แคร์สุขภาพ

น้ำในหูไม่เท่ากันมีอาการอย่างไร ? อันตรายหรือไม่ ? รวมวิธีการรักษาและดูแลตัวเอง

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: February 22,2024
  
Last edited: July 24, 2024
น้ำในหูไม่เท่ากัน

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แม้ฟังชื่อดูแล้วอาจดูไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือโรคที่มีความร้ายแรงเท่าใดนัก แต่กลับเป็นโรคซึ่งมีอาการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก และแน่นอนว่าขึ้นชื่อว่าโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ย่อมไม่มีใครต้องการที่จะเป็นอย่างแน่นอน วันนี้ แรบบิท แคร์ เลือกนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคน้ำในหูไม่เท่ากันมาฝาก เพราะโรคนี้อาจเกิดขึ้นกับทุกคนเมื่อไหร่ก็ได้ จึงควรมีความรู้เบื้องต้นติดตัวกันไว้ มีอาการอย่างไร จะได้ลองสังเกตกันดูได้ และรีบทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    น้ำในหูไม่เท่ากันคืออะไร ?

    โรงพยาบาลพญาไทให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการน้ำในหูไม่เท่ากันว่า โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคความดันน้ำในหูไม่เท่ากันนั้น โรคนี้มีชื่อว่าในทางการแพทย์ว่าโรคเมเนียร์ (Meniere’s Disease) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะพบมากในผู้ที่มีอายุอยู่ระหว่าง 30-60 ปี และสามารถพบได้ในทั้งเพศหญิงและเพศชาย

    โดยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในของคนเราซึ่งมีภาวะความดันน้ำในหูชั้นในที่เรียกว่า Endolymph มากผิดปกติ จึงส่งผลให้หูขั้นในที่มีหน้าที่ในการรับเสียง และทำหน้าที่หลักในการควบคุมการทรงตัวทำงานผิดปกติ จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ สูญเสียการได้ยิน และรู้สึกถึงแรงดันภายในหูนั่นเอง

    สาเหตุของการเกิดอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน

    สำหรับผู้ที่กำลังสงสัยว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร คำตอบคือ ในปัจจุบันนั้นทางด้านการแพทย์ยังไม่มีการสรุปหรือทราบเหตุผลอย่างแน่ชัดว่าอาการน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นเกิดจากอะไร แต่ก็มีการแจกแจงปัจจัยที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคออกมาได้หลากหลายข้อ คือ

    • น้ำในหูไม่เท่ากันจากกรรมพันธุ์ : การป่วยด้วยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นมักพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นไมเกรน หรือมีโครงสร้างหูชั้นในที่ผิดปกติ
    • น้ำในหูไม่เท่ากันจากการติดเชื้อไวรัส : อาจเกิดขึ้นเมื่อมีอาการหูชั้นกลาง หูชั้นใน หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และมีการติดไวรัสเกิดขึ้น
    • เป็นโรคต่าง ๆ อยู่แต่เดิม : มีโอกาสพบได้ในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคซิฟิลิส โรคหูน้ำหนวก โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ และโรคไขมันในเลือดสูง
    • น้ำในหูไม่เท่ากันจากฮอร์โมน : อีกปัจจัยสำคัญที่พบได้จะพบในผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และการมีประจำเดือนที่ผิดปกติ
    • พฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ : พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดสูง รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงเป็นประจำ สูบบุหรี่เป็นกิจวัตร
    • สภาพแวดล้อม : อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังอึกทึกเป็นระยะเวลานาน หรืออาศัยอยู่ในที่ที่มีเสียงดัง

    ปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญและมักพบในตัวของผู้ป่วยที่เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แน่นอนว่าสำหรับปัจจัยจากกรรมพันธุ์หรือการติดเชื้อไวรัสเราอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการเลือกอยู่ในสถานที่ที่เงียบสงบไม่มีเสียงอึกทึกคอยรบกวนนั้นเป็นสิ่งที่เราเลือกให้ตนเองได้อย่างแน่นอน

    น้ำในหูไม่เท่ากัน อาการ

    น้ำในหูไม่เท่ากัน อาการเป็นอย่างไร ?

    โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัวโดยตรง ซึ่งเมื่อป่วยเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันแล้ว ก็จะส่งผลให้มีอาการ ดังนี้

    • รู้สึกบ้านหมุน มีอาการเวียนศีรษะอย่างรุนแรง โดยอาการเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นอยู่นานเป็นชั่วโมง และมีอาการแบบมา ๆ หาย ๆ
    • มีอาการคลื่นไส้ อยากอาเจียน ร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ
    • สูญเสียสมดุลของร่างกาย ส่งผลให้เกิดการเซล้ม เดินไม่ตรง 
    • มีอาการหูอื้อ รู้สึกแน่น ๆ ในหูแบบเป็น ๆ หาย ๆ ได้ยินไม่ค่อยชัด ซึ่งบางครั้งความสามารถในการได้ยินเดี๋ยวก็ดีขึ้น เดี๋ยวก็แย่ลง
    • มีเสียงดังเกิดขึ้นในหู มักเป็นเสียงดัง วี้ด ๆ หวีดหวิวในหู
    • รู้สึกมีอาการหนัก ๆ หน่วง ๆ ภายในหู เหมือนมีแรงดันอยู่ในหู

    และอาการเหล่านี้ก็คืออาการเมื่อเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครมีอาการเหล่านี้ต้องลองไปเช็กและตรวจสุขภาพกัน อย่านิ่งนอนใจเป็นอันขาดเพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดอันตราย

    น้ำในหูไม่เท่ากันอันตรายหรือไม่ ?

    สำหรับผู้ที่กำลังสงสัยว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นอันตรายหรือไม่ ตอบได้เลยว่าโรคนี้นั้นอันตราย เพราะแม้การแสดงอาการจะเน้นหนักไปที่การเวียนหูและการได้ยินที่อาจแย่ลง แต่หากเป็นหนักขึ้นก็จะส่งผลร้ายแรงได้ เนื่องจากเป็นโรคที่ส่งผลต่อเซลล์ประสาทการทรงตัวและการได้ยิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้นส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและยังเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ทุกเมื่อ

    น้ำในหูไม่เท่ากันต้องไปพบแพทย์ไหม ?

    โรคน้ำในหูไม่เท่ากันจำเป็นต้องไปพบแพทย์ไหม สามารถรอให้หายเองได้หรือไม่ ? แน่นอนว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากันหรือเริ่มมีอาการดังกล่าวจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และรับการรักษาอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังจำเป็นต้องดูแลตนเองตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด

    น้ำในหูไม่เท่ากัน วิธีรักษา

    ในส่วนของวิธีการรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นก็มีวิธีในการดูแลรักษามากมายหลายวิธี โดยแพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้ตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาตามอาการของคนไข้ในแต่ละราย ซึ่งการรักษาก็จะมีหลากหลายวิธีหลากหลายระดับขั้นการรักษา ดังนี้

    • สั่งให้ปรับพฤติกรรม : หากเป็นในระยะเริ่มต้นและมีอาการที่ไม่รุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยน้ำในหูไม่เท่ากันพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย ทำจิตใจให้สบาย และคลายความวิตกกังวล
    • รักษาด้วยการให้รับประทานยา : แพทย์อาจสั่งยาให้เพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาขยายหลอดเลือด เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น ยาขับปัสสาวะ ซึ่งจะช่ยลดอาการบวมและการคั่งของน้ำในบริเวณหูชั้นใน ยาลดอาการเวียนศีรษะและยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือยากล่อมประสาทและยานอนหลับเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและพักผ่อนได้เพียงพอ
    • รักษาด้วยการฉีดยา : แพทย์จะทำการฉีดยาเข้าไปยังบริเวณหูชั้นในของผู้ป่วยโดยตรงทั้งนี้เพื่อทำลายเซลล์ที่ก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ วิธีการนี้จะช่วยกำจัดให้เซลล์ดังกล่าวตายไปและอาการจะหายไปโดยที่ไม่ต้องทำการผ่าตัดรักษา
    • รักษาด้วยการผ่าตัด : วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง รู้สึกเวียนศีรษะไม่หาย ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ได้หรือทำการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จึงจะทำการผ่าตัดเพื่อระบายน้ำในหูชั้นในออก

    และวิธีเหล่านี้ก็คือวิธีที่จะใช้ในการรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน โดยไม่ว่าแพทย์จะเลือกใช้วิธีใดในการรักษาผู้ป่วยก็จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดร่วมด้วย

    น้ำในหูไม่เท่ากัน วิธีรักษา

    น้ำในหูไม่เท่ากัน รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?

    สำหรับโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้น เมื่อเป็นแล้วถึงแม้จะเข้ารับการรักษาเป็นที่เรียบร้อย แต่โรคนี้นั้นถือว่าเป็นโรคที่ไม่หายขาดและสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ แต่การใช้ยาและการดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์จะสามารถช่วยควบคุมอาการเวียนศีรษะให้ดีขึ้นจนสามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติได้ แต่ทั้งนี้ก็จำเป็นจะต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดและคอยสังเกตอาการของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการแย่ลงหรือผิดปกติใด ๆ ต้องรีบกลับไปพบแพทย์ทันที

    รักษาน้ำในหูไม่เท่ากัน หากมีอาการแบบนี้ ต้องรีบกลับไปพบแพทย์ทันที

    • มีเสียงดังมากในหู 
    • รู้สึกบ้านหมุน 
    • รับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น

    หากมีอาการเหล่านี้หลังจากเข้ารับการรักษา ต้องรีบเข้าพบแพทย์ทันที

    น้ำในหูไม่เท่ากัน วิธีดูแลตัวเอง

    สำหรับผู้ที่อยากรู้ว่าเมื่อเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว จะมีวิธีการดูแลตนเองและการปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อความปลอดภัยของสุขภาพร่างกายและไม่เป็นภัยต่อชีวิตของตนเอง

    • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงหรือมีรสเค็มจัด
    • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    • ทำกิจกรรมเพื่อคลายเครียดและความวิตกกังวล
    • เมื่อมีอาการเวียนศีรษะแม้จะเล็กน้อยควรเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ 

    วิธีเหล่านี้คือวิธีซึ่งทุกคนจะต้องดูแลตนเองอย่างเคร่งครัดในชีวิตประจำวัน ไม่เช่นนั้นอาการไม่พึงประสงค์อาจย้อนกลับมาและอาจเป็นหนักกว่าเดิม

    สรุป

    ข้อมูลเหล่านี้คือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรคน้ำในหูไม่เท่ากันที่ทุกคนควรรู้ และสำหรับใครที่มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากันได้ แรบบิท แคร์ ขอแนะนำให้เลือกทำประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ ไว้ จะได้อุ่นใจหากป่วยไข้ก็ไม่ต้องกังวลใจเรื่อยค่ารักษาพยาบาล


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024