Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 10, 2024

สารพันวิธีป้องกัน Gaslighting หยุดด้อยค่าเมื่อถูกคนอื่นปั่นหัว

ในปัจจุบันหลายคนชอบทำตัวเองให้มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น ๆ เพื่อปั่นหัวหรือหลอกใช้ ทำให้เหยื่อหรือคนที่ถูกปั่นหัวเกิดคำถามเชิงลบ หรือ Negative ขึ้นมา โดยหลักการของ Gaslighting ผู้ที่ปั่นหัวจะทำให้อีกฝ่ายเกิดคำถามขึ้นว่าตัวเองเป็นคนผิดหรือไม่ หากใครที่กำลังโดนแบบนี้อยู่ อยากให้มีสติ และอย่างหลงกลไปกับคำพูด เพราะถ้าโดนบ่อย ๆ อาจทำให้คุณเป็นซึมเศร้าได้ ซึ่งวันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนมารู้จักกับทษฎี Gaslighting ว่ามันคืออะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร มีกี่รูปแบบ พร้อมแนวทางการรับมือ ไปดูกันเลย!!

Gaslighting คืออะไร มีลักษณะ และที่มาเป็นอย่างไร?

Gaslighting คือ กลวิธีที่บางคนเลือกใช้เพื่อปั่นหัวคนอื่น เพื่อให้ดูเป็นผู้มีอำนาจและสามารถหลอกใช้เหยื่อได้อย่างเต็มที่ ผู้ที่โดนมักจะเกิดความรู้สึกผิด น้อยเนื้อต่ำใจ ซึ่งผู้ที่ปั่นหัวคนอื่น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Gaslighter”

ลักษณะของ Gaslighting ส่วนมากผู้ที่พูดหรือใช้วิธีนี้มักจะมีจุดประสงค์หลักคือต้องการให้ตัวเองดูเป็นใหญ่ มีอำนาจที่จะข่มเหงคนอื่นได้ โดยจะใช้คำพูดในการสั่งงานหรือควบคุมเหยื่อให้เหยื่อเห็นด้วยและมีความคล้อยตาม

ซึ่งหลายคนรู้ไหมว่าคำว่า Gaslighting มีที่มาจากบทละครในปี 1938 ซึ่งในละครเรื่องนั้นนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสามี ภรรยาคู่หนึ่ง โดยสามีพยายามทำให้ฝ่ายหญิงเชื่อว่าตัวเขากำลังจะเสียสติ

จริงๆแล้ว วิธี Gaslighting สามารถเกิดขึ้นได้ในทุก ๆ ความสัมพันธ์ อ้างอิงจาก Domina Petric, MD เช่น เพื่อน คู่รัก ครอบครัว พี่น้อง หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ทั้งเพื่อนร่วมงานและเจ้านาย เป็นต้น

รูปแบบของการ Gaslighting

รูปแบบหรือประเภทของ Gaslighting สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ประกอบไปด้วย ทำให้เป็นเรื่องไม่สำคัญ ทำให้เป็นฝ่ายผิด ไม่ยอมรับความจริง และ บิดเบือนความจริง โดยแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

1. ทำให้เป็นเรื่องไม่สำคัญ (Trivializing)

ในทุก ๆ คนหรือทุกความสัมพันธ์ การทะเลาะกันหรือมีปัญหากัน ล้วนเป็นเรื่องธรรมดาที่แต่ละคนต้องพูดคุยและปรับความเข้าใจกัน แต่หลายคนอาจมองว่าการพูดความในใจหรืออธิบายความรู้สึกให้อีกฝ่ายรับรู้เป็นเรื่องที่ยาก ซึ่งการ Gaslighting ส่วนมากมักจะมีฝ่ายที่เปิดบทสนทนาก่อนด้วยคำพูดที่ว่า “อย่าทำให้เป็นเรื่องใหญ่ได้ไหม” เมื่ออีกฝ่ายได้ยินจะรู้สึกผิดและรู้สึกไร้ค่าขึ้นมาทันที ผู้ที่โดนคำพูดนี้ จะเกิดความกังวล เสียใจ โกรธ และเกิดความรู้สึกผิดว่าเขาเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ แม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องใหญ่หรือเรื่องเล็กก็ตาม

2. ทำให้เป็นฝ่ายผิด (Blame-shifting)

การพูดปั่นหัวให้อีกฝ่ายคิดว่าตัวเองเป็นคนผิด เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของ Gaslighting โดยผู้พูดมักจะมีจุดประสงค์เพื่อโทษหรือโยนความผิดให้อีกฝ่าย เหยื่อมักจะโดยคำพูดที่ว่า “เป็นเพราะเธอ เขาถึงทำเช่นนั้น” หรือ “ที่เรื่องทั้งหมดมันเป็นแบบนี้ ก็เพราะเธอ” ซึ่งจริง ๆ แล้วผู้พูดเพียงแค่ไม่อยากรับผิดชอบในการกระทำของเขาเอง เลยเลือกที่จะโยนความผิดให้ผู้อื่น

3. ไม่ยอมรับความจริง (Denying)

การพูดเชิงไม่ยอมรับความจริงก็เป็นอีกหนึ่งประเภทของ Gaslighting ผู้ใช้วิธีนี้ส่วนมากจะหลายคนอาจจะปฏิเสธเพราะยอมรับความจริงไม่ได้ พบมากในคู่รัก เช่น “ฝ่ายหญิงเป็นคนทำอาหาร ทำงานบ้านเลี้ยงดูสามี และสามีมีหน้าที่ออกไปทำงานข้างนอกเพื่อหาเงินเข้าบ้าน ต่อมาภรรยารู้สึกว่าสามีไม่ช่วยทำงานบ้านเลย จนขอร้องให้สามีช่วยบ้าง” ในกรณีนี้ สามีใช้วิธี Gaslighting โดยบอกภรรยาไปว่า ฉันทำงานหนักกว่าเธอเยอะ ต้องออกไปทำข้างนอก หาเงินมาเลี้ยงครอบครัว เธอแค่ทำงานบ้าน แค่นี้ทำไม่ได้หรอ โดยคำพูดของสามี เป็นการไม่ยอมรับความจริง และใช้ถ้อยคำที่ทำให้ภรรยารู้สึกด้อยค่าอีกด้วย

4. บิดเบือนความจริง (Twisting)

วิธีนี้ผู้กระทำ มักจะพูดบิดเบือนความจริง จนอีกฝ่ายหรือเหยื่อรู้สึกสับสนในความเป็นจริง เช่น บิลลี่ และ กิ๊ฟ เป็นคู่สามีภรรยาที่เกิดการทะเลาะกันขึ้น เช้าวันต่อมาบิลลี่อ้างว่า ที่เมื่อคืนทะเลาะกันเพราะกิ๊ฟพูดไม่ดี ขึ้นเสียงก่อน ซึ่งในความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น บิลลี่ใช้วิธี Gaslighting เพราะรับไม่ได้ในสิ่งที่ตนเองกระทำและต้องการบิดเบือนความจริง โยนความผิดให้อีกฝ่าย

การ Gaslighting จากคนรอบข้าง

การพูดแบบปั่นหัวผู้อื่น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกความสัมพันธ์ ดังนั้น แรบบิท แคร์ จะยกตัวอย่างคำพูด พร้อมบอกความสัมพันธ์ที่อาจพบคำพูดเหล่านั้นได้ พร้อมทำบอกประเภทของ Gaslighting ที่มีการกล่าวไว้เบื้องต้น

 

ตัวอย่างคำพูด Gaslighting

ความสัมพันธ์ที่อาจพบได้

รูปแบบของ Gaslighting

คุณอ่อนไหวไปหรือเปล่าคู่รักทำให้เป็นเรื่องไม่สำคัญ
อย่าเว่อร์ได้ไหมคู่รัก / เพื่อน / ครอบครัวทำให้เป็นเรื่องไม่สำคัญ
พูดเกินความจริงไปหน่อยนะคู่รักทำให้เป็นเรื่องไม่สำคัญ
ฉันไม่ได้เป็นคนผิด เธอต่างหากคู่รัก / เพื่อนร่วมงานทำให้เป็นฝ่ายผิด
คุณต่างหากที่เป็นคนชวนทะเลาะ ไม่ใช่ผมคู่รักทำให้เป็นฝ่ายผิด
แค่นี้ทำไม่ได้หรอ ฉันทำเยอะกว่าเธออีกคู่รัก / เพื่อนร่วมงานไม่ยอมรับความจริง 
ฉันไม่ได้ทำ เธอนั่นแหละทำคู่รัก / เพื่อน / เจ้านาย / เพื่อร่วมงานบิดเบือนความจริง
เธอเริ่มก่อน ฉันก็อยู่เฉย ๆคู่รักบิดเบือนความจริง

3 สัญญาณเตือนเมื่อ Gaslighting กำลังมีอิทธิพลต่อคุณ

หากคุณตกเป็นเหยื่ออยู่บ่อยครั้ง ในการโดน Gaslighting ไม่น่าแปลกใจหากคุณเปลี่ยนไปหรือกลายเป็นคนวิตกกังวล และนี่คือ 4 สัญญาณเตือนที่คุณควรรู้ตัวและหาวิธีการรับมือ เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นโรคซึมเศร้าในอนาคต

1. สูญเสียความมั่นใจในตัวเอง

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า lack of self-confident เป็นสิ่งที่พบได้ค่อนข้างบ่อยจากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ หากคุณรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง ผิดหวังในตัวเอง ไม่กล้าออกนอกบ้านหรือออกไปใช้ชีวิตข้างนอก ไม่กล้าพูดหรือแสดงความคิดเห็น นั่นแปลว่าคุณกำลังโดน Gaslighting ครอบงำ

2. เอ่ยคำขอโทษทุกครั้ง แม้ไม่เป็นฝ่ายผิด

อีกหนึ่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับการโดน Gaslighting ครอบงำ คือคุณจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายผิดตลอด และจะเอ่ยปากขอโทษก่อนทุกครั้ง แม้บางเรื่องคุณไม่ผิดหรือยังไม่ได้ทำอะไรก็ตาม ดังนั้นวิธีการรับมือ คือการมีสติและจับโฟกัสให้ได้ ว่าเรื่องนี้เราไม่ได้เป็นคนทำผิด

3. วิตกกังวลตลอดเวลา

การที่คุณรู้สึกวิตกกังวลตลอดเวลาว่าการกระทำของเราจะทำให้ใครเดือดร้อน รู้สึกไม่พอใจ หรือทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่พอใจ เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนที่คุณควรหาวิธีรับมือ เช่น ปรึกษาเพื่อนหรือคนที่ไว้ใจ ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบและไม่เดือดร้อนใคร และค่อย ๆ เปลี่ยนทัศนคติของตนเองให้เป็นในเชิงบวกมากขึ้น

แนวทางการรับมือจาก Gaslighting

เป็นเรื่องธรรมดามากเมื่อเราถูกปั่นหัว แล้วจะเกิดอารมณ์หลายความรู้สึก เช่น โกรธ แค้น เสียใจ เศร้า ไม่สบายใจ เป็นต้น ซึ่งหากเจอบ่อย ๆ ก็ถือเป็นเรื่อง Toxic อาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ ดังนั้น ควรมีสติแยกแยะคำพูดต่าง ๆ ที่เข้ามาอย่าปล่อยให้มันมามีอิทธิพลกับจิตใจของเรา แรบบิท แคร์ มีวิธีการรับมือมาฝาก

  • พยายามใจเย็นและมีสติ โฟกัสอยู่กับเรื่องที่เป็นความจริงเท่านั้น ไม่หลงเชื่อหรือหวั่นไหวไปกับคำพูดของอีกฝ่าย
  • พยายามตอบโต้ด้วยประโยคเชิงปฏิเสธ เช่น ฉันไม่ได้ทำ ฉันไม่เห็นด้วย มันไม่เป็นความจริง หรือ ฉันจะไม่มีวันรับผิดชอบในสิ่งที่ฉันไม่ได้ทำ เป็นต้น พยายามบอกอีกฝ่ายให้ชัดเจนไปเลยว่าสิ่งที่เขาปั่นหัวเราไม่ใช่เรื่องจริง
  • เป็นเรื่องธรรมดาที่คนที่โดน Gaslighting จะรู้สึกบั่นทอนจิตใจ ดังนั้น แนะนำให้คุณลองไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือ จิตแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

เหล่านี้คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับ Gaslighting หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้กับผู้ที่โดนได้ แม้การถูกทำร้ายทางจิตใจจะไม่สามารถเบิกประกันสุขภาพได้ แต่แรบบิท แคร์ อยากจะเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนที่เผชิญกับสถานการณ์นี้อยู่ เราจะอยู่เคียงข้างคุณและดูแลคุณในทุกช่วงของชีวิต พร้อมเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพให้คุณเสมอ อย่าลังเลที่จะซื้อประกันสุขภาพกับ แรบบิท แคร์ เผื่อเจ็บป่วย ไม่สบายกับโรคอื่น ๆ ก็หมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล หากสนใจโทรเลย 1438

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

เติมเงินยามป่วย ประกันสุขภาพเหมาจ่ายเติมเงินยามป่วย

เหมาจ่าย

  • เบี้ยประกันเริ่มต้น เพียง 4 บาท/วัน
  • ชดเชยรายได้ 1,500 บาท/วัน นาน 365 วัน
  • ชดเชยค่าห้อง ICU สูงสุด 3,000 บาท/วัน
  • เบี้ยสั้น 5 ปี อายุรับประกัน 16 - 60 ปี
  • ผ่าตัดใหญ่ รับเงินก้อน 30,000 บาท/ครั้ง
  • เสียชีวิตรับเงินก้อน สูงสุด 300,000 บาท
  • รับเงินปลอบขวัญ 1,500 บาท หลังออก รพ.
วิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอสวิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • เบี้ยฯเริ่มต้น 46 บาท/วัน ไม่ต้องสำรองจ่าย
  • แคร์ค่ารักษา คุ้มครองสูงสุด 5 ล้าน/ครั้ง
  • ค่าห้องผู้ป่วย คุ้มครองสูงสุด 15,000 บาท/วัน
  • สมัครได้ทุกวัย ตั้งแต่ 15 วัน - 65 ปี
  • คุ้มครองเคมีบำบัดมะเร็ง สูงสุด 100,000 บาท/ปี
  • แคร์ผู้ป่วยนอก สูงสุด 2,500 บาท/วัน
  • ไม่ต้องจ่ายก่อน รักษา รพ.ในเครือ BDMS
Health Lump SumHealth Lump Sum

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • ชดเชยรายได้ สูงสุด 500 บาท/วัน แคร์ครบ
  • เหมาจ่ายค่ารักษา สูงสุด 5 แสนบาท/ปี
  • จ่ายค่ารักษาตามจริง สูงสุด 75,000 บาท
  • สมัครได้ 16-60 ปี แคร์ครอบคลุม รพ. 322 แห่ง
  • ค่าห้องจ่ายตามจริง สูงสุด 365 วัน
  • คุ้มครองอุบัติเหตุ สูงสุด 150,000 บาท/ผู้ป่วยใน
  • ค่าบริการแพทย์ฉุกเฉิน 5,000 บาท/ครั้ง
ประกันเพิ่มเติมGEN Health D-Koom

ประกันเพิ่มเติม

  • เบี้ยประกันภัยเริ่มต้น 18 บาท/วัน
  • ไร้กังวล ค่ารักษาเหมาจ่าย 1 ล้าน
  • ค่าห้องสูงสุด 8,000 บาท ครอบคลุม รพ. BDMS
  • อายุ 6-65 ปี สมัครได้ คุ้มครองถึง 70 ปี
  • คุ้มครอง 100 อาการ รวมโรคร้ายและโควิด-19
  • ยื่นบัตรเดียวจบ ไม่ต้องสำรองจ่าย
  • สิทธิลดหย่อนภาษี รับสูงสุด 25,000 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา