หากเพื่อนยืมรถไปชน ใครต้องรับผิดชอบ และประกันจ่ายหรือไม่?
คำว่า "เพื่อน" มีอะไรก็ย่อมให้กันได้ กับแค่เรื่องยืมรถไปขับคงชิลกันอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่จะไม่ชิลก็ตอนเกิดปัญหาเพื่อนยืมรถไปชน เกิดเหตุรถชนจนเกิดความเสียหายนี่แหละ รถก็เป็นของคุณ ทะเบียนก็ของคุณ ประกันก็ของคุณอีก แต่คนขับตอนเกิดดันไม่ใช่คุณ แล้วเหตุการณ์แบบนี้ใครต้องรับผิดชอบและประกันจะจ่ายหรือไม่ รีบอ่านบทความนี้ให้จบก่อนตัดสินใจให้เพื่อนยืมรถกันเถอะ
"เพื่อนยืมรถไปชน" ใครต้องรับผิดชอบและประกันจ่ายหรือไม่?
อย่าพึ่งตื่นตระหนกตกใจแล้วคิดไปว่า "ซวยแล้ว" เพราะเรื่องเอารถไปชนแล้วเหตุรถชนนั้นอาจไม่ใช่ฝั่งคุณที่ต้องรับผิดชอบ หากเพื่อนโทรหาคุณแล้วบอกว่า รถที่ยืมไปชนมา ให้สอบถามรายละเอียดก่อนว่าเหตุการณ์รถชนนั้น "ใครเป็นฝ่ายผิดหรือถูก"
กรณีถ้าเพื่อนยืมรถไปชนแล้วเหตุการณ์รถชนดังกล่าว เพื่อนของคุณเป็นฝ่ายถูก
ถ้าเป็นกรณีนี้ก็ไม่ต้องกังวลเลย เพราะอีกฝ่ายจะต้องเป็นคนจ่ายค่าเสียหายทั้งหมดเองอยู่แล้ว โดยที่คุณไม่ต้องใช้ประกันรถยนต์หรือเสียเงินสักบาท
แต่หากเป็นกรณีที่เพื่อนยืมรถไปชนแล้วเหตุการณ์รถชนนั้น เพื่อนของคุณเป็นฝ่ายผิด
ถ้าเพื่อนยืมรถไปชนเป็นฝ่ายผิดจะวุ่นหน่อยล่ะ เพราะต้องมานั่งเช็คอีกว่า มีประกันรึเปล่า ถ้าไม่มีนี่ถึงขั้นเรียกว่า โชคร้ายเลย เพราะเพื่อนของคุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดแทน ไม่ว่าจะค่าเสียหายให้คู่กรณีอีกฝั่งหรือค่าซ่อมรถให้คุณ แต่ถึงจะมีประกันติดรถและประกันจะจัดการให้ไปก่อน พอให้เพื่อนของคุณได้ทำใจระยะหนึ่ง แต่สุดท้ายเขาก็จะมาเรียกเก็บจากผู้ต้องรับผิดชอบ นั่นก็คือ คนที่เอารถคนอื่นไปชนอยู่ดี
ถ้าเพื่อนยืมรถไปชน เสียชีวิต และไม่มีใบขับขี่จะเคลมประกันได้หรือไม่?
หากความใจดีของเราจากการให้เพื่อนยืมใช้รถยนต์ส่วนตัวของเรา แล้วเพื่อนดันขับรถที่ยืมจากเราไปเกิดอุบัติเหตุรถชนจนมีคนเสียชีวิต สิ่งที่คุณต้องทำหลังจากที่คุณทราบเรื่อง มีดังนี้
- ติดต่อบริษัทประกันที่คุณเลือกซื้อความคุ้มครองประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเอาไว้ให้เร็วที่สุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่บริษัทประกันดำเนินการประสานงานเกี่ยวกับความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
- ตรวจสอบใบขับขี่ของเพื่อนคุณ ว่าเพื่อนของคุณมีใบขับขี่ตามปกติหรือไม่ หากเพื่อนที่ยืมรถของคุณไปเกิดอุบัติเหตุรถชน มีปัญหาเรื่องใบขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นกรณีไม่มีใบขับขี่หรือกรณีใบขับขี่หมดอายุหรือถูกยึด หรือไม่ได้พกใบขับขี่มาด้วยขณะเกิดเหตุรถชน แน่นอนว่าจะมีความผิดฐานไม่มีใบขับขี่แน่นอน ซึ่งหากเพื่อนคุณเป็นฝ่ายถูกในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คุณซึ่งเป็นเจ้าของรถก็จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีได้
แต่ถ้าหากเพื่อนคุณเป็นฝ่ายผิดและมีปัญหาเกี่ยวกับใบขับขี่แล้วละก็ บริษัทประกันจะมี การพิจารณาการรับผิดชอบต่อเหตุการณ์รถชนที่เกิดขึ้น โดยแบ่งตามกรณี ดังนี้
- กรณีที่เพื่อนของคุณไม่เคยมีใบขับขี่มาก่อน : บริษัทประกันจะยังคงให้ความคุ้มครองความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่บริษัทประกันจะให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายของบุคคลภายนอกหรือความเสียหายของรถยนต์เท่านั้น
- กรณีที่เพื่อนของคุณใบขับขี่หมดอายุหรือถูกยึด หรือไม่ได้พกใบขับขี่ : ในกรณีนี้หากคุณได้เลือกทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจแบบไม่ได้ระบุชื่อผู้ขับขี่เอาไว้ ก็จะได้รับความคุ้มครองและชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเป็นไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันรถยนต์ที่คุณได้ทำไว้เท่านั้น
- กรณีที่เพื่อนของคุณไม่เคยมีใบขับขี่มาก่อน : บริษัทประกันจะยังคงให้ความคุ้มครองความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่บริษัทประกันจะให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายของบุคคลภายนอกหรือความเสียหายของรถยนต์เท่านั้น
อย่าฝากใครไปทำธุระแทนพร้อมรถคุณ!
ถึงแม้ว่า คนที่เอารถคนอื่นไปใช้จนเกิดเหตุการณ์รถชนจะเป็นเพื่อนของคุณหรือคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวคุณ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่ต้องรับผิดชอบจะเป็นคนที่ขับขณะเกิดเหตุทุกกรณี เพราะหากการที่เพื่อนยืมรถไปจนเกิดเหตุการณ์รถชนมีจุดเริ่มต้นจากการที่คุณหรือเจ้าของรถวานฝากให้ไปทำธุระแทนเลยให้คนนั้นขับรถไปแล้วดันเกิดชนและมีความเสียหาย ตามกฎหมายจะถือว่า คุณมีส่วนรู้เห็นและต้องร่วมกันรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย ถึงแม้ว่า บนรถคันนั้นคุณจะไม่ได้นั่งอยู่ด้วยก็ตาม
แล้วถ้าเพื่อนยืมรถไปชน แล้วไม่รับผิดชอบ ฟ้องได้ไหม?
การให้คนอื่นยืมทรัพย์สินส่วนตัวของเราไปใช้จนเกิดปัญหา อย่างการยืมรถของเราไปใช้ จนเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นมา แล้วถ้าเคราะห์หนักเพื่อนดันหนีไม่ยอมรับผิดชอบอีก แน่นอนว่าเจ้าของรถอย่างคุณก็มีสิทธิ์จะต้องเดือดเนื้อร้อนใจเป็นฝ่ายที่ถูกตำรวจเรียกเข้าพบเบื้องต้น นั่นก็เพราะคุณมีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถ
ทีนี้หากบังเอิญว่าเพื่อนของคุณที่ยืมรถไปขับเกิดอุบัติเหตุรถชนเป็นฝ่ายถูก และคุณได้ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่ครอบคลุมเอาไว้ ก็ยังพอจะสบายใจได้ เพราะบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากเพื่อนของคุณเป็นฝ่ายผิด แม้ว่าจะสามารถทำเรื่องเคลมประกันได้ เนื่องจากรถของคุณมีประกัน แต่แน่นอนว่าการเคลมที่เกิดขึ้นจะส่งผลทำให้ค่าเบี้ยประกันในปีต่อไปปรับสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน และในบางกรณีอาจจะต้องมีการเสียค่าเสียหายส่วนแรก หรือ Excess เพิ่มเติมอีกด้วย
และถ้าในกรณีที่คุณไม่มีประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่ครอบคลุมหรือไม่ได้ทำประกันรถยนต์เอาไว้เลย จนไม่สามารถเคลมประกันได้ ค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์รถชน เพื่อนของคุณก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ทั้งค่าซ่อมรถของคุณและค่าเสียหายที่มีต่อคู่กรณี
ซึ่งหากมีกรณีที่เพื่อนของคุณดันไม่ยอมรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์รถชน ฝั่งคู่กรณีที่ยังไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายก็จะสามารถยื่นเรื่องฟ้องร้องทางแพ่งและอาญากับเพื่อนของคุณได้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามก่อนที่คุณจะตัดสินใจให้ใครยืมรถยนต์ของคุณ ก็ควรไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน เพราะคุณจะไม่สามารถควบคุมความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุกับรถยนต์ของคุณจากการขับขี่ของคนอื่นได้เลย ทางที่ดีก็ควรเลี่ยงการให้ยืมจะดีที่สุด
เจ้าของรถสามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ไหมหากโดนฟ้อง?
กรณีที่เจ้าของรถไม่ได้ฝากใครไปทำธุระ แต่มีเพื่อนยืมรถไปใช้จนเกิดอุบัติเหตุรถชนแล้วไม่ยอมรับผิดชอบ แถมยังเจอคู่กรณีมาฟ้องอีก คำถามคือ เจ้าของรถจะสามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ไหมหากโดนฟ้อง ขออนุญาตยกตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2537 “ขณะที่เกิดเหตุจำเลยเพียงเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุเท่านั้น โดยจำเลยมิได้เป็นผู้ขับหรือโดยสารไปด้วย จำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ครอบครองหรือควบคุมรถยนต์คันเกิดเหตุตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์” เพราะงั้นหากโดนฟ้องก็สามารถปฏิเสธให้เพื่อนหรือคนที่ยืมไปรับผิดชอบได้เลย
อย่าให้ยืมรถ หากไม่มีประกันคุ้มครอง!
ข้อคิดเตือนใจสำหรับเพื่อนที่ใจดีชอบให้ยืมนู่นยืมนี่ ยืมแม้กระทั่งรถยนต์ส่วนตัวที่เป็นชื่อของตัวเองอาจจะต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า อย่าให้ยืมรถ หากไม่มีประกันคอยคุ้มครอง เพราะในความเป็นจริงถึงแม้ว่า เพื่อนเอารถคนอื่นไปใช้จนเกิดเหตุการณ์รถชน คนที่ต้องรับผิดชอบจะเป็นเพื่อนของคุณ แต่ถ้าเพื่อนไม่มีจ่ายสุดท้ายคุณอาจจะต้องยอมจ่ายค่าซ่อมรถของคุณเอง เพื่อให้ใช้งานต่อไปได้ กว่าจะไปฟ้องเอากับเพื่อนอีกบางคนอาจยอมตัดใจไม่เอาเรื่องเพื่อนไปอีก แถมรถยนต์ของคุณอาจเสื่อมสภาพง่ายกลับมาใช้งานไม่เหมือนเดิมและถ้าจะขายต่อก็มีประวัติรถชนอีก ถ้าเป็นไปได้ก็บอกปัดแล้วออกค่าใช้จ่ายเดินทางด้วยวิธีอื่นไปเลย จบ ไม่ต้องกังวลปัญหาตามมา
การให้เพื่อนยืมรถก็เหมือนให้เพื่อนยืมเงินต้องทำใจไว้เผื่อล่วงหน้า เพราะงั้นหากทำใจไม่ได้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น เพื่อนยืมรถไปชนเกิดความเสียหาย เป็นต้น ก็ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ยืมและหาวิธีให้เพื่อนเดินทางด้วยวิธีการอื่นแทน แต่ที่สำคัญ ไม่ว่าจะคุณใช้งานเองหรือให้ใครใช้งานก็ตาม อย่าลืมสมัครประกันรถยนต์ชั้น 2+ จาก Rabbit Care เพื่อคุ้มครองตลอดการเดินทางไม่หวั่นแม้เจอเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
แล้วถ้าเราเอารถคนอื่นไปชน จะต้องทำอย่างไรบ้าง?
ในกรณีตรงกันข้ามหากเป็นฝ่ายเราเองที่เป็นคนไปยืมรถยนต์คนอื่นมาใช้ในการขับขี่ แล้วดันเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นมา สิ่งที่ต้องทำมากที่สุดก็คือ การรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยอย่างแรกที่ต้องทำหลังเกิดอุบัติเหตุรถชนก็คือ การโทรแจ้งเจ้าของรถที่เรายืมมาใช้งานให้ทราบเรื่อง รวมถึงแจ้งข้อมูลใบขับขี่ของเราและเหตุการณ์ที่อุบัติเหตุขึ้นกับเจ้าของรถ เพื่อให้เจ้าของรถสามารถดำเนินการต่อไปได้ อย่างเช่น การประสานงานกับเจ้าหน้าที่บริษัทประกัน (หากมี) ให้มาเคลียร์สถานการณ์ ณ ที่เกิดเหตุ เพื่อตรวจสอบว่าเราเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด
หากเราเป็นฝ่ายผิดและจะต้องมีการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับคู่กรณี ก็ควรรับผิดชอบค่าเสียหายให้ครบตามที่ตกลง ไม่ควรหนีความรับผิดชอบ เพราะคู่กรณีสามารถยื่นฟ้องทางกฎหมายกับเราได้โดยตรง นอกจากนั้นหากคุณหนีความรับผิดชอบก็อาจทำให้ความสัมพันธ์อันยาวนานกับเพื่อนของคุณอาจมีปัญหาเกิดขึ้น อาจนำไปสู่การผิดใจกันได้ เพียงเพราะแค่เรื่องรถชนเพราะฉะนั้นเมื่อเราเอารถคนอื่นไปใช้และเกิดเหตุการณ์รถชน มีความเสียหายเกิดขึ้น ก็ควรจะรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง
หากเพื่อนยืมรถไปชน ประกันรถยนต์แต่ละชั้นจะให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง
เมื่อเพื่อนยืมรถไปขับและเกิดอุบัติเหตุ ความคุ้มครองจะขึ้นอยู่กับประเภทของประกันภัยและเงื่อนไขที่บริษัทประกันระบุไว้ ถ้าประกันรถยนต์ที่ทำอยู่เป็นแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ (Named Driver Policy) ผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองต้องเป็นบุคคลที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์เท่านั้น ดังนั้น ในกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่ใช่เจ้าของรถและไม่ได้มีชื่อในกรมธรรม์ ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ จากประกัน แต่ถ้าประกันรถยนต์ที่ทำอยู่เป็นแบบแบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ ก็จะให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันตามรายละเอียดของประกันแต่ละชั้นดังนี้
1. ประกันชั้น 1
ประกันชั้น 1 เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมที่สุด โดยทั่วไปจะคุ้มครองความเสียหายต่อรถของผู้เอาประกัน แม้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดจากความประมาทของผู้ขับหรือไม่ก็ตาม รวมถึงความเสียหายต่อทรัพย์สินของคู่กรณีและการบาดเจ็บของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้:
- ความเสียหายต่อรถของผู้เอาประกัน : ประกันจะจ่ายค่าซ่อมแซมรถของผู้เอาประกันตามมูลค่าความเสียหาย
- ความเสียหายต่อรถหรือทรัพย์สินของคู่กรณี : ประกันจะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อรถหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น
- ความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย และการบาดเจ็บ : คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลหรือค่าเสียหายให้กับคู่กรณีที่ได้รับบาดเจ็บ
- กรณีผู้ขับขี่ไม่ใช่เจ้าของรถ : หากผู้ขับขี่เป็นเพื่อน แต่ผู้เอาประกันได้ให้อนุญาตในการยืมรถ ประกันชั้น 1 จะยังคงให้ความคุ้มครอง
2. ประกันชั้น 2+ และชั้น 3+
ประกันชั้น 2+ และชั้น 3+ ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับชั้น 1 ในบางกรณี แต่มีขอบเขตที่จำกัดกว่า ดังนี้
- ความเสียหายต่อรถของผู้เอาประกัน : ประกันจะคุ้มครองเฉพาะในกรณีที่มีคู่กรณี (รถชนรถ) หากเพื่อนชนแบบไม่มีคู่กรณี เช่น ชนต้นไม้ ประกันชั้น 2+ และ 3+ จะไม่ครอบคลุมค่าซ่อมแซมรถ
- ความเสียหายต่อรถหรือทรัพย์สินของคู่กรณี : จะคุ้มครองในกรณีที่มีการชนกันกับรถคันอื่น แต่ไม่ครอบคลุมกรณีชนกับสิ่งของที่ไม่มีคู่กรณี
- กรณีผู้ขับขี่ไม่ใช่เจ้าของรถ : หากเพื่อนยืมรถไปชนและผู้เอาประกันให้การยินยอม ประกันจะยังคงให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขที่กำหนด
3. ประกันชั้น 2 และชั้น 3
ประกันรถยนต์ชั้น 2 และชั้น 3 จะให้ความคุ้มครองเฉพาะในกรณีที่มีคู่กรณีและเป็นการคุ้มครองเฉพาะทรัพย์สินหรือรถของคู่กรณี โดยไม่ครอบคลุมค่าซ่อมแซมรถของผู้เอาประกัน ดังนี้
- ความเสียหายต่อรถของผู้เอาประกัน : ไม่ครอบคลุมค่าเสียหายรถของผู้เอาประกัน
- ความเสียหายต่อรถหรือทรัพย์สินของคู่กรณี : คุ้มครองเฉพาะความเสียหายของคู่กรณี
- กรณีผู้ขับขี่ไม่ใช่เจ้าของรถ : ประกันยังคงให้ความคุ้มครองคู่กรณีตามเงื่อนไข แต่ผู้ขับขี่ต้องมีการอนุญาตจากเจ้าของรถ
4. ประกัน พ.ร.บ. (ประกันรถยนต์ภาคบังคับ)
พ.ร.บ. คุ้มครองเฉพาะความเสียหายเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ค่ารักษาพยาบาลและการบาดเจ็บของบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่จะไม่ครอบคลุมความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือรถยนต์ทั้งของผู้เอาประกันและคู่กรณี
ดังนั้น หากเพื่อนยืมรถไปชนแล้วเกิดอุบัติเหตุ ประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด ทั้งตัวรถของเราเองและรถของคู่กรณี ส่วนประกันชั้น 2+ และ 3+ จะคุ้มครองในกรณีที่มีคู่กรณีเท่านั้น ขณะที่ประกันชั้น 2 และชั้น 3 จะคุ้มครองเฉพาะคู่กรณี
ความคุ้มครองประกันรถยนต์
บทความแนะนำ