รถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบ หรือไม่ยอมรับผิด ต้องทำอย่างไร?
ในหลายครั้งเมื่อเกิดเหตุรถชน คู่กรณีที่ดูเหมือนจะเป็นฝ่ายผิดกลับไม่ยอมรับผิด และปฏิเสธความรับผิดชอบแม้ว่าจะมีหลักฐานชัดเจนก็ทำให้ ทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยที่ว่าไม่ว่าจะเป็นกรณีรถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบ หรือรถชนคู่กรณีไม่ยอมรับผิด ฝั่งถูกหรือฝั่งผู้ประสบภัยต้องทำอย่างไรบ้าง ใครจะเป็นผู้ตัดสินฝั่งไหนถูกหรือฝั่งไหนผิด ประกันรถยนต์จะช่วยเจรจาได้อย่างไรบ้าง วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมคำตอบไว้ให้แล้ว
รถชนคู่กรณีไม่ยอมรับผิด ต้องทำอย่างไร?
สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อเกิดเหตุรถชน และมีแนวโน้มว่ารถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบ หรือรถคู่กรณีไม่ยอมรับผิด คือ การเตรียมและรวมรวมพยานหลักฐานให้สถานยที่เกิดเหตุให้ครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อรอให้เจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันภัยหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสรุปเหตุการร์ในพื้นที่อีกครั้ง โดยคู่กรณีทั้งสองฝั่งยังไม่ควรเคลื่อนย้ายรถออกจากจุดเกิดเหตุ จนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นผู้สั่ง รวมถึงต้องจดทะเบียนรถ ยี่ห้อ สี ชื่อและที่อยู่ของคู่กรณีให้ครบถ้วน และหากพบว่ามีพยานในที่เกิดเหตุ ควรขอข้อมูลติดต่อไว้เผื่อในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
จากนั้นโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ประกันภัยตามช่องทางติดต่อที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย พร้อมแจ้งข้อมูลผู้เอาประกัน จุดที่เกิดเหตุและสถานการณ์โดยคร่าวกรณีรถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบ และรอเจ้าหน้าที่ตัวแทนบริษัทประกันภัยเข้าสำรวจพื้นที่เกิดเหตุ ก่อนออกใบเคลมหรือใบรายการความเสียหายให้ เพื่อให้ผู้เอาประกันนำไเอกสารดังกล่าวไปประสานงานกับศูนย์หรืออู่ซ่อมรถที่อยู่ในเครื่อความร่วมมือของบริษัทประกันเพื่อซ่อมรถต่อไป
รถคู่กรณีไม่รับผิดชอบ ต้องทำอย่างไร?
หากรถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบ ไม่ยอมรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากคดีรถชน ผู้ได้รับความเสียหายต้องพยายามรวบรวมพยานหลักฐานให้ครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อพิสูจน์ความรับผิดชอบว่าคู่กรณีเป็นฝ่ายประมาท โดยในระหว่างที่รวบรวมหลักฐาน สามารถนำรถไปเข้าซ่อมได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุด ทั้งนี้ หลักฐานที่เตรียมไว้สามารถเป็นได้ทั้งพยานบุคคล ภาพถ่าย ภาพวีดีโอ หรือบันทึกรายละเอียดความเสียหายพร้อมรายละเอียดมูลค่าค่าซ่อมที่จ่ายไปตามจริง
หากไม่สามารถตกลงเจรจาเรื่องค่าเสียหายได้จากกรณีรถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบ ต้องทำเรื่องฟ้องทางแพ่งภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเกิดเหตุ โดยผู้ได้รับความเสียหายสามารถติดตามความคืบหน้าการฟ้องร้องผ่านทางตำรวจเจ้าของคดี หรือหากประสงค์ให้การดำเนินการเร็วขึ้น สามารถเลือกติดต่อทนายความให้เป็นผู้ฟ้องร้องอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
รถชนคู่กรณีไม่ยอมรับผิด ใครต้องเป็นผู้ตัดสิน?
หากเป็นอุบัติเหตุทั่วไปที่ไม่ร้ายแรง หรือไม่ซับซ้อนมากนัก เจ้าหน้าที่สำรวจหน้างานจากบริษัทประกันภ้ย อาจเป็นผู้ทีช่วยไกล่เกลี่ยและช่วยสรุปเหตุการณ์รถชนคู่กรณีไม่ยอมรับผิดหรือกรณีรถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบได้ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นผู้ตัดสินว่าฝ่ายใครเป็นฝ่ายผิด หรือฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก โดยอ้างอิงจากพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ และลำดับเหตุการณ์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีหลังจากที่เจ้าหน้าที่สำรวจจากบริษัทประกันภัยเข้าตรวจสอบพื้นที่แล้วไม่สามารถเจรจาหาข้อสรุปได้
ทั้งนี้ หากรถที่เกิดเหตุไม่ได้กีดขวางจราจรหรือสร้างความลำบากในการสัญจรให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนท่านอื่น คู่กรณีทั้งสองฝ่ายไม่ควรเคลื่อนย้ายรถที่เกิดเหตุออกจากพื้นที่เกิดเหตุจนกว่าจะได้ข้อสรุปจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
รถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบ พ.ร.บ. คู่กรณีต้องจ่ายค่าสินไหมอย่างต่ำ 500,000 บาท จริงหรือไม่?
ไม่จริง เนื่องจากการจ่ายสินไหมทดแทนของประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. จะมีเงื่อนไขในการจ่ายสินไหมทดแทนตามกรณีความเสียหายที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแตกต่างไปในแต่ละกรณี (อุบัติเหตุ) จึงไม่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนขั่นต่ำ 500,000 บาททันทีให้กับผู้เสียหายในกรณีที่รถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบ
ทั้งนี้ เมื่อผู้ได้รับความเสียหายประสบอุบัติเหตุจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต อนามัย หรือทรัพย์สิน และมีการพิสูจน์ความรับผิดแล้วว่าคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด บริษัทที่รับประกันภัย พ.ร.บ. ของคู่กรณีต้องจ่ายค่าสินไหมชดเชยโดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand) มีรายละเอียดการจ่ายค่าสินไหมชดเชยกรณีเกิดอุบัติเหตุรถชน ตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กระทรวงการคลัง ดังต่อไปนี้
1. กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาทต่อหนึ่งคน
2. กรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000– 500,000 บาทต่อหนึ่งคน (กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)
3. กรณีเสียชีวิต บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาทต่อหนึ่งคน
4. กรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล (คนไข้ใน) บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท (จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน)
ทั้งนี้ กรณีที่ยังไม่มีการพิสูน์ความรับผิด หรือรถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบ บริษัทที่รับประกันภัย พ.ร.บ. จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต และร่างกาย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้
1. กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามจำนวนที่ จ่ายไปจริง
แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อหนึ่งคน
2. กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
3. กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายค่าปลงศพ ตามจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
4. หากเกิดความเสียหายหลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อหนึ่งคน
จะป้องกันกรณีรถชนคู่กรณีไม่ยอมรับผิดได้อย่างไร?
ไม่ขับหนี หยุดรถทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
หากเกิดอุบัติเหตุและขับหนีออกไปทันทีจากพื้นที่เกิดเหตุ มักจะถูกสันนิษฐานว่าเป็นฝ่ายผิด เนื่องจากตามกฎหมายจราจรแล้ว ถ้าผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายขับรถชนไม่อยู่แสดงตัวในพื้นที่ที่เกิดเหตุให้สันนิษฐานก่อนว่าเป็นผู้กระทำผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้นแล้ว ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุบัติเหตุ ควรอยู่แสดงความบริสุทธิ์ใจกรณีรถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจภายหลังจากที่เกิดเหตุ
สำรวจหลักฐานความเสียหาย
เมื่อเกิดเหตุรถชนและไม่ได้มีผู้บาดเจ็บ หรือเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับตัวรถ คู่กรณีทั้งสองฝั่งควรลงจากรถเพื่อตรวจสอบสภาพความเสียหายโดยรอบที่เกิดขึ้นกับตัวรถจากอุบัติเหตุในครั้งนี้ โดยถ่ายภาพเก็บเป็นหลักฐานให้มากที่สุด รวมถึงหากมีผู้ได้รับบาดเจ็บในพื้นที่เกิดเหตุ ผู้ขับขี่ควรตรวจสอบอาการเบื้องต้นก่อนรีบประสานหน่วยแพทย์ฉุกเฉินเข้าตรวจสอบอาการผู้บาดเจ็บก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาต่อไป อย่างไรก็ตาม คู่กรณีทั้งสองฝั่งยังไม่ควรเคลื่อนย้ายรถที่เกิดเหตุออกจากพื้นที่เกิดเหตุจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาถึงสถานที่เกิดเหตุ และสรุปสถานการณ์รถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบทั้งหมดให้เรียบร้อย
เก็บหลักฐานให้ครบถ้วน
หากประสบอุบัติรถชนในบริเวณพื้นที่ที่กีดขวางการจราจรและมีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายรถยนต์ออกจากพื้นที่จราจรก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมายังพื้นที่เกิดเหตุ ให้คู่กรณีถ่ายภาพสถานที่เกิดเหตุที่ครอบคุลมทั้งลักษณะการชน ทิศทางการขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ ลักษณะรถ หรือแม้กระทั่งป้ายทะเบียนของรถคู่กรณีก่อนเขียนย้าย เพื่อรักษาสิทธิ์ในฐานะของผู้ได้รับความเสียหายให้ได้มากที่สุด และป้องกันกรณีรถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบ จากนั้นเคลื่อนย้ายรถไปยังพื้นที่ปลอดภัยก่อนแจ้งเจ้าหน้าที่สำรวจของบริษัทประกันและเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุต่อไป
รถชนคู่กรณีไม่ยอมรับผิด ประกันช่วยไกล่เกลี่ยอย่างไร?
บริษัทประกันภัยจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหน้างานเข้าตรวจสอบพื้นที่และสรุปสถานการณ์ ก่อนช่วยไกล่เกลี่ยคู่กรณีรถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบให้ยอมรับผิดตามข้อเท็จจริงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เจ้าหน้าที่ตัวแทนบริษัทประกันจะมีหน้าที่ช่วยไกล่เกลี่ย ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงช่วยรักษาผลประโยชน์ของผู้ทำประกันตามข้อเท็จจริง ทำให้ผู้เอาประกันไม่ต้องกังวลใจว่าจะต้องเป็นผู้ไปไกล่เกลี่ยหรือติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าการเรียกร้องการชดเชยค่าเสียหายจากคู่กรณีผู้กระทำผิดด้วยตัวเอง
รถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบ ประกันแต่ละชั้นคุ้มครองอย่างไรบ้าง
เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนและ คู่กรณีไม่ยอมรับผิดชอบ สิ่งสำคัญคือประกันของผู้เอาประกันจะคุ้มครองอย่างไรในกรณีที่ต้องการให้มีการซ่อมแซมหรือชดเชยค่าเสียหาย ซึ่งประกันรถยนต์แต่ละชั้นจะมีความคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
1. ประกันรถยนต์ชั้น 1 : คุ้มครองเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะคู่กรณีรับผิดชอบหรือไม่
- ประกันชั้น 1 จะคุ้มครองรถของผู้เอาประกันในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้เอาประกันเองหรือคู่กรณีปฏิเสธความรับผิดชอบ
- หากคู่กรณีไม่รับผิดชอบ ประกันชั้น 1 จะยังคงซ่อมรถของผู้เอาประกันโดยไม่ต้องรอผลจากการเจรจากับคู่กรณี
- ประกันจะครอบคลุมค่าซ่อมแซมทั้งหมดของรถผู้เอาประกัน และในกรณีที่ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเรียกเคลมจากคู่กรณีผ่านการดำเนินการของบริษัทประกันได้
2. ประกันรถยนต์ชั้น 2+ : คุ้มครองในกรณีที่มีคู่กรณีและสามารถระบุตัวได้
- หากคู่กรณีไม่ยอมรับผิดชอบ ประกันชั้น 2+ จะยังคงคุ้มครองรถของผู้เอาประกัน ในกรณีที่สามารถระบุตัวคู่กรณีได้ (เช่น คู่กรณีหนี แต่มีหลักฐานจากกล้องหรือพยานชัดเจน)
- บริษัทประกันจะรับผิดชอบในการซ่อมแซมรถของผู้เอาประกัน และในกรณีที่ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายถูก บริษัทประกันจะดำเนินการเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณี
- หากไม่สามารถระบุตัวคู่กรณีได้ (เช่น ชนแล้วหนีโดยไม่มีพยานหรือหลักฐานชัดเจน) ประกันชั้น 2+ จะไม่คุ้มครอง
3. ประกันรถยนต์ชั้น 2 : คุ้มครองเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น
- ประกันภัยชั้น 2 คุ้มครองอะไรบ้าง ประกันชั้น 2 จะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายของคู่กรณี หากเกิดอุบัติเหตุและคู่กรณีปฏิเสธความรับผิดชอบ รถของผู้เอาประกันจะไม่ได้รับการคุ้มครอง
- หากคู่กรณีเป็นฝ่ายผิดและไม่ยอมรับผิด ผู้เอาประกันจะต้องดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายด้วยตนเอง โดยบริษัทประกันจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องในการซ่อมแซมหรือชดเชยค่าเสียหายของรถตนเอง
เหมาะสำหรับ: ผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงในการรับผิดชอบค่าซ่อมแซมรถของตนเองในกรณีที่คู่กรณีปฏิเสธความรับผิดชอบ
4. ประกันรถยนต์ชั้น 3+ : คุ้มครองเฉพาะการชนที่มีคู่กรณีและสามารถระบุตัวได้
- ประกันรถยนต์ชั้น 3+ ราคาถูก จะคุ้มครองรถของผู้เอาประกันในกรณีที่ชนกับยานพาหนะที่มีคู่กรณีเท่านั้น และสามารถระบุตัวคู่กรณีได้
- หากคู่กรณีไม่รับผิดชอบ แต่มีหลักฐานชัดเจน เช่น จากกล้องวงจรปิด ประกันชั้น 3+ จะยังคงซ่อมรถของผู้เอาประกัน โดยจะดำเนินการเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีภายหลัง
- ในกรณีที่ไม่สามารถระบุตัวคู่กรณีได้ เช่น ชนแล้วหนี ประกันชั้น 3+ จะไม่คุ้มครอง
5. ประกันรถยนต์ชั้น 3 : คุ้มครองเฉพาะรถคู่กรณี
- ประกันภัยชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะความเสียหายของรถคู่กรณี หากเกิดอุบัติเหตุและคู่กรณีปฏิเสธความรับผิดชอบ รถของผู้เอาประกันจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากประกัน
- ผู้เอาประกันต้องซ่อมรถของตนเองหากเกิดความเสียหาย ไม่ว่าคู่กรณีจะยอมรับผิดหรือไม่
แรบบิท แคร์ รวบรวมแบบประกันรถยนต์จากทุกบริษัทประกันชั้นนำมาให้เลือกออนไลน์แบบครบที่สุด พร้อมส่วนลดสูงสุด 70% การันตีเบี้ยประกันถูกกว่าซื้อตรงกับบริษัทประกันภัย และรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน ได้ทั้งเงินสดหรือบัตรเครดิต บริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางถนนตลอด 24 ชั่วโมง บริการรถใช้ระหว่างซ่อมนานสูงสุด 3 วัน ชดเชยค่าเดินทางสูงสุด 500 บาท ขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของ แรบบิท แคร์ ได้ก่อนใคร โทรเลย 1438
สรุป
รถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบ หรือรถคู่กรณีไม่ยอมรับผิด ควรเตรียมและรวมรวมพยานหลักฐานให้สถานที่เกิดเหตุให้ครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อพิสูจน์ความรับผิดชอบว่าคู่กรณีเป็นฝ่ายประมาท โดยในระหว่างที่รวบรวมหลักฐาน สามารถนำรถไปเข้าซ่อมได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุด แต่ผู้เสียหายจะต้องทำเรื่องฟ้องทางแพ่งภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเกิดเหตุ
เบื้องต้น หากรถยนตืมีประกันรถอยู่แล้ว บริษัทประกันภัยจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหน้างานเข้าตรวจสอบพื้นที่และสรุปสถานการณ์ ก่อนช่วยไกล่เกลี่ยคู่กรณีรถชนคู่กรณีไม่รับผิดชอบให้ยอมรับผิดตามข้อเท็จจริงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และช่วยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงช่วยรักษาผลประโยชน์ของผู้ทำประกันฯ
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี