แคร์ไลฟ์สไตล์

เรื่อง(ของ) บ้าน ๆ เลือกปลั๊กไฟยังไงให้ปลอดภัย

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: February 13,2023
  
Last edited: February 16, 2023
ปลั๊กไฟ

ปลั๊กไฟ หนึ่งในอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ที่ทุกคนต้องมีติดบ้าน และแน่นอนว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่หลายคนอาจจะเผลอมองข้าม ซื้อปลั๊กไฟแบบไหนก็เหมือนกัน กระซิบบอกได้เลยว่าไม่ใช่อย่างแน่นอน! เพราะปลั๊กไฟที่ไม่ได้คุณภาพ อาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งไฟฟ้าลัดวงจร ไฟไหม้บ้าน หรืออาจทำอันตรายคนในบ้านได้! 

แล้วแบบนี้เราจะเลือกปลั๊กไฟอย่างไรให้ปลอดภัย ได้มาตรฐานได้บ้างนะ? ปลั๊กไฟยี่ห้อไหนดี น่าซื้อบ้าง? ต่อปลั๊กไฟ 4 ช่อง เต็มที่ อันตรายจริงไหม? ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กับ แรบบิท แคร์ ดีกว่า!

  
เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ ง่ายๆ แค่ 30 วิ คลิกเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

รู้จักกันก่อน กับ ปลั๊กไฟ แต่ละประเภท แตกต่างกันอย่างไร

ปลั๊กพ่วงนั้น มีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้งาน เบื่องต้นเรามาลองทำความรู้จักกันก่อนว่า ปลั๊กไฟมีประเภทที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ 

  • ปลั๊กพ่วง 2 ขา 

ปลั๊กพ่วง 2 ขา จะมีเต้ารับต่อปลั๊กต่าง ๆ ได้ประมาณ 3 – 4 ตัว ตามขนาดและดีไซน์ บางยี่ห้ออาจมีการแบ่งเป็นเต้าแบน เต้ากลม ได้อีก ส่วนแรงดันไฟฟ้าของปลั๊กพ่วง 2 ขา มีแรงดันถึง 1,500 วัตต์ เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไป พบได้บ่อยตามท้องตลาด เช่น ชาร์จโทรศัพท์มือถือ, เปิดพัดลม, ใช้งานกับโน๊ตบุ๊ค เป็นต้น

  • ปลั๊กโรลสายไฟ 

ปลั๊กไฟที่สามารถดึงสายไฟออกมาใช้งานได้ในตัวเดียวกัน เนื่องจากมีสายไฟที่ยาว แต่สามารถม้วนเก็บง่าย เคลื่อนย้ายได้สะดวก จึงเหมาะกับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการพื้นที่กว้าง เช่น ต้องใช้ไฟนอกสถานที่ หรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในสถานที่กลางแจ้ง โดยทั่วไป ปลั๊กโรลสายไฟจะมีให้เลือก 2 แบบ คือ แบบ 2 ขา และแบบ 3 ขา โดยรองรับพลังงานไฟฟ้าได้มากถึง 2,500-3,500 วัตต์ เลยทีเดียว

  • ปลั๊กบ็อกยางสนาม 

ปลั๊กไฟแบบนี้มีขนาดพอดี พกพาได้ง่ายตัวเต้าปลั๊กทำจากยาง ทำให้ทนทาน ใช้งานได้นาน มีรูปทรง ดีไซน์ที่เรียบง่าย และรองรับไฟได้มากถึง 3,500 วัตต์ (ขึ้นอยู่กับรุ่น) จึงเหมาะกับงานช่างเป็นพิเศษ

  • ปลั๊กกรองไฟ 

ปลั๊กพ่วงประเภทนี้ มีจุดเด่นที่เต้าเสียบรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้เยอะ มาพร้อมฟังก์ชั่นช่วยกรองสัญญาณภาพและเสียง ทำให้ปราศจากคลื่นแทรกรบกวน แถมยังช่วยกันไฟกระชากได้เป็นอย่างดี สามารถรองรับแรงดันไฟฟ้าได้มากถึง 3,500 วัตต์ 

  • ปลั๊กกันไฟกระชาก

รางปลั๊กไฟประเภทนี้จะคล้ายกับปลั๊กพ่วง แต่ต่างกันที่คุณสมบัติเฉพาะ โดยปลั๊กกันไฟกระชากประกอบด้วยวงจรกันไฟกระชาก กันฟ้าผ่า และหม้อแปลงระเบิด โดยมีคำแนะนำว่าก่อนใช้ ควรติดตั้งสายดินไว้เพื่อป้องกันด้วย 

โดยเจ้าปลั๊กพ่วง ประเภทที่พบได้ตามท้องตลาดทั่วไปและได้โอกาสใช้ง่ายบ่อยที่สุด มักจะเป็นปลั๊กไฟพ่วงแบบ 2 ขา นอกจากขนาดที่เหมาะสมกับการใช้ในบ้านเรือนแล้ว ยังมีราคาที่จับต้องได้มากกว่า มีหลากหลายแบบให้เลือกอีกด้วย แต่หากอยากเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น ปลั๊กไฟยี่ห้อไหนดี แรบบิท แคร์ จะแนะนำเป็นปลั๊กไฟสามตาที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองมากกว่า และแน่นอนว่าปลั๊กพ่วงเหล่านี้จะมีราคาที่สูงมากขึ้นด้วย

เบื้องต้น ปลั๊กพ่วงแทบทุกแบรนด์จะบอกกว่ามี มอก. กันทั้งนั้น แต่รู้หรือไม่ เลขมาตรฐาน มอก.11-2531 ที่เห็นส่วนใหญ่นั้นเป็น มอก.ของสายไฟฟ้า ซึ่งไม่ใช่ มอก.ของปลั๊กไฟ โดยทาง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้อัปเดตไว้ว่า ปลั๊กพ่วงที่ได้มาตราฐาน ควรมีเลข มอก.2432-2555 

ซึ่งในปัจจุบัน เจ้าของแบรนด์ปลั๊กไฟต่าง ๆ เอง ก็ได้ทำการปรับตัวเพื่อเข้าสู่มาตรฐานใหม่เหล่านี้กันมากขึ้นแล้ว ซึ่งแต่ละแบรนด์จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป โดยเราสามารถเลือกซื้อปลั๊กให้ปลอดภัยได้ในหัวข้อถัดไป

ปลั๊กไฟสามตา

เลือกปลั๊กไฟอย่างไรให้ปลอดภัย ได้มาตรฐานกัน? 

สำหรับวิธีการเลือกปลั๊กไฟ หรือปลั๊กพ่วงให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย นั้น สามารถเริ่มต้นได้จากหัวข้อ ดังนี้ 

  • มีมาตรฐาน มอก. อยู่เสมอ

สำหรับการเลือกปลั๊กพ่วงนั้น สิ่งแรกที่คุณควรใส่ใจเป็นพิเศษคือ มีป้าย มาตรฐาน มอก.2432-2555 เสมอ เพราะนี่คือสิ่งช่วยบอกคุณได้ว่า ปลั๊กพ่วงที่กำลังจะซื้อนั่นอยู่ในเกณฑ์ได้มาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานหรือไม่  นอกจากจากตัวปลั๊กพ่วงที่ มอก. แล้ว ตรงสายไฟเองก็ควรตรวจสอบเช่นกัน โดยสายไฟของปลั๊กนั้นจะต้องได้รับมาตรฐาน มอก.11-25633 

ในกรณีที่ปลั๊กไฟดั่งกล่าวไม่ได้เลข มอก. ตามที่กล่าวไว้ แรบบิท แคร์ ขอแนะนำให้เปลี่ยนปลั๊กพ่วงโดยด่วน เพราะปลั๊กพ่วงที่คุณใช้นั้นเสี่ยงก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้! 

  • เช็กกำลังไฟของปลั๊กว่าเพียงพอหรือไม่

จริงอยู่ที่ปลั๊กพ่วงนั้น เป็นปลั๊กที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานพร้อมกันจากเครื่องใช้ไฟฟ้าหลาย ๆ เครื่อง แต่ปลั๊กพ่วงเองก็มีขีดจำกัดในการใช้งานอยู่เช่นกันหากเลือกใช้กำลังไฟไม่ถูกต้อง

โดยใน มอก.2432-2555 ได้กำหนดให้ปลั๊กพ่วงรองรับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 50 โวลต์ – 440 โวลต์(มาตรฐานอยู่ที่ 220-250 โวลต์ สำหรับไฟฟ้าในไทย) และรองรับกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 16 แอมป์ (ซึ่งจะใกล้เคียงกับเต้ารับในบ้าน ที่สามารถ รองรับกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 16Amps อยู่แล้ว) 

เบื้องต้นควรหลีกเลี่ยงปลั๊กพ่วงที่ไม่มีการระบุกำลังไฟ (วัตต์) ควรเลือกซื้อปลั๊กที่ระบุกำลังไฟฟ้าไว้จะปลอดภัยที่สุด  แต่หากมีความจำเป็นจะต้องใช้ ก็สามารถ นำตัวเลข โวลต์ x แอมป์ = เพื่อคำนวณวัตต์ ได้

ตัวอย่าง ปลั๊กพ่วงระบุไว้ว่ามีแรงดันไฟฟ้า 250 โวลต์ และกระแสไฟฟ้า 16 แอมป์ก็จะได้สูตรคำนวณ 250 โวลต์ x 16 แอมป์ = 4000 วัตต์ หมายความว่า ปลั๊กพ่วงนี้สามารถรองรับแรงดันไฟฟ้าได้มากถึง 4,000 วัตต์ 

แต่เพื่อความปลอดภัย ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำไว้ว่าไม่ควรเสียบปลั๊กใช้งานจนเต็มกำลังวัตต์ หรือ ต่อปลั๊กไฟ 4 ช่อง เพราะปลั๊กไฟกระชาก อาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดอันตรายอื่น ๆ ได้ แม้ปลั๊กพ่วงดั่งกล่าวจะมีเต้ารับให้ใช้ง่ายหลายช่องก็ตาม การเสียบเฉลี่ยใช้งานก็ไม่ควรเกิน 4,000 วัตต์ เพราะหากยังใช้งานไปเรื่อย ๆ ตัวเต้าเสียบปลั๊กจะเกิดความร้อนสะสมและในอนาคตอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุของไฟไหม้บ้านได้

ปลั๊กไฟสามตา

  • จำนวนเต้าเสียบควรเพียงพอต่อจำนวนปลั๊ก

 ควรเลือกปลั๊กพ่วงที่มีจำนวนเต้าเสียบใกล้เคียงกับจำนวนปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการเสียบใช้งานพร้อมกัน โดยอาจสังเกตจากกิจกรรมที่ทำ และการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละวัน เพื่อจะได้เลือกปลั๊กพ่วงประเภทไหน รุ่นใด และขนาดใดให้เหมาะสม ที่สำคัญคือไม่ควรซื้อต่อปลั๊กไฟ 4 ช่องหลายอันติดต่อกันมาก ๆ เพราะอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้

นอกจากนี้ การเลือกปลั๊กไฟควรเป็นแบบสวิตซ์เปิด – ปิด เพราะการเลือกเปิด – ปิดสวิตซ์ในเต้ารับที่ไม่ได้ใช้งานจะช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้า ช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และป้องกันปลั๊กไฟกระชากได้ 

โดย แรบบิท แคร์ แนะนำว่า หากในบ้านใช้ไฟไม่เยอะ อาจเลือกสวิตซ์เปิด-ปิดแบบรวมจะเหมาะสมกว่า แต่หากใช้ในออฟฟิศหรือคอมพิวเตอร์ทำงาน แนะนำให้เลือกใช้สวิตซ์แบบแยก เพราะอุปกรณ์พ่วงบางอย่างไม่ได้ใช้งานเป็นประจำจะเหมาะกว่า

หรือในกรณีบางบ้านมีเด็กเล็ก ควรเลือกปลั๊กไฟสามตาที่เต้ารับมีม่านนิรภัยป้องกันมือเด็ก มีตัวปิดช่องชัตเตอร์ เมื่อเสียบขาปลั๊กรูเดียวไม่สามารถเสียบลงได้ ต้องเสียบ 2 ขาพร้อมกัน ก็จะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อีกทาง

ปลั๊กไฟยี่ห้อไหนดี

  • ต้องมีสายดิน หรือตัวตัดไฟ

รู้หรือไม่ ปัจจุบัน ปลั๊กพ่วงถูกกำหนดให้เต้ารับต่อปลั๊กต้องมี 3 รูเท่านั้น ซึ่งรูที่สามที่เป็นก้านเดี่ยว ๆ จะถูกเรียกว่า ขั้วสายดิน ซึ่งจะช่วยในเรื่องป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรช็อตผู้ใช้งาน และช่วยตัดไฟ ซึ่งการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงที่มี มอก. จะช่วยรับรองได้ว่าปลั๊กพ่วงดั่งกล่าวได้มาตราฐาน มีรูสายดินที่ช่วยป้องกันอันตรายได้แน่นอน และในกรณีที่เต้ารับต่อปลั๊กพ่วงมีเกิน 3 ช่องขึ้นไป จะต้องมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ (ระบบตัดไฟ )หรือ เซอร์กิตสวิตซ์ เท่านั้น 

โดยเจ้าเซอร์กิตสวิตซ์นี้ มีไว้ตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟร้อน ซึ่งอาจเกิดความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ หรือฟิวส์จะขาดเพื่อตัดกระแสไฟ

ส่วนปลั๊กไฟ หรือปลั๊กพ่วง ที่เป็นแบบ 2 รู วางขายนั้น เป็นการอนุโลมทางกฎหมายให้ผู้ขายสามารถนำมาขายได้จนกว่าจะหมดสต๊อก แต่ถ้ามีตัวเลือกที่ดีกว่า แรบบิท แคร์ เอง ก็แนะนำให้เลือกใช้ปลั๊กไฟสามตาจะช่วยรับประกันความปลอดภัยได้มากที่สุด เพราะช่วยป้องกันเรื่องปลั๊กไฟกระชากได้

เต้ารับต่อปลั๊ก

  • วัสดุที่ใช้ผลิตควรได้คุณภาพ

วัสดุของตัวปลั๊กไฟ ปลั๊กพ่วง หรือแม้กระทั่งปลั๊กไฟสามตานั้น ควรเป็นวัสดุที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทนความร้อนได้สูง ทั้งในส่วนของเต้าเสียบ เต้ารับ อุปกรณ์ป้องกัน และรางปลั๊กไฟ ต้องดูแน่นหนา แข็งแรง ไม่หลวมหลุดง่าย 

อย่าง เต้ารับต้องทำจากทองเหลืองหรือทองแดงเพราะนำไฟฟ้าได้ดี ตัวปลั๊กเสียบต้องเป็นโลหะที่ทนต่อการกัดกร่อน แข็งแรง บริเวณขั้วปลั๊กกับส่วนของสายไฟต้องมีข้อยืดหยุ่นรองรับการงอ หัวปลั๊กขากลม มีฉนวนหุ้มที่โคนขาปลั๊กเพื่อป้องกันการสัมผัส ตามมาตรฐาน มอก.

ปลั๊กไฟยี่ห้อไหนดี หากเป็นพลาสติกจะต้องเป็น พลาสติก ABS , พลาสติก AVC หรือ โพลีคาร์บอเน็ต ซึ่งเป็นพลาสติกคุณภาพสูง ช่วยไม่ให้ไฟลามได้ในกรณีที่เกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งบางยี่ห้อจะมีเขียนระบุเอาไว้ที่ข้างกล่องหรือฉลากในผลิตภัณฑ์ 

นอกจากนี้ ควรสายไฟต้องได้มาตรฐาน มีเครื่องหมาย มอก. ไม่ชำรุดหรือขาด ทนทาน ความยาวต้องได้มาตราฐานนองรับกับกระแสไฟฟ้าที่จะต้องใช้งาน มีฉนวนหุ้มทั้งสองชั้น สายไฟจะชำรุดได้ยากเมื่อถูกของมีคม หรือหักงอ

  • เลือกสินค้าที่มีการรับประกัน

แม้ปลั๊กไฟจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ได้ยาวนาน ดังนั้นสิ่งที่ไม่ควรมองอีกอย่าง คือ การเลือกซื้อปลั๊กไฟยี่ห้อไหนดี ที่มีการรับประกันสินค้า ซึ่งในแต่ละแบรนด์ และรุ่นของปลั๊กพ่วง จะมีระยะเวลาที่รับประกันไม่เท่ากัน โดยระยะเวลาต่ำสุดจะอยู่ที่ 1 ปี หรือรับประกันสูงสุดถึง 10 ปี 

เต้ารับต่อปลั๊ก

เรื่องของปลั๊กไฟนั้น หากเลือกไม่ดีไม่เพียงแต่อุบัติเหตุไฟฟ้าลัดวงจรที่อาจเกิดขึ้นได้ ยังอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับคนในบ้านได้ ดังนั้นการเลือกปลั๊กไฟที่ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน และมีเลข มอก. จะช่วยให้คุณอุ่นใจได้ ซึ่งเราปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการซื้อปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพนั้น มีราคาที่สูง หากยิ่งต้องการเปลี่ยนปลั๊กไฟทั้งหมดในบ้าน คงเป็นเงินจำนวนไม่น้อยแน่ ๆ จะดีกว่าไหม ถ้าให้ บัตรเครดิต จาก แรบบิท แคร์ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่เพิ่มความสะดวกสบายในการจับจ่าย ซื้อปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพ เพิ่มปลอดภัยให้กับบ้านของคุณ 

และสำหรับใครที่ต้องการเพิ่มความอุ่นใจให้มากยิ่งขึ้น ต้องนี่เลย ประกันภัยบ้าน จาก แรบบิท แคร์ ที่คุ้มครองครอบคลุมให้บ้านกลายเป็นเซฟโซนของคุณอย่างแท้จริง! ทั้งคุ้มครองไฟไหม้ ไฟผ่า หรือภัยธรรมชาติอื่น ๆ แม้แต่การสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินจากการโจรกรรม

คุ้ม ครบ แคร์ จบ ในที่เดียว ต้องที่ แรบบิท แคร์ คลิกเลย!


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 96153

แคร์ไลฟ์สไตล์

เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
Thirakan T
27/08/2024