อะไรก็เกิดขึ้นได้! ย้อนรอยคดี อุบัติเหตุมือถือ
ปฏิเสธกันไม่ได้เลยว่า ทุกวันนี้ โทรศัพท์มือถือ หรือหากให้เจาะจงหน่อยอย่าง สมาร์ตโฟน ดูจะเป็นของติดมือสำหรับคนยุคสมัยนี้ไปเสียแล้ว ยิ่งทุกวันนี้มีมือถือหลากหลายรุ่นที่ราคาถูก ย่อมเยา ต่อให้ไม่ใช่สมาร์ตโฟนเครื่องแพงๆ ก็สามารถมีในครอบครองได้
และแน่นอน อุบัติเหตุในปัจจุบันที่เกี่ยวพันกับตัวมือถือเองก็มากขึ้นตามไปด้วย! วันนี้เราก็รวบรวมอุบัติเหตุเกี่ยวกับมือถือ มาฝากให้ทุกคนได้ระวังกันมากขึ้น ตาม Rabbit Care มาเลย
อะไรก็เกิดขึ้นได้! ย้อนรอยคดี อุบัติเหตุมือถือ
ชาร์จมือถือในรถ ก็ระเบิดได้เหรอ?
บอกเลยว่านี่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในไทยเรานี่แหละ! โดยเรื่องนี้เกิดขึ้นเป็นกรอบข่าวเล็กๆ เมื่อทางตำรวจได้รับแจ้งว่า รถติดแก๊สเกิดอุบัติเหตุแก๊สระเบิดหลังจากพยายามเสียบชาร์จโทรศัพท์มือถือภายในรถ ทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ แต่โชคดีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำป้อมแถวนั้น ใช้สารเคมีเข้าช่วยดับไฟได้ทัน และเจ้าของรถได้รับบาดเจ็บแค่มือและลำตัวเท่านั้น
ผู้เสียหายเล่าว่า ได้หยิบที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือเพื่อจะชาร์จโทรศัพท์ในรถ ขณะกำลังเสียบชาร์จได้เกิดประกายไฟและเสียงระเบิดดังขึ้น จนตัวไปติดด้านข้างประตูขวา ก่อนไฟจะลุกไหม้บริเวณคอนโซล
เบื้องต้นทางตำรวจคาดว่า ช่องเสียบชาร์จแบตเตอรี่อาจจะชำรุด จนไฟลัดวงจร ขณะเดียวกันยังมีแก๊สรั่วอยู่ในตัวรถ เมื่อนำสายชาร์จมาเสียบ และเกิดประกายไฟ จึงระเบิดขึ้น เรียกได้ว่าเป็นอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงสุดๆ เลย ใครจะคิดล่ะ ว่าแค่ชาร์จแบตในรถก็เกิดเรื่องได้?
ชาร์จที่บ้าน ใช่ว่าจะปลอดภัย
เราอาจจะเคยได้ยินคำเตือนมาตามทางช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ มาบ้าง โดยเฉพาะเรื่องที่เตือนห้ามเล่นโทรศัพท์มือถือระหว่างชาร์จ เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับผู้ใช้สมาร์ทโฟนหลายคนทั่วโลก อย่างข่าวในไทยที่น่ากลัวหน่อยคือ ระเบิดกระดูกมือแตก แถมนิ้วก้อยขาด!
โดยสาเหตุหลักๆ คาดการณ์ว่ามาจากสายชาร์จปลอมที่ไม่ได้มาตรฐาน หรืออาจมาจากการชาร์จแบตปลอม หรือแบตไม่ได้คุณภาพ หรืออาจจะมาจากชาร์จเจอร์ชำรุด จนปล่อยไฟเกินที่ควรจะเป็น
พูดให้เข้าใจง่ายหน่อย คือ ไฟฟ้าลัดวงจรออกทางสายชาร์จ จนเกิดปฏิกิริยาทำให้มือถือเกิดระเบิดขึ้น โดยไม่จำเป็นว่าเราต้องเล่นมือถือระหว่างการชาร์จหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ เราป้องกันได้ ด้วยการเช็กเรื่องคุณภาพแบต การเลือกซื้อสายชาร์จที่เป็นของแท้ ได้คุณภาพ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มากเลยล่ะ
คดีสะเทือนขวัญ กับโจรชิงมือถือ
เรียกได้ว่าเป็นคดีสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เมื่อมีโจรชิงมือถือจากผู้เคราะห์ร้าย ซึ่งผู้เคราะห์ร้ายก็ได้ต่อสู้ขัดขืน จนเป็นเหตุให้คนร้ายใช้มีดกระหน่ำแทงจนถึงแก่ชีวิต
เมื่อเปิดแฟ้มประวัติผู้ก่อคดี ก็พบว่ามีประวัติอาชญากรรมยาวเหยียด นำพาไปสู่การขึ้นโรงขึ้นศาล จนมีการตัดสินนำโทษประหารกลับมาใช้ในรอบ 9 ปี
แน่นอนว่าทุกวันนี้ คดีชิงมือถือยังมีปรากฏให้เห็นอยู่เนื่องๆ โชคดีหน่อยทางผู้เคราะห์ร้ายอาจจะถูกขู่ ไม่โดนทำร้าย แต่บางรายอาจจะเกิดการต่อสู้ มีการใช้กำลัง มีการทำร้ายร่างกาย และบางรายอาจถึงแก่ชีวิต
ด้วยเหตุการณ์ชิงทรัพย์ ชิงโทรศัพท์มือถือที่เกิดมากขึ้น ทำให้เราต้องเดินบนท้องถนน หรืออยู่ในที่สาธารณะ (ทั้งเปลี่ยว และไม่เปลี่ยว) การหยิบมือถือออกมาก็อาจจะกลายเป็นเป้าของเหล่าโจรได้ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีป้ายการเตือนให้ระวังการฉกชิงวิ่งราวมือถือเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นต้องระวังกันให้มากๆ ล่ะ
เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลยอดฮิต มือถือพัง
จริงอยู่ที่ทุกวันนี้ มีบางสมาร์ตโฟนที่ล้ำหน้า สามารถกันน้ำได้ แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถกันน้ำได้แบบเต็มร้อยหรือต่อให้เราใส่ซองกันน้ำระหว่างร่วมเทศกาลสงกรานต์อยู่ ก็สุ่มเสี่ยงน้ำเข้ามือถือ และเกิดปัญหากับมือถือขึ้นได้อยู่ดี
แถมซองใสๆ ที่ทำไว้ให้เราสามารถทัชสกรีนได้โดยไม่ต้องเปิดซอง ยิ่งล่อตาล่อใจโจรให้มาลักขโมยมือถือเรามากยิ่งขึ้น นี่ยังไม่รวมถึงอุบัติเหตุ มือถือตกกระแทกพื้น หน้าจอแตกพัง หรือกระทั่งสูญหาย ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้
อย่างปีที่ผ่านๆ มา นอกเหนือจากยอดอุบัติเหตุบนท้องถนน หรือผู้ทะเลาะวิวาทกันในเทศกาลสงกรานต์แล้ว ยอดของหายสุดฮิตแบบมือถือก็ติดอันดับแทบจะทุกปี
ดังนั้น จึงไม่แปลกใจเลยว่าช่วงเทศกาล หรือช่วงวันหยุดยาวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ถึงมีอัตรามือถือหาย มือถือพัง เกิดขึ้นได้ง่ายดายมากๆ แถมจับมือคนผิดดมก็ยากอีกต่างหาก
แน่นอนว่านี่เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้น เพราะระยะหลังอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับมือถือเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ และจะดีกว่าไหม หากเรามีประกันมือถือไว้ในครอบครองบ้าง อย่างน้อยๆ คุณจะได้อุ่นใจ และไม่ใช่เพียงแค่เรื่องเคลมเท่านั้น แต่ยังได้เงินชดเชยต่างๆ (ตามที่ตกลงในกรมธรรม์) อีกด้วย!
ประกันสำหรับมือถืออาจจะดูใหม่สำหรับใครหลายคน ถ้าไม่แน่ใจว่าเขาขายประกันกันที่ไหน หรือเปรียบเทียบได้ที่ไหนบ้าง ก็ลองแวะเวียนมาที่ Rabbit Care สิ!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct