Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เป่าแอลกอฮอล์แล้วจะต้องไม่เกินเท่าไหร่ ถึงจะไม่เรียกว่า “เมาแล้วขับ”?

เป่าแอลกอฮอล์ ไม่เกินเท่าไหร่ ถึงจะไม่เรียกว่า “เมาแล้วขับ”?

จากข้อมูลในกฎหมายจราจรทางบกนั้นได้ให้รายละเอียดไว้ว่า ถ้าเป่าแอลกอฮอล์แล้วพบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเมาแล้วขับในกรณีที่ผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่แบบตลอดชีพหรือแบบ 5 ปี และมีอายุเกินกว่า 20 ปีขึ้นไป และจะต้องวัดแอลกอฮอล์ไม่เกินเท่าไหร่ ถึงจะไม่ผิดกฎหมายสำหรับผู้ขับขี่มือใหม่ที่ได้รับใบอนุญาตขับขี่แบบชั่วคราวอยู่ มาดูคำตอบกันต่อค่ะ

ซึ่งถ้าหากเป่าแอลกอฮอล์แล้วพบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเมาแล้วขับใน 4 กรณีนี้ ได้แก่

  • ผู้ขับขี่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
  • ผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ เช่น ผู้ขับมือใหม่ที่มีใบอนุญาตขับขี่ยังไม่ถึง 2 ปี เป็นต้น
  • ผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับขี่สำหรับรถประเภทอื่น ซึ่งจะใช้แทนกันไม่ได้
  • ผู้ขับขี่ที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรืออยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

ถ้าไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์ จะผิดกฎหมายไหม?

ในกรณีที่ไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์ ในทางกฎหมายจะถือว่า “เมาแล้วขับ” ดังนั้นจะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือถูกปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ด้วย

ขณะขับรถตรวจพบแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมีโทษอย่างไร?

จากข้อมูลในพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ได้กล่าวไว้ว่า ในมาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ

  • 1. ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ
  • 2. ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
  • 3. ในลักษณะกีดขวางการจราจร
  • 4. โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
  • 5. ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย หรือไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น
  • 6. คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
  • 7. บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ
  • 8. ในลักษณะที่เห็นได้ว่าไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น
  • 9. ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น ทั้งนี้ ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด

และถ้าหากเป่าแอลกอฮอล์แล้วพบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกำหนดทั้ง 2 กรณี หรือตรวจพบแอลกอฮอล์ โทษคือจะถือว่าเป็น “การเมาแล้วขับ” ซึ่งจะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือถูกปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้น โดยจะมีกำหนดไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 160 ตรี นั่นเอง

กรณี “เมาแล้วขับ” มีโทษทางกฎหมายอย่างไรบ้าง?

จากข้อมูลในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 160 ตรี ได้กำหนดโทษของผู้ขับขี่ในขณะที่เมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นไว้ดังนี้

  • เมาแล้วขับ ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือถูกปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือถูกสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
  • เมาแล้วขับจนเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และถูกปรับ 20,000-100,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนการใช้ใบอนุญาตขับขี่
  • เมาแล้วขับจนเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-6 ปี และถูกปรับ 40,000-120,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
  • เมาแล้วขับจนเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และถูกปรับ 60,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
  • ผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำข้อหาเมาแล้วขับ - กระทำผิดครั้งแรก จะมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ - หากกระทำผิดซ้ำภายใน 2 ปี (นับตั้งแต่วันที่กระทำความผิดครั้งแรก) จะถูกเพิ่มอัตราโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับ 50,000 – 100,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 160 ตรี/1 มาตรา 160ตรี/2 และมาตรา 160 ตรี/3

วิธีการใช้เครื่องเป่าแอลกอฮอล์ มีขั้นตอนอะไรบ้าง?

เบื้องต้นจะใช้วัดหลังจากที่ผู้ดื่มได้มีการดื่มแอลกอฮอล์ไปแล้วอย่างน้อย 15 - 30 นาที เพราะจะได้ค่าที่แม่นยำมากที่สุด

  • 1. ใส่หลอดเป่าเข้าไปที่ช่องเสียบหลอดบนเครื่องเป่าแอลกอฮอล์
  • 2. ใส่แบตเตอรี่ที่เครื่องแล้วปิดฝาให้เรียบร้อย
  • 3. เปิดเครื่องโดยการกดปุ่ม Power ค้างไว้
  • 4. นับถอยหลัง 15 วินาที เพื่อให้เครื่องส่งเสียงเตือนว่าพร้อมทำงาน และจะมีคำว่า Blow แสดงที่หน้าจอ
  • 5. อมที่หลอดเป่า หลังจากนั้นเป่าด้วยลมที่แรงเสมอกัน จนมีเสียงเตือนให้หยุดเป่า
  • 6. เครื่องจะประมวลผลและแสดงข้อมูลปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดที่จอภาพ โดยค่าที่ได้จะแสดงผลเป็น 3 แบบ คือ % BAC, BAC และ mg/L (% BAC ค่าที่เป่าออกมาจะต้องไม่เกิน 0.05% BAC หรือถ้าแปลงเป็นหน่วย mg% ให้คูณด้วย 1000 จะได้เท่ากับ 50 mg%)

ถ้าหากว่าเมาแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา แบบนี้จะสามารถเคลมประกันได้ไหม?

ตามวัตถุประสงค์ของประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ. รถยนต์) จะเป็นการคุ้มครองผู้เอาประกันรถยนต์และคู่กรณี โดยที่จะไม่มีการพิสูจน์ว่าถูกหรือผิด โดยจะจ่ายให้เป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลนั่นเอง เพื่อให้ได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ในส่วนของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์นั้น พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่ได้ให้ความคุ้มครองอยู่แล้ว

ดังนั้นในกรณีที่เป่าแอลกอฮอล์แล้วพบว่าทางผู้ขับขี่นั้นมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ทางประกันภัยรถยนต์ก็จะคุ้มครองทั้งในส่วนของผู้เอาประกันและฝ่ายเสียหาย แต่ถ้าหากว่าเป่าแอลกอฮอล์แล้วพบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ทางประกันภัยรถยนต์ก็จะไม่ได้ให้คุ้มครองแก่ผู้เอาประกันนั่นเอง ถึงแม้ว่าจะเป็นการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองมากที่สุดก็ตาม แต่ทั้งนี้ก็จะให้ความคุ้มครองแก่ฝ่ายที่เสียหายด้วย โดยจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของประกันภัยรถยนต์ที่ได้เลือกซื้อไว้ ซึ่งทางบริษัทประกันภัยก็จะเรียกค่าเสียหายทั้งหมดจากตัวของผู้เอาประกัน เพื่อนำไปชดใช้ให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายต่อไป

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

ควรเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

สำหรับรถมือหนึ่งที่เพิ่งออกมาใหม่ แนะนำว่าควรเลือกทำเป็น ประกันรถยนต์ชั้น 1 ไว้จะดีที่สุด เพื่อความอุ่นใจตลอดการเดินทาง เพราะอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นการไม่ประมาทจะดีที่สุด เพียงแค่จ่ายเบี้ยประกันไม่กี่บาทต่อปี จะได้ไม่ต้องเสียเงินก้อนใหญ่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือสามารถปรึกษาได้ที่ Care Center เบอร์ 1438 บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกและการเช็กประกันรถยนต์ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง หรือคลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์แรบบิท แคร์

ซื้อประกันรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

เพราะการซื้อประกันรถยนต์กับแรบบิท แคร์ ไม่เพียงแต่จะคุ้มค่าในเรื่องของแผนประกันและการคุ้มครองเท่านั้น แต่ยังให้ความอุ่นใจมากกว่าที่อื่น เพราะความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยคือ 100% มีการรับรองความถูกต้องจาก คปภ. และมีประสบการณ์ในการดูแลและให้บริการลูกค้ามาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีช่องทางในการชำระเบี้ยประกันรถยนต์มากมาย ดังนั้นถ้าหากเรามีรถยนต์แล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต เป็นเงินสด หรือแม้แต่กระทั่งการผ่อนชำระก็มี ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกได้หลากหลายช่องทาง วางแผนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงส่วนลดก็มีให้เหมือนกัน เพราะเราแคร์คุณยิ่งกว่าใคร ทั้งการอำนวยความสะดวกหลังการขาย และการติดตามในเรื่องของงานเคลมให้ผ่านไปได้ด้วยดี เพราะเรามีอู่และศูนย์บริการที่ครอบคลุมทั่วไทย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แรบบิท แคร์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา