ปิดยอดสินเชื่อก่อนกำหนดได้ไหม และจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง?
สินเชื่อส่วนบุคคล คืออะไร?
สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่อธนาคาร จะเป็นวงเงินกู้อเนกประสงค์ที่ผู้กู้จะสามารถนำเงินไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของตนเอง และไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันหรือไม่มีต้องมีบุคคลค้ำประกันให้ อีกทั้งยังสามารถผ่อนจ่ายเป็นงวดได้อีกด้วย และสำหรับการอนุมัติสินเชื่อหรือการอนุมัติเงินกู้ต่าง ๆ นั้นจะเป็นหน้าที่ของทางธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพื่อพิจารณาวงเงินกู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่มีรายได้มั่นคงและมีประวัติทางการเงินดี โดยจะมีลักษณะของดอกเบี้ยเป็นแบบลดต้นลดดอก กล่าวคือทุกครั้งที่มีการชำระเงินคืน เงินต้นที่คงเหลือก็จะลดลงไปพร้อมกับอัตราดอกเบี้ยนั่นเอง อีกทั้งยังสามารถปิดสินเชื่อส่วนบุคคลก่อนกำหนดได้อีกด้วย
วิธีการปิดยอดบัตรกดเงินสด มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
เบื้องต้นให้โทรแจ้งเข้าไปยังคอลเซนเตอร์ของสถาบันการเงินหรือธนาคารที่เป็นเจ้าของบัตร เพื่อแจ้งความประสงค์ว่าจะขอยกเลิกบัตรและยกเลิกการใช้บัตรด้วย เพราะการโทรแจ้งจะเป็นการชะลอไม่ให้มีการโอนเงินเข้ามายังบัตรอีก เนื่องจากว่าจะเกิดค่าธรรมเนียมทันทีเมื่อมียอดเงินโอนเข้ามาในบัตรกดเงินสด และถึงแม้ว่าไม่ได้มีการเบิกถอนแต่อย่างใด ทางผู้ใช้บัตรก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมอยู่ดี อีกทั้งจะต้องมีการปิดยอดให้เรียบร้อยก่อนด้วย จึงจะสามารถทำการปิดบัตรได้นั่นเอง
แนวทางในการแก้ไขหนี้มีอะไรบ้าง?
• รวบรวมข้อมูลหนี้ทุกก้อนที่เรามี
โดยการแบ่งแยกหนี้แต่ละก้อนให้ชัดเจนว่ามีหนี้อะไรบ้าง หนี้แต่ละก้อนมีดอกเบี้ยเท่าไร หรือว่ามียอดผ่อนเท่าไร เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมและวางแผนปิดหนี้ได้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
• ทำการจัดลำดับการปิดยอดหนี้
โดยจะแนะนำว่าให้รีบปิดหนี้ก้อนที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน ซึ่งส่วนมากเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตตามลำดับ (ดอกเบี้ย 16-25% ต่อปี)
• วางแผนทางการเงินให้เรียบร้อยก่อนที่จะทำการปิดยอดหนี้
ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องทำนั่นก็คือการสำรองเงินเอาไว้ เพื่อที่จะได้มีเงินเอาไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน และควรจะมีเงินก้อนฉุกเฉินเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายที่ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เนื่องจากชีวิตคนเรานั้นมักจะมีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นอยู่เสมอ หากเรารีบนำเงินก้อนไปโปะหนี้จนหมดโดยที่ไม่ได้มีการวางแผนทางการเงินไว้เลย สุดท้ายก็อาจจะต้องวนกลับไปกู้ยืมสินเชื่อใหม่จนเกิดเป็นหนี้อีกครั้งนั่นเอง
หากมีเงินก้อน ควรจะเลือกปิดหนี้แบบไหนก่อนดี?
หากมีหนี้อยู่หลายก้อน ควรจะเลือกปิดหนี้ก้อนที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน และไม่ควรเลือกปิดหนี้ก้อนที่มียอดรวมสูงที่สุด เพราะดอกเบี้ยอาจจะไม่ได้เยอะเท่าหนี้ก้อนที่มียอดรวมน้อยกว่านั่นเอง
โดยเราจะสามารถแบ่งหนี้สินได้ตามประเภทของประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการสร้างหนี้ ดังนี้
- หนี้ที่ดี จะเป็นหนี้ที่สามารถสร้างมูลค่าและทำประโยชน์ให้แก่ผู้ก่อหนี้ได้ กล่าวคือสามารถสร้างรายได้และสามารถต่อยอดให้กับลูกหนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น การปิดหนี้บ้าน การผ่อนคอนโด หนี้เพื่อการลงทุนค้าขาย หนี้เพื่อการเรียนต่อ เป็นต้น
- หนี้ที่ไม่ดี จะเป็นหนี้ที่ผู้ก่อหนี้นั้นไม่สามารถสร้างรายได้หรือต่อยอดได้ ยกตัวอย่างเช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด หนี้ที่เกิดจากการซื้อของที่ไม่จำเป็น ผ่อน 0% ผ่านบัตรเครดิต หรือหนี้ที่ใช้จ่ายเกินตัว จนส่งผลทำให้เกิดวงจรหนี้สินและดอกเบี้ยหมุนเวียนแบบไม่จบไม่สิ้น
แนวทางในการใช้เงินเพื่อไม่ให้เป็นหนี้ ควรทำอย่างไรบ้าง?
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงิน รวมไปถึงการทำรายรับรายจ่าย เพราะว่าจะทำให้เราได้ทราบถึงข้อมูลว่าสิ่งไหนเราควรปรับลด และสิ่งไหนที่เราควรปรับแก้ เพื่อที่จะได้ใช้เงินได้อย่างเป็นระบบแบบแผนมากยิ่งขึ้น
- เริ่มวางแผนทางการเงินใหม่ เช่น วางแผนเก็บเงินเพื่อเอาไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน หรือวางแผนเก็บออมเงินไว้ในบัญชีธนาคาร เป็นต้น
- ไม่เข้าไปในวงจรของหนี้นอกระบบ เพราะคุณจะเจอกับดอกเบี้ยที่สูงมาก และยากที่จะปิดหนี้ได้
- หากมีบัตรเครดิต ควรเลือกใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะถึงแม้ว่าบัตรเครดิตจะมีโปรโมชันผ่อนสินค้าและบริการ 0% ก็ตาม แต่ถ้าหากว่าคุณรูดบัตรเครดิตอย่างไม่เหมาะสมและจ่ายเพียงขั้นต่ำของยอดหนี้ในแต่ละงวด ก็อาจจะก่อให้เกิดเป็นหนี้ก้อนโตขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว
ข้อดีของการปิดยอดสินเชื่อก่อนกำหนดมีอะไรบ้าง?
อันดับแรกคือจะทำให้คุณมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี หากไม่เคยมีการผิดนัดชำระหนี้ ไม่เคยมีประวัติการโดนยึดทรัพย์มาก่อน หรือถ้าหากว่าเคยมีการผิดนัดชำระหนี้มาก่อน แต่ในปัจจุบันได้มีการชำระหนี้และปิดบัญชีไปแล้ว ก็จะทำให้คุณมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มระดับความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตได้อีกด้วย กล่าวคือคุณจะมีเครดิตทางการเงินที่ดีนั่นเอง ซึ่งจะสามารถดูข้อมูลได้จากสถานะทางการเงินในปัจจุบัน มีรายได้สม่ำเสมอ มีอาชีพที่มั่นคง และมีภาระในการผ่อนชำระรวมต่อเดือนไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ถ้าหากว่าในอนาคตมีการยื่นขอสินเชื่อต่าง ๆ กับทางธนาคาร ก็จะทำให้อนุมัติง่ายมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ปิดยอดสินเชื่อก่อนกำหนด ต้องเสียค่า Prepayment fee ไหม?
จากข้อมูลในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนดไว้ว่า ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังมีการอนุญาตให้ทางผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้นสามารถเรียกเก็บ Prepayment fee ได้ในช่วง 3 ปีแรก นับตั้งแต่วันที่มีการทำสัญญา เพื่อให้ทางลูกหนี้นั้นมีโอกาสได้ดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ (teaser rate) นั่นเอง
และนอกจากนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ห้ามไม่ให้มีการเรียกเก็บ “Prepayment fee” หรือว่า “ค่าปรับ” จากการปิดยอดสินเชื่อก่อนกำหนดจากสินเชื่อหลายประเภท ได้แก่
- 1. สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
- 2. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
- 3. สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano finance)
- 4. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
- 5. สินเชื่ออุปโภคบริโภค เช่น สินเชื่อสวัสดิการ เป็นต้น
โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ห้ามไม่ให้ทางผู้ให้บริการนั้นคิดดอกเบี้ยบนดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่ให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อย ซึ่งจะรวมไปถึงในกรณีบัญชีเดินสะพัดของสินเชื่อวงเงินกู้ที่เบิกเกินบัญชี (overdraft) อีกด้วย
“สินเชื่อ” แตกต่างจากบัตรกดเงินสดหรือบัตรเครดิตอย่างไร?
สินเชื่อนั้นจะมีความแตกต่างไปจากบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดตรงที่วงเงินกู้นั้นจะให้สูงกว่า อีกทั้งยังมีลักษณะของการคิดดอกเบี้ยที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย เพราะฉะนั้น สินเชื่อ จึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการเงินก้อนเป็นจำนวนมาก และมีความประสงค์จะผ่อนชำระเงินคืนเป็นระยะเวลาที่ยาวแบบต่อเนื่อง แต่ในขณะที่บัตรเครดิตนั้นจะเหมาะกับการใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ยกตัวอย่างเช่น การซื้อสินค้าหรือบริการทั่วไป เป็นต้น ส่วนบัตรกดเงินสดจะเหมาะสำหรับการใช้จ่ายในยามฉุกเฉินมากกว่า
ยื่นขอสินเชื่อบุคคลกับแรบบิท แคร์ ดีอย่างไร?
ที่แรบบิท แคร์ เรามีบริการค้นหา สินเชื่อส่วนบุคคล ที่คุณต้องการได้ภายใน 30 วินาที เพียงแค่กรอกข้อมูลฐานเงินเดือน ระบบก็จะคัดกรองและแสดงข้อเสนอสุดพิเศษมากมายจากสถาบันการเงินหรือธนาคารชั้นนำของประเทศไทยมาให้แก่คุณ อีกทั้งยังช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล และเปรียบเทียบข้อมูลได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังมีบริการให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คุณ และสามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้สูงสุด เพราะแรบบิท แคร์ เป็นบริษัทในเครือของ BTS ที่มีความมั่นคง ไว้วางใจได้ และพร้อมที่จะช่วยเหลือคุณตั้งแต่ต้นไปจนถึงบริการหลังการขาย ดังนั้นจึงสามารถไว้วางใจให้แรบบิท แคร์ ช่วยดูแลคุณได้เลย
สมัครสินเชื่อผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
เพราะแรบบิท แคร์ จะช่วยคุณในการเลือกสินเชื่อที่เหมาะสม วงเงินสูง อนุมัติไว เอกสารไม่ยุ่งยาก และสามารถนำเงินไปใช้ได้ในทุกวัตถุประสงค์ ไม่ว่าคุณจะทำอาชีพอะไรก็ตาม แรบบิท แคร์ ก็สามารถรวบรวมข้อเสนอสินเชื่อมาให้คุณได้ อีกทั้งยังสะดวกสบาย รวดเร็ว สมัครได้ง่าย และมีดอกเบี้ยที่ต่ำ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ แรบบิท แคร์ หรือโทรที่เบอร์ 1438
สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ
- ผ่อนนานสูงสุด 24 และ 72 เดือน
- วงเงินกู้ถึงหลักล้าน
- อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี
- มีอายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
- มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาทขึ้นไป
- ผ่อนชิลๆ 60 เดือน
- อนุมัติวงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท
- มีรายได้ต่อเดือน 20,000 บาทขึ้นไป
- อายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
- ไม่เคยยื่นกับ Citi ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
LH Bank
- ดอกเบี้ยต่ำ 8.88%/ปี*
- วงเงินสูงสุด 1.5 ล้านบาท*
- ผ่อนนานสูงสุด 60 เดือน*
- ไม่ต้องค้ำประกัน
- อายุงานไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป
- ทำงานในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล
- รายได้ต่อเดือนขั้นต่ำ 30,000 บาทขึ้นไป
TTB
- อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 25% ต่อปี
- ไม่ต้องค้ำ
- ดอกเบี้ยพิเศษ ลดต้นลดดอก
- ผ่อนได้นานสุด 60 เดือน
- วงเงินอนุมัติสูง 5 เท่าของรายได้