Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

Good debt & bad debt_dekstop.jpg

หนี้ดี vs หนี้เสีย ต่างกันอย่างไร เป็นหนี้แบบไหนถึงเรียกว่า ‘คุ้มค่าและได้ประโยชน์มากกว่า’

เมื่อพวกเราพูดถึงคำว่า ‘หนี้’ เชื่อไหมว่า ส่วนใหญ่จะนึกถึงความหมายในเชิงลบมากกว่า ก็แน่ล่ะ การเป็นหนี้เหมือนมีภาระเป็นเงาคอยตามตัวจะทำอะไรก็กลัวมีปัญหา แต่รู้หรือไม่ว่า หนี้บางประเภทก็สามารถให้ความคุ้มค่าและสร้างประโยชน์ให้คุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ จนมีการแบ่งประเภทของหนี้ออกเป็นสองแบบคือ ‘หนี้ดี’ และ ‘หนี้เสีย’ แต่หนี้ทั้งสองแบบจะแตกต่างกันอย่างไร มาดูกัน

หนี้ดี – หนี้เสีย คืออะไร?

หนี้เสียคงเป็นคำที่คุ้นหูกันอยู่แล้ว เพราะแค่เปิดโทรทัศน์ดูก็มักจะได้ยินคำว่า หนี้เสีย ในการนำเสนอข่าวกันบ่อย ๆ พอมาเจอคำว่า หนี้ดี หลายคนอาจจะร้อง เอ๊ะ! คำว่า หนี้มีดีด้วยหรอ? ก่อนอื่น น้องแคร์ ขอพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับสองคำนี้กันก่อนดีว่า หนี้ดี – หนี้เสีย หมายถึงอะไร

หนี้ดี

หมายถึง หนี้ดีที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเติมเต็มโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้น แม้ว่า จะมีการกู้ยืมจนก่อให้เกิดภาระหนี้สินก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่หนี้สิ้นเปลืองที่ต้องกังวล ให้ความรู้สึกคุ้มค่าที่จะเป็นหนี้ก้อนนั้น โดยหนี้ดีจะสามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่มเบื้องต้น ได้แก่

  • หนี้เพื่อการประกอบอาชีพ : เป็นหนี้ดีที่มีวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ อย่างเช่น การกู้สินเชื่อรถยนต์มาเพื่อใช้ในการทำงานขนสินค้า และสามารถหารายได้เสริมอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้
  • หนี้เพื่อการศึกษา : กู้ยืมมาเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการศึกษา เช่น ค่าเทอม ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการศึกษา เป็นต้น ซึ่งเป็นเสมือนกับการลงทุนกับตัวเองให้ได้รับการศึกษาที่ดี เพื่อสามารถประกอบอาชีพการงานที่มีรายได้สูงได้ในอนาคต ถือเป็นหนี้ดีที่มีโอกาสสร้างรายได้จากความสามารถที่ได้รับจากศึกษาเล่าเรียน
  • หนี้เพื่อความมั่นคงระยะยาว : อย่างเช่น การกู้ยืมเงินเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์สำหรับการปล่อยเช่าหรือขายต่อในราคาที่สูงขึ้นในอนาคต เป็นรายได้เสริมอีกช่องทางหนี่ง คุ้มค่ากับการเป็นหนี้ เป็นต้น

หนี้เสีย หรือ NPL (Non Performing Loan) คืออะไร?

NPL ย่อมาจาก Non-Performing Loan คือ หนี้เสียที่ไม่มีการชำระเงินคืนตามข้อกำหนดที่ตกลงไว้ในสัญญา เช่น ขอสินเชื่อมาจากทางธนาคารแล้วไม่สามารถชำระได้ตามระยะเวลา โดยทั่วไปแล้วมักจะมีระยะเวลาอยู่ที่ 90 วัน (ประมาณ 3 เดือน) โดย NPL หรือ หนี้เสีย เหล่านี้ กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อทางสถาบันการเงินหรือทางธนาคารในการขอสินเชื่อเงินกู้อื่น ๆ ทำให้ผู้กู้ อาจกู้ไม่ผ่าน หรือถูกปฎิเสธสูงมาก เพราะทางสถาบันการเงินหรือทางธนาคารต้องควบคุมไม่ให้ตัวเลข NPL สูงขึ้นมากกว่าเดิม

ซึ่งการที่ NPL สูง นอกจากส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมได้แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อประชาชนต่าง ๆ อีกมาก ไม่ว่าจะเป็น

  • การปล่อยกู้ยากขึ้น บางแห่งอาจมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากกว่าเดิม เพราะทางสถาบันการเงินต้องตรวจสอบผู้กู้อย่างละเอียด
  • ลูกหนี้กลุ่มที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อยจะกู้เงินได้ยากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินกังวลว่าผู้กู้จะไม่สามารถชำระเงินคืนได้ตามกำหนด
  • มีแนวโน้มปรับดอกเบี้ยขึ้นสูง เพราะมีการหากำไรมาทดแทนหนี้ NPL รวมถึงอาจมีโปรโมชั่นในการขอกู้สินเชื่อต่าง ๆ น้อยลงด้วย

ส่วนสาเหตุของการเกิดหนี้เสียนั้น นอกจากเรื่องรายได้ วินัยในการจ่ายหนี้สินของผู้กู้แล้ว อาจมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วยทำให้เกิดเป็นหนี้เสียที่ชำระเงินต่าง ๆ ไม่ทันอีก เช่น สภาพเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบัน, ค่าครองชีพที่เพิ่มมากขึ้น หรือภาระด้านการเงินอื่น ๆ เป็นต้น

ในกรณีที่คุณมีประวัติหนี้เสีย ทางสถาบันการเงินจะมีการรายงานข้อมูลต่าง ๆ โดยข้อมูลที่จัดเก็บหรือรายงานในเครดิตบูโรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่บ่งชี้ถึงลูกค้าคนนั้น ๆ เช่น ชื่อ-นามสกุล บัตรประชาชน และวันเดือนปีเกิด
  • ข้อมูลสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระหนี้ จำแนกเป็นรายบัญชีที่มีอยู่ในแต่ละสถาบันการเงินและบริษัทสมาชิก

ไปยัง บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau หรือ NCB ) หรืออีกชื่อ เครดิตบูโร ได้กล่าวไว้ว่า จะทำการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ NPL ไว้ เป็นระยะเวลาทั้งหมดไม่เกิน 3 ปี และจะมีการอัพเดทข้อมูลเป็นรายเดือน ทำให้แม้จะมีการปลดหนี้ NPL ไปแล้ว ประวัติการมีหนี้สินของคุณจะยังคงค้างอยู่ในระบบไปอีกสักระยะก่อนที่จะมีการอัพเดทข้อมูลใหม่เติมเข้าไปนั่นเอง

สรุปแล้ว NPL คือ หนี้ของลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระได้ทั้งเงินต้นเงินดอกตามระยะเวลาที่กำหนด และถูกเก็บข้อมูลเป็นเครดิตบูโรนั่นเอง ไม่ใช่การแบล็คลิสต์แต่อย่างใด

จะเกิดอะไรขึ้นหากหนี้ของเรากลายเป็นหนี้เสีย?

แน่นอนการที่เรามีท่าทีจะเบี้ยวการชำระหนี้อยู่บ่อย ๆ หรือชำระหนี้ไม่ตรงตามเวลาและจำนวนที่กำหนด ก็เป็นธรรมดาที่เจ้าหนี้ต่าง ๆ ของเราจะเริ่มไม่ไว้วางใจพฤติกรรมในการชำระหนี้ของเรา จนทำให้ต้องมีการโทรติดต่อมาทวงถามกันบ่อยครั้ง บางกรณีหากเรามีการผิดนัดการชำระหนี้บ่อย ๆ ก็มีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มสูงขึ้นได้เลย อย่างเช่น หนี้ประเภทสินเชื่อบ้าน หากมีการเบี้ยวไม่ชำระหนี้ตามกำหนดครบ 75 วัน ก็จะส่งผลทำให้อัตราดอกเบี้ยดีดเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเลยทีเดียว ทีนี้ก็จะกลายเป็นว่าเงินที่เราชำระหนี้ไปก็จะไม่ค่อยไปลดต้นมากเท่าเดิมอีกต่อไป จะไปเป็นในส่วนของดอกเบี้ยเสียมากกว่า ทำให้การชำระหนี้ในระยะยาวของคุณต้องจ่ายแพงมากกว่าเดิมเพราะอัตราดอกเบี้ยสูง

ยิ่งไปกว่านั้นหากเราเป็นลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ไม่ดี ค้างการชำระถี่มาก ๆ เข้า ข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้แบบไม่ตรงตามเวลาของเราก็จะถูกส่งไปบันทึกเป็นข้อมูลเครดิตบูโร ของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ที่สถาบันการเงิน ธนาคารต่าง ๆ สามารถเข้ามาดูข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อว่าประวัติการชำระหนี้ของเราดีหรือไม่ดีมากน้อยแค่ไหน สมควรอนุมัติผ่านหรือไม่ผ่านในกรณีที่เรามีการยื่นขอสินเชื่อ และถ้าหากประวัติการยืมเงินของเราไม่ดี มีหนี้เสียเกิดขึ้นในระบบ ก็จะทำให้การขอกู้ยืมในครั้งนั้น ๆ หรือครั้งต่อ ๆ ไปสถาบันการเงินจะปล่อยอนุมัติกู้ให้กับเราได้ยากมากขึ้น รวมไปถึงหากมีการอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยก็จะมีอัตราที่แพงมากกว่าปกติ พูดง่าย ๆ ก็คือเมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีหนี้และบริหารจัดการหนี้ที่มีไม่ดีจนทำใ้ห้เกิดเป็นหนี้เสียขึ้นมา โอกาสที่เราจะกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินยามจำเป็นก็จะยิ่งยากมากขึ้นนั่นเอง

สถานะ NPL คืออะไร? จะแก้ไขหนี้ NPL ต้องทำอย่างไรบ้าง?

สถาะ NPL คือ สถานะที่บุคคลนั้น ๆ ดำลังประสบปัญหากับหนี้เสีย เนื่องจากไม่มีการชำระเงินในระยะเวลาที่กำหนดติดต่อกันเกิน 90 วัน อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งผลเสียของการมีสถานะ NPL ติดตัว จะทำให้กู้สินเชื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสินเชื่อเงินก้อนโต

เบื้องต้น หากต้องการแก้ไขหนี้ NPL ที่มีอยู่ติดตัว จะสามารถแก้ไขได้ ดังนี้

  • ติดต่อเพื่อขอประนอมหนี้กับทางสถาบันการเงิน
    เมื่อประเมินแล้วว่าไม่สามารถจ่ายหนี้สินได้จริง ๆ ทาง แรบบิท แคร์ แนะนำให้ติดต่อกับทางสถาบันการเงินหรือธนาคารเพื่อขอประนอมหนี้ ยืดระยะเวลาในการจ่ายหนี้ออกไป หรือเจรจาเพื่อขอผ่อนผันดอกเบี้ย, ขอให้หยุดดอกเบี้ยชั่วคราว หรือลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนในแต่ละเดือนลง
    ในบางกรณี ทางสถาบันการเงินาจมีการเสนอทางแก้ไขอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ เช่น การเสนอให้ขายทรัพย์สินเพื่อหักลดยอดมาชำระหนี้, เสนอให้ขอสินเชื่อรวมหนี้ ทั้งสินเชื่อส่วนบุคคล หรือ ขอสินเชื่อรถแลกเงิน เป็นกรณีพิเศษ, เข้าร่วมกับคลีนิกแก้หนี้ เป็นต้น
  • รักษาวินัย ชำระหนี้ให้ตรงเวลา เพื่อสร้างประวัติใหม่
    ปัญหาของหนี้เสีย มักมาจากการที่ผิดนัดชการจ่ายหนี้เสีย เมื่อเจรจาสำเร็จ ครั้งนี้ควรพยายามสร้างประวัติใหม่ให้ดี จ่ายเงินตรงเวลาอย่างน้อย 12 เดือน เพื่อเป็นการพิสูจน์ต่อสถาบันการเงินว่ามีความตั้งใจจริงต่อการเคลียร์หนี้สินดั่งกล่าว ช่วยให้ประวัติใหม่ของคุณที่ต้องถูกบันทึกเครดิตบูโรดีขึ้นตามไปด้วย
  • เมื่อเคลียร์หนี้จบ ให้เก็บหลักฐานเสมอ
    เพราะเครดิตบูโรจะมีการบันทึกประวัติการเงินทั้งดีและเสียไว้ ในกรณีที่คุณสามารถเคลียร์หนี้ NPL ได้แล้ว แรบบิท แคร์ แนะนำให้คุณขอหลักฐาน หรือเก็บรวบรวมหลักฐานที่ชำระหนี้ไว้ด้วย เพราะหากคุณเป็นบุคคลที่เคยมีประวัติเครดิตบูโรไม่ดีเท่าไหร่ ต่อให้พยายามสร้างประวัติใหม่ดีมากแค่ไหน แต่ประวัติเสียเก่า ๆ ยังต้องใช้ระยะเวลานานถึงจะสามารถล้างประวัติทั้งหมดลงได้ และหากในระยะเวลาดั่งกล่าว คุณจำเป็นจะต้องขอกู้สินเชื่อ ก็สามารถแสดงหลักฐานดั่งกล่าวมายืนยันเพื่อขอสินเชื่อในครั้งใหม่ได้

จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดหนี้เสีย?

สิ่งสำคัญที่สุดในการกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตามแต่ ก็คือ การวางแผนการชำระหนี้สินต่าง ๆ ให้ดี โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้สินทั้งหมดของเราตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนดเป็นอันดับแรกว่าสามารถชำระได้หรือไม่ก่อนตัดสินใจกู้ยืม

อย่างต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องของความมีวินัยในการชำระหนี้ให้ครบและตรงตามเวลาที่ระบุ หากเกิดกรณีฉุกเฉินสุดวิสัยไม่สามารถชำระหนี้สินได้ตามที่ตกลงไว้ ควรเข้าพบเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินนั้น ๆ ที่คุณกู้ยืมมา เพื่อดำเนินการเจรจาขอพักหนี้ชั่วคราว หรือยืดระยะเวลาในการชำระออกไปก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาหนี้เสียตามมาจนทำให้เกิดประวัติทางการเงินไม่ดีในข้อมูลเครดิตบูโรนั่นเอง

และหากคุณมีโอกาสในการแก้หนี้เสีย หรือ NPL ก็ควรพยายามแก้ไขให้ดีที่สุด หากสามารถปิดหนี้ก้อนดังกล่าวที่เป็นหนี้เสียได้ก็ควรรีบปิด เพื่อเป็นการสร้างประวัติทางการเงิน การกู้ยืมเงินที่ดีให้เกิดขึ้นใหม่ในระบบข้อมูลเครดิตบูโรต่อไป

หนี้ดีมีลักษณะอย่างไร? มีหนี้แบบไหนถึงเรียกว่า ‘ดี’

คนที่สงสัยว่า แล้วหนี้แบบไหนถึงจะเป็นหนี้ดี Rabbit Care มีวิธีสังเกต เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างหนี้ดีและหนี้เสียง่าย ๆ 4 ข้อ ดังนี้

  • หนี้ดีหรือไม่ ดูที่ ‘สร้างประโยชน์’ เพิ่มรึเปล่า
    บางคนอาจจะคิดว่า หนี้ทุกแบบก็มีประโยชน์หมดแหละ อย่างน้อยก็รีบเอามาโปะไม่ให้เครดิตเสียไง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะหนี้แบบนั้นไม่ได้สร้างประโยชน์ให้เกิดใหม่เพิ่มเติมเลย ส่วนหนี้ดีที่สร้างประโยชน์ใหม่ได้จะต้องเป็นหนี้ที่คุณสามารถอธิบายได้ว่า มีประโยชน์อะไร หรือสร้างรายได้ให้ในอนาคตได้หรือไม่ เช่น หนี้ที่นำไปใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา, หนี้ลงทุน เพื่อเริ่มต้นธุรกิจหรือขยายธุรกิจ, หนี้ที่กู้มาเพื่อซื้ออุปกรณ์ประกอบอาชีพ เป็นต้น
  • ลดภาระจากหนักเป็นเบา
    แม้ว่า จะเป็นหนี้ที่กู้ยืมมา เพื่อใช้หมุนเวียนเงินไม่ให้ขาดมือ แต่ก็มีโอกาสที่จะเป็นหนี้ดีมากกว่าหนี้เสียได้เหมือนกัน ถ้าหนี้เหล่านั้นช่วยลดภาระจากหนักเป็นเบาได้ เช่น การรีไฟแนนซ์, หนี้ดอกเบี้ยต่ำมาปิดหนี้ดอกเบี้ยสูงหลายก้อน เป็นต้น อาจเรียกว่า เป็นอีกวิธีที่ช่วยบริหารจัดการเงินให้ดีและคล่องมือขึ้นก็ได้
  • ไม่ทำให้เสียวินัยหรือเสียประโยชน์
    หนี้ดีไม่ควรทำให้คุณเสียวินัยทางการเงินหรือเสียประโยชน์ เพราะถ้าเกิดข้อเสียก็ไม่ควรเรียกว่า ดี ถูกมั้ย ดังนั้น ถ้ากู้เงินมาแล้วทำให้คุณมีพฤติกรรมใช้เงินฟุ่มเฟือยจนเคยตัว หรือเสียดอกเบี้ยหนักกว่าได้ประโยชน์มากก็อาจเป็นหนี้เสียมากกว่าหนี้ดี เช่น หนี้ซื้อของแบรนด์เนม หนี้จากการใช้จ่ายเกินตัว เป็นต้น กลายเป็นภาระหนักกว่าเดิม และมีโอกาสกลายเป็นผลเสียหรือเครดิตเสียในอนาคต
  • รู้สึกคุ้มค่า ไม่ถูกเอาเปรียบ
    หนี้ดีจะต้องเพิ่มความรู้สึกที่ดีให้กับคุณ ทั้งเป็นหนี้ที่ต้องถูกกฎหมาย ให้ความรู้สึกคุ้มค่า ไม่มีความรู้สึกเหมือนถูกเอาเปรียบ และไม่ทำให้คุณรู้สึกไม่ปลอดภัย เพราะงั้นหนี้ดีก็ควรเป็นหนี้ในระบบ ต้นเงินเป็นเงินสะอาด ดอกเบี้ยตามกฎหมาย มีความเป็นธรรม และรองรับไลฟ์สไตล์คุณ ไม่ใช่หนี้นอกระบบดอกเบี้ยโหด พร้อมเอารัดเอาเปรียบคุณทุกเมื่อ หรือต้องมากังวลถึงความปลอดภัยในภายหลัง

เห็นมั้ยว่า ‘หนี้’ ไม่ใช่สิ่งที่แย่เสมอไป เพราะโลกใบหนี้ยังมีคำว่า ‘หนี้ดี’ และ ‘หนี้เสีย’ ที่เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจและแยกกันให้ออก หากจำเป็นต้องสร้างหนี้ก็ขอให้ประเมินแล้วว่า เป็นหนี้ดี ที่จะสร้างประโยชน์หรือเพิ่มรายได้ให้กับคุณได้ เพียงเท่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องมานั่งกังวลกับคำว่า หนี้ อีกต่อไป โดยเฉพาะหนี้ดีจาก ‘สินเชื่อส่วนบุคคล’ ของ Rabbit Care ที่พร้อมสานต่อความฝันของคุณให้เป็นความจริง!

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

CardX SPEEDY LOAN
  • ผ่อนนานสูงสุด 24 และ 72 เดือน
  • วงเงินกู้ถึงหลักล้าน
  • อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี
  • มีอายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
  • มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาทขึ้นไป
สินเชื่อบุคคลซิตี้
  • ผ่อนชิลๆ 60 เดือน
  • อนุมัติวงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท
  • มีรายได้ต่อเดือน 20,000 บาทขึ้นไป
  • อายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
  • ไม่เคยยื่นกับ Citi ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
สินเชื่อส่วนบุคคล Happy Cash ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

LH Bank

  • ดอกเบี้ยต่ำ 8.88%/ปี*
  • วงเงินสูงสุด 1.5 ล้านบาท*
  • ผ่อนนานสูงสุด 60 เดือน*
  • ไม่ต้องค้ำประกัน
  • อายุงานไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป
  • ทำงานในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล
  • รายได้ต่อเดือนขั้นต่ำ 30,000 บาทขึ้นไป
สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล TTB Cash2Go
  • อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 25% ต่อปี
  • ไม่ต้องค้ำ
  • ดอกเบี้ยพิเศษ ลดต้นลดดอก
  • ผ่อนได้นานสุด 60 เดือน
  • วงเงินอนุมัติสูง 5 เท่าของรายได้

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา