แคร์สุขภาพ

ดูแลแผลรอยสักอย่างไร ให้ปลอดภัย ไม่เป็นอันตราย!

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
 
Published: November 25,2022
รอยสัก

หากย้อนกลับไปในอดีต รอยสักอาจเป็นหนึ่งในเรื่องของความเชื่อ บางคนเชื่อว่าการสักจะช่วยเสริมดวงชะตา หรือช่วยในเรื่องคาถาอาคมต่าง ๆ แต่ในปัจจุบัน การสักกลับกลายเป็นเรื่องของศิลปะ เป็นเรื่องของความสวยงาม บวกแนวคิดในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไปกับคนที่มีรอยสัก ทำให้หลากหลายคนนิยมไปสักตามร่างกายกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสักหลัง สักขา

แต่ไปสักทั้งที ย่อมมีวิธีการดูแลแผลสักอย่างแน่นอน ว่าแต่จะดูแลรอยสักอย่างไรบ้าง และแผลหลังสักแบบไหนที่น่าเป็นห่วง ควรพบแพทย์ แรบบิท แคร์ มีคำตอบ! 

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ดูแลรอยสักอย่างไรบ้าง ทั้งหลังสักใหม่ ๆ และในระยะยาว?

    การดูแลรอยสักนั้น สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

    การดูแลรอยสักหลังสักใน 1 อาทิตย์แรก

    ในช่วงแรก หลังจากเปิดผ้าพันแผลออก อาจมีของเหลวอย่างเลือด พลาสมา น้ำเหลือง หรือหมึกสีที่ใช้สักไหลซึมออกมาจากแผลซึ่งเป็นเรื่องปกติ โดยควรเปลี่ยนมาใช้ผ้าปูที่นอนสะอาดใน 2-3 คืนแรกหลังสัก และทำการเปลี่ยนใหม่อีกครั้งเพื่อความสะอาดต่อแผลที่เพิ่งสักไป เพราะรอยสักอาจมีหนองไหลออกมานอกจากนี้ หลังสักใหม่ ๆ อาจมีอาการเจ็บปวดและมีรอยแดงบริเวณรอยสักด้วย

    เบื้องต้น ควรล้างทำความสะอาดแผล 1-2 ครั้ง/วัน โดยทำความสะอาดแผลด้วยน้ำอุ่นและสบู่ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม โดยระหว่างการทำความสะอาด ไม่ควรใช้ผ้า ใยบวบ หรืออุปกรณ์ใด ๆ มาขัดถูในการทำความสะอาด เพราะอาจทำให้แผลอักเสบ เกิดการติดเชื้อได้ จากนั้นซับให้แห้งอย่างเบามือ 

    สักหลัง

    ในช่วงที่แผลบริเวณรอยสักยังไม่หายดี มีข้อควรปฏิบัติเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น และรอยสักมีสภาพสวยงาม ดังนี้

    • การล้างมือ เป็นวิธีป้องกันการติดเชื้อเวลานิ้วเราเผลอไปสัมผัสแผลที่สักใหม่ ๆ
    • ควรสวมใส่เสื้อผ้าปกป้องผิวบริเวณรอยสักจากแสงแดดทุกครั้งเมื่อ
    • หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อป้องกันการเสียดสีกับรอยสัก
    • หลีกเลี่ยงการแกะหรือเกาบริเวณแผล
    • หลีกเลี่ยงการทาครีมกันแดดบริเวณรอยสักจนกว่าแผลจะหายดี
    • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำหรือการแช่รอยสักในน้ำอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังสัก
    • เลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ในช่วงเพิ่งสักใหม่ ๆ เพราะอาจทำให้แผลรอยสักเกิดการตึงและปริแตกได้
    • อย่าโกนขนตรงรอยสักจนกว่าแผลจะหาย

    เมื่ออาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น แผลรอยสักอาจมีสีคล้ำขึ้น ซึ่งเป็นระยะที่แผลเริ่มฟื้นตัวและตกสะเก็ด ในขั้นตอนนี้ไม่ควรแกะสะเก็ดแผลออกเป็นอันขาดเพราะอาจทำให้เกิดแผลเป็นได้ ควรปล่อยให้สะเก็ดแผลหลุดลอกออกไปเอง แต่หากผ่านมา 5-7 วัน ยังมีอาการบวมแดง อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

    สักขา

    การดูแลกรอยสัก เมื่อผ่านไป 2 สัปดาห์ขึ้นไป

    เมื่อสะเก็ดแผลหลุดออกไปจนหมด แต่อาจมีเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหลงเหลืออยู่บริเวณรอยสัก ซึ่งจะหลุดลอกออกไปเองในภายหลัง และผิวบริเวณรอยสักอาจดูหมองคล้ำและแห้ง ซึ่งผิวหนังชั้นในอาจใช้เวลา 3-4 เดือนในการฟื้นฟูให้สภาพผิวกลับมาเหมือนเดิม 

    โดยรอยสักจะมีสีสดและสวยงามเข้าที่หลังสักแล้วประมาณ 3 เดือน และในระหว่างที่ผิวกำลังฟื้นฟู ควรบำรุงผิวด้วยการทาครีมเพื่อคงความชุ่มชื้นให้ผิวหนังอยู่เสมอ นอกจากนี้ หากผู้สักต้องการให้คงสภาพสีสดและชัดนานขึ้น มีเคล็ดลับ ดังนี้ 

    • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อคงความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง
    • หมั่นรักษาความสะอาดบริเวณที่สักอยู่เสมอ ล้างทำความสะอาดรอยสักเบา ๆ ด้วยสบู่ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม
    • พยายามไม่ให้รอยสักโดนแสงแดดมากเกินไป
    • หลีกเลี่ยงเนื้อผ้าที่อาจทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ผ้าขนแกะ
    • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนเพราะอาจทำให้หมึกสีจางลงได้

    รอยสัก

    แผลรอยสักแบบไหนที่ควรพบแพทย์

    นอกจากการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณรอยสักแล้ว ผู้สักควรสังเกตอาการตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพราะในบางกรณี การสักอาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยได้ โดยที่พบบ่อยที่สุดคือผิวหนังไหม้ อาการแผลติดเชื้อ และลุกลามไปอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ต่อไปได้ เช่น ผิวหนังอักเสบ, ไวรัสตับอักเสบบี, วัณโรค, ซิฟิลิส, เอดส์ หรือแม้แต่มะเร็ง หากสีที่ใช้ในการสักนั้นไม่ได้มาตรฐานและมีค่าโลหะหนักมากเกินไป เป็นต้น 

    ดังนั้น หากมีอาการต่อไปนี้เกิดขึ้นหลังสัก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

    • มีไข้ ตัวสั่น มีอาการบวมแดงบริเวณรอยสักมากผิดปกติ
    • มีของเหลวไหลซึมออกมาจากแผลปริมาณมาก
    • เกิดสะเก็ดแผลขึ้นอย่างผิดปกติ
    • มีผื่นคันและมีอาการบวมนานกว่า 1 สัปดาห์ โดยไม่มีทีท่าว่าอาการจะทุเลาลง
    • มีอาการแพ้หมึกสีที่ใช้สัก เช่น คันมากบริเวณรอบรอยสัก, มีหนองหรือมีน้ำเหลืองแฉะอยู่ตลอดเวลา
    • เนื้อเยื่อนูนขึ้นมาและมีลักษณะแข็งผิดปกติ

    เบื้องต้นหากมีการติดเชื้อ แพทย์จะแนะนำการทำความสะอาดที่เหมาะสม พร้อมให้ยามาทาน หรือทาบริเวณรอยสัก แต่ในกรณีที่การติดเชื้อรุนแรง อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเนื้อด้วย 

    ดังนั้น ทางที่ดี ควรสังเกตอาการหลังสักอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเลือกร้านสัก ช่างสักที่มีใบอนุญาตเท่านั้น เนื่องจากการใช้เข็มที่เต็มไปด้วยหมึกสักลงไปบนผิวหนังอาจเสี่ยงนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายหรืออาจเกิดการติดเชื้อได้ 

    ช่างสัก

    การสักกับบุคคลหรือร้านที่ไม่ได้ทำความสะอาดเครื่องมืออย่างถูกต้อง หรือให้ไม่ยอมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษารอยสักที่เพิ่งสักใหม่ให้สะอาด อาจนำไปสู่ปัญหารอยสักติดเชื้อ หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

     นอกจากนี้ ผู้ที่อยากสักเป็นครั้งแรก ควรตรวจสอบอาการแพ้ก่อนที่จะสักด้วย แม้จะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนแพ้ส่วนผสมบางอย่างในหมึกสัก รวมถึงตรวจสอบด้วยว่าตนเป็นโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคเลือดไหลไม่หยุด, โรคลมชัก หรือโรคเบาหวาน หรือไม่ เพราะโรคเหล่านี้จะมีคำแนะนำจากทางแพทย์ว่า ไม่ควรเข้ารับการสักผิวหนัง เพราะอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ง่ายนั่นเอง

    แน่นอนว่าการสักขา สักหลัง หรือสักในส่วนใด ๆ ของร่างกายไม่ใช่เรื่องที่ผิด หากเลือกร้านและช่างสักให้ดี หมั่นปฏิบัติตามข้อควรดูแลแผลหลังสัก การสักก็ไม่ใช่เรื่องเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยเสมอไป แต่ป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าต้องมาคอยแก้ไข

    ดังนั้น ต้องนี่เลย บริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพ กับ แรบิท แคร์ ที่คอยดูแลทุกอาการเจ็บป่วยของคุณ หรือใครที่กังวลว่าประกันสุขภาพจะไม่สามารถเบิกเคลมได้ การเพิ่มประกันชีวิตขึ้นอีกสักนิด จะช่วยให้คุณอุ่นใจได้มากยิ่งขึ้น คลิกเลย!

    คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ

      

     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024