ทำความรู้จัก “ผู้ค้ำประกันเงินกู้” คืออะไร? ทำไมถึงมีความเสี่ยงสูง!?
“ผู้ค้ำประกันเงินกู้” ตำแหน่งที่คนใจดีหลายคนตัดสินใจให้ความช่วยเหลือ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นหนี้แบบไม่ทันตั้งตัว!? วันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับตำแหน่งผู้ค้ำประกัน คืออะไร ทำไมถึงมีความเสี่ยงสูง และทำไมหลายครั้งที่คนมักพูดกันว่าสนิทกันแค่ไหน แต่อย่าเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้เด็ดขาด แบบนี้จริงหรือ?
เกริ่นไว้ตรงนี้เลยว่าถ้าคุณใจดีผิดคน ปัญหาการเงินอาจเข้ามาจนคุณต้องลำบากไปอีกหลายปีแน่นอน เพราะข่าวเกี่ยวกับคนค้ำประกันมักออกมาในเชิงลบ โดยการที่ผู้กู้เงินหรือลูกหนี้มีการผิดนัดชำระเงินจากเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ ปล่อยให้คนค้ำประกันต้องแบกรับภาระชำระหนี้แทนแต่เพียงผู้เดียว ก่อให้เกิดความเสียหายเงินจำนวนมาก
ในวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกันให้มากขึ้นว่าค้ำประกันคืออะไร, สัญญาค้ำประกัน, ใครสามารถเป็นคนค้ำประกันได้บ้าง, สิทธิของคนค้ำประกัน รวมไปถึงถ้าไม่มีคนค้ำประกันจะขอสินเชื่อได้หรือไม่ เพื่อให้ทั้งคนที่กำลังจะหาผู้ค้ำไปจนถึงคนที่กำลังจะกลายเป็นคนค้ำประกันเสียเองได้รู้ถึงรายละเอียดทั้งหมด ว่าแล้วก็มาดูกันเลย ก่อนจะตัดสินใจค้ำประกันเงินกู้!
การค้ำประกัน คือ?
การค้ำประกันคือการประกันในการชำระหนี้ต่าง ๆ เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ อันเกิดจากการล้มละลาย หรือมีการหนีหนี้ ผู้ที่เป็นคนค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบหนี้ทั้งหมดแทนลูกหนี้ การค้ำประกันสามารถเป็นได้ทั้งคนค้ำประกัน หรือนำสินทรัพย์มาค้ำประกัน หากเป็นการนำทรัพย์สินมาค้ำประกัน เมื่อถึงเวลาที่ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ และธนาคารเล็งเห็นว่าลูกหนี้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ทางธนาคารจะยึดสินทรัพย์ที่คุณนำมาค้ำประกันไว้ทันที เพื่อนำไปขายตกทอดตลาดแทนการใช้หนี้
สัญญาค้ำประกันคืออะไร
สัญญาค้ำประกันคือสัญญาที่คนค้ำประกันได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกับเจ้าหนี้ เมื่อในกรณีที่เจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกเก็บชำระหนี้สินจากตัวลูกหนี้ได้ ผู้ที่ต้องทำการชำระหนี้แทนลูกหนี้นั่นก็คือผู้ค้ำประกันนั่นเอง โดยที่อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้สัญญาค้ำประกันเกิดความสมบูรณ์นั่นก็คือจะต้องมีการลงลายมือชื่อของผู้ค้ำประกันลงในสัญญาด้วย
โดยความสัญญาค้ำประกันจัดว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกับเจ้าหนี้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่เจ้าหนี้จะใช้เพื่อเป็นสัญญาในการชำระหนี้และมากไปกว่านั้นหากมีการผิดนัดไม่เกิดการชำระหนี้ขึ้นจริง สัญญาฉบับนี้จะเป็นตัวช่วยให้เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องเรียกสินเชื่อหรือเงินที่ปล่อยให้ลูกหนี้กู้คืนมาได้ตามกฎหมายได้อีกด้วย
โดยที่เราได้บอกในช่วงต้นแล้วว่าตัวสัญญาค้ำประกันจะต้องมีลายมือชื่อของคนค้ำประกันลงไว้ในเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วล่ะก็ตัวเจ้าหนี้เองจะไม่สามารถเรียกร้องตัวเงินที่ปล่อยกู้ไปจากทางฝั่งของลูกหนี้และผู้ค้ำประกันตามกฎหมายได้เลย
ผู้ค้ำประกัน หรือคนค้ำประกัน คืออะไร?
ผู้ค้ำประกันหรือคนค้ำประกัน คือ คนที่เอาชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของตนเองเป็นเครื่องยืนยันในการชำระหนี้ของผู้กู้ ซึ่งถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ที่ก่อไว้ได้ ก็เป็นหน้าที่ของคนค้ำประกันที่จะต้องชดใช้หนี้สินนี้แทนผู้กู้
คำว่า ผู้ค้ำประกัน คือ สามารถเป็นสัญญาได้หลากหลายไม่เพียงแต่เป็นสัญญาเงินกู้เท่านั้น แต่สามารถเป็นสัญญาอะไรก็ได้ เช่น สัญญาเช่า, สัญญาการซื้อขาย แต่หลายครั้งที่ผู้ค้ำประกันจะถูกนำไปใช้บ่อยสุดในสัญญากู้เงิน หรือการขอสินเชื่อในรูปแบบต่าง ๆ
โดยสินเชื่อที่มักจะต้องใส่ชื่อผู้ค้ำประกันเงินกู้ มักจะเป็นสินเชื่อขอเงินก้อนใหญ่ เพื่อให้ทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินได้มั่นใจว่า เช่น สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อเพื่อธุรกิจ, สินเชื่อรวมหนี้บัตรเครดิต หรือสินเชื่ออื่น ๆ ที่อาจกู้เงินแล้วมีมูลค่าวงเงินถึงหลักล้าน เป็นต้น
ทั้งนี้ทางธนาคารหรือบริษัทสินเชื่อจะไม่นำทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันเงินกู้มาอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาการขอสินเชื่อของผู้กู้ตัวจริงแต่อย่างใดดังนั้น หากใครจะหวังพึ่งพาเครดิตความน่าเชื่อถือของผู้ค้ำประกันเงินกู้อาจจะไม่ได้ผล เพราะทางสถาบันการเงินจะยังคงคิดตามสภาพการเงินของผู้กู้เป็นหลัก
คนค้ำประกันเป็นใครได้บ้าง
ไม่ใช่ว่าใครจะสามารถแสดงความจำนงต้องการขอเป็นคนค้ำประกันให้กับลูกหนี้ได้ สถาบันทางการเงินทั้งน้อยใหญ่ไปจนถึงธนาคารที่มีชื่อเสียงต้องทำการวิเคราะห์รายละเอียดและคุณสมบัติ จนได้ออกข้อกำหนดต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้นให้เหลือแต่คนค้ำประกันชั้นดีที่มีศักยภาพพอที่จะชำระหนี้ให้กับตัวเจ้าหนี้แทนในกรณีเลวร้ายที่เกิดการเบี้ยวหนี้ขึ้นมา ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่พอจะสรุปให้ทุกคนเข้าใจหรือเพื่อให้คนที่กำลังจะกลายเป็นคนค้ำได้ทำการสำรวจและเตรียมตนเองให้พร้อมล่วงหน้า
- มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- มีรายได้ในการประกอบอาชีพที่มั่นคง
- มีที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ชัดเจน ไม่มีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี และไม่เป็นผู้ติดแบล็คลิสต์เครดิตบูโร โดยบุคคลที่สามารถจะมาเป็นคนค้ำประกัน เป็นได้ตั้งแต่เพื่อน, ญาติ และพี่น้องของคุณได้ทั้งสิ้น แต่จะต้องมีคุณสมบัติตามข้างต้นที่ได้แจ้งไว้ และมีการตกลงกันก่อน ว่าจะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบหนี้แทน หากเกิดกรณีที่คุณไม่สามารถชำระหนี้เองได้
สิทธิตามกฎหมายของคนค้ำประกันที่ควรรู้
เพื่อให้ความเป็นธรรมและถือว่าเป็นการปกป้องผู้ค้ำประกันจากในหลาย ๆ กรณีที่เกิดขึ้น เมื่อลูกหนี้มีการผิดนัดชำระหรือเบี้ยวหนี้ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งตัวผู้ค้ำประกันเองที่จะต้องหาหนทางนำเงินหรือสินทรัพย์ต่าง ๆ มาชำระแทน ไปจนถึงตัวเจ้าหนี้หรือว่าสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่เป็นผู้ให้เงินกู้อาจจะสูญเสียเงินจำนวนดังกล่าวโดยที่ไม่มีวันได้กลับคืนมา ซึ่งในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เองได้มีการบัญญัติความคุ้มครองให้กับผู้ค้ำประกันไว้ดังนี้
“มาตรา ๖๘๘ เมื่อเจ้าหนี้ทวงให้ผู้ค้ำประกันชําระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะขอให้เรียกลูกหนี้ชําระก่อนก็ได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายเสียแล้ว หรือไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดในพระราชอาณาเขต”
“มาตรา ๖๘๙ ถึงแม้จะได้เรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้ดังกล่าวมาในมาตราก่อนนั้นแล้วก็ตาม ถ้าผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้นั้นมีทางที่จะชําระหนี้ได้ และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชําระหนี้นั้นจะไม่เป็นการยากไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องบังคับการชําระหนี้รายนั้นเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน”
จากทั้งสองมาตรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กล่าวในข้างต้นอาจสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ว่า ถึงแม้ว่าผู้คำประกันมีหน้าที่จะต้องชำระหนี้แทน แต่ถ้าลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ก้อนดังกล่าว ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องให้เจ้าหนี้ทำการติดตามทวงหนี้จากลูกหนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ยกเว้นว่าตัวลูกหนี้เองจะถูกศาลตัดสินให้เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ปรากฎตัวว่าอยู่ที่ใด
และถ้าตัวผู้ค้ำประกันเองสามารถทำการพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้มีหนทางที่จะสามารถชำระหนี้ และการบังคับให้ตัวลูกหนี้ชำระหนี้ก้อนดังกล่าวที่ตัวเองก่อไว้ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากเกินความสามารถ เจ้าหนี้นั้นจะต้องบังคับให้ดำเนินการชำระหนี้สินนั้นจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน จากที่กล่าวมาจึงเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ค้ำไม่ได้ต้องเป็นผู้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ก่อน
และรู้หรือไม่ หลายแห่งอนุโลมให้ผู้ค้ำประกันเงินกู้รับผิดชอบให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เสียด้วยซ้ำเนื่องจากทุกวันนี้ กฏหมายได้ออกบทกำหนดเพื่อเอื้อกับผู้ค้ำประกันเงินกู้มากขึ้น โดยสำนักงานกฎหมายและคดีได้ให้ความรู้ไว้ว่า กฎหมายสำหรับผู้ค้ำประกันฉบับปรับปรุงใหม่ 2558 ทางผู้ค้ำประกันจะได้รับการคุ้มครองดังนี้
• การค้ำประกันหนี้ ต้องกำหนดรายละเอียดการรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันให้ชัดเจน
สำหรับผู้ที่ต้องค้ำประกันนั้น ในสัญญาจะต้องกำหนดขอบเขตของหนี้และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเงินกู้ ไว้เฉพาะหนี้ตามสัญญาที่ระบุเท่านั้นว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบในวงเงินไม่เกินเท่าไร และหากกำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับการค้ำประกันนเป็นภาระแก่ผู้ค้ำประกันเกินสมควร ให้ข้อตกลงนั้นมีผลเป็นโมฆะ
ดังนั้น ก่อนที่จะเซ็นค้ำประกันให้ใคร ควรตกลงกับลูกหนี้เพื่อกำหนดเพดานชำระหนี้แทนให้ดี และเซ็นมีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชอบมูลหนี้ทั้งหมดให้แทนลูกหนี้ทุกประการอีกต่อไป หมายถึงว่า ผู้ค้ำประกันจะรับผิดชอบชำระหนี้แทนในส่วนของตนเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดชอบดอกเบี้ย
• เจ้าหนี้ให้ต้องแจ้งผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ภายใน 60 วัน
นอกจากนี้ ยังห้ามไม่ให้เจ้าหนี้เรียกเอาหนี้กับผู้ค้ำประกันเงินกู้ในทันที จนกว่าพยายามไล่เบี้ยหรือเรียกหนี้กับลูกหนี้จนสุดความ และผู้ค้ำประกัน ไม่ต้องรับผิดชอบมูลหนี้ทั้งหมดเหมือนกับลูกหนี้ทุกประการ ให้รับผิดชอบชำระหนี้แทนในส่วนของตนเท่านั้นไม่ต้องรับผิดชอบดอกเบี้ย โดยหลังจากที่ผู้ค้ำประกันใช้หนี้แทนลูกหนี้แล้ว สามารถใช้สิทธิ์ฟ้องลูกหนี้เรียกเงินตามจำนวนที่ชำระไปแทนพร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายอื่น ๆ ได้ แต่จะสามารถฟ้องร้องได้เฉพาะหนี้สินที่ชำระไปแทนเท่านั้น
• จะต้องมีกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ด้วยระยะเวลาที่แน่นอน
หากเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการขยายเวลาการชำระหนี้ หรือการปรับโครงสร้างหนี้ จะต้องขอความยินยอมจากผู้ค้ำประกันก่อนเสมอ มิฉะนั้นผู้ค้ำประกันเงินกู้จะพ้นจากการเป็นผู้ค้ำประกันทันที
ตัวอย่าง คุณแคร์เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ แต่คนที่คุณแคร์ช่วยค้ำประกันให้หนีหนี้ ไม่ยอมจ่าย ธนาคาร A จำเป็นจะต้องแจ้งให้คุณแคร์ทราบล่วงหน้าก่อน 60 วัน หากคุณแคร์มีสัญญาที่เซ็นเรียบร้อยแล้วว่าจะจ่ายหนี้สินแทนทั้งหมด คุณแคร์ก็ต้องจ่ายแทนตามนั้น แต่ไม่ต้องรับผิดชอบดอกเบี้ยของหนี้ก้อนดังกล่าว และคุณแคร์สามารถฟ้องร้องผู้กู้ตัวจริงที่หนีหนี้เพื่อเรียกทรัพย์สินคืนได้
ข้อเสียของการเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของการเป็นผู้ค้ำประกัน คือ คุณจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าผู้ที่คุณเซ็นค้ำประกันให้จะหนีหนี้ไปตอนไหน แม้ว่าจะเป็นคนที่คุณรู้จักและไว้วางใจแต่ในความเป็นจริงแล้วก็ไม่มีอะไรมายืนยันให้คุณได้เลย เรียกได้ว่าสถานะการเงินของคุณยืนอยู่บนเส้นด้าย หากผู้กู้ไร้จิตสำนึกและคิดคดโกง คุณก็อาจตกเป็นเหยื่อและกลายเป็นคนมีหนี้ไปโดยปริยาย
อย่าลืมว่า การค้ำประกัน หมายถึง ผู้ที่เซ็นยินยอม รับหน้าที่เป็นผู้ค้ำ ต้องทำหน้าที่จ่ายหนี้สินของลูกหนี้แทนทั้งหมด ในกรณีที่ผู้ขอกู้ปฎิเสธไม่จ่ายหนี้ เพราะฉะนั้น ต้องคิดกันให้มาก ๆ ก่อนที่จะตกลงค้ำประกันใครสักคน หากผู้ค้ำประกันเงินกู้อย่างเรา ๆ ต้องรับภาระหนี้สินแทนจริง ๆ ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือทนายดูสิ! อย่างน้อยก็สามารถพูดคุย เจรจา ทั้งกับเจ้าหนี้และในชั้นศาลได้ด้วย
สรุปความเสี่ยงของการเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
อย่างที่ทราบกันดีข้างต้นว่า แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายคุ้มครองผู้ค้ำประกันเงินกู้เพิ่มเข้ามาเพื่อช่วยให้ผู้ค้ำประกันเงินกู้ไม่ต้องแบกรับภาระหนี้สินเพียงคนเดียวเมื่อผู้กู้เงินตัวจริงหายตัวไป แต่สุดท้ายแล้วผู้ค้ำประกันเงินกู้ก็จะยังคงเป็นลูกหนี้ร่วมของเงินกู้ก้อนนั้นอยู่ดี ถึงคุณจะไม่ได้เป็นคนใช้เงิน แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่จะมีหนี้แบบไม่รู้ตัวเช่นกัน แต่ถ้าลองป้องกัน คัดกรองคนที่เราจะต้องเซ็นเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้เสียหน่อย จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะต้องแบกรับหนี้แทนได้
นอกจากนี้ถ้าหากผู้กู้ทำการกู้เงินนอกระบบซึ่งทำการกู้ง่ายกว่าเงินกู้ในระบบหลายเท่า ความเสี่ยงก็เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เพราะนอกจากหนี้ที่จะเกิดขึ้นแล้ว แม้จะถือว่าหนี้ที่มาจากเงินกู้นอกระบบจะไม่จำเป็นต้องจ่ายคือเนื่องจากผิดกฎหมายตั้งแต่แรก แต่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการกู้เงินนอกระบบมักจะมีวิธีการตามทวงเงินแบบผิดกฎหมาย ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิต นอกจากนี้แหล่งปล่อยกู้หนี้นอกระบบอาจนำข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ของคุณไปขายต่อ หรือนำไปทำธุรกรรมอันตรายได้ เช่น การเปิดบัญชีหน้าม้าที่ใช้ในธุรกิจผิดกฎหมาย เป็นต้น
แต่ถ้าจำเป็นต้องกลายเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้จริง ๆ การขอดูสัญญา เช็กเพดานการชำระหนี้แทน เป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะช่วยลดปัญหาที่อาจตามมาในอนาคตได้ หรือในกรณีที่คุณเป็นผู้กู้เสียเอง ก็ต้องร่างสัญญาส่วนนี้ให้กับผู้ค้ำประกันเงินกู้เซ็นด้วย
ทางเลือกด้านการเงินที่ปลอดภัย รู้จักสินเชื่อรถแลกเงิน
เพราะฉะนั้นถ้าหากคนที่คุณรักเริ่มมีปัญหาด้านการเงินและต้องการให้คุณไปเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ เพื่อความมั่นคงด้านการเงิน ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่เราได้นำเสนอไป ไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม การนำตัวเองไปเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ก็ไม่ใช่ทางที่ดีจริงๆ ดังนั้นการหาทางเลือกอื่นซึ่งมีความปลอดภัยด้านการเงินมากกว่าจึงเป็นสิ่งที่ควรทำที่สุด หากคุณต้องการให้ความช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้น เช่น การแนะนำสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่เชื่อถือได้ อย่าง สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด หรือเลือกใช้สินเชื่อที่นำทรัพย์สินส่วนตัวมาค้ำประกันเพื่อเพิ่มยอดวงเงินการกู้อย่าง สินเชื่อรถแลกเงินนี่เอง
สินเชื่อรถแลกเงิน คือ หนึ่งในช่องทางที่จะทำให้มีเงินก้อนได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับคนที่มีรถยนต์ที่จดทะเบียนเป็นชื่อตัวเองก็คือ “สินเชื่อรถแลกเงิน” นั่นเอง เป็นหนึ่งในสินเชื่อที่ดอกเบี้ยถูกกว่าสินเชื่ออื่น ได้วงเงินที่สูง จำนวนเงินผ่อนที่ต้องจ่ายต่อเดือนไม่เยอะ ทำให้คุณสามารถบริหารจัดการเงินในบัญชีเพื่อแก้ปัญหาด้านการเงินที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น หนี้บัตรเครดิต, ค่าเทอมของลูกหลานที่บ้าน, เงินค่ารักษาพยาบาลที่ไม่สามารถเบิกเคลมได้กับประกันสุขภาพ ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ค้ำประกันเงินกู้ เพียงแค่ใช้รถยนต์ของคุณเป็นการค้ำประกัน ที่สำคัญ สินเชื่อรถแลกเงินยังเปิดโอกาสให้คุณได้ใช้รถที่นำมาแลกเงินได้ ไม่ต้องกังวลว่าขอสินเชื่อผ่านจะไม่มีรถยนต์ใช้งาน
สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นศึกษาสินเชื่อรถแลกเงินจากตรงไหนก็สามารถเข้ามาที่ Rabbit care เพื่อหาข้อมูลได้เลย เราได้รวบรวมสินเชื่อรถแลกเงินจากบริษัทการเงินชั้นนำของประเทศไทยมาให้คุณได้เลือกแล้วเรียบร้อย อำนวยความสะดวกด้วยโปรแกรมค้นหาสินเชื่อรถแลกเงินที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุด ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันเงินกู้ รถยนต์จะผ่อนหมดหรือไม่ก็สามารถใช้บริการได้ อนุมัติรวดเร็ว ปลอดภัย พร้อมบริการให้คำแนะนำในทุกขั้นตอนการขอสินเชื่อรถแลกเงิน สามารถติดต่อได้ที่ แรบบิท แคร์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง คลิกเลย!
สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ
- ผ่อนนานสูงสุด 24 และ 72 เดือน
- วงเงินกู้ถึงหลักล้าน
- อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี
- มีอายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
- มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาทขึ้นไป
- ผ่อนชิลๆ 60 เดือน
- อนุมัติวงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท
- มีรายได้ต่อเดือน 20,000 บาทขึ้นไป
- อายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
- ไม่เคยยื่นกับ Citi ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
LINE BK
- รายได้ 5,000.- ก็ยืมได้
- วงเงินสูงสุด 8 แสนบาท
- ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก
- มีบัญชีเงินฝาก LINE BK
- ฟรีทุกค่าธรรมเนียม
- ดอกเบี้ย 25% - 33% ต่อปี
TTB
- อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 25% ต่อปี
- ไม่ต้องค้ำ
- ดอกเบี้ยพิเศษ ลดต้นลดดอก
- ผ่อนได้นานสุด 60 เดือน
- วงเงินอนุมัติสูง 5 เท่าของรายได้
พรอมิส
- รายได้เริ่มต้น 8,000 บาท
- อนุมัติไวใน 1 ชั่วโมง
- สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
- อัตราดอกเบี้สูงสุดไม่เกิน 25% ต่อปี
- ไม่ต้องใช้คนค้ำ
กรุงศรี
- พนักงานที่มีรายได้ 20,000 บาท
- เจ้าของกิจการมีรายได้ 200,000 บาท
- อายุการทำงาน/อายุกิจการ 3 ปีขึ้นไป
- Statement ย้อนหลัง 6 เดือน
- ผ่อนสูงสุด 60 เดือน
- วงเงินสูงสุด 5 เท่า สูงสุด 2 ล้านบาท
- อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 25% ต่อปี
- รายได้ต่อเดือน 30,000 บาท
- อายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
- อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 25% ต่อปี
- ผ่อนชำระ: 12-72 เดือน
- ผ่อนสบาย 80 บาทต่อวัน
UOB
- วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท
- ไม่ต้องมีคนค้ำ
- อนุมัติไวใน 3 วัน
- รายได้ 15,000 บาทก็กู้ได้
- อายุงาน 4 เดือนขึ้นไป
- เลือกผ่อนได้ 12 - 60 เดือน
- อัตราดอกเบี้ยลดต้น ลดดอก
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา
บริษัท แรบบิท แคร์ โบรคเกอร์ จำกัด
อาคาร คิวเฮาส์ ลุมพินี ชั้น 29 เลขที่ 1 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทร. 1438 หรือ 02-022-1222
บริษัท แรบบิท แคร์ โบรคเกอร์ จำกัด จัดตั้งขึ้นเพื่อให้คำแนะนำสินค้าประกันภัย (ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย) และผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (สินเชื่อ บัตรเครดิต)
Rabbitcare Site International : Thailand | Vietnam | Philippine | Malaysia | Singapore