แคร์สุขภาพ

รู้จักกับอาการแพ้อาหาร อาการที่ไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก!

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published May 13, 2022

เพราะอาการแพ้อาหารไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ วันนี้ แรบบิท แคร์ อยากจะพาทุกคนที่เราแคร์ ไปทำความรู้จักกันให้มากขึ้นกับเรื่องราวแพ้อาหาร ทำไมคนเราถึงมีอาการแพ้อาหาร  ถ้าอยากทดสอบการแพ้อาหาร หรือตรวจว่าแพ้อาหารอะไรบ้าง ราคาจะเท่าไหร่กัน? ไปหาคำตอบกันดีกว่า!

แพ้อาหารคืออะไร ทำไมบางคนถึงเป็น? 

การแพ้อาหาร หรือ ภาวะแพ้อาหาร คือ  อาการไม่พึงประสงค์ที่แสดงออกทางร่างกาย เกิดจากกลไกของระบบภูมิต้านทานคุ้มกันจำเพาะต่ออาหารชนิดนั้น ๆ โดยอาหารชนิดนั้น จะไปกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเคมี อย่างสารฮีสตามีนทำให้เกิดอาการแพ้แสดงออกมาในส่วนต่าง ๆ ตามร่างกาย ทั้งหมด 4 ระบบ ดังนี้

  • อาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นคัน, ผื่นลมพิษหรือผิวแดงทั้งตัว, ปากบวม, ตาบวม, หน้าบวม
  • อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก, น้ำมูกไหล, เสียงแหบ, ไอมาก, แน่นหน้าอก, หายใจเสียงวี้ด หรือหายใจไม่ออก
  • อาการทางระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ เช่น ใจสั่น, หน้ามืด. วิงเวียนศีรษะ, เจ็บแน่นหน้าอก,  ความดันโลหิตตก อาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดมวนท้อง, ถ่ายเหลว

โดยผู้แพ้อาหาร สามารถเป็นได้มากกว่า 1 ระบบ จากทั้ง 4 ระบบ เช่น คุณแคร์ มีอาการแพ้กุ้ง โดยมีอาการผื่นคัน ปากบวม (อาการแพ้ทางผิวหนัง) และมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน (อาการแพ้ในระบบทางเดินอาหาร) ร่วมด้วย

ในบางรายอาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) ซึ่งมีอาการที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ปัจจุบันการแพ้อาหาร พบได้บ่อยถึงประมาณ 1-10% ของประชากร อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยพบภาวะแพ้อาหารในผู้ป่วยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และสามารถพบร่วมกับโรคภูมิแพ้อื่น ๆ ได้บ่อยด้วย เช่น โรคผื่นแพ้ผิวหนัง, หอบหืด และภูมิแพ้จมูกอักเสบ

สำหรับการแพ้อาหารอาจเกิดจากพันธุกรรมแต่กำเนิด หรือเพิ่งเกิดขึ้นตอนโตก็เป็นได้ สำหรับผู้ปกครองท่านใด หรือใคร ที่อยากทราบว่าเราแพ้อาหารอะไรบ้าง เราสามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการทดสอบการแพ้อาหารได้ เพื่อให้มั่นใจก่อนเลือกรับประทานอาหาร

อาการแพ้อาหารมีกี่ระดับ รุนแรงอย่างไรบ้างนะ?

อาการแพ้อาหารมีหลายรูปแบบ บางคนอาจจะเป็นเพียงเล็กน้อย เช่น มีผื่นคัน น้ำมูกไหล เสียงแหบ หรือท้องเสีย ไปจนถึงระดับอาการแพ้รุนแรง อย่าง ใจสั่น หน้ามืด เจ็บแน่นหน้าอก ความดันโลหิตตก อาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้ ซึ่งปฏิกิริยาอาการแพ้อาหารเหล่านี้ เบื้องต้นทางการแพทย์ แบ่งออกเป็น

  • ชนิดไม่เฉียบพลัน

เป็นกลุ่มที่มีอาการแพ้แบบล่าช้า อาการจะค่อย ๆ ปรากฏขึ้นหลายชั่วโมงหรือเป็นวันหลังจากรับประทานอาหารเข้าไปแล้ว เช่น ผื่นเรื้อรัง  โดยจะมีผื่นแดง คัน แห้ง สำหรับในเด็กมักพบบริเวณแก้มหรือข้อพับ หากเป็นอาการที่ระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือด อาเจียน และถ่ายเหลวรุนแรง

  • ชนิดเฉียบพลัน

ส่วนมากผู้แพ้อาหารชนิดเฉียบพลัน อาการจะเกิดขึ้นภายใน 30 นาที – 1 ชั่วโมง หลังจากรับประทานอาหาร โดยอาการที่พบได้บ่อย มักจะเป็นอาการตาบวม ปากบวม ผื่นลมพิษ หลอดลมตีบ ไอ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ปวดท้อง อาเจียน และมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้รุนแรงได้

  • ชนิดรุนแรง

เป็นอาการแพ้ในระดับรุนแรงที่สุดและเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยอาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ ผื่นแดงตามผิวหนัง ลมพิษ คัน ผิวหนังแดงหรือซีด วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือท้องเสีย โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปฎิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง มักจะได้รับยาไว้ติดตัวเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ในภาวะฉุกเฉิน จากนั้นรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

และแน่นอนว่า หากใครเกิดอาการแพ้อาหารก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะอาการเจ็บป่วยจากอาการแพ้อาหารเหล่านี้เอง สามารถเบิกเคลมได้ผ่านประกันสุขภาพ เนื่องจากถูกนับเป็นอาการเจ็บป่วยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นอาการของคุณจะอยู่ในระดับที่รุนแรง หรือไม่ก็ตาม

ทานมาตั้งแต่เด็ก ทำไมจู่ ๆ มาแพ้ทีหลังได้?

เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่หลายคนสงสัย และไม่คาดคิดมาก่อน เพราะในวัยเด็กสามารถทานอาหารชนิดนั้น ๆ ได้ตามปกติ แต่ภายหลังกลับมีอาการแพ้เมื่อโตขึ้น พบได้บ่อยมากในกลุ่มผู้ใหญ่หลาย ๆ คน

โดยหลักการของการแพ้เฉียบพลัน หากให้อธิบายแบบง่าย ๆ คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับโปรตีนในอาหารบางชนิด ควบคู่กับได้รับปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ ทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายสร้างสารภูมิคุ้มกันแบบเฉียบพลัน และเมื่อร่างกายได้สร้างสารภูมิคุ้มกันนี้หลังจากผลิตมาแล้ว มีแนวโน้มว่าจะมีตลอดไป จนเกิดเป็นภาวะอาการแพ้อาหารในผู้ใหญ่นั่นเอง

เช่น คุณกระต่ายเคยกินปลาหมึกมาได้ตลอด แต่ระยะหลัง คุณกระต่ายมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากเดิมไป ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือการทานยาบางอย่าง และบางครั้งก็มักรับประทานอาหารร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้วันหนึ่ง ร่างกายเกิดการกระตุ้น จนเกิดเป็นอาการแพ้ปลาหมึกในที่สุด นั่นเอง

รู้แบบนี้แล้ว มาตรวจภูมิแพ้อาหารกันเถอะ

อาการแพ้อาหาร สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงชีวิตของคนเรา เพราะร่างกาของเรานั่นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้น การตรวจภูมิแพ้อาหารจึงน่าสนใจมาก และในทุกวันนี้ก็มีหลากหลายโรงพยาบาล พร้อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมจะให้บริการคุณ โดยมีการตรวจภูมิแพ้อาหาร ดังนี้

  • การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Prick Tests) 

ผู้ป่วยต้องไม่มีอาการเจ็บป่วยอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ก่อนวันที่ทำการทดสอบ และงดรับประทานยาแก้แพ้ 1 สัปดาห์ ก่อนวันที่ทำการทดสอบ เมื่อทดสอบแล้วสามารถทราบผลได้ภายใน 15 – 20 นาที (ในกรณีที่มีอาการแพ้รุนแรงจะสามารถทดสอบได้หลังจากมีอาการ 1 เดือน)

  • การตรวจเลือด (Blood Test For Specific IgE)  

ไม่ต้องงดยาแก้แพ้ก่อนการทดสอบ เมื่อทดสอบแล้วสามารถทราบผลได้ภายใน  3 – 5 วันทำการ โดยมีทั้งผลเป็นบวกและลบ

ผลเป็นบวก แพทย์อาจให้งดอาหารชนิดนั้น และอาจให้ทำทดสอบด้วยการรับประทานอาหาร (Oral Food Challenge) ตามความเหมาะสม (ในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้อยู่ก่อนแล้วและต้องการรู้ว่าหายแพ้แล้วหรือไม่) และขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา

ผลเป็นลบ อาจพิจารณาทำการทดสอบด้วยการรับประทานอาหาร (Oral Food Challenge) เพิ่มเติม ว่าแพ้จริงหรือไม่ก็ได้

โดยการตรวจสอบด้วยการทานนั่น ผู้ที่ต้องการทดสอบการแพ้อาหารไม่ควรทำเอง  จำเป็นจะต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอบควบคุมเท่านั้น เพราะมีเครื่องมือที่คอยช่วยเหลือ ดูแล หากเกิดกรณีการแพ้ฉับพลันได้นั่นเอง 

การตรวจว่าแพ้อาหารอะไรบ้าง ราคาเริ่มต้นนั่นไม่แพ้ ในหลายโรงพยาบาลมีแพคเกจตรวจค้นหา ทดสอบการแพ้อาหาร เริ่มต้นที่หลักพันต้น ๆ และหากต้องการตรวจหมวดหมู่อาหารที่อาจจะแพ้มากขึ้น ก็อาจจะมีรายจ่ายมากถึง 3,000 บาท สามารถเริ่มต้นตรวจได้ตั้งแต่วัยเด็ก โดยโรงพยาบาลหลายแห่งก็ให้คุณสามารถรูดจ่ายได้ผ่านบัตรเครดิตได้อีกด้วย! 

ถึงแม้ผู้ป่วยแพ้อาหาร อาจแสดงอาการที่ฉับพลันอาจมีอาการที่รุนแรง หรือเรื้อรังยาวนาน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสหายเลย โดยโอกาสหายจากโรคแพ้อาหารนั้น จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่แพ้ด้วย เช่น ผู้ป่วยที่แพ้นมวัว มีโอกาสหายได้ถึง 70-90%

ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ การที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องว่ามีภาวะแพ้ต่ออาหารชนิดใดบ้าง เพื่อการหลีกเลี่ยงอาหารได้อย่างเหมาะสม และควรได้รับการประเมินภูมิคุ้มกันต่ออาหารเป็นระยะ ๆ และทดสอบการแพ้อาหารภายใต้การดูแลของแพทย์ จนกว่าผู้ป่วยจะหายแพ้ หรือมีอาการที่ดีขึ้น

แพ้อาหารไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่ก็เป็นเรื่องที่ป้องกัน รักษาให้หายได้ และแน่นอนว่าใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพที่พร้อมเคียงข้าง ดูแลคุณ ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้อาหาร หรือเจ็บป่วยอื่น ๆ ต้องนี่เลย แรบบิท แคร์! 

ที่นี้นอกจากจะมีประกันสุขภาพด้วยเบี้ยที่จับต้องได้แล้ว ยังมีให้เลือกมากมาย หลากหลาย พร้อมบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพ ให้คุณได้ประกันสุขภาพที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ที่สุด คลิกเลย!


บทความแคร์สุขภาพ

แคร์สุขภาพ

โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
Nok Srihong
25/04/2024

แคร์สุขภาพ

แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
Nok Srihong
22/04/2024