ไฟดับ ต้องแจ้งใคร ? มีอะไรบ้างที่ต้องระวัง ?
ไฟดับ ปัญหาน่าหงุดหงิดใจที่สามารถเกิดขึ้นบ่อย ๆ ได้ และแม้จะดูเหมือนไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร ก็ส่งผลให้การดำเนินชีวิตประจำวันในขณะที่ไฟดับนั้นลำบากขึ้นไม่น้อย แล้วทุกคนรู้ไหมว่าสาเหตุของการเกิดไฟดับนั้นมาจากอะไร ต้องแจ้งใคร โทรติดต่อเบอร์ไหน ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร มีอะไรที่ต้องระวัง ? สำหรับคนที่ยังไม่ทราบข้อมูลเหล่านี้นั้น ลองอ่านบทความที่ แรบบิท แคร์ นำมาฝากไว้ เพื่อไว้เป็นความรู้รอบตัวกันได้ เผื่อวันไหนอาจเป็นประโยชน์กับทุกคน!
ไฟดับ คืออะไร ?
ไฟดับ (Black Out) คือการเกิดสภาวะที่กระแสไฟนั้นหยุดไหลจากการเกิดความต้องการกระแสไฟฟ้าจากสายส่งการไฟฟ้าที่มากจนเกินไป ทำให้เกิดการลัดวงจรในสายส่ง ซึ่งปัญหาที่จะเกิดจากเสาส่งเช่นนี้นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากการที่มีเสาไฟฟ้าล้ม หรืออุบัติเหตุหม้อแปลงระเบิด ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้นั้นทำให้ไม่อาจจ่ายไฟจากการไฟฟ้าได้
โดยเหตุการณ์ไฟดับด้วยสาเหตุเหล่านี้นั้นไม่สามารถป้องกันการเกิดขึ้นหรือทราบล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ได้เนื่องจากเป็นเหตุสุดวิสัย ดังนั้นที่บ้านจึงควรมีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องสำรองไฟเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเสียหายจากการเกิดไฟฟ้าดับนั่นเอง
ไฟดับ เกิดจากอะไร ?
นอกจากการเกิดไฟดับด้วยสาเหตุจากเสาส่งที่ส่วนมากแล้วจะมาจากการที่เสาไฟฟ้าล้มหรือหม้อแปลงระเบิดตามที่ได้กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้านั้น ความจริงแล้วสาเหตุของไฟฟ้าดับยังมีอีกมากมาย ดังนี้
เกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน
หนึ่งในสาเหตุของการเกิดก็คือมีไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน เพราะเมื่อไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้านแล้วก็จะมีการตัดไฟโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันการลุกลามจนกลายเป็นภัยร้ายต่อคนในบ้านและป้องกันความเสียหายของทรัพย์สินต่าง ๆ ซึ่งเมื่อเกิดไฟดับจากสาเหตุนี้แล้วควรรีบหาต้นเหตุของไฟฟ้าลัดวงจรให้ไว ไม่งั้นอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตหรือเกิดไฟไหม้ได้เลยทีเดียว
เกิดจากการเกิดภัยธรรมชาติ
อีกสาเหตุที่พบบ่อยคือการเกิดภัยธรรมชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฝนตก พายุเข้า ฟ้าผ่า ล้วนทำให้เกิดไฟดับได้ เพราะเมื่อเกิดภัยธรรมชาติเหล่านี้ขึ้นจะส่งผลให้อุปกรณ์ป้องกันหรือฟิวส์เกิดการทำงานและทำให้ไฟตกหรือไฟดับได้นั่นเอง
เกิดจากการที่มีสัตว์ต่าง ๆ เกาะอุปกรณ์เสาไฟ
อีกสาเหตุที่น่าสลดใจ คือเพราะมีสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น นก กระรอก แมว จิ้งจก งู ไปเกาะบนเสาไฟฟ้า ซึ่งเมื่อสัตว์เหล่านี้บังเอิญไปเกาะอยู่บนเสาไฟฟ้าหรือบริเวณลูกถ้วยแล้ว ก็อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจรหรือเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่าไฟช็อตได้ โดยกระแสไฟจะไหลผ่านตัวสัตว์เหล่านั้นลงสู่ดิน เป็นผลให้อุปกรณ์ป้องกันนั้นทำงานขึ้นและไฟดับในที่สุดนั่นเอง
เกิดจากสภาพแวดล้อมรอบด้าน
สำหรับสาเหตุของการเกิดไฟ ดับนั้น สภาพแวดล้อมรอบด้านก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ซึ่งการเกิดกรณีเช่นนี้จากสภาพแวดล้อมก็สามารถแบ่งแยกย่อยไปได้อีกหลายสาเหตุ คือ อุปกรณ์ส่งไฟฟ้าทำงานผิดปกติ มีความขัดข้องเกิดขึ้นในส่วนของการผลิตไฟฟ้า ต้นไม้ที่ปลูกขึ้นตามแนวเสาไฟฟ้าทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วไฟดับจากสาเหตุสภาพแวดล้อมมักเกิดจากการที่ต้นไม้โดยเฉพาะต้นไม้น้ำไปโดนเสาไฟหรือสายไฟฟ้า และมีการไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นและเกิดไฟฟ้าดับในที่สุด
เกิดจากการเกิดอุบัติเหตุ
ไฟฟ้าดับที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ สาเหตุนี้เป็นอีกต้นตอที่พบได้มากของการเกิดไฟฟ้าดับเช่นกัน ทั้งนี้โดยปกติแล้วการที่ไฟฟ้าดับจากอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นจากความประมาทและความไม่รู้ของมนุษย์อย่างการ ตัดต้นไม้ที่อยู่ตามแนวเสาไฟฟ้า ขับรถชนเสาไฟฟ้าจนเสาไฟฟ้าหักโค่น ขับรถชนเสาไฟจนสายไฟขาด ใช้เครื่องจักรทำงานในบริเวณที่ใกล้กับสายไฟ เป็นต้น
เกิดจากการที่การไฟฟ้าตัดกระแสไฟฟ้า
สาเหตุสุดท้ายในการเกิดไฟฟ้าดับก็คือการที่การไฟฟ้าทำการตัดไฟด้วยตนเองโดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ต้องทำเช่นนั้นมักมาจากการที่ระบบไฟฟ้ามีการชำรุดกะทันหัน ทางการไฟฟ้าจึง
จำเป็นที่จะต้องตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อเข้าไปแก้ไข หรืออีกสาเหตุก็คือการที่เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะต้องเข้าไปทำการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ตามพื้นที่ต่าง ๆ โดยหากไฟดับเพราะสาเหตุนี้นั้นการไฟฟ้าจะทำการแจ้งล่วงหน้าทางเว็บไซต์ของการไฟฟ้าอย่างน้อย 3 วันทำการ
สิ่งที่ควรทำทันทีเมื่อเกิดไฟดับ
เมื่อมีเหตุการณ์ไฟดับเกิดขึ้นมีอยู่ 3 สิ่งหลัก ๆ ที่ควรจะทำทันที เพื่อจะได้ควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้นั่นก็คือ
ต้องรีบทำการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่เปิดอยู่
เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับขึ้นนั้นสิ่งแรกที่ควรทำก็คือการรีบปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่กำลังเปิดอยู่และทำการถอดปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ออกทันที เนื่องจากหากไม่ทำการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้เมื่อไฟดับ เมื่อไฟฟ้าได้กลับมาแล้วอาจทำให้เกิดการไฟกระชาก และทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และเครื่องปรับอากาศที่ต้องการความเสถียรของการใช้ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ดังนั้นกันไว้กว่าแก้ดีกว่านั่นเอง
ทำการค้นหาต้นเหตุที่ทำให้ไฟดับ
เมื่อทำการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังจากเกิดไฟดับออกแล้ว สิ่งต่อไปที่ควรทำก็คือการค้นหาต้นเหตุของการเกิดไฟฟ้าดับว่าเกิดจากอะไร การเกิดไฟฟ้าดับในครั้งนี้นั้นเกิดกับบ้านของเราหลังเดียวหรือมีการเกิดไฟฟ้าดับหลายหลัง การรู้ข้อมูลเหล่านี้นั้นจะทำให้ทราบว่าปัญหาไฟฟ้าดับที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากปัจจัยภายในบ้านหรือปัจจัยภายนอก จะได้ทำการรับมือในขั้นต่อไปได้อย่างถูกต้อง
โทรแจ้งเจ้าหน้าที่
หลังจากสำรวจต้นเหตุของการเกิดไฟดับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากพบว่ามีการไฟฟ้าดับหลายหลังไม่ได้ไฟดับเฉพาะบ้านเราหลังเดียว ขั้นต่อไปที่ควรทำก็คือการติดต่อการไฟฟ้าเพื่อแจ้งเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่เกิดขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยแก้สถานการณ์ไฟดับให้นั่นเอง
สิ่งที่ควรทำระหว่างไฟดับ
หลังจากทำสิ่งที่ควรทำทันทีเมื่อไฟดับกันไปเรียบร้อยแล้ว ระหว่างรอทางการไฟฟ้าได้เข้ามาทำการแก้ไขสถานการณ์ไฟฟ้าดับให้ ซึ่งหลายครั้งอาจกินเวลาหลายชั่วโมงหรือเกือบครึ่งวัน ก็มีสิ่งที่ควรต้องทำเพิ่มเติมระหว่างที่ไฟฟ้าดับ ดังนี้
ปิดตู้เย็นให้สนิท ลดการเปิดตู้เย็น
เมื่อไฟดับนั้นอาจทำให้สารพัดของสดที่อยู่ในตู้เย็นของเราเสียได้ ดังนั้นในช่วงที่เกิดไฟดับควรทำการปิดตู้เย็นให้สนิท และหลีกเลี่ยงการเปิดปิดตู้เย็นบ่อย ๆ เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิภายใน
เปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ
เมื่อไฟดับ แน่นอนว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะช่วยให้ความเย็นย่อมไม่มีทางเปิดได้ การเปิดหน้าต่างเอาไว้จะช่วยระบายอากาศให้ถ่ายเทและบรรเทาความอบอ้าวได้ แต่ต้องระวังไม่เปิดกว้างเกินไปและต้องคอยสังเกตไม่ให้คนไม่ดีฉวยโอกาสเข้ามาในบ้านได้
เตรียมอุปกรณ์สำรองฉุกเฉินสำหรับใช้เมื่อไฟดับ
เมื่อไฟฟ้าดับแน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้คืออุปกรณ์ช่วยให้ความสว่างอย่างไฟฉาย เทียนไข ไฟแช็ก หลอดไฟ LED ฯลฯ เพื่อให้การเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ สามารถทำต่อได้ แต่ต้องระวังฟืนไฟหากจุดเทียนไข ควรวางในที่ที่ไม่เสี่ยงอันตรายและคอยสังเกตให้ดี
ประหยัดการใช้พลังงานอุปกรณ์ต่าง ๆ
เกิดไฟดับขึ้นแล้วไฟจะมาอีกเมื่อไหร่ก็ไม่แน่ใจ และแบตจะหมดเมื่อไหร่ก็ไม่อาจทราบได้ เมื่อไฟดับแล้วควรเปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นโหมดประหยัดพลังงานเอาไว้ และถ้าทำได้ควรหักห้ามใจไม่เล่นโทรศัพท์และเก็บเอาไว้ใช้งานเผื่อในกรณีจำเป็น
ทำการกักตุนน้ำไว้ใช้
เรื่องที่หลายคนคิดไม่ถึงเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับก็คือ ควรทำการกักตุนน้ำเผื่อเอาไว้ เพราะหลายครั้งเมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าทำงานผิดปกติก็อาจทำให้การจ่ายน้ำประปาติดขัดไปด้วยได้ จึงขอแนะนำให้กักตุนน้ำไว้ใช้ ทั้งในการอาบและกดชำระนั่นเอง
ไฟดับ แจ้งใคร โทรเบอร์ไหน ?
เมื่อเกิดไฟดับ ต้องทำการโทรแจ้งใคร คำตอบคือจะต้องทำการติดต่อไปยังส่วนงานผู้รับผิดชอบการไฟฟ้าในจังหวัดที่ตนเองอาศัยอยู่ คือ
- กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ ติดต่อ : การไฟฟ้านครหลวง เบอร์ 1130
- จังหวัดอื่น ๆ ติดต่อ : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เบอร์ 1129
นอกจากนั้น ถ้าสังเกตได้ว่า มีไฟรั่ว จะต้องแจ้งไฟฟ้ารั่วที่การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สิ่งที่ต้องระวังเมื่อเกิดไฟดับ
- ระวังการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน
- ระวังการเกิดอุบัติเหตุระหว่างไฟดับ
- ระวังการฉวยโอกาสของขโมย โจร
- ระวังเหตุการณ์ไฟกระชากหากไม่ปิดสวิตช์/ถอดปลั๊ก
สรุป
และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องน่ารู้ที่ควรมีไว้เป็นความรู้ติดตัวจากสถานการณ์ไฟดับ นอกจากนั้น ควรค้นหาว่า ไฟตกบ่อยแก้ยังไง เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนคงทราบกันแล้วว่าเมื่อมีไฟดับเกิดขึ้นก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน ดังนั้นอย่าลืมทำประกันอุบัติเหตุ กับ แรบบิท แคร์ เอาไว้ให้อุ่นใจ ไม่ว่าอุบัติเหตุอะไรก็ไร้กังวล
สรุป
เมื่อเกิดไฟดับ จะต้องทำการติดต่อไปยังส่วนงานผู้รับผิดชอบการไฟฟ้าในจังหวัดที่ตนเองอาศัยอยู่ คือ
- กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ ติดต่อ : การไฟฟ้านครหลวง เบอร์ 1130
- จังหวัดอื่น ๆ ติดต่อ : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เบอร์ 1129
และเมื่อเกิดไฟดับ ควรระวังการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน, การเกิดอุบัติเหตุ รวมไปถึงระวังเหตุการณ์ไฟกระชากหากไม่ปิดสวิตช์ ถอดปลั๊ก ด้วย
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี