รถชนกันต้องทำอย่างไร ? สิ่งที่ควรรู้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์รถชน !
รถยนต์ชนกันเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือคนรอบตัวที่ห่วงใย แต่หากวันหนึ่งเราต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์รถชนกันอย่างไม่คาดฝันจะต้องรับมืออย่างไร วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อปฏิบัติที่ควรทำเมื่อเกิดเหตุการณ์รถยนต์ชนกันมาฝากให้ และยังนำข้อมูลด้านกฎหมายเกี่ยวกับสถานการณ์รถชนกันในหลาย ๆ กรณีมาฝากให้ด้วยในบทความนี้เลย
รถชนกัน ต้อง ทํา อย่างไร ?
แม้ว่าจะไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่เหตุการณ์สุดวิสัยที่ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุไม่คาดฝันก็ดี หรือความประมาทของผู้ขับขี่ก็ดีนั้น ในบางครั้งก็อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งตัว เพราะอย่างที่เราต่างก็ทราบกันดีว่าการใช้รถใช้ถนนนั้นมีความเสี่ยง และอุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงต้องทราบกันว่า หากเกิดเหตุการณ์รถยนต์ชนกัน จะมีข้อควรปฏิบัติอย่างไร
เมื่อรถชนกันต้องตรวจสอบสถานการณ์เบื้องต้น
- ด้านความปลอดภัย : ตรวจสอบความปลอดภัยของตนเอง และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หากมีผู้บาดเจ็บให้เรียกหน่วยกู้ภัยหรือแพทย์ทันที
- ตั้งสติให้ดีและตรวจสอบสถานการณ์อย่างสงบ : พยายามไม่ตื่นตระหนก และรักษาความสงบเพื่อจัดการสถานการณ์อย่างมีระเบียบ
เมื่อรถชนกันต้องทำการแจ้งเหตุ
- เรียกตำรวจ : โทรศัพท์แจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้แก่ตำรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาที่สถานที่เกิดเหตุ
- แจ้งประกัน : ติดต่อบริษัทประกันภัยเพื่อรายงานเหตุการณ์และรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเบื้องต้น
เมื่อรถชนกันต้องทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคู่กรณี และบันทึกข้อมูล
- แลกเปลี่ยนข้อมูล : ขอข้อมูลติดต่อจากฝ่ายตรงข้าม เช่น ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, หมายเลขทะเบียนรถ, และบริษัทประกันภัย
- บันทึกข้อมูล : บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ เช่น วันที่, เวลา, สถานที่, สภาพอากาศ, สภาพถนน และลักษณะของการชน
- ถ่ายรูป : ถ่ายภาพของรถที่ได้รับความเสียหาย, ที่เกิดเหตุ, และเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นหลักฐาน
เมื่อรถชนกันต้องรอเจ้าหน้าที่ตำรวจ และบริษัทประกันอย่างสงบ
เมื่อเกิดเหตุการณ์รถยนต์ชนกัน นอกจากการตั้งสติ และสำรวจสภาพแวดล้อม รวมถึงบันทึกหลักฐานเบื้องต้นแล้ว ยังไม่ควรที่จะตัดสินใจลงมือทำอะไรเองโดยพลการ ควรทำใจให้สงบ และรอเจ้าหน้าที่ตำรวจ และบริษัทประกันมาช่วยดูแลสถานการณ์ให้นั่นเอง
รถชนกันอย่าเพิ่งรีบร้อนยอมรับผิด
หากเป็นการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกันที่มีสถานการณ์คลุมเครือ ไม่ควรรีบออกตัวยอมรับผิดในทันที เพราะยังไม่แน่ว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายผิด แต่ควรให้การตามความเป็นจริงเพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ และบริษัทประกันเป็นผู้พิจารณา ทำการสอบสวนเพื่อหาข้อสรุปทางกฎหมายต่อไป
สำหรับกรณีเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนกันนั้น การมีประกันรถยนต์ที่ดีถือว่าเป็นแต้มต่อที่จะดูแล และให้ความช่วยเหลือเราได้ ทั้งยังเป็นการป้องกันการเสียเงินก้อนใหญ่จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นต้องไม่ลืมทำประกันรถยนต์ กับ แรบบิท แคร์ ไว้ด้วยนั่นเอง
รถชนกัน 3 คัน คันไหนผิด ?
การระบุฝ่ายผิดในกรณีที่เกิดเหตุรถชนกัน 3 คัน (หรือมากกว่านั้น) จำเป็นต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยและสถานการณ์เฉพาะของเหตุการณ์นั้น ๆ อย่างละเอียด ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องพิจารณาดังนี้
รถชนกัน 3 คัน ตรวจสอบรายละเอียดเหตุการณ์
- รถชนกัน 3 คันตรวจสอบสาเหตุของการชน : กรณีรถยนต์ชนกันต้องตรวจสอบว่าเหตุการณ์เกิดจากการกระทำหรือความประมาทของรถคันไหนเป็นหลัก เช่น การเบรกกะทันหัน , การเปลี่ยนเลนโดยไม่ได้สัญญาณ , การขับเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด เป็นต้น
- รถชนกัน 3 คันตรวจสอบลำดับเหตุการณ์ : เมื่อรถยนต์ชนกันต้องมีการตรวจสอบลำดับเหตุการณ์ก่อน และหลังการชนสามารถช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่ารถคันไหนเป็นฝ่ายที่เริ่มการชน
กรณีรถชนกัน รถชนกัน 3 คัน ตรวจสอบหลักฐาน
- รถชนกัน 3 คันตรวจสอบพยานหลักฐาน : พิจารณาหลักฐานจากที่เกิดเหตุ เช่น ภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิด , ภาพถ่ายจากที่เกิดเหตุ , พยานบุคคลที่เห็นเหตุการณ์
- รถชนกัน 3 คันตรวจสอบรายงานจากตำรวจ : ตำรวจจะทำการสอบสวน และจัดทำรายงานเพื่อบันทึกข้อเท็จจริงและการวิเคราะห์เหตุการณ์ ซึ่งจะช่วยในการระบุฝ่ายผิด
รถชนกัน 3 คัน พิจารณาข้อบังคับและกฎหมาย
- กฎหมายจราจร : กรณีรถยนต์ชนกันต้องตรวจสอบว่ามีการละเมิดกฎหมายจราจรใด ๆ หรือไม่ เช่น การขับรถโดยประมาท , การขับรถชนแล้วหนี
- กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง : กรณีรถยนต์ชนกันต้องพิจารณาข้อบังคับหรือกฎระเบียบเฉพาะของสถานที่เกิดเหตุ เช่น การขับรถในสภาวะฝนตกหนัก หรือบนถนนที่มีสภาพไม่ดี
รถชนกัน 3 คันตรวจสอบ รับการวิเคราะห์จากประกันภัย
- กรณีรถยนต์ชนกันต้องมีการประเมินจากบริษัทประกันภัย : บริษัทประกันภัยจะทำการตรวจสอบ และวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อระบุความผิดชอบของแต่ละฝ่าย และดำเนินการตามเงื่อนไขของกรมธรรม
ทั้งนี้การระบุฝ่ายผิดในกรณีที่รถยนต์ชนกันหลายคันอาจมีความซับซ้อน และต้องอาศัยการสอบสวนอย่างละเอียดจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวิเคราะห์จากบริษัทประกันภัยในการกำหนดความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย
รถชนกัน ตำรวจยึดรถได้ หรือไม่ ?
สำหรับผู้ที่สงสัยว่ารถชนกัน จะถูกยึดรถหรือไม่ ? ในกรณีที่เกิดเหตุรถชนกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจดำเนินการยึดรถภายใต้สถานการณ์บางประการ ดังนี้
- รถชนกันและมีการกระทำผิดกฎหมายที่ร้ายแรง : หากเกิดการชนกันและมีการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง เช่น การขับรถโดยประมาท , การขับรถภายใต้ฤทธิ์ของสารเสพติด , หรือการขับรถชนแล้วหนี ตำรวจอาจยึดรถเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
- รถชนกันและมีการขัดขวางการสอบสวน : หากผู้ขับขี่ไม่ให้ความร่วมมือในการสอบสวน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจตัดสินใจยึดรถเพื่อการสอบสวนและเก็บรักษาหลักฐาน
รถชนกัน กฎหมายน่ารู้ กฎหมาย กรณี รถชนกัน
นอกจากเรื่องราวเกี่ยวกับรถชนกันที่ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้าแล้ว แรบบิท แคร์ ยังได้นำกฎหมายน่ารู้เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกันในหลาย ๆ กรณีมาฝากทุกคน ดังนี้
รถชนกัน ไม่มีประกัน ใครจ่าย ?
กรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชนกันเกิดขึ้น และรถผู้ที่เป็นฝ่ายผิดไม่มีประกัน ผู้ที่เป็นฝ่ายผิดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแลค่าเสียหายทั้งหมด โดยอาจสามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ด้วยการพยายามพูดคุยไกล่เกลี่ยกับคู่กรณี ทั้งนี้แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายในการชดใช้นั้นมหาศาล จึงแนะนำว่าไม่ควรประมาท และควรทำประกันรถยนต์เผื่อเอาไว้เสมอนั่นเอง
รถชนกัน คู่กรณีไม่มีประกัน จะมีผลอย่างไร ?
สำหรับกรณีรถชนกัน รถที่ไม่มีประกันเป็นฝ่ายผิด รถชนแล้วเราเป็นฝ่ายถูกแต่คู่กรณีไม่มีประกัน เราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิ์เคลมประกันของตัวเอง หรือจะเลือกวิธีเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณีโดยตรงก็ได้
รถชนกัน ไม่มีใบขับขี่ โทษหนักไหม ?
สำหรับการขับรถโดยไม่มีใบขับขี่นั้นตามกฎหมายแล้วจะมีโทษคือ ขับรถไม่มีใบขับขี่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และในส่วนของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นบทลงโทษจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าเป็นฝ่ายผิด หรือถูกนั่นเอง
รถชนกัน เป็น คดีแพ่ง หรือ อาญา ?
เหตุการณ์รถชนกันสามารถถือเป็นทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของเหตุการณ์ดังนี้
- คดีแพ่ง : เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องค่าเสียหายจากฝ่ายที่ผิดในเหตุการณ์รถชนกัน เช่น การเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยหรือการฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าซ่อมแซมหรือค่ารักษาพยาบาล
- คดีอาญา : จะเกิดขึ้นเมื่อมีการกระทำผิดกฎหมายที่มีความผิดทางอาญา เช่น การขับรถโดยประมาทเลินเล่อจนเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง การขับรถในขณะเมาสุรา หรือการหนีการจับกุมหลังเกิดอุบัติเหตุ
คดี ความ รถชนกัน หมดอายุ ความ กี่ปี ?
- กรณีเป็นคดีแพ่ง : ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย การฟ้องร้องคดีแพ่งเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถชนกันจะหมดอายุภายใน 10 ปี นับจากวันที่เกิดเหตุ หรือวันที่ที่ผู้เสียหายได้ทราบหรือควรจะทราบถึงความเสียหายและผู้กระทำความผิด
- กรณีเป็นคดีอาญา : การหมดอายุของคดีอาญาขึ้นอยู่กับประเภทของความผิด
รถชนกัน คู่กรณี เสียชีวิต มีบทลงโทษอย่างไร ?
กระทรวงยุติธรรมให้ข้อมูลบทลงโทษกรณีรถชนกันคู่กรณีเสียชีวิตว่า ชนกันจนคู่กรณีถึงแก่ความตาย ผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
นอกจากโทษทางอาญาแล้วก็ยังต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งให้กับผู้เสียหายด้วย ทั้งนี้ การจะเข้าข่าย “ประมาท” ต้องมิใช่ “เจตนา” ขับรถชนคู่กรณี
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวพื้นฐาน และข้อกฎหมายพื้นฐานเกี่ยวกับอุบัติเหตุรถชนกันที่ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนควรทราบไว้ อีกทั้งยังควรพึงระลึกไว้เสมอว่าไม่ว่าเมื่อใหร่ ในการใช้รถใช้ถนนก็ต้องมีสติเอาไว้ ห้ามประมาทอย่างเด็ดขาดนั่นเอง
สรุป
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology