แคร์สุขภาพ

ข้อควรระวัง ไอเป็นเลือด อันตรายไหม ที่นี่มีคำตอบ

ผู้เขียน : Mayya Style

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care ได้อย่างมืออาชีพ

close
Published February 21, 2023

อาการไอเป็นสัญญาณเริ่มต้นของหลาย ๆ โรคมีทั้งแบบที่รุนแรง และแบบที่ไม่รุนแรง คุณจำเป็นต้องหมั่นเช็กตัวเองอยู่ตลอดเวลา หากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที อย่างไรก็ตามอาการไอเป็นเลือดสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณไม่ควรวิตกกังวลมากจนเกินไป วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะนี้ ว่ามันคืออะไร เกิดขึ้นได้ยังไง แล้วอันตรายหรือไม่ ไปดูกันเลย!! 

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ไอเป็นเลือด เกิดจากอะไร?

    ไอเป็นเลือดมีชื่อเรียกทางภาษาอังกฤษว่า Haemoptysis เกิดจากการที่ปอดหรือระบบทางเดินหายใจทำงานผิดปกติไป เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ความรุนแรงของโรคแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของเลือด ปริมาณเลือด และสีของเลือด เช่น มีสีแดงสด หรือชมพู บางรายอาจมีเสมหะปนออกมาด้วย บางทีการไอเป็นเลือดอาจไม่ใช่สัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงเสมอไป เพราะหากรู้ตัวเร็ว ป้องกันไว โอกาสหายขาดก็มีมากขึ้น ดังนั้นน้องแคร์ขอแนะนำให้คุณมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาโรคและทำการรักษาต่อไป  

    ชนิดของอาการไอเป็นเลือด มีอะไรบ้าง? 

    การที่คุณไอเป็นเลือด ในทางการแพทย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้:

    1. ไอเป็นเลือดสด 

    หากคุณมีอาการไอแล้วมีเลือดออกเป็นปริมาณมาก เช่น ครึ่งฝ่ามือ หนึ่งฝ่ามือ คุณควรรีบมาพบแพทย์โดยด่วนที่สุด เพราะในกรณีนี้ถือว่าอันตรายมาก หากปล่อยไว้อาจส่งผลลบต่อร่างกายและชีวิตได้ เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรง เช่น ปอดติดเชื้อ มะเร็งปอด ฝีในปอด 

    2. ไอเป็นเลือดมีเสมหะปน 

    ภาวะนี้ไม่รุนแรงเท่าแบบแรก หากคุณไอเป็นเลือดแล้วมีเสมหะปนด้วยหมายถึงการไอแรง ๆ จนทำให้เส้นเลือดฝอยในคอแตก ไม่ได้มีอันตรายใด ๆ แต่หากเป็นบ่อยก็ควรรีบไปพบแพทย์ ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะอาการไอแบบถี่ ๆ หรือเป็นประจำทุกวันจนทำให้มีเลือดออกในปริมาณมากขึ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงได้  

    ไอเป็นเลือดแบบไหนควรไปพบแพทย์ 

    1. ปริมาณเลือดที่ออกมา มีมากกว่า 1-2 แล้ว 

    2. ไอแล้วมีฟองหรือเสมหะปนออกมา 

    3. ไอออกมาแล้วเป็นลิ่มเลือด 

    4. เลือดที่ไอออกมามีสีคล้ำ หรือมีเศษอาหารปน

    5. ไอเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป  

    การวินิจฉัยโรค 

    ในเบื้องต้นเมื่อคุณไปที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำการประเมินเบื้องต้นก่อนโดยการซักประวัติเบื้องต้น เช่น สูบบุหรี่หรือไม่ ไอมานานเท่าไหร่แล้ว เลือดที่ออกมามีปริมาณเท่าไหร่ หรือ เจ็บคอหรือไม่ มากไปกว่านั้นแพทย์จะถามว่าคุณรับประทานยาอะไรอยู่หรือไม่ เช่นยาละลายลิ่มเลือดที่ส่งผลให้เลือดออกง่าย หลังจากนั้นจะซักประวัติเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เป็นโรคประจำตัวอะไรอยู่ เป็นโรคเลือดหรือไม่ และทำการเอ็กซเรย์ปอดคนไข้ เพื่อดูความผิดปกติและวางแผนการรักษาต่อไป 

    การตรวจโรคด้วยวิธีอื่น ๆ

    • การตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด
    • การส่องกล้องดูหลอดลม
    • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 
    • การเก็บเสมหะที่ปนออกมาจากการไอเป็นเลือดเพื่อส่งเพาะเชื้อ
    • การตรวจหลอดเลือด 
    • การตัดชิ้นเนื้อที่ปอดไปตรวจ

    **แหล่งข้อมูลเรื่องชนิดของการไอเป็นเลือดมาจากโรงพยาบาลพญาไท

    ไอเป็นเลือด โควิด 

    ปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางรายมีอาการรุนแรง จนถึงขั้นต้องใส่เครื่องพยุงปอดหรือเครื่องช่วยหายใจ ดังนั้นหากคอและกล่องเสียงเกิดการอักเสบรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น หอบเหนื่อย ไอแรง ไอเรื้อรัง หรืออาจมีอาการไอเป็นเลือดได้ น้องแคร์แนะนำให้คุณเอ็กซเรย์ปอด หลังหายจากโควิด-19 เพื่อที่จะทำการรักษาหากเชื้อลงปอด 

    การรักษาการไอเป็นเลือด ทำได้อย่างไร? 

    การรักษาอาการไอเป็นเลือด วิธีแก้สามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ดังนี้:

    รุนแรงน้อย 

    ในกรณีที่ผู้ป่วยไอเป็นเลือดแต่ไม่รุนแรง และเนื้อปอดไม่ได้มีความผิดปกติอะไรมากนัก แพทย์จะทำการรักษาโดยการใช้ยาเฉพาะที่

    รุนแรงปานกลาง 

    หากรุนแรงปานกลาง เช่นมีเลือดออกมาเป็นจำนวนค่อนข้างมาก ประมาณ 30-40 มิลลิลิตรภายในหนึ่งวัน แพทย์จะให้การรักษาโดยให้ผู้ป่วยนอนที่โรงพยาบาล และอาจรักษาโดยการให้ยา 

    รุนแรงมาก

    กรณีนี้บางรายอาจไอเป็นเลือดจนหมดสติได้ เกิดจากการเสียเลือดเกินไป หากรุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา แพทย์จะทำการรักษาด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจและอาจให้ออกซิเจนในบางราย มากไปกว่านั้นแพทย์จะเจาะน้ำเกลือและให้ยาเพื่อการแข็งตัวของหลอดเลือด 

    นอกจากนี้แพทย์จะให้การรักษาโดยการใช้วิธีแบบจำเพาะเจาะจงเพื่อควบคุมปริมาณการไหลของเลือด เช่น การเอกซเรย์หลอดเลือดและสอดสายสวน การทำบอลลูนเพื่อให้เลือดหยุดไหล การใช้น้ำเกลือเย็นจัดเพื่อทำให้เลือดหยุดไหล การใช้สารบางตัวเพื่อให้เลือดแข็งตัว การรักษาด้วยเลเซอร์ และอื่น ๆ  

    ไอเป็นเลือด วิธีแก้มีหลายอย่างขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางรายแพทย์อาจพิจารณาให้ตัดเนื้อปอดที่มีเลือดออกบางส่วนออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรง อาจตัดเฉพาะเนื้อปอด ตัดเฉพาะกีบ หรือตัดปอดออกทั้ง 2 ข้างก็เป็นได้

    แนวทางป้องกันการไอเป็นเลือด                                   

    การไอเป็นเลือดบางทีอาจไม่ใช่อาการที่ร้ายแรงเสมอไป หากเป็นแล้วก็สามารถหายได้เอง น้องแคร์แนะนำให้คุณดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ในแต่ละมื้อ รับประทานวิตามินเสริมที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน ดื่มน้ำมาก ๆ รับประทานยาลดเสมหะ งดไอแรง ๆ งดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการไอเป็นเลือด เช่น อยู่ในที่ที่มีควันพิษเยอะ ๆ มากไปกว่านั้น คุณควรงดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เพราะเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะไอเป็นเลือดได้ หากแพทย์สั่งยาฆ่าเชื้อมาให้ คุณควรรับประทานให้ครบเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา หากยังไม่ดีขึ้นคุณควรรีบกลับไปพบแพทย์อีกครั้งทันที  

    สมุนไพรแก้ไอเป็นเลือด มีอะไรบ้าง? 

    1. พลูคาว : สมุนไพรชนิดนี้ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายอย่างเร่งด่วน มากไปกว่านั้นยังช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ลดอาการไอ และลดการอักเสบภายในปอด  

    2. เห็ดหลินจือ : ช่วยฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอด หัวใจ ตับ มากไปกว่านั้นยังมีหน้าที่ช่วยขจัดพิษในร่างกายอีกด้วย  

    ไอเป็นเลือด เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

    1. วัณโรคปอด           

    วัณโรคสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ทั้งแบบติดต่อและไม่ติดต่อ จึงทำให้ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยหากคุณเป็นวัณโรคปอดแบบแพร่เชื้อได้ ควรแยกตัวห่างจากผู้อื่น เช่น เครื่องใช้ภายในบ้าน ห้องนอน และอื่น ๆ โดยอาการของโรคนี้คือ ไอเป็นเลือดแล้วมีเสมหะปน ไอเรื้อรังนานกว่า 3 อาทิตย์ น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย มีไข้หรือ เหนื่อยง่าย โดยการรักษาสามารถทำได้โดยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง

    2. โรคหลอดลมอักเสบ 

    ไอเป็นเลือดมีเสมหะปน อาจมาจากการที่หลอดลมของคุณอักเสบรุนแรง สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากปล่อยไว้ หลอดลมของคุณก็จะอักเสบเรื้อรัง ทำให้กระบวนการรักษายุ่งยากและซับซ้อนขึ้นไปอีก ดังนั้น น้องแคร์แนะนำให้คุณมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาการของโรคหลอดลมอักเสบมักจะมีไข้ขึ้น หนาวสั่น ไอ มีเสมหะเหนียวข้นสีเขียวหรือสีเหลือง 

    3. มะเร็งปอด

    ไอเป็นเลือด มะเร็งปอด เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน เพราะภาวะไอแล้วมีเลือดออกอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งปอดได้ โดยอาการของมะเร็งปอด จะมีไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เนื่องจากการที่ก้อนมะเร็งทำให้เนื้อปอดน้อยลง หรือกดเบียดหลอดลม อาจทำให้เกิดปอดอักเสบ หรือมีไข้ได้ สาเหตุของมะเร็งปอดหลัก ๆ มาจากการสูบบุหรี่ต่อเนื่องกันเป็นเวลายาวนาน ดังนั้น คุณควรตระหนักถึงโทษและอันตรายของบุหรี่ และไม่สูบเพื่อหนีห่างจากโรคมะเร็งปอด

    4. เลือดออกในปอด

    เป็นภาวะตกเลือดที่อันตรายมากเกิดจากการผิดปกติของทางเดินหายใจส่วนบน ถุงลม และอื่น ๆ คนไข้ส่วนใหญ่มักมาด้วยอาการไอเป็นเลือด หากในภาวะรุนแรง ระดับออกซิเจนในเลือดจะลดลง โดยการรักษาจำเป็นต้องดูดเลือดออกจากหลอดลม ให้ออกซิเจนเพิ่มเติม และใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นภาวะอันตราย หากปล่อยไว้อาจทำให้เสียชีวิตได้ 

    5. ลิ่มเลือดอุดตันในปอด

    เป็นภาวะที่มีลิ่มเลือดไปอุดตันบริเวณขั้วปอด หรือหลอดเลือดที่ปอด ซึ่งการรักษาทำได้โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องถูกนำส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วนและทันท่วงที ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เสียชีวิตในเวลาต่อมาได้ อาการของโรคนี้มักจะหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย ใจสั่น เจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด และอื่น ๆ 

    ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับภาวะไอเป็นเลือด ดังนั้นหากคุณมีอาการไอเรื้อรัง น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาต่อไปเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง และเพื่อจะได้อยู่เคียงข้างคนที่คุณรักไปนาน ๆ หลายคนอาจกังวลเกี่ยวกับภาวะนี้ ดังนั้นน้องแคร์ขอแนะนำให้คุณทำประกันสุขภาพติดตัวไว้สักฉบับ โดยสามารถซื้อผ่านกับ แรบบิท แคร์โดยตรง เรามีสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น บริการปรึกษาแพทย์ผ่านวิดีโอคอล บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน และอื่น ๆ หากคุณสนใจสามารถสมัครผ่าน https://rabbitcare.om/ หรือโทร 1438 


    บทความแคร์สุขภาพ

    แคร์สุขภาพ

    โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

    โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
    Nok Srihong
    25/04/2024

    แคร์สุขภาพ

    แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

    ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
    Nok Srihong
    22/04/2024