เช็กสัญญาณเตือน! โรคสะเก็ดเงิน อาการเป็นอย่างไร? รักษาให้หายขาดได้ไหม?
รวมทุกคำตอบเกี่ยวกับโรคสะเก็ดเงินที่ควรรู้ คืออะไร? ติดต่อกันได้หรือเปล่า? จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองกำลังเป็นโรคสะเก็ดเงินอยู่ มีอาการอะไรบ่งบอกบ้าง ห้ามกินอะไรบ้าง? น้องแคร์พร้อมเสิร์ฟข้อมูลด้านสุขภาพดี ๆ ไปอ่านกันได้เลย
โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร? ติดต่อกันได้ไหม?
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) คือ โรคผิวหนังชนิดเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โรคนี้มักจะแสดงอาการทางผิวหนัง ผิวหนังจะหนาขึ้นและมีสะเก็ดหนังแผลลอกออกมา อาการสะเก็ดเงินมักเกิดบนผิวหนังบริเวณหัวและตามบริเวณข้อศอก ข้อเข่า และสามารถพบได้ในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย อาจเกิดอาการคัน ระคายเคือง หรือเจ็บปวดขึ้นอย่างกะทันหัน แต่โรคสะเก็ดเงินนั้นไม่ใช่โรคที่สามารถติดต่อกันได้ เนื่องจากตัวโรคเกิดมาจากความผิดปกติของเซลล์ผิวหนัง ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส
ส่วนสาเหตุของโรคสะเก็ดเงินยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคสะเก็ดเงินอาจเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานผิดปกติ จึงไปทำลายเซลล์ผิวหนังแทนที่จะทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายรวมถึงการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรมและปัจจัยสภาพแวดล้อม เช่น ความเครียด การบาดเจ็บผิวหนัง หรือการติดเชื้อ
สังเกตให้ดี! โรคสะเก็ดเงิน อาการเริ่มแรก เป็นอย่างไร?
ผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน มักจะมีอาการเริ่มแรกที่แสดงออกมาเป็นข้อสังเกตได้ว่าอาจกำลังเป็นสะเก็ดเงิน ดังนี้
- มีตุ่มบริเวณผิวหนัง เป็นตุ่มผิวหนังแดงหรือม่วงปรากฏบนแขน ขา หลัง หรือหนังศีรษะ มีขอบเขตชัดเจน
- ผิวหนังแห้ง แตก ลอกเป็นขุยสีขาวและอาจมีการเลือดออก
- มีอาการคัน ระคายเคือง หรือความรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณตุ่มที่เกิดบนผิวหนัง
- หากเป็นที่เล็บ เล็บจะหนาแข็งหรือมีรอยเป็นจุด
หลายคนที่มีอาการของโรคสะเก็ดเงินอาจมีอาการของโรครุนแรงหรืออาการบางอย่างอาจจะไม่ปรากฏขึ้นเลย และหากผื่นแดงนูนขึ้นบริเวณผิวหนังร่วมกับมีอาการคัน รู้สึกปวดข้อหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่เล็บ ควรรีบไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังทันที หากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามไปบริเวณอื่นของร่างกายหรือทำให้อาการยิ่งรุนแรงขึ้น
ชนิดของโรคสะเก็ดเงิน อาการของแต่ละชนิดเป็นอย่างไร?
ผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินมักจะมีอาการที่แตกต่างกันไปในแต่ละรูปแบบ อาการของโรคสะเก็ดเงินสามารถอธิบายได้ละเอียดตามลักษณะของแต่ละชนิด ดังนี้
- สะเก็ดเงินประเภทสะเก็ดเงินปลอม
- ผิวหนังหนาขึ้นและมีสะเก็ดเงินสีเงินหรือสีแดงออกมา สะเก็ดเงินมีลักษณะขนาดใหญ่และคล้ายคราบหรือแผ่น
- อาจเกิดบริเวณข้อศอก ข้อเข่า หน้าศีรษะ และหลัง
- สะเก็ดเงินมีความหนาแน่น อาจมีรอยแผลลอกออกเป็นเลือด และเมื่อถูกขูดออกอาจมีเลือดเยิ้มออกมา
- สะเก็ดเงินประเภทสะเก็ดเงินใต้เล็บ
- เล็บแตกหรือแตกย่อย และอาจมีเส้นแนวดิ่งบนผิวเล็บ
- สะเก็ดเงินอาจปกคลุมบริเวณผิวหนังใกล้เล็บ และอาจเกิดคราบหรือเลือดใต้เล็บ
- สะเก็ดเงินประเภทสะเก็ดเงินในรูขุมขนของผิวหนัง
- เกิดบริเวณที่มีเส้นพับ จุดพับของร่างกาย เช่น ระหว่างขาหรือใต้วงแขน ข้อพับต่าง ๆ
- ผิวหนังมีความแดง อาจมีความชื้น
- อาจมีอาการคัน
- สะเก็ดเงินประเภทสะเก็ดเงินลักษณะเฉพาะ
- พบบ่อยที่เด็กและวัยรุ่น
- เกิดสะเก็ดเงินเล็ก ๆ สีแดงหรือสีแดงอมเหลือง กระจายอยู่ทั่วไปบนผิวหนัง
- อาจเกิดหลังจากการติดเชื้อเดินทางหรือการเคลื่อนย้ายต่าง ๆ ของเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย
- สะเก็ดเงินประเภทสะเก็ดเงินแบบตุ่มหนอง
- สะเก็ดเงินมีอาการตุ่มหนองสีขาวในสะเก็ดเงิน กระจายวงกว้าง
- อาจมีรอยแผลและอักเสบแดง
- พบสะเก็ดเงินประเภทนี้ได้มากบริเวณขา แขนและสะเก็ดเงินสามารถกระจายไปจนทั่วลำตัวได้
- ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ขึ้น เบื่ออาหาร เป็นต้น
ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ห้ามกินอะไร?
การรับมือกับโรคสะเก็ดเงินของผู้ป่วย อาจรวมถึงการปรับเปลี่ยนสไตล์การดำรงชีวิตและการเลือกรับประทานอาหาร เพื่อลดการกระตุ้นการเกิดอาการ แม้ว่าจะยังไม่มีผลวิจัยที่แน่ชัดว่าอาหารบางอย่างจะส่งผลต่อความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินก็ตาม แต่ถึงอย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยมีการเลือกรับประทานอาหารเฉพาะอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่อาจมีผลต่อการการเกิดอาการ ก็จะเป็นผลดีกับโรคอย่างแน่นอน
โดยคุณอาจต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลต่ออาการของโรคสะเก็ดเงิน ดังต่อไปนี้
- แอลกอฮอล์ : ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะจะทำให้อาการสะเก็ดเงินแย่ลง ลุกลามไปทั่วตัว โดยเฉพาะในผู้ชาย
- หลีกเลี่ยงเนื้อแดง : เลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อวัว เพราะมีไขมันสูงและมีสารก่อให้เกิดการอักเสบ ควรรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแซลมอน เพราะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีส่วนช่วยในการลดการอักเสบได้ดี
- หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง : เช่น อาหารหวานจำพวกช็อกโกแลต เบเกอรี่ เค้ก นมวัว เพราะมีส่วนทำให้กระตุ้นโรคสะเก็ดเงิน หากอยากกินของหวานควรรับประทานผลไม้แทน
- หลีกเลี่ยงอาหารทะเล : ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลาทู เพราะมีสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ทำให้อาการสะเก็ดเงินกำเริบได้
- หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง : ทั้งผักและผลไม้ดอง รวมถึงปลาเค็ม ไข่เค็ม กะปิ ปลาร้า เพราะอาหารหมักดองส่วนใหญ่มีส่วนผสมของขัณฑสกร สามารถกระตุ้นให้เกิดผื่นคันกำเริบได้
- หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป : เนื่องจากอาหารแปรรูปส่วนใหญ่มีสารกันบูดที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมถึงอาหารรมควันแปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม เนื้อแดดเดียว ฯลฯ เพราะมีไขมันไม่อิ่มตัวสูง มีส่วนไปกระตุ้นแผลสะเก็ดเงินให้กำเริบได้
- อาหารรสจัด : เพราะเมื่อรับประทานอาหารรสจัดมากเกิน ไม่ว่าจะเค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด จะไปกระตุ้นอาการผื่นสะเก็ดเงิน
วิธีการรักษาโรคสะเก็ดเงิน
ต้องบอกว่าในปัจจุบันนั้นการรักษาโรคสะเก็ดเงินยังไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็ยังสามารถที่จะรักษาเพื่อบรรเทาอาการที่ผิวหนังให้ดีขึ้นได้ แพทย์จะรักษาอาหารตามความรุนแรงของโรคและบริเวณที่สะเก็ดเงินขึ้นบนร่างกาย ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การควบคุมอาการ ป้องกันการเกิดขึ้นใหม่และช่วยทำให้ผิวหนังกลับคืนสู่สภาพปกติ ด้วยวิธีการ ดังนี้
กรณีอาการสะเก็ดเงินมีความรุนแรงน้อย
- การรักษาด้วยยาทา : เป็นยาทาที่มีส่วนประกอบของสารสเตียรอยด์ วิตามิน D หรือยาช่วยลดการอักเสบ สำหรับการรักษาในระยะแรกสำหรับผู้ป่วยสะเก็ดเงินที่มีอาการไม่รุนแรง
- น้ำมันดิน : ช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนังที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคสะเก็ดเงิน ให้ผลการรักษาแบบเดียวกับยาทาที่มีสารสเตียรอยด์ แต้ไม่เป็นที่นิยมมากนักเนื่องจากมีกลิ่นแรงและอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในบริเวณผิวหนังบอบบาง
กรณีอาการสะเก็ดรุนแรงมาก
- หากอาการของโรคมีความรุนแรง มีผื่นขึ้นมาบนร่างกายมากกว่า 10% ของร่างกาย แพทย์จะมีการรักษาโดยการใช้ยาควบคู่ไปกับการฉายแสง เพื่อบรรเทาอาการผื่นแดงตามผิวหนัง การฉายแสงจะเป็นวิธีการรักษาที่ทำให้ผิวหนังสังเคราะห์วิตามิน D ซึ่งสามารถช่วยลดอาการสะเก็ดเงิน รวมไปถึงการให้ผู้ป่วยกินยารักษาโรคสะเก็ดเงินภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
วางแผนซื้อประกันสุขภาพ ก่อนเป็นผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินดีที่สุด!
แม้ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงินได้ แต่ทุกคนก็ยังคงมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคสะเก็ดเงินหรือโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน นั่นเพราะเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ส่งผลให้มนุษย์เราเกิดอาการเจ็บป่วยได้มากขึ้นและรุนแรงขึ้น เมื่อมีอาการเจ็บป่วยขึ้นมาแน่นอนว่าค่ารักษาก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับใครหลาย ๆ คนเช่นกัน การมีโรคมักมาพร้อมค่าใช้จ่ายเสมอ และถ้าหากว่าไม่มีการวางแผนทำประกันสุขภาพเอาไว้ด้วยแล้วละก็ หากโชคร้ายเจ็บป่วยด้วยโรคที่รุนแรงกว่าสะเก็ดเงินขึ้นมา คุณอาจจะต้องควักเงินก้อนเงินเก็บที่คุณเก็บออมมาตลอดนำมาใช้เพื่อเป็นค่ารักษา
แน่นอนว่าหลายโรคก็มีค่ารักษาที่เป็นหลักแสน หลักล้านเลยทีเดียว มากกว่าค่าเบี้ยประกันสุขภาพในแต่ละปีซะอีก หากคุณเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงด้านสุขภาพให้ดีด้วยการทำประกันสุขภาพที่เพียงพอ จากแรบบิท แคร์ไว้เรียบร้อยแล้ว คุณก็จะสามารถประหยัดเงินในการนำไปเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลไปได้มาก มีเงินเก็บสำหรับดำเนินชีวิตในด้านอื่น ๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลอีกต่อไป
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น