แคร์สุขภาพ

ปวดส้นเท้า เป็นรองช้ำรักษาอย่างไรให้หายขาด?

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
Published: July 18,2023
  
Last edited: April 9, 2024
รองช้ำ รองช้ำ คือ รักษารองช้ำให้หายขาด

อาการปวดส้นเท้า หลาย ๆ คน อาจจะมองว่าไม่ใช่อาการรุนแรงอะไรมากนัก ทำให้อาจมีการละเลยที่จะรักษาหรือกลับมาดูสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้าอย่างจริง ๆ จัง ๆ จนกลายเป็นอาการเจ็บเรื้อรัง แต่รู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนภัของ “โรครองช้ำ” ซึ่งค่อนข้างมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เดินก็ลำบากแถมยังมีอาการปวดร่วมด้วย บทความนี้น้องแคร์รวบรวมข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับโรครองช้ำ อาการและสาเหตุของโรค พร้อมวิธีรับมือเมื่อเกิดอาการรองช้ำ ไปดูกันเลย!

ทำความรู้จักโรครองช้ำ คืออะไร?

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis) คือ การอักเสบในพื้นผิวที่อยู่ใต้ฝ่าเท้า ซึ่งโรคนี้เกิดจากการอักเสบในส่วนที่พังผืดของกระดูกส้นเท้า ผู้ที่เป็นโรครองช้ำมักจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้าเมื่อน้ำหนักประคอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกเมื่อเริ่มเปรียบเทียบน้ำหนัก เช่น ตอนเช้าหลังจากการนอนหรือหลังจากการนั่งเป็นเวลานาน แต่เมื่อเดินไปเรื่อยๆ อาการปวดจะลดลง สำหรับนักวิ่งก็เช่นกัน อาการปวดจะเพิ่มขึ้นในช่วงแรกของการวิ่ง แต่เมื่อวิ่งไปได้ระยะหนึ่ง อาการปวดจะเบาลง แต่เมื่อหยุดวิ่งอาการปวดอาจกลับมาเป็นอีกครั้ง ในระดับที่รุนแรง อาการปวดอาจเกิดตลอดเวลา ซึ่งปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรครองช้ำก็อย่างเช่น

    • การมีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน
    • การเป็นโรคเบาหวานหรือโรคข้ออักเสบเรื้อรัง
    • การใช้เท้าอย่างต่อเนื่องในกีฬา เช่น นักวิ่ง
    • ความผิดปกติของฝ่าเท้า เช่น เท้าแบนหรือความเคลื่อนไหวผิดปกติของส่วนโค้งของเท้า
    • การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมหรือไม่พอดีกับเท้า
    • อายุสูงโดยเฉพาะเพศหญิง
    • การใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำในผู้หญิง

    สาเหตุของการเกิดโรครองช้ำ คืออะไร?

    สาเหตุของรองช้ำอยู่ที่หน้าที่หลักของพังผืดใต้ฝ่าเท้าที่ต้องรองรับแรงกระแทกและอุ้งเท้า เมื่อเรายืนหรือเดิน น้ำหนักของร่างกายจะนำมาบริเวณฝ่าเท้า ซึ่งทำให้อุ้งเท้าหมุนเป็นแบนและที่มีความราบกับพื้นมากขึ้น แรงกระแทกจากนั้นจะกระจายไปยังบริเวณหน้าเท้าและส้นเท้า นั่นเป็นสาเหตุที่พังผืดมีการตึงตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากความตึงตัวที่เกิดขึ้นมีมากเกินไปเพื่อที่พังผืดจะรองรับได้ อาจทำให้เกิดความเสียหายในพังผืด เป็นอาการของรองช้ำจะไม่เกิดขึ้นทันที การบาดเจ็บจะสะสมไปเรื่อย ๆ จนเกิดการอักเสบ และในกรณีร้ายแรงอาจเกิดการฉีกขาดในที่สุด

    โรครองช้ำเกิดจากการรับแรงกระแทกในฝ่าเท้าและอุ้งเท้าเมื่อเรายืนหรือเดิน น้ำหนักของร่างกายทำให้อุ้งเท้าแบนราบกับพื้น และแรงกระทบนั้นทำให้มีความตึงตัวระหว่างส้นเท้ามากขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดพังผืด อาการรองช้ำก็จะอักเสบสะสมเรื่อย ๆ จนเกิดการฉีกขาดของเอ็นฝ่าเท้า

    อาการปวดและบวมบริเวณส้นเท้าในขณะตื่นนอนเป็นอาการที่พบบ่อยในโรครองช้ำ มีอาการเจ็บแปล๊บ ๆ เหมือนถูกแทงบริเวณส้นเท้า โดยรองช้ำจะดีขึ้นหลังจากเดิน แต่อาจกลับมาปวดอีกครั้งก่อนนอน อาการจะมีการเป็น ๆ หาย ๆ แบบนี้อยู่เรื่อย ๆ

    รองช้ำ
รักษารองช้ำให้หายขาด

    เทคนิครักษารองช้ำให้หายขาด แก้อาการรองช้ำด้วยตัวเองทำอย่างไร?

    การรักษารองช้ำให้หายขาดนั้นหากคุณเป็นรองช้ำในระดับที่รุนแรง คุณอาจจำเป็นจะต้องรับการรักษาทั้งการใช้ยาเพื่อรักษาอาการอักเสบและต้องรับการกายภาพบำบัด เช่น การทำอัลตราซาวด์ร่วมกับการกายภาพบำบัด รวมถึงการนวด ซึ่งข้อปฏิบัติอันดับแรกที่คุณควรทำเพื่อเป็นตัวช่วยอีกแรงในการรักษาอาการรองช้ำของคุณให้ดีขึ้น คุณสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

    • เลือกใช้รองเท้าที่เสริมเจลรับแรงกระแทกบริเวณส้นเท้าเป็นพิเศษหรือสามารถเจาะรูที่พื้นรองเท้าเพื่อลดแรงกดทับบริเวณที่อักเสบเป็นรองช้ำ
    • หากรูปเท้าผิดปกติ ควรเลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับรูปเท้า เลือกรองเท้าที่มีพื้นรองเท้าหนานุ่มเพียงพอ เพื่อรองรับและพยุงฝ่าเท้าได้อย่างดี
    • ในขณะวิ่งให้ปรับท่าวิ่งโดยการก้าวสั้นแบบสั้น ๆ และพยายามลงน้ำหนักให้เต็มฝ่าเท้าไม่กระแทก
    • หลักเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าโดยไม่ใส่รองเท้าบนพื้นแข็ง ๆ เพราะจะทำให้เจ็บรองช้ำมากขึ้น
    • หมั่นยืดพังผืดฝ่าเท้าเป็นประจำเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของพังผืด สำหรับผู้ที่มีพังผืดตึงมาก ๆ ก่อนยืดให้เอาเท้าแช่น้ำอุ่น 15-20 นาที เพื่อให้พังผืดอ่อนตัวและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น จะช่วยลดอาการเจ็บรองช้ำขณะยืดพังผืดได้
    • หากคุณมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานให้ลดน้ำหนักและควรเปลี่ยนไปออกกำลังกายชนิดอื่นที่ไม่มีการกระแทกบริเวณส้นเท้าที่เป็นรองช้ำ อย่างเช่น การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน

    การกายภาพบำบัดรักษารองช้ำ

    • การยืดกล้ามเนื้อ
      • ยืดกล้ามเนื้อน่องโดยใช้แรงที่คงที่และยืดเป็นระยะเวลา 15-20 วินาทีต่อครั้ง
      • ยืนห่างจากกำแพงประมาณ 1 ช่วงแขน ยืดโดยใช้ฝ่ามือยันกำแพง จากนั้นเหยียดเท้าข้างที่ต้องการยืดกล้ามเนื้อไปด้านหลัง งอเข่าลงช้า ๆ โดยให้ขาหลังเหยียดตรงและวางฝ่าเท้าทั้งสองข้างราบบนพื้น งอช้า ๆ จนรู้สึกตึงในบริเวณน่อง
      • ยืนบนบันไดโดยยืนบนปลายเท้าและปล่อยให้ส้นเท้าของขาที่ต้องการยืดกล้ามเนื้อเลยออกมาบันไดขั้นล่างที่สุด ทำจนรู้สึกตึงในบริเวณน่อง
      • นั่งเหยียดขาข้างที่ต้องการยืดกล้ามเนื้อไปข้างหน้า จากนั้นใช้ผ้าขนหนูคล้องบริเวณใต้ฝ่าเท้าและใช้มือทั้งสองข้างดึงผ้าขนหนูเข้าหาตัว ทำจนรู้สึกตึงในบริเวณน่อง
      • บริหารกล้ามเนื้อใต้ฝ่าเท้าบริเวณรองช้ำ ก่อนลุกขึ้นเดินใช้มือข้างหนึ่งจับบริเวณนิ้วเท้าทั้งห้าและดันนิ้วเท้าเข้าหาหลังเท้าให้มากที่สุด จนฝ่าเท้าอยู่ในลักษณะแอ่นและตึง จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือหรือกำปั้นของมืออีกข้างกดและนวดบริเวณฝ่าเท้าจนทั่ว นวดประมาณ 15-20 วินาทีต่อครั้ง 3-5 ครั้งก่อนลุกขึ้นเดิน นอกจากนี้ยังสามารถใช้เท้าคลึงลูกบอลหรือขวดน้ำเพื่อการยืดเส้นเอ็นได้ด้วย ทำประมาณ 3-5 นาที 2 ครั้งต่อวัน
    • การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเท้า
      • ใช้นิ้วเท้าหยิบผ้าขนหนูและวางผ้าขนหนูลงบนพื้น จากนั้นใช้นิ้วเท้าขยุ้มผ้าขนหนู ทำซ้ำ 10 ครั้ง 1-2 ครั้งต่อวัน
    • การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อลดการอักเสบและลดอาการปวดรองช้ำ
    • การใช้อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้า เพื่อปรับอุ้งเท้าให้ปกติหรือรองรับแรงกระแทกต่อฝ่าเท้า

    การนวดแก้อาการรองช้ำด้วยตัวเอง

    มีท่าบริหารข้อเท้าแก้อาการรองช้ำด้วยเองหลายท่าที่สามารถบรรเทาอาการรองช้ำและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เช่น

    • ใช้อุปกรณ์ทรงกระบอกที่มีความแข็งแรง เช่น ท่อ PVC หรือขวดน้ำพลาสติกขนาดเล็ก วางไว้บนพื้น แล้ววางฝ่าเท้าบนอุปกรณ์เหล่านี้ เพื่อช่วยยืดเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้าได้ดีขึ้น
    • นั่งลงที่พื้น โดยเหยียดขาตรงและปลายเท้าชี้ขึ้นด้านบน จากนั้นใช้มือจับนิ้วโป้งและเหยียดงอเข้าหาตัว วิธีนี้ช่วยให้เส้นเอ็นที่นิ้วเท้าถึงฝ่าเท้ายืดได้เต็มที่
    • ยืนหันหน้าเข้าสู่กำแพง ให้เท้าซ้ายอยู่ด้านหลัง จากนั้นงอเข่าขวาไปด้านหน้าและดันกำแพง จนรู้สึกว่าข้อเท้าซ้ายด้านหลังตึง ค้างไว้เป็นเวลา 10-15 วินาที แล้วเปลี่ยนข้าง วิธีนี้เป็นการยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย ช่วยให้ส้นเท้ารับน้ำหนักได้ดี

    หากอาการเจ็บรองช้ำยังไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อการตรวจรักษาและการหาสาเหตุอื่น ๆ เช่น อาจมีการเกิดกระดูกร้าวหรือกระดูกงอกใต้กระดูกส้นเท้า แพทย์อาจให้การรักษาอื่น ๆ ต่อไป เช่น การฉีดยาต้านการอักเสบและหากอาการเจ็บรองช้ำยังไม่มีวี่แววว่าจะดีขึ้นอีกอาจจำเป็นต้องพิจารณาการผ่าตัดเพื่อรักษารองช้ำ

    แก้อาการรองช้ำด้วยตัวเอง
รักษารองช้ำให้หายขาด

    อย่ารอให้เป็นรองช้ำ! รีบวางแผนทำประกันสุขภาพก่อน

    อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคภัยไข้เจ็บมักไม่เข้าใครออกใคร ใครที่สุขภาพแข็งแรงดี ไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังน่าหงุดหงิดใจอย่างรองช้ำ หรือไม่มีโรคประจำตัวอะไรมากวนใจก็ถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐ และยิ่งต้องรีบวางแผนทำประกันสุขภาพ เพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับคุณ การวางแผนทำประกันสุขภาพจะช่วยให้คุณมีความมั่นใจและปกป้องตัวคุณเองในกรณีที่คุณต้องการการรักษาพยาบาลในอนาคต

    ประกันสุขภาพนั้นมีหลายประเภทที่คุณสามารถเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตของคุณได้ ทั้งประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล ประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยใน-ผู้ป่วยนอก เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถเลือกซื้อประกันสุขภาพที่ตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุดได้จากแรบบิท แคร์ โบรกเกอร์ประกันภัยที่รวบรวมแผนประกันภัยจากบริษัทประกันภัยชั้นนำของประเทศมากมาย คุณสามารถใช้บริการเมนูเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพ ที่ช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการเลือกซื้อแผนประกันสุขภาพที่ตรงกับความต้องการของคุณได้ เพราะบริการนี้จะช่วยแนะนำแผนประกันที่เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณของคุณได้ภายใน 30 วินาที

    นอกจากการทำประกันสุขภาพเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านค่ารักษาพยาบาลแล้ว การให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพส่วนตัวของคุณให้แข็งแรงอยู่เสมอก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีในการป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพเบื้องต้น อย่างเช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การบริโภคอาหารที่เหมาะสมและสมดุลย์ การนอนหลับที่เพียงพอ และการลดความเครียดออกจากชีวิตประจำวัน ใครที่กำลังเจ็บป่วยอยู่อย่างการเป็นรองช้ำ หากออกกำลังกายดูแลสุขภาพอย่างดีร่วมกับการได้รับการรักษาที่เหมาะสมก็จะได้แข็งแรงขึ้นหรือหายเป็นปกติ


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024