Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Mar 10, 2022

เคลมประกันรถยนต์มีกี่ประเภท? เคลมประกันไม่ได้ต้องขายซากคืออะไร?

การเคลมประกันรถยนต์ ตือ การแจ้งเคลมชดเชยค่าความเสียหายหรือซ่อมแซมรถยนต์ที่ทำประกันไว้ แต่การเคลมประกันรถมีหลายรูปแบบ และมีเงื่อนไขการขอรับการชดเชยที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงกรณีเคลมประกันไม่ได้ เนื่องจากรถยนต์ได้รับความเสียหายอย่างมากจนไม่สามารถซ่อมกลับมาเหมือนเดิมได้ จำเป็นต้องขายซาก มีเรื่องอะไรบ้างที่จำเป็นต้องรู้ แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลการเคลมประกันรถยนต์และเคลมประกันรถไม่ได้ ต้องขายซากมาไว้ให้แล้ว

เคลมประกันรถยนต์แบบเคลมสด คืออะไร?

การเคลมรถแบบเคลมสด (Fresh Claim) คือ การแจ้งเคลมความเสียหายทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน (รถยนต์ชนกับรถยนต์) โดยเฉพาะกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี รถเกิดความเสียหายหนัก ไม่สามารถใช้งานต่อหรือเคลื่อนที่ได้ รวมถึงกรณีมีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ซึ่งสามารถแจ้งเคลมสดได้ทันทีผ่านทางเบอร์ติดต่อฉุกเฉินหรือช่องทางติดต่อเมื่อเกิดอุบัติเหตุตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ของแต่ละบริษัทประกันภัยรถยนต์ เช่น เว็บไซต์ หรือ LINE Official

จากนั้นรอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุเดินทางเข้าตรวจสอบประเมินสภาพความเสียหายของรถคันเอาประกัน รถคู่กรณี และความเสียหายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุในครั้งนี้ ณ จุดเกิดเหตุ พร้อมกับถ่ายรูปจุดเกิดเหตุและออกเอกสารใบเคลมประกันให้เจ้าของรถคันที่ทำประกันหรือรถของคู่กรณีไว้เป็นหลักฐานทันทีก่อนแยกย้าย เพื่อใช้เป็นเอกสารหลักฐานในการนำรถเข้าเคลมซ่อมแซมความเสียหายตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันรถยนต์ที่ทำไว้ โดยมีอายุเอกสารใบเคลมอยู่ 1 ปี

กรณีรถคันที่เกิดอุบัติเหตุหรือได้รับความเสียหายได้ทำประกันรถชั้น 1, ประกัน 2+, ประกันรถยนต์ 3+ ไว้ สามารถนำรถเข้าซ่อมได้กับศูนย์บริการ (ซ่อมศูนย์) หรืออู่ซ่อมรถยนต์ (ซ่อมอู่) ได้ทันที โดยแสดงเอกสารใบเคลมกับหน่วยงานซ่อมรถที่ต้องการใช้บริการและนำรถเข้าซ่อมได้ตามสะดวกภายในระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ใบเคลมจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุ ส่วน "ประกันรถยนต์ 2+ กับ 3+ ต่างกันอย่างไร" ดูข้อมูลได้ที่นี่

การเคลมสดจึงเป็นเหตุการณ์แจ้งเคลมรถในขณะที่เกิดรถชนและคู่กรณียังอยู่ ณ ที่เกิดเหตุ ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของคู่กรณีและสรุปตัวผู้กระทำความผิดได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรืเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในครั้งนี้ เจ้าของรถผู้เอาประกัน ผู้ได้รับความเสีบหาย หรือผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเดินทางไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอรับใบแจ้งความไว้ใช้เป็นหลักฐานในการเรียกค่าสินไหมชดเชย โดยใช้ใบขับขี่ และหน้ากรมธรรม์ประกันภัยที่ทำไว้เป็นหลักฐานประกอบการแจ้งความ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุของบริษัทประกันภัยอาจเดินทางเข้าร่วมเจรจาการชดเชยความเสียหายด้วย

เคลมประกันรถยนต์แบบเคลมแห้ง คืออะไร?

การเคลมรถแบบเคลมแห้ง (Dry Claim) คือ การแจ้งเคลมประกันรถยนต์ภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุรถจบไปแล้ว เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อย และไม่มีผู้บาดเจ็บ โดยเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุไม่จำเป็นต้องมา ณ จุดเกิดเหตุ ไม่จำเป็นต้องแจ้งบริษัทประกันภัยทันที แต่หากจะถามว่ารถชนต้องแจ้งประกันภายในกี่วัน ก็จะตอบว่าสามารถแจ้งหลังเกิดเหตุ 2-3 วัน หรือรวบรวมรอแจ้งพร้อมกันในครั้งเดียวก่อนครบรอบสัญญากรมธรรม์ประกันรถยนต์ ตัวอย่างเช่น กรณีรถชนแบบไม่มีคู่กรณี ไม่สามารถระบุคู่กรณีผู้ทำผิดได้อย่างชัดเจน

ไม่ว่าจะเป็นการโดนชนแล้วหนี รถเสียหายไม่สามารถระบุสาเหตุได้ หรือกรณีรถชนกับคู่กรณีไม่ใช่รถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการชนเสา ชนขอบทาง ชนกระถาง หรือชนรั้ว ทำให้ตัวรถคันที่เอาประกันเกิดร่องรอยขูดขีดเสียหาย หรือรอยบุบเสียหายเล็กน้อยโดยที่ความเสียหายนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขับขี่โดยตรง รวมถึงไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในครั้งนี้ ทั้งนี้ การเคลมรถด้วยการเคลมประกันรถยนต์แบบเคลมแห้งในกรณีที่คู่กรณีไม่ใช่รถยนต์จะให้ความคุ้มครองและเคลมได้ เฉพาะรถที่ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 เท่านั้น

เจ้าของรถคันเอาประกันสามารถแจ้งเคลมรถแบบเคลมได้ภายหลังจากอุบัติเหตุได้ผ่านไปแล้วทางเบอร์สายด่วน หรือช่องทางติดต่อแจ้งอุบัติเหตุฉุกเฉินกับบริษัทประกันตามที่มีระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์ โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุเดินทางมา ณ จุดเกิดเหตุในทันที เนื่องจากเป็นอุบัติเหตุที่เกิดและจบไปแล้ว รวมถึงเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ผู้เอาประกันที่ต้องการแจ้งเคลมรถแบบประกันรถยนต์แบบเคลมแห้งต้องถ่ายรูป หรือถ่ายวิดีโอแสดงรายละเอียดความเสียหายที่เกิดขึ้นไว้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการแจ้งเคลมแห้งกับบริษัทประกันภัย และขอรับใบเคลมสำหรับใช้ในการนำรถเข้าซอ่มแซมตามศูนย์ซ่อมหรืออู่ซ่อมในเครือหรือนอกเครือของบริษัทประกันภัย โดยต้องแจ้งเคลมแห้งก่อนกรมธรรม์หมดอายุ หรือก่อนครบอายุใบเคลมภายใน 1 ปี และอาจมีค่าเสียหายส่วนแรกในการแจ้งเคลมแห้งตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่เลือกทำไว้

หากแจ้งเคลมประกันบ่อยๆ เสียประวัติไหม ?

แจ้งเคลมประกันรถยนต์เสียประวัติไหม นี่อาจจะเป็นข้อกังวลสำหรับเจ้าของรถ การเคลมประกันไม่จำเป็นต้องเสียประวัติเสมอไป ขึ้นอยู่กับประเภทของการเคลมและนโยบายของบริษัทประกัน หากเป็นเคลมที่เกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อุบัติเหตุที่คุณไม่ได้เป็นฝ่ายผิด หรือภัยธรรมชาติ ประวัติการขับขี่ของคุณมักจะไม่ถูกกระทบ แต่หากเป็นการเคลมจากการขับขี่ที่ประมาทหรือมีความผิดพลาดหลายครั้ง อาจทำให้เบี้ยประกันสูงขึ้นในปีถัดไป

เคลมประกันรถยนต์ไม่มีคู่กรณีได้ไหม? ต้องเสียค่า Excess หรือเปล่า?

เคลมประกันรถยนต์ไม่มีคู่กรณี คือ การแจ้งเคลมอุบัติเหตุที่ทำให้รถเสียหายแบบไม่สามารถระบุตัวคู่กรณีหรือระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวรถได้ โดยเจ้าของรถคันที่เอาประกันต้องจ่ายค่าเอ็กเซส หรือค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ (Excess) ซึ่งคือค่าเสียหายที่ผู้ทำประกันต้องจ่ายก่อนเมื่อแจ้งเคลมอุบัติเหตุรถชนแบบไม่ทราบคู่กรณี ไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ หรือความเสียหายที่ไม่ได้เกิดรถชนหรือรถคว่ำตามเงื่อนไขของสำนักงาน คปภ. จำนวน 1,000 บาทต่อเหตุการณ์ก่อนเคลม และจะแจ้งเคลมประกันรถยนต์ไม่มีคู่กรณีได้เฉพาะรถที่ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 เท่านั้น

กรณีการชนกับวัตถุอื่นๆ หรือคู่กรณีที่ไม่ใช่รถยนต์ และแจ้งรายละเอียดเหตุการณ์ได้อย่างชัดเจน เช่น รถชนเสา รถชนกำแพงบ้าน รถชนขอบถนน หรือรถชนสัตว์ จะไม่นับเป็นการชนแบบไม่มีคู่กรณีทั้งสิ้น เนื่องจากคู่กรณีไม่จำกัดต้องเป็นเฉพาะตัวรถยนต์แต่เพียงอย่างเดียวก็ได้

กรณีแจ้งเคลมประกันรถยนต์ที่ต้องจ่ายค่าเอ็กเซส (Excess) ได้แก่ 1) กรณีรถได้รับความเสียหายจากการชน หรือเหตุอื่นๆ ที่ไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ และ 2) กรณีรถได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการชน หรือการคว่ำ เช่น ความเสียหายจากการมุ่งร้ายกลั่นแกล้งด้วยการขูดขีดหรือทุบทำลายโดยผู้อื่น หรือความเสียหายจากการกระทบกับวัตถุ หรือสิ่งของ ทำให้เกิดความเสียหายต่อพื้นผิวของสีรถ ตัวอย่างเช่น รถโดนหินหรือวัตถุใดใดกระเด็นใส่ รถตกหลุมถนน รถเหยียบตะปู

ค่า Excess และค่า Deduct คืออะไร?


ค่า Excess คืออะไร?

ค่า Excess คือค่าเสียหายส่วนแรก แบบภาคบังคับ เป็นค่าเสียหายที่ผู้ขับขี่จะต้องจ่ายให้กับบริษัทประกัน เมื่อแจ้งเคลมประกันรถยนต์เมื่อเกิดอุบัติเหตุโดยไม่มีคู่กรณี หรือระบุคู่กรณีแบบแน่ชัดไม่ได้ ซึ่งเป็นข้อกำหนดมาตรฐานที่มีอยู่ในกรมธรรม์ทุกฉบับ ไม่ว่าจะทำประกันรถยนต์ชั้นไหน หากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี แล้วทำการแจ้งเคลม ก็ต้องเสียค่า Excess ทุกครั้ง

ค่า Excess เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันกรณีที่ผู้เอาประกันแจ้งเคลมประกันรถยนต์ทั้งที่ไม่ได้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง ซึ่งมีผู้ขับขี่หลายคนที่มักจะทำแบบนั้น รวมถึงยังมีส่วนช่วยให้ผู้ขับขี่มีความระมัดระวังในการขับขี่มากยิ่งขึ้นด้วย

กรณีแบบไหนที่ต้องจ่าย และไม่ต้องจ่ายค่า Excess


ปกติการแยกกรณีของอุบัติเหตุที่ต้องจ่าย ค่า Excess เมื่อแจ้งเคลมประกันรถยนต์ สามารถแบ่งได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • มีคู่กรณี ระบุคู่กรณีได้ มีภาพหลักฐานชัดเจน ไม่ต้องจ่ายค่า Excess เช่น ขับรถชนบนท้องถนนโดยสามารถระบุคู่กรณีได้ ขับรถชนคนหรือสัตว์ รถพลิกคว่ำ ขับรถชนต้นไม้ เสาไฟฟ้า ป้ายจราจร หรือฟุตบาท
  • ไม่มีคู่กรณี ระบุคู่กรณีไม่ได้ ต้องจ่ายค่า Excess เช่น รถยนต์ครูดกับพื้นถนน ขับรถเฉี่ยวชนต้นไม้ เสาไฟฟ้า ลวดหนาม หรือฟุตบาท รอยขีดข่วนจากสัตว์ รอยขีดข่วนจากของมีคม โดยวัตถุตกใส่ เป็นต้น

อุบัติเหตุแต่ละครั้ง ต้องเสียค่า Excess เท่าไหร่?

ค่า Excess ที่ต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง จะขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ โดยส่วนมากจะอยู่ที่เหตุการณ์ละ 1,000 บาท หรือมากกว่านั้น โดยในการเคลมประกันรถยนต์แต่ละครั้งจะนับเป็นเหตุการณ์ เช่น ผู้ขับขี่ขับจอดรถไว้แล้วมีหินตกใส่รถ จากนั้นเมื่อขับรถกลับบ้านก็ชนเข้ากับเสาไฟ นั่นนับเป็น 2 เหตุการณ์แม้จะเกิดวันเดียวกันเวลาเดียวกันก็ตาม นั่นเท่ากับผู้ขับขี่จะต้องจ่ายค่า Excess ทั้งหมด 2,000 บาท

ค่า Deduct คืออะไร?

ค่า Deduct หรือ Deductible คือค่าเสียหายส่วนแรก แบบภาคสมัครใจ เป็นค่าเสียหายที่ผู้ทำประกันต้องจ่ายทุกครั้งที่มีการเคลมประกันรถยนต์แบบมีคู่กรณี และเป็น “ฝ่ายผิด” ตามข้อตกลงกับบริษัทประกันซึ่งจะปรากฏในหน้าตารางกรมธรรม์ โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะมีหรืออาจจะไม่มีก็ได้ สำหรับผู้ที่ทำประกันรถยนต์แต่ไม่อยากจ่ายค่า Deduct สามารถแจ้งกับบริษัทประกันได้

ถ้าไม่จ่ายค่า Deduct ได้หรือไม่?

ค่า Deduct ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ทำประกันเมื่อต้องแจ้งเคลมประกันรถยนต์ โดยจะเลือกให้มี หรือไม่มีก็ได้ รวมถึงสามารถแจ้งกับทางบริษัทประกันได้ว่าอยากจะเสียค่า Deduct เท่าไร สำหรับใครที่มั่นใจในการขับขี่ของตนเอง ระมัดระวังอย่างดี ชนน้อย เคลมน้อย การเสียค่า Deduct ถือว่าคุ้มค่า เพราะยิ่งจ่ายมาก ค่าเบี้ยประกันก็จะถูกลง

เคลมประกันรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นเคลมรถ ก่อนนำรถเข้าซ่อม ณ ศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมรถ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบอนุญาตขับรถที่ยังไม่หมดอายุ สำเนาเล่มทะเบียนประจำรถยนต์ สำเนากรมธรรม์ประกันภัย และใบเคลมที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุ ณ วันเกิดเหตุ (กรณีเคลมสด) หรือใบเคลมสรุปความเสียหายที่ได้รับจากบริษัทประกันภัย (กรณีเคลมแห้ง)

ชนแล้วแจ้งเคลมง่ายๆ ไม่ต้องรอประกันด้วย Claim DI

"Claim DI" เป็นแอปพลิเคชันมือถือที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลมประกันภัยรถยนต์ แอปนี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแจ้งเคลมผ่านมือถือได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ไม่ต้องเสียเวลาไปที่ศูนย์บริการ แอป "Claim DI" มีฟีเจอร์ที่ช่วยบันทึกข้อมูลอุบัติเหตุ ถ่ายภาพที่เกิดเหตุ และส่งข้อมูลไปยังบริษัทประกันภัยโดยตรง ผู้ใช้ยังสามารถติดตามสถานะการเคลมแบบเรียลไทม์ ทำให้มั่นใจได้ว่าการเคลมจะเป็นไปอย่างราบรื่นและโปร่งใส "Claim DI" เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความยุ่งยากและเพิ่มความสะดวกสบายในการจัดการเรื่องประกันภัยรถยนต์

เคลมประกันรถยนต์ไม่ได้ ต้องขายซาก หมายความว่าอะไร?

ซากรถ หรือรถเสียหายสิ้นเชิง หมายถึง รถยนต์ที่อาจเกิดอุบัติเหตุ หรือมีสภาพเก่าทรุดโทรมจนไม่สามารถใช้งานได้ และไม่สามารถเคลมประกันรถยนต์ได้ หรืออาจหมายถึง รถที่ต้องซ่อมเกินกว่า 70% ของทุนประกัน บางครั้งอาจซ่อมแซมแล้วไม่เหมือนเดิม ทางบริษัทประกันมองว่าไม่คุ้มเสียได้

ดังนั้น ทางบริษัทประกันจะเสนอคืนทุนประกันให้ 100% เนื่องจากไม่สามารถให้เคลมประกันรถยนต์ได้จากนั้นบริษัทประกันขอให้โอนซากรถให้ตกเป็นของประกันเพื่อดำเนินการขายต่อไป หรือในกรณีที่เจ้าของรถไม่ต้องการขายซากรถให้บริษัทประกัน ต้องการรับแค่เงินประกันอย่างเดียวก็สามารถทำได้ โดยทำการเจรจากับทางบริษัทประกันว่าต้องการเก็บซากรถไว้เอง หลังจากนั้น ทางบริษัทฯประเมินจ่ายค่าสินไหมทดแทนระหว่าง 65-70% (ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัท) จากนั้นก็สามารถนำซากรถไปขายเองได้เลย

เงื่อนไขการขายซากรถ กรณีเคลมประกันรถยนต์ไม่ได้มีอะไรบ้าง?

การซื้อขายซากรถกรณีเคลมประกันรถยนต์ไม่ได้ไม่ต่างจากการซื้อขายรถมือสองปกติ สามารถโอนเล่ม และโอนลอยได้ และมีการทำสัญญาซื้อขายกันเหมือนเดิม แต่เมื่อทำการซื้อขายเสร็จสิ้นแล้ว ควรเก็บหลักฐานดังกล่าวไว้ รวมถึงการซื้อขายซากรถควรต้องมีเล่มทะเบียนรถด้วย เนื่องจากจะทำให้ขายได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยกรมขนส่งทางบกออกกฎหมายงดรับจดทะเบียนซากรถ โดยเริ่มใช้สิ้นปี พ.ศ. 2557 ทำให้ตัวรถจะถูกประเมินการซื้อขายเป็นราคาเศษเหล็กมากกว่าประเมินสภาพตัวรถ ทำให้ได้ราคาขายที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

กรณีที่รถยนต์ยังผ่อนไม่หมดหรือรถติดไฟแนนซ์อยู่ และรถได้รับความเสียหายจนไม่สามารถเคลมประกันรถยนต์ได้ แม้รถพังจะถูกตีว่าเป็นซากรถจากการเกิดอุบัติเหตุไปแล้วจะไม่สามารถขายได้เอง เพราะถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทไฟแนนซ์ หากมีเหตุจำเป็นให้ขายจริงๆ จะต้องมั่นใจว่าการขายจะได้เงินก้อนว่าปิดยอดไฟแนนซ์ได้ทั้งหมด หรือในกรณีที่เงินไม่เพียงพอ อาจขอสินเชื่อเพื่อจัดการหนี้จากไฟแนนซ์ได้ เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถขายแบบโอนเล่มได้ แถมอาจผิดกฎหมายในข้อหาลักทรัพย์ด้ว

ใครหลาย ๆ คน มักเรียกทั้งค่า Excess และค่า Deduct ว่าเป็นค่าเสียหายส่วนแรก เมื่อต้องเคลมประกันรถยนต์ แต่รูปแบบการเคลมทั้งสองประเภทยังมีความแตกต่างกันอยู่ สำหรับใครที่กำลังจะทำประกันรถยนต์แนะนำได้ดูข้อมูลในส่วนนี้ให้ดีๆ เลือกทำประกันให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ในการขับขี่ ก็จะช่วยเพิ่มความคุ้มค่าในการทำประกันรถยนต์มากขึ้น

แต่ถึงแม้จะต้องเสียทั้งค่า Excess และค่า Deduct ก็หายห่วง ถ้าทำประกันรถยนต์กับ Rabbit Care เพราะยังไงก็คุ้มค่า เราการันตรีเรื่องราคาที่ดีที่สุด เจอราคาถูกกว่า เราคืนส่วนต่างให้ทันที ภายใต้เงื่อนไขของบริษัทเดียวกัน มีประกันภัยรถยนต์ให้เลือกหลากหลาย ที่สำคัญยังสามารถเปรียบเทียบทั้งเบี้ยประกันและความคุ้มครองได้เองง่ายๆ รวมถึงยังมีสิทธิพิเศษอีกมากมายที่หาไม่ได้จากที่อื่น ทำประกันรถยนต์วันนี้ รับโปรแรง! ประหยัดสูงสุด 70% ผ่อน 0% นาน 10 เดือน ถูกกว่าซื้อตรงแน่นอน!

เคลมแห้งต่างจากเคลมสดอย่างไร

การเคลมแห้งและเคลมสดเป็นคำที่ใช้ในการเรียกประเภทของการเคลมประกันรถยนต์ โดยมีความแตกต่างกันดังนี้:

1. เคลมแห้ง

  • ความหมาย: การเคลมแห้งหมายถึงการแจ้งเคลมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ในภายหลังจากที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นมาแล้วสักระยะหนึ่ง โดยไม่ได้แจ้งบริษัทประกันทันทีที่เกิดเหตุ
  • ลักษณะ: ในกรณีนี้ เจ้าของรถจะนำรถที่เสียหายไปยังศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมรถที่ได้รับอนุญาตจากบริษัทประกัน และแจ้งเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้น บางครั้งอาจจะไม่มีหลักฐานหรือพยานเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากผ่านไประยะเวลาหนึ่งแล้ว
  • การดำเนินการ: บริษัทประกันอาจส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบความเสียหายและประเมินก่อนอนุมัติการซ่อมแซม

2. เคลมสด

  • ความหมาย: การเคลมสดคือการแจ้งเคลมประกันทันทีที่เกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหาย โดยเจ้าของรถจะติดต่อบริษัทประกันภัยทันทีในขณะที่ยังอยู่ที่จุดเกิดเหตุ
  • ลักษณะ: เจ้าหน้าที่ประกันจะเดินทางมายังจุดเกิดเหตุเพื่อทำการตรวจสอบความเสียหายและทำบันทึกเหตุการณ์ โดยทั่วไปจะมีการถ่ายภาพและบันทึกข้อมูลเพื่อใช้เป็นหลักฐาน
  • การดำเนินการ: หลังจากการตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ประกันจะออกใบเคลมหรือเอกสารที่จำเป็นเพื่อให้เจ้าของรถนำไปใช้ในการซ่อมแซม

สรุปความแตกต่าง

  • เคลมแห้ง: แจ้งเคลมภายหลังจากเกิดเหตุ โดยไม่มีการแจ้งทันที
  • เคลมสด: แจ้งเคลมทันทีในขณะที่ยังอยู่ในที่เกิดเหตุ

ประกันรถยนต์ชั้นไหนรับเคลมแห้งบ้าง

ประกันรถยนต์ที่รับเคลมแห้งโดยทั่วไปคือ ประกันชั้น 1 เท่านั้น เนื่องจากประกันชั้น 1 มีความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด ซึ่งรวมถึงการเคลมความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณีหรือความเสียหายที่แจ้งในภายหลัง

ประกันชั้น 2+ และ 3+ อาจมีข้อจำกัดมากกว่า และโดยปกติแล้วจะไม่รับเคลมแห้งในกรณีที่ไม่มีคู่กรณี หากเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุและไม่มีการแจ้งทันที ส่วน ประกันชั้น 2 และ 3 มักจะไม่คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ของคุณเองในกรณีดังกล่าวเลย

ดังนั้น หากคุณต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุมรวมถึงการเคลมแห้ง ประกันชั้น 1 จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด

เคลมแห้งใช้เอกสารอะไรบ้าง

การเคลมแห้งหรือการแจ้งเคลมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ในภายหลังจากเหตุการณ์ ใช้เอกสารที่เกี่ยวข้องตามรายละเอียดดังนี้:

  1. กรมธรรม์ประกันภัย : เอกสารกรมธรรม์ของประกันภัยที่แสดงความคุ้มครองรถยนต์ของคุณ
  2. บัตรประชาชน : บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันหรือเจ้าของรถ
  3. ใบขับขี่ : ใบอนุญาตขับขี่ของผู้ขับขี่ที่เกิดเหตุ
  4. สำเนาทะเบียนรถ : เอกสารทะเบียนรถยนต์ที่แสดงข้อมูลรถยนต์ของคุณ
  5. หลักฐานความเสียหาย : ภาพถ่ายความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ ซึ่งควรถ่ายภาพมุมต่างๆ ของความเสียหายให้ชัดเจน
  6. เอกสารแจ้งเหตุ (ถ้ามี) : หากมีการแจ้งความหรือเอกสารรายงานจากตำรวจ ควรนำมาเป็นหลักฐานด้วย (บางกรณี เช่น รถถูกโจรกรรม หรือกรณีมีเหตุเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินสาธารณะ)
  7. เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) : เช่น ใบเสนอราคาจากอู่ซ่อมรถ หรือใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ให้ติดต่อบริษัทประกันภัยของคุณเพื่อนัดหมายการตรวจสอบและดำเนินการตามขั้นตอนที่บริษัทกำหนด

ขั้นตอนการเคลมแห้ง

ขั้นตอนการเคลมแห้งสำหรับประกันรถยนต์ โดยทั่วไปจะมีขั้นตอนดังนี้:

1. ตรวจสอบความเสียหาย

หลังจากเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ทำให้รถยนต์เสียหาย ให้ตรวจสอบความเสียหายของรถยนต์และถ่ายรูปภาพความเสียหายไว้เป็นหลักฐาน

2. เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ได้แก่ กรมธรรม์ประกันภัย, บัตรประชาชนของผู้เอาประกัน, ใบขับขี่ของผู้ขับขี่ในขณะเกิดเหตุ, สำเนาทะเบียนรถ, ภาพถ่ายความเสียหายของรถยนต์ และเอกสารแจ้งเหตุหรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

3. ติดต่อบริษัทประกันภัย

โทรศัพท์หรือไปที่สำนักงานของบริษัทประกันภัยเพื่อแจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและขอทำการเคลมแห้ง พร้อมกับให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหาย วันเวลาที่เกิดเหตุ และรายละเอียดอื่น ๆ ที่บริษัทประกันต้องการ

4. นัดหมายการตรวจสอบความเสียหาย

บริษัทประกันอาจส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบความเสียหายที่บ้านหรืออู่ซ่อมรถ หรือคุณอาจต้องนำรถไปยังศูนย์ตรวจสอบที่บริษัทประกันกำหนดเพื่อให้เจ้าหน้าที่ประเมินความเสียหาย

5. รับใบเคลม (Claim Form)

หลังจากการตรวจสอบความเสียหายเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จะออกใบเคลมหรือเอกสารที่จำเป็นเพื่อให้คุณสามารถนำรถเข้าซ่อมได้

6. นำรถเข้าซ่อม

นำรถเข้าซ่อมที่อู่หรือศูนย์บริการที่บริษัทประกันภัยแนะนำ โดยใช้ใบเคลมที่ได้รับ จากนั้น ทางอู่ซ่อมจะดำเนินการซ่อมแซมรถยนต์ตามความเสียหายที่ตรวจสอบแล้ว

7. ติดตามการซ่อมแซม

ตรวจสอบความคืบหน้าของการซ่อมแซมจนกว่าจะเสร็จสิ้น และเมื่อซ่อมแซมเสร็จสิ้น ก็ให้ตรวจสอบความเรียบร้อยของรถยนต์ก่อนรับรถคืน

8. เก็บเอกสารการเคลม

เก็บเอกสารการเคลม ใบเสร็จการซ่อมแซม และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับการเคลมในอนาคต

เคลมสดใช้เอกสารอะไรบ้าง

การเคลมสดคือการแจ้งเคลมประกันทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ทำให้รถยนต์เสียหาย ในกรณีนี้ คุณจะต้องใช้เอกสารและข้อมูลที่สำคัญดังต่อไปนี้:

  1. กรมธรรม์ประกันภัย : เอกสารกรมธรรม์ที่แสดงถึงความคุ้มครองของรถยนต์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือบัตรประกัน
  2. บัตรประชาชน : บัตรประชาชนของผู้เอาประกันหรือเจ้าของรถ ใช้เพื่อยืนยันตัวตน
  3. ใบขับขี่ : ใบอนุญาตขับขี่ของผู้ขับขี่ที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะเกิดอุบัติเหตุ
  4. สำเนาทะเบียนรถ : เอกสารทะเบียนรถยนต์ที่แสดงข้อมูลของรถที่เกี่ยวข้องในอุบัติเหตุ
  5. หลักฐานจากจุดเกิดเหตุ : ภาพถ่ายจากจุดเกิดเหตุ แสดงความเสียหายของรถยนต์ทั้งของคุณและคู่กรณี (ถ้ามี) หรือภาพถ่ายหรือบันทึกจากกล้องติดรถยนต์ (ถ้ามี)
  6. รายงานตำรวจ (ถ้ามี) : ในบางกรณี เช่น มีคู่กรณีหรือมีการบาดเจ็บ รายงานตำรวจหรือบันทึกประจำวันจากสถานีตำรวจอาจจำเป็น โดยเฉพาะกรณีที่เกิดความเสียหายรุนแรง
  7. รายละเอียดของเหตุการณ์ : ควรเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น วันที่ เวลา สถานที่ และลักษณะของอุบัติเหตุ รวมถึงข้อมูลของคู่กรณี (ถ้ามี)

เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ให้ติดต่อบริษัทประกันภัยทันทีที่เกิดเหตุ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาที่จุดเกิดเหตุเพื่อตรวจสอบและดำเนินการออกใบเคลมหรือเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการซ่อมแซมรถยนต์

ขั้นตอนการเคลมสด

การเคลมประกันภัยแบบเคลมสดเป็นกระบวนการที่ต้องทำในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ต้องการเคลมประกัน โดยไม่ต้องรอส่งเอกสารหรือรอขั้นตอนหลังจากเกิดเหตุ

1. แจ้งเหตุการณ์

  • ติดต่อบริษัทประกันทันที: โทรศัพท์แจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทประกันภัยของคุณทันทีหลังจากที่เกิดเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุรถยนต์ การเจ็บป่วย หรือลักษณะเหตุการณ์อื่นๆ
  • ให้ข้อมูลเบื้องต้น: บอกข้อมูลสำคัญ เช่น หมายเลขกรมธรรม์ ที่ตั้งของเหตุการณ์ รายละเอียดของเหตุการณ์ และความเสียหายที่เกิดขึ้น

2. รอเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ

  • รอเจ้าหน้าที่ประกันมาที่เกิดเหตุ: เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันจะเดินทางมาตรวจสอบความเสียหายและประเมินสถานการณ์เพื่อทำการเคลมทันที
  • ให้ข้อมูลเพิ่มเติม: อาจมีการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ ดังนั้นควรเตรียมพร้อมที่จะให้ข้อมูลตามความจริง

3. การตรวจสอบและประเมินความเสียหาย

  • ถ่ายภาพหลักฐาน: ในกรณีที่เป็นอุบัติเหตุรถยนต์หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง ควรถ่ายภาพความเสียหายไว้เป็นหลักฐานเพิ่มเติม
  • การประเมินจากเจ้าหน้าที่: เจ้าหน้าที่จะทำการประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ในการเคลม

4. การตกลงค่าเสียหาย

  • การตกลงค่าเสียหาย: หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายและประเมินค่าใช้จ่ายแล้ว จะมีการตกลงค่าเสียหายที่ทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายให้
  • ลงนามในเอกสาร: หากตกลงกันได้ คุณอาจต้องลงนามในเอกสารตกลงค่าเสียหายหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

5. การชำระค่าเสียหาย

  • รับเงินชดเชยหรือซ่อมแซม: บริษัทประกันภัยจะชำระค่าเสียหายให้ตามที่ตกลงไว้ โดยอาจจะเป็นการโอนเงินเข้าบัญชี หรือทำการซ่อมแซมตามที่ตกลงกัน

6. ปิดเคสเคลม

  • ตรวจสอบความเรียบร้อย: หลังจากได้รับเงินหรือได้รับการซ่อมแซม ควรตรวจสอบความเรียบร้อยของการเคลมว่าเป็นไปตามที่ตกลง
  • เก็บเอกสาร: เก็บเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเคลมสดไว้เพื่อเป็นหลักฐาน



ข้อควรระวัง

  • ควรตรวจสอบกรมธรรม์และทราบเงื่อนไขในกรมธรรม์ว่าครอบคลุมอะไรบ้างก่อนทำการเคลม
  • ไม่เคลื่อนย้ายสิ่งของ โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ควรรอให้เจ้าหน้าที่ประกันมาตรวจสอบก่อนที่จะเคลื่อนย้ายสิ่งของหรือรถยนต์

เคลมประกันรถยนต์แบบไม่มีคู่กรณี คืออะไร

การเคลมประกันรถยนต์แบบไม่มีคู่กรณี คือการแจ้งเคลมประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้รถยนต์ของคุณเสียหาย แต่ไม่มีรถยนต์คันอื่นหรือบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การชนเสา ชนรั้ว ชนต้นไม้ หรือรถเสียหลักชนสิ่งกีดขวาง โดยที่ไม่มีคู่กรณีซึ่งเป็นบุคคลหรือรถยนต์อื่นเข้ามามีส่วนร่วมในเหตุการณ์

ในการเคลมแบบไม่มีคู่กรณี ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของคุณเอง โดยคุณสามารถยื่นเรื่องขอเคลมกับบริษัทประกันภัยเพื่อให้ครอบคลุมค่าซ่อมแซมหรือชดเชยตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่ถืออยู่

การเคลมประกันชั้น 1 ไม่มีคู่กรณี คืออะไร

การเคลมประกันชั้น 1 แบบไม่มีคู่กรณี หมายถึงการยื่นขอรับความคุ้มครองจากประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้รถยนต์ของคุณเสียหาย โดยไม่มีรถยนต์หรือยานพาหนะอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง หรือไม่มีบุคคลภายนอกเป็นผู้เสียหาย ตัวอย่างของกรณีที่ไม่มีคู่กรณี ได้แก่:

  • รถชนเสาไฟฟ้า กำแพง รั้ว หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
  • รถเสียหลักตกถนน
  • รถชนต้นไม้หรือชนสัตว์
  • รถได้รับความเสียหายจากการถอยหลังโดยไม่ตั้งใจชนกับสิ่งของ

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เป็นประกันที่ครอบคลุมความเสียหายทั้งต่อรถยนต์ของคุณเองและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ดังนั้น แม้จะไม่มีคู่กรณี ประกันชั้น 1 ก็ยังคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถของคุณภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยคุณสามารถแจ้งเคลมกับบริษัทประกันได้ตามขั้นตอนที่กำหนด เช่น การตรวจสอบความเสียหาย การแจ้งบริษัทประกัน และนำรถเข้าซ่อม เป็นต้น

การเคลมประกันชั้น 1 ไม่มีคู่กรณี ทำอย่างไร

หากคุณต้องการแจ้งเคลมประกันรถยนต์ชั้น 1 ในกรณีที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ชนเสา ชนรั้ว หรืออุบัติเหตุที่ไม่มีรถคันอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง คุณสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้:

1. ตรวจสอบความเสียหาย

หลังเกิดอุบัติเหตุ ให้ตรวจสอบสภาพความเสียหายของรถยนต์และถ่ายรูปภาพความเสียหายไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐาน

2. โทรแจ้งบริษัทประกันภัย

ติดต่อบริษัทประกันภัยของคุณทันทีเพื่อรายงานเหตุการณ์ โดยแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหาย สถานที่เกิดเหตุ และเวลาที่เกิดเหตุ

3. เตรียมเอกสารและข้อมูล

จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมธรรม์ประกันภัย บัตรประชาชน ใบขับขี่ และบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

4. นัดหมายเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

บริษัทประกันภัยอาจส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบความเสียหายที่จุดเกิดเหตุ หรือคุณอาจต้องนำรถไปยังศูนย์ตรวจสอบตามที่บริษัทกำหนด

5. รับใบเคลม (Claim Form)

เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายแล้ว คุณจะได้รับใบเคลม ซึ่งสามารถใช้ในการนำรถเข้าซ่อม

6. นำรถเข้าซ่อม

นำรถเข้าซ่อมที่อู่หรือศูนย์บริการที่บริษัทประกันภัยแนะนำ โดยใช้ใบเคลมที่ได้รับจากบริษัทประกัน

7. ติดตามการซ่อมแซม

ตรวจสอบความคืบหน้าของการซ่อมแซมจนเสร็จสิ้น และตรวจสอบความเรียบร้อยเมื่อรับรถคืน

8. เก็บเอกสาร

เก็บเอกสารการเคลมและการซ่อมแซมไว้เป็นหลักฐานสำหรับการเคลมในอนาคต

ประกันภัยชั้น 1 ครอบคลุมกรณีที่ไม่มีคู่กรณี ดังนั้น หากคุณดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้น คุณควรได้รับการเคลมโดยไม่มีปัญหา

ประกันชั้น 1 เคลมได้กี่ครั้ง

ประกันชั้น 1 สามารถเคลมได้หลายครั้งตลอดอายุของกรมธรรม์ โดยไม่มีการจำกัดจำนวนครั้งในการเคลม อย่างไรก็ตาม การเคลมบ่อยครั้งอาจมีผลกระทบดังนี้:

  1. ผลต่อเบี้ยประกันในปีถัดไป: หากมีการเคลมบ่อยครั้ง เบี้ยประกันในปีถัดไปอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทประกันภัยอาจมองว่าคุณมีความเสี่ยงสูงกว่า
  2. การตรวจสอบประวัติการเคลม: บริษัทประกันภัยอาจพิจารณาประวัติการเคลมเมื่อคุณต่อประกันในปีถัดไป หรือเมื่อย้ายบริษัทประกัน

โดยรวมแล้ว การเคลมประกันชั้น 1 ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ควรพิจารณาให้ดีว่าเหตุการณ์นั้นคุ้มค่าต่อการเคลมหรือไม่ เนื่องจากอาจมีผลต่อเบี้ยประกันและเงื่อนไขในอนาคต.

รถชนไม่มีคู่กรณี ประกันชั้น 2+ เคลมได้ไหม

ประกันชั้น 2+ โดยทั่วไปจะครอบคลุมกรณีที่มีคู่กรณีเท่านั้น ซึ่งหมายถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากการชนกับยานพาหนะอื่นๆ โดยตรง ดังนั้น ในกรณีที่รถของคุณชนแต่ไม่มีคู่กรณี (เช่น ชนกำแพง ชนต้นไม้ หรือชนฟุตปาธ) ประกันชั้น 2+ จะไม่ครอบคลุมค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

หากคุณต้องการความคุ้มครองสำหรับกรณีที่ไม่มีคู่กรณี คุณจะต้องมีประกันชั้น 1 ซึ่งครอบคลุมความเสียหายของรถคุณไม่ว่าจะมีหรือไม่มีคู่กรณีก็ตาม

ความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา