1438 (โทรได้ 24 ชั่วโมง)

10 วิธีปฏิบัติเมื่อขับรถชน

นี่คือ 10 วิธีที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุขับรถชน ทั้งขับรถไปชนรถ, ขับรถชนจักรยานยนต์บาดเจ็บ หรือขับรถชนคนก็ควรปฏิบัติดังนี้

1. ตั้งสติ

หยุดรถและพยายามรักษาความสงบ อย่าเพิ่งตื่นตระหนกหรือหนีออกจากที่เกิดเหตุ

2. เช็คความปลอดภัย

ตรวจสอบความปลอดภัยของตัวเอง ผู้โดยสาร และบุคคลอื่นในเหตุการณ์ หากมีผู้บาดเจ็บรีบโทรแจ้งขอความช่วยเหลือจากหน่วยฉุกเฉินทันที

3. เปิดไฟฉุกเฉิน

เพื่อเตือนผู้ใช้ถนนคนอื่นให้ทราบถึงอุบัติเหตุและหลีกเลี่ยงการชนซ้ำ

4. ถ่ายรูปที่เกิดเหตุ

ถ่ายภาพความเสียหายของรถ สถานที่เกิดเหตุ และหลักฐานอื่น ๆ เช่น ป้ายทะเบียน หรือลักษณะการจราจร

5. ไม่เคลื่อนย้ายรถทันที

หากไม่จำเป็นหรือไม่มีการบาดเจ็บร้ายแรง รอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงก่อนการเคลื่อนย้ายรถ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับตำแหน่งของอุบัติเหตุ

6. แลกเปลี่ยนข้อมูล

แลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลการประกันภัยกับคู่กรณี รวมถึงชื่อ เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ และหมายเลขทะเบียนรถ

7. แจ้งตำรวจ

โทรแจ้งตำรวจเพื่อรายงานอุบัติเหตุ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต หรือต้องการบันทึกเป็นหลักฐาน

8. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่

อธิบายเหตุการณ์ตามความเป็นจริงและให้ข้อมูลตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการ

9. แจ้งบริษัทประกันภัย

ติดต่อบริษัทประกันภัยของคุณทันทีที่ทำได้ เพื่อรายงานอุบัติเหตุและดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสม

10. ตรวจสอบสภาพร่างกายและจิตใจหลังเหตุการณ์

แม้ว่าจะไม่มีอาการบาดเจ็บทันที แต่ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างละเอียดในภายหลัง และให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของคุณด้วย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับรถชนคนบาดเจ็บ

บนท้องถนนอะไรก็เกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีสติและสมาธิในการขับขี่เสมอ ไม่ควรประมาท เพราะการ "ขับรถโดยประมาท" ทำให้มีผู้บาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหายจะมีโทษตามกฎหมาย ดังนี้:

1. กฎหมายกรณีรถชนกัน

หากเกิดอุบัติเหตุชนกันโดยไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ผู้ขับขี่จะถูกลงโทษฐานขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว ซึ่งมีโทษปรับตั้งแต่ 400 บาท ถึง 1,000 บาท ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43 (4) และมาตรา 157

2. กฎหมายกรณีขับรถชนคนบาดเจ็บเล็กน้อย

หากการขับรถประมาททำให้คู่กรณีบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ผู้ขับขี่จะถูกลงโทษฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390

3. กฎหมายกรณีขับรถชนคนบาดเจ็บสาหัส พิการ สูญเสียอวัยวะ

ในกรณีที่อุบัติเหตุทำให้คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส พิการ สูญเสียอวัยวะ หรือต้องรักษาตัวเกิน 20 วัน ผู้ขับขี่จะถูกลงโทษฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300

4. กฎหมายกรณีขับรถชนคนเสียชีวิต

หากการขับรถโดยประมาทส่งผลให้คู่กรณีเสียชีวิต ผู้ขับขี่จะถูกลงโทษฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291



นอกจากโทษทางอาญาแล้ว ผู้กระทำผิดยังต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งให้กับผู้เสียหายด้วย ทั้งนี้ การที่จะถือว่าการกระทำเข้าข่าย "ประมาท" ต้องไม่ใช่การกระทำโดย "เจตนา" ขับรถชนคู่กรณี

ขับรถชนประมาท ขับรถชนท้ายเป็นคดีอะไร มีโทษอย่างไรบ้าง

การขับรถประมาทมีโทษทางกฎหมายหลากหลายตามความรุนแรงของการกระทำ ได้แก่

  • โทษทางอาญา : หากการขับรถประมาทส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ผู้กระทำอาจต้องรับโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเหตุการณ์
  • โทษปรับ : การขับรถโดยประมาทซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง อาจถูกปรับเป็นเงินตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจำนวนเงินจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการละเมิด
  • การระงับหรือเพิกถอนใบขับขี่ : ในบางกรณี หากการขับรถประมาทถือเป็นความผิดซ้ำซากหรือร้ายแรง เจ้าหน้าที่สามารถสั่งระงับหรือเพิกถอนใบขับขี่ของผู้กระทำผิดได้
  • โทษทางแพ่ง : หากการขับรถประมาทส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือชีวิตของผู้อื่น ผู้กระทำอาจต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายตามกฎหมายแพ่ง

การขับรถโดยประมาทเป็นพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูงและสามารถก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อตนเองและผู้อื่นอย่างร้ายแรง จึงควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังเสมอ

ขับรถชนจะต้องรับผิดชอบอย่างไร

เมื่อขับรถชน ผู้ขับขี่จะต้องรับผิดชอบในหลายด้าน ดังนี้:

  1. รับผิดชอบทางอาญา : หากการขับรถชนส่งผลให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ผู้ขับขี่อาจถูกดำเนินคดีทางอาญา ซึ่งอาจต้องรับโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเหตุการณ์ ตามประมวลกฎหมายอาญา

  2. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางแพ่ง : ผู้ขับขี่จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ ซึ่งรวมถึงค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมแซมรถยนต์ หรือค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่มีการสูญเสียชีวิต

  3. แจ้งบริษัทประกันภัย : ผู้ขับขี่ควรแจ้งบริษัทประกันภัยทันทีเพื่อให้บริษัทดำเนินการประเมินความเสียหายและรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัยที่มีอยู่

  4. รับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายอื่น ๆ : นอกเหนือจากค่าสินไหมทดแทน ผู้ขับขี่อาจต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าทนายความ ค่าปรับจราจร หรือค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถที่ไม่ครอบคลุมโดยประกัน

  5. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ : การให้ข้อมูลและความร่วมมืออย่างเต็มที่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจและบริษัทประกันภัยเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้กระบวนการดำเนินไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว

  6. รักษาสภาพร่างกายและจิตใจ : ผู้ขับขี่ควรดูแลสุขภาพทั้งกายและใจหลังจากอุบัติเหตุ รวมถึงการตรวจเช็คร่างกายจากแพทย์และการปรึกษาจิตแพทย์หากจำเป็น

ขับรถชนคน ประกันจ่ายไหม

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขับรถชนคน ประกันจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่คุณทำไว้ ดังนี้

• ประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

ประกันภัยภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. จะครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลของผู้บาดเจ็บทุกคนที่เกิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยมีวงเงินชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบ

• ประกันภัยภาคสมัครใจ

ประกันภัยภาคสมัครใจประเภท 1, 2+, หรือ 3+ จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บของบุคคลภายนอก (เช่น คนเดินถนน) ที่คุณขับรถชน ซึ่งรวมถึงค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น และในบางกรณี อาจครอบคลุมค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่มีการเสียชีวิตด้วย โดยวงเงินจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่คุณทำไว้

• ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และชั้น 3*

ประกันภัยประเภทนี้ครอบคลุมเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอก ไม่ครอบคลุมความเสียหายของรถคุณเอง วงเงินชดเชยจะขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ที่ทำไว้

ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ควรรีบแจ้งบริษัทประกันภัยทันที เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาช่วยประเมินสถานการณ์และดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสม

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา