แคร์สุขภาพ

รู้ไว้ไม่เสียหาย วิธีรับมือกับโรคไส้เลื่อนฉบับอัพเดท 

ผู้เขียน : Mayya Style

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ

close
linkedin icon
 
 
Published: January 18,2023
ไส้เลื่อน

ไส้เลื่อน หรือ Hernia สามารถพบได้ทุกวัย เป็นหนึ่งในโรคที่หนุ่ม ๆ หลายคนให้ความสนใจเพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง หลายคนมักเข้าใจผิดว่า โรคนี้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ชาย แต่จริงๆแล้วผู้หญิงก็สามารถเป็นได้เช่นกัน โดยจะพบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

ไส้เลื่อนไม่ได้เป็นโรคที่อันตราย หรือร้ายแรง และไม่เป็นโรคที่น่ากลัวอย่างที่คุณคิด แต่มันอาจสร้างความรำคาญใจให้กับผู้ป่วยหลายคนได้เพราะอาจจะทำให้คุณเคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวกมากนัก ดังนั้น น้องแคร์แนะนำให้คุณหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอะไรผิดปกติทั้งภายใน และภายนอกร่างกายหรือไม่ หากมีอย่าปล่อยไว้เด็ดขาด ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษา 

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    โรคไส้เลื่อนคืออะไร? 

    โรคไส้เลื่อน คือโรคที่เกิดจากอวัยวะภายในเคลื่อนตัวมาอยู่ในตำแหน่งที่เปลี่ยนไปจากเดิม ส่งผลให้เกิดก้อนที่ตุงหรือยื่นออกมา โดยพบว่าลำไส้เล็กเป็นอวัยวะที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนบ่อยที่สุดเมื่อเทียบกับอวัยวะภายในอื่นๆของร่างกาย การรักษาจะทำได้โดยใช้วิธีการผ่าตัดเท่านั้น ขนาดของไส้เลื่อนขึ้นอยู่กับเพศและวัย       

    ตำแหน่งของไส้เลื่อน 

    ตำแหน่งของไส้เลื่อน

    ไส้เลื่อนมีหลายประเภทและสามารถพบได้ในหลายตำแหน่งในร่างกาย ดังนี้

    1. ที่สะดือ (Umbilical hernia) 

    หรือที่หลายๆคนรู้จักกันว่า ภาวะสะดือจุ่น หรือสะดือโป่ง เกิดจากการที่ลำไส้เคลื่อนตัวมาอยู่ใต้สะดือ สามารถพบได้ในผู้ใหญ่แต่มักจะพบตั้งแต่แรกเกิดโดยเฉพาะในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว ผนังหน้าท้องบริเวณสะดือจะถูกปิดไปหลังจากนั้นจะมีชั้นของพังผืดเข้ามาปกคลุมแทน สะดือจะนูนขึ้นตอนไอ จาม หรือตอนที่เข้าห้องน้ำ 

    2. ที่ขาหนีบ (Inguinal hernia)

    เป็นหนึ่งในชนิดของไส้เลื่อนที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด มากกว่า 75 % ของผู้ป่วยโดยส่วนมากจะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สามารถแบ่งออกได้เป็นสองชนิดคือ ที่ขาหนีบทางตรง(Direect inguinal henia) และทางอ้อม(Indireect inguinal henia) สาเหตุคือเกิดจากผนังหน้าท้องบริเวณขาหนีบมีความอ่อนแอมาตั้งแต่กำเนิด และหากคุณมีพฤติกรรมไอเรื้อรังหรือเป็นโรคหลอดลมอักเสบแบบเรื้อรังก็เป็นอีกหนึ่งในสาเหตุของไส้เลื่อนขาหนีบได้เช่นกัน ถึงแม้โรคไส้เลื่อนจะไม่ได้เป็นโรคที่น่ากลัว แต่ไส้เลื่อนชนิดนี้ก็มีจุดที่อันตรายเช่นกัน เพราะหากไส้เลื่อนไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ที่ขา ก็จะทำให้มีโอกาสทำให้ความดันในช่องท้องสูงได้ แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการ อัลตร้าซาวด์, CT Scan, และ MRI

    3. บริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ (Femoral hernia) 

    ไส้เลื่อนชนิดนี้พบได้ค่อนข้างน้อย แต่มักจะพบบ่อยในผู้หญิง สาเหตุของไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบคือการที่ลำไส้เคลื่อนตัวผ่านรูที่อยู่ต่ำกว่าขาหนีบ เรียกว่า Femoral cana ทำให้ผู้หญิงหลาย ๆ คนคลำได้ก้อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ 

    4. ที่กะบังลม (Hiatal hernia) 

    เกิดจากการที่กล้ามเนื้อของกะบังลมเสียความยืดหยุ่นและหย่อนยาน ไส้เลื่อนชนิดนี้ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ หากเป็นแบบรุนแรงอาจทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มสูงขึ้นและเป็นอันตรายได้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 

    4.1 ) Paraesophageal hernia : ไส้เลื่อนกะบังลมเกิดขึ้นเมื่อส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรืออวัยวะอื่น ๆ เคลื่อนขึ้นมาที่หน้าอก ซึ่งอยู่บริเวณใกล้ ๆ กับหลอดอาหาร 

    4.2 ) Sliding hiatal hernia : การที่หลอดอาหารจนถึงกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านกะบังลมแล้วมาอยู่ในบริเวณช่องอกแทน 

    5. ภายในช่องเชิงกราน (Obturator hernia)

    ไส้เลื่อนชนิดนี้มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่จะพบได้ไม่บ่อยนัก เกิดจากการที่ลำไส้เคลื่อนตัวผ่านมาที่กระดูกเชิงกราน 

    6. ไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด (Incisional hernia)

    พบมากในคนไข้ที่เคยผ่าตัดมาบริเวณหน้าท้อง โดยเฉพาะ เหล่าคุณแม่ที่ผ่านการผ่าคลอดมา เนื่องจากกล้ามเนื้อหรือพังผืดบริเวณนั้นมีความหย่อนคล้อยซึ่งทำให้มีโอกาสที่ลำไส้จะไหลมากองอยู่บริเวณนั้นได้   

    ** แหล่งข้อมูลเรื่องชนิดของไส้เลื่อน จากโรงพยาบาลบํารุงราษฎร์

    อาการของไส้เลื่อน?

    คุณจะมีอาการปวดแบบหน่วงๆบริเวณที่มีการเกิดไส้เลื่อนและรู้สึกเหมือนมีอะไรไหลออกมาจากภายในร่างกาย แต่โดยปกติแล้วก้อนมักจะสามารถผลุบกลับไปได้เสมอ แต่หากผลุบเข้าไปไม่ได้ น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณรีบพบแผ่เพื่อทำการผ่าออกอย่างรวดเร็ว 

    ปัจจัยที่ทำให้เกิดไส้เลื่อน 

    อาการไส้เลื่อน
    1. การที่ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรัง หรือเกิดภาวะถุงลมโป่งพอง 
    2. การยกของหนักเป็นประจำ เช่นนักกีฬายกน้ำหนักหรือคนที่ชอบยกเวท
    3. การที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือ โรคอ้วน 
    4. เคยผ่านการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
    5. ผู้ป่วยที่ตับมีปัญหา ซึ่งทำให้เกิดการที่มีของเหลวในช่องท้องในปริมาณมาก
    6. คนที่มีปัญหาด้านท้องผูก และมักเบ่งอุจจาระแรง ๆ เป็นประจำ 

    การตรวจไส้เลื่อน 

    1. ในขั้นตอนแรกแพทย์จะทำการประเมินโดยใช้วิธีซักประวัติอย่างละเอียด
    2. หลังจากนั้น แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย โดยใช้วิธีการจับหรือคลำ ขึ้นตอนนี้คุณอาจจะต้องนอนราบ ยืน หรือนั่ง ขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ตรวจ
    3. เพื่อความแม่นยำของการวินิจฉัยโรค แพทย์จะใช้วิธีอัลตร้าซาวด์หน้าท้องหรือการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

    การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดไส้เลื่อน

    ก่อนการผ่าตัด แพทย์จะทำการประเมินร่างกายของคุณโดยการเจาะเลือด การเอ็กซเรย์หน้าท้องและทรวงอก หลังจากแพทย์คุณจำเป็นต้องงดน้ำและอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนได้รับการผ่าตัด และควรหยุดยาในกลุ่มแอสไพริน หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อป้องกันการเสียเลือดมากขณะผ่าตัด

    การผ่าตัดไส้เลื่อน 

    การผ่าตัดไส้เลื่อน

    การรักษาทำได้โดยวิธีการผ่าตัด เพื่อนำลำไส้ที่เลื่อนออกมากลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิม การผ่าตัด สามารถทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้ 

    การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (open surgery)

    วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ที่ไม่สามารถดมยาได้ โดยแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดในขณะทำการผ่าตัด หลังจากนั้นแพทย์จะคลุมผ้าปลอดเชื้อบริเวณที่จะผ่าตัดหรือจุดที่มีก้อนนูน แพทย์จะใช้วัสดุสังเคราะห์ที่มีรูปร่างเหมือนกับตาข่าย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นและทำการเย็บปิดแผล อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของการผ่าตัดชนิดนี้คือผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บในบริเวณที่ผ่า เสียเลือดมากขณะผ่าและฟื้นตัวช้า 

    การผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Minimally Invasive Surgery) 

    ข้อดีของการผ่าตัดแบบส่องกล้องคือ ผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้เร็ว ไม่ทำลายเยื่อบุช่องท้อง เสียเลือดน้อย ลดโอกาสการเกิดพังผืดที่บริเวณหน้าท้อง มีแผลบริเวณหน้าท้องเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หลังจากนั้น 1 อาทิตย์ ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ แพทย์จะทำการเช็ดทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการผ่าตัด และเจาะรูเล็ก ๆ ที่หน้าท้องจำนวน 3 รู เพื่อดันให้ลำไส้กลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิม แผลผ่าตัดมีขนาดประมาณ 5-10 มิลลิเมตรเท่านั้น 

    การพักฟื้นหลังการผ่าตัด

    ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ส่วนมากจะนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นคุณควรรักษาแผลอย่างดี เช่น ห้ามแผลโดนน้ำ ไม่ออกกำลังกายอย่างหนัก และไม่เบ่งอุจจาระแรง ๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด เช่น แผลผ่าตัดติดเชื้อ 

    การป้องกันโรคไส้เลื่อนกลับมาเป็นซ้ำ 

    1. ใช้สายรัดป้องกันไส้เลื่อน 

    กรณีที่คุณกำลังรอรับการผ่าตัดหรือไม่สามารถผ่าตัดได้ด้วยโรคประจำตัว เช่น โรคไตวาย โรคหัวใจขั้นรุนแรง และอื่น ๆ น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณซื้อสายรัดไส้เลื่อนเพื่อป้องกันการตุงของก้อน คุณสามารถหาซื้อได้ตามออนไลน์แพลตฟอร์ม ราคาประมาณ 259 บาท ขึ้นอยู่กับสถานที่และผู้จัดจำหน่าย 

    2. งดการไอจาม 

    เพื่อป้องกันอาการไอ จาม น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณรับประทานน้ำอุ่น เพื่อลดการไอ หรือระคายเคืองที่บริเวณคอ มากไปกว่านั้นคุณควรงดสูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา หากคุณมีอาการ คุณควรรีบหาซื้อยาแก้ไอตามร้านขายยาหรือรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ไม่ควรปล่อยไว้

    3. ไม่ยกของหนัก 

    เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณเลี่ยงการยกของหนัก โดยเฉพาะนักกีฬายกน้ำหนัก หรือยกเวท ช่วงที่เป็นไส้เลื่อน ควรเว้นไปก่อนสักระยะหนึ่ง 

    4. ไม่เบ่งอุจจาระแรง ๆ 

    อาการท้องผูกเป็นหนึ่งอาการที่ใครหลาย ๆ คนกำลังเผชิญอยู่ดังนั้นน้องแคร์ขอแนะนำให้คุณรับประทานผัก ผลไม้ให้มากขึ้นหรือรับประทานไฟเบอร์เพิ่ม เช่น W Fiber Jelly เพื่อทำให้คุณขับถ่ายคล่อง 

    แพ็กเกจผ่าไส้เลื่อน 2566

    ผ่าตัดแบบดมยา ที่ โรงพยาบาลยันฮี

    ยันฮีตั้งอยู่ที่ 454 ถนนจรัญสนิทวงศ์ บางอ้อ บางพลัด กรุงเทพ 10700 คุณสามารถเดินทางมาได้แบบสะดวกสบายเพราะติดกับ MRT บางอ้อ ทางออกที่ 4 ราคาผ่าตัดอยู่ที่ 60,000 บาท (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขของโรงพยาบาล) ราคานี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่อาจต้องจ่ายเพิ่ม เช่น ค่าบริการโรงพยาบาล ค่าแพทย์                                                                        

    ผ่าตัดบริเวณขาหนีบ 1 ข้าง (ส่องกล้อง) โรงพยาบาลนครธน

    โรงพยาบาลนครธนตั้งอยู่ที่ถนน ทางคู่ขนานพระราม 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150 โดยคุณสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกโดยลงสถานี โพธิ์นิมิตร ทางออกที่ 4 ราคาผ่าตัดอยู่ที่ 140,000 บาท ราคานี้รวมค่าแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าพักฟื้นที่โรงพยาบาล 3 วัน 2 คืน และค่าบริการโรงพยาบาล

    ผ่าตัดแบบส่องกล้อง โรงพยาบาลพญาไท 2

    โรงพยาบาลพญาไท 2 ตั้งอยู่ที่ 943 ถนน พหลโยธิน แขวง พญาไท, เขตพญาไท, กรุงเทพ 10400 โดยสามารถเดินทางได้ง่ายและสะดวก เพราะติดกับรถไฟฟ้าสถานีสนามเป้า ทางออก 1 เพียงแค่ 150 เมตร ราคาผ่าตัดอยู่ที่ 210,000 บาท ราคานี้ครอบคลุมการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ค่ายา ค่าห้องผ่าตัด ค่าแพทย์ และค่าบริการโรงพยาบาล แต่อาจต้องจ่ายเพิ่มเองเล็กน้อยสำหรับค่าปรึกษาแพทย์ก่อนผ่าตัด 

    ข้อมูลเกี่ยวกับไส้เลื่อนถูกรวบรวมไว้ภายใต้บทความนี้ หากคุณเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคไส้เลื่อน น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณรีบไปพบแพทย์ทันที อย่างไรก็ตามประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นมากดังนั้น อย่าลืมซื้อติดตัวไว้สักฉบับ เพราะหากคุณเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ หรือต้องผ่าไส้เลื่อน คุณจะหมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลเพราะหากคุณซื้อประกันกับ แรบบิท แคร์ เราจะคุ้มครองทั้ง IPD และ OPD                             


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024