Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบบัตรเครดิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

สมัครบัตรเครดิตกับสถาบันการเงิน
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Aug 29, 2023

ผลิตภัณฑ์ของสถาบันการเงิน สามารถช่วยคุณได้อย่างไร?

หลายคนอาจสงสัยว่าธนาคารที่เราใช้บริการทางการเงินทุกวันนี้กับสถาบันการเงินมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แล้วผู้ให้บริการสินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคารนั้นถือว่าเป็นสถาบันการเงินหรือไม่ แรบบิท แคร์ จะมาอธิบายข้อมูลให้กระจ่างในบทความนี้

สถาบันการเงินคืออะไร?

สถาบันการเงินเป็นหน่วยงานที่ให้บริการทางการเงินโดยจะเป็นตัวกลางให้บริการทางการเงินกับกลุ่มลูกค้า โดยอาจจะเป็นการปล่อยกู้ ลงทุน หรือบริการทำธุรกรรมต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่แต่ละสถาบันทางการเงินกำหนด โดยในประเทศไทยมีสถาบันการเงินหลายแห่งซึ่งบางแห่งจะมีฐานลูกค้าและการบริการที่เฉพาะเจาะจงกับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ในขณะที่บางสถาบันก็เน้นการให้บริการลูกค้าทั่วไปใครก็สามารถใช้บริการได้

สถาบันการเงิน มีอะไรบ้าง?

สำหรับประเทศไทยแล้วสถาบันทางการเงินจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. สถาบันการเงินที่รับฝากเงิน

ซึ่งจะทำหน้าที่รับฝากเงินของลูกค้าผู้ใช้บริการ อย่างเช่นธนาคารพาณิชย์ที่เราใช้บริการทางการเงินในทุกวัน รวมถึงสหกรณ์ออมทรัพย์ต่าง ๆ

2. สถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงิน

จะทำหน้าที่บริการธุรกรรมกับลูกค้าต่าง ๆ ที่ไม่ใช่การรับฝากเงิน เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทลีสซิ่ง บริษัทที่ให้บริการบัตรเครดิตโดยเฉพาะ บริษัทที่ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล กองทุนรวมบริษัทประกันภัย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ โรงรับจำนำ เป็นต้น

หน้าที่ความสำคัญของสถาบันการเงิน

สถาบันการเงินนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินให้กับธุรกิจร้านค้าตั้งแต่ธุรกิจรายใหญ่ไปจนถึงรายย่อย ไม่ว่าจะเป็นการให้เงินทุน การชำระสินค้าและการบริการ การมีส่วนร่วมบริหารความเสี่ยง รวมถึงการช่วยเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ด้วยเหตุนี้เองสถาบันการเงินจึงต้องมีหน่วยงานเข้ามาควบคุมความโปร่งใส ให้เกิดประสิทธิภาพต่อภาคประชาชนมากที่สุด

โดยส่วนมากแล้วสถาบันการเงินทั่วไปจะอยู่ภายใต้การควบคุมจองธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ทั้งรายย่อยและธนาคารสาขาจากต่างประเทศ, บริษัทเงินทุนต่าง ๆ, บริษัทเครดิตฟองซิเอร์, สถาบันทางการเงินเฉพาะกิจของรัฐ, บริษัทบริหารสินทรัพย์, ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ, นาโนไฟแนนซ์, ผู้ให้บริการ e-Payment ต่าง ๆ, บริษัทแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ, บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีสถาบันทางการเงินที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานอื่น ๆ โดยมักจะเป็นสถาบันการเงินแบบเฉพาะทาง อย่างเช่น

  • พิโกไฟแนนซ์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง
  • กองทุนรวมบริษัทประกันภัย ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ คปภ.
  • บริษัทหลักทรัพย์แต่ละรายที่อยู่ภายใต้ความควบคุมของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

สถาบันการเงินกับธนาคารพาณิชย์ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

ธนาคารพาณิชย์นับว่าเป็นสถาบันการเงินประเภทหนึ่ง โดยธนาคารพาณิชย์จะให้บริการรับฝากเงิน ให้บริการเงินกู้ การใช้บัตรเครดิต การโอนเงิน การลงทุน การเปิดบัญชีธนาคาร และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงิน ส่วนสถาบันการเงินเป็นคำที่ใช้เรียกผู้ให้บริการด้านการเงินที่หลากหลาย ไม่จำกัดเพียงธนาคารเท่านั้น โดยสถาบันทางการเงินอาจรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทการประกัน กองทุนรวม สำนักงานให้บริการการลงทุน และผู้ให้บริการทางการเงินอื่นๆ ซึ่งบริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงิน

สรุปแล้ว สถาบันการเงินเป็นคำที่กว้างและใช้เรียกผู้ให้บริการทางการเงินทั่วไป ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันทางการเงินเฉพาะที่มีความสามารถในการรับฝากเงิน และมีบริการเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงิน

ตัวอย่างธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการในประเทศไทย



  1. ธนาคารกรุงเทพ
  2. ธนาคารกสิกรไทย
  3. ธนาคารกรุงไทย
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์
  5. ธนาคารทหารไทยธนชาติ
  6. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  7. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
  8. ธนาคารธนชาติ9. ธนาคารออมสิน
  9. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
  10. ธนาคารทิสโก้
  11. ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย
  12. ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
  13. ธนาคารยูโอบี
  14. ธนาคารเอเอ็มเอฟซี
  15. ธนาคารซิตี้แบงก์
  16. ธนาคารแห่งประเทศจีน
  17. ธนาคารเอเชียพาธา

และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยแต่ละธนาคารจะมีบริการและความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันไป ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการจากธนาคารที่ตรงตามความต้องการและความสะดวกสบายของตนเองได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการและเป้าหมายของแต่ละบุคคลหรือองค์กร.

ตัวอย่างสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์



  1. บริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรส - ให้บริการบัตรเครดิต
  2. บริษัทอิออน ธนสินทรัพย์ - ให้บริการบัตรเครดิต
  3. บริษัทอีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) - ให้บริการบัตรเครดิต
  4. บริษัทแคปปิตอล โอเค จำกัด - ให้บริการบัตรเครดิต/สินเชื่อ/ลีสซิ่ง
  5. บริษัทเงินติดล้อ - ให้บริการสินเชื่อรถแลกเงิน
  6. บริษัทโตโยต้า ลีสซิ่ง - ให้บริการสินเชื่อรถแลกเงิน
  7. บริษัทพรอมิส - ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล
  8. บ. กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด - ให้บริการสินเชื่อรถยนต์
  9. บ. เงินสดทันใจ จำกัด - ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล

และยังมีสถาบันการเงินอีกมากมายที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งแต่ละรายก็มีบริการและจุดเด่นการให้บริการที่แตกต่างกันออกไป

สถาบันการเงิน ให้บริการอะไรบ้าง?

สถาบันการเงินให้บริการหลายอย่างที่สำคัญต่อเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ โดยบริการที่ส่วนใหญ่ของสถาบันทางการเงินมีดังนี้:

• การรับฝากเงิน

อย่างเช่น ธนาคารพาณิชย์จะรับฝากเงินจากบุคคลหรือองค์กรเพื่อให้บริการการเงินแก่ลูกค้า

• การให้บริการสินเชื่อประเภทต่าง ๆ

โดยจะให้สินเชื่อเพื่อช่วยเสริมสร้างการเติบโตของธุรกิจและผู้รับเงินกู้

• การลงทุน

ให้บริการการลงทุนในหลายรูปแบบเช่น การซื้อขายหุ้น การลงทุนในกองทุนรวม หรือการลงทุนในตราสารอนุพันธ์

• การบริหารจัดการทรัพย์สิน

สถาบันทางการเงินให้บริการบริหารจัดการทรัพย์สินแก่ลูกค้า เช่น การบริหารจัดการหุ้น การบริหารจัดการกองทุนรวม หรือการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์

• การให้บริการธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ

เช่น การชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ต การส่งเงินต่างประเทศ การออกเช็ค หรือการจัดการบัตรเครดิต

สรุปแล้วสถาบันการเงินทุกประเภทล้วนมีผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยเหลือลูกค้าทั้งสิ้น ซึ่งแรบบิท แคร์ เองนั้น ก็เป็นโบรกเกอร์ที่รวบรวมข้อเสนอทางการเงินของแต่ละสถาบันการเงินไว้มากมายโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต ซึ่งบอกเลยว่าแต่ละบัตรเครดิตนั้นมีข้อเสนอดี ๆ มากมาย ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคุณได้อย่างครอบคลุม ลูกค้าสามารถใช้เครื่องมือเปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ตรงใจได้ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที สามารถสมัครบัตรเครดิตได้เลย ซึ่งแรบบิท แคร์ จะช่วยดูแลและประสานข้อมูลของคุณให้ถึงที่สุด ซึ่งคุณสามารถเลือกอ่านรายละเอียดข้อมูลบัตรเครดิตที่เราคัดมาให้เราตามด้านล่างนี้

บัตรเครดิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

บัตรเครดิต วีซ่า แพลทินัมบัตรเครดิต วีซ่า แพลทินัม

ธ. กรุงเทพ / วีซ่า

  • ทุก 25 บาท รับ 1 คะแนน ทั้งใน-ต่างประเทศ
  • คะแนนสะสม แลกไมล์เดินทางกับสายการบิน
  • แผนประกันอุบัติเหตุเดินทาง สูงสุด $200,000
  • บริการช่วยเหลือรถฉุกเฉิน 24 ชม. ทุกที่
  • บริการซ่อมฉุกเฉินในบ้าน ช่างพร้อมดูแล
  • ผู้ช่วยส่วนตัว บริการจองทั่วโลก 24 ชม.
บัตรเครดิตยูโอบี ลาซาด้าบัตรเครดิตยูโอบี ลาซาด้า

ธ. ยูโอบี / มาสเตอร์การ์ด

  • รับคะแนนยูโอบี รีวอร์ด 10 เท่า บนลาซาด้า
  • ทุกเมกาแคมเปญ รับคะแนนยูโอบี 10 เท่า
  • รับคะแนนยูโอบี รีวอร์ด 3 เท่า แฟชัน-สุขภาพ
  • รับยูโอบี รีวอร์ด 1 เท่า ในหมวดอื่น ๆ ทุกการใช้จ่าย
  • รับโค้ดส่วนลด 30% ในเดือนเกิด สูงสุด 300 บาท
  • บัตรหนังฟรี 1 ที่นั่ง ทุกสาขาทั่วประเทศ
บัตรเครดิต เคทีซี ดิจิทัล แพลตินัม วีซ่าบัตรเครดิต เคทีซี ดิจิทัล แพลตินัม วีซ่า

เคทีซี / วีซ่า

  • ไม่เสียค่าธรรมเนียมรายปี ทุกปี
  • ผู้ช่วยส่วนตัว KTC ให้ข้อมูลทุกวัน
  • เปลี่ยนยอดชำระเป็นผ่อน 0.74% 10 เดือน
  • รับประกันอุบัติเหตุฟรี 90 วันแรก
  • ถอนเงินสดเต็มวงเงิน สูงสุด 200,000 บาท/วัน
  • ทุก 25 บาท รับ 1 คะแนน KTC ไม่มีวันหมดอายุ
บัตรเครดิตกรุงศรี เฟิร์สช้อยส์ วีซ่าบัตรเครดิตกรุงศรี เฟิร์สช้อยส์ วีซ่า

เฟิร์สช้อยส์ / วีซ่า

  • แบ่งชำระ 0% นาน 3 เดือน ผ่านแอป UCHOOSE
  • ผ่อนสินค้า 0% หรือดอกเบี้ยพิเศษ 36 เดือน
  • รับประกันช้อปออนไลน์ สูงสุด 15,000 บาท
  • เริ่มผ่อน 2 เดือนข้างหน้า 0% จากเฟิร์สช้อยส์
  • จ่ายคืนขั้นต่ำ 3% และแบ่งจ่ายได้ 60 เดือน
  • เครดิตเงินคืนทุกเดือน ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์
บัตรเครดิต CardX ULTRA PLATINUMบัตรเครดิต CardX ULTRA PLATINUM

CardX / วีซ่า

  • คะแนน CardX Rewards X5 ทุก 25 บาท
  • ส่วนลดที่ร้านอาหาร Siam Kempinski Bangkok
  • รับส่วนลด 20% ที่ AVIS จองผ่านเว็บไซต์
  • รับส่วนลด 15% ที่ Agoda จองผ่านเว็บ
  • ส่วนลด 10% ทรู ลีสซิ่ง รถเช่าและเรือ
  • ประกันอุบัติเหตุและเดินทางเมื่อจ่ายค่าตั๋วอากาศ
บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ฟาสต์บัตรเครดิต ทีทีบี โซ ฟาสต์

ธ. ทีทีบี / วีซ่า

  • รับ 1 คะแนน ทุก 10 บาท
  • แลกคะแนนรับ Cashback 12%
  • ประกันอุบัติเหตุเดินทาง 6 ล้าน
  • ผ่อน 0% 3 เดือน เมื่อใช้จ่ายตั้งแต่ 1,000 บาท
  • พนักงานหรือฟรีแลนซ์สมัครง่าย
  • ใช้ Google Pay กับ ttb บนมือถือแอนดรอยด์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา