เช็กลิสต์ เตรียมซ่อมบ้านยังไง ถ้าถูกไฟไหม้ หรือน้ำท่วม!
น้ำท่วม หรือไฟไหม้บ้าน นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เหนือความคาดหมาย ใคร ๆ ก็คงไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้ว เราจะเช็กบ้านอย่างไร? มีส่วนไหนที่ต้องใส่ใจซ่อมแซมเป็นพิเศษไหม? สินเชื่อซ่อมบ้านช่วยได้หรือเปล่า? ไปหาคำตอบพร้อมกับแรบบิท แคร์ กันดีกว่า!
บ้านถูกน้ำท่วม เช็กลิสต์ต้องซ่อมอะไรบ้าง?
เบื้องต้นแล้ว ลิสต์ที่คุณควรเช็กเมื่อบ้านถูกน้ำท่วม ส่วนไหนที่ไม่ควรมองข้ามหรือควรกู้ซ่อมบ้าน หลัก ๆ จะมีดังนี้
- ระบบไฟฟ้า และระบบประปา หลังจากน้ำท่วม
เรียกได้ว่าเป็นระบบหลังที่คุณควรเช็กลิสต์เตรียมการซ่อมแซมไว้อันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ เพราะหลังจากที่บ้านถูกน้ำท่วม ระบบไฟฟ้าอาจมีความเสียหายเกิดขึ้น แม้ว่าเราจะตัดวงจรไฟฟ้าทั้งหมดแล้ว แต่ความชิ้นอาจจะยังคงอยู่ หากใช้งานทั้ง ๆ แบบนั้น อาจจะเกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรและอันตรายถึงชีวิตได้!
ซึ่งการเช็กระบบไฟฟ้านั้น ควรตรวจเช็กระบบไฟทั้งบ้าน ตั้งแต่เปลี่ยนฟิวส์ ทดสอบเปิดไฟฟ้าทีละจุด ทดสอบกระแสไฟฟ้าในปลั๊กด้วยไขควงทดสอบไฟ ลองดับไฟทุกจุดในบ้าน ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด แต่ยังเปิดคัทเอ้าท์ไว้ หากมิเตอร์ไฟฟ้ายังคงหมุน เป็นไปได้ว่าอาจมีไฟฟ้ารั่วไหล แนะนำให้ติดต่อช่างไฟฟ้า หรือผู้เชี่ยวชาญมาดูแล มากกว่าลงมือซ่อมแซมด้วยตัวเอง
โดยคุณอาจขอคำปรึกษาช่างเพื่อดูแลเรื่องระบบไฟฟ้าทั้งหมดในบ้าน ในกรณีที่หากมีภัยน้ำท่วมอีก เพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงในครั้งหน้าซึ่งอาจจะต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่หากขอสินเชื่อซ่อมบ้านได้จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ในระยะยาว
นอกจากระบบไฟฟ้าที่คุณควรเช็กแล้ว สิ่งที่ควรให้ความสนใจก็คือระบบน้ำประปานั่นเอง ทั้งนี้เพราะน้ำท่วม หรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ อาจเข้าไปติดค้างในระบบประปาบ้าน ส่งผลต่อระบบน้ำ และสุขอนามัยของผู้อยู่ เช่น ล้างทำความสะอาดถังน้ำ หรือบ่อน้ำเก็บน้ำที่น้ำท่วมถึง, ตรวจสอบอุปกรณ์ปั๊มน้ำ และถังอัดความดัน ว่าใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่ เป็นต้น
- อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านหลังน้ำท่วม
แน่นอนว่า นอกเหนือจากระบบน้ำ ระบบไฟ ในบ้านแล้ว สิ่งที่ควรตรวจสอบก็หนีไม่พ้นอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในบ้านนี่แหละ เช่น เครื่องปรับอากาศ, ตู้เย็น, เครื่องซักผ้า เป็นต้น
แรบบิท แคร์ แนะนำว่า ถ้ายังไม่จำเป็นจริง ๆ อย่าเพิ่งใช้เด็ดขาด เพราะอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้เมื่อโดนน้ำท่วม มีสิทธิ์สูงที่จะหลงเหลือความชื้นหรือน้ำท่วมขังไว้ด้านใน เมื่อนำมาใช้งานก็อาจส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ควรนำไปพึ่งแดดให้แน่ใจเสียก่อนหรือติดต่อช่างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบก่อนเปิดใช้งานก่อนจะดีกว่า
- พื้น ผนัง ฝ้าเพดาน และรั้วบ้าน
ไม่ใช่เพียงแค่พื้น และผนังบ้านที่ถูกน้ำแช่เป็นระยะเวลานาน ๆ จนเกิดความเสียหาย แต่รั่วและผ้าเพดานเองก็โดนผลบกระทบดั่งกล่าวไปด้วยเช่นกัน
หลังจากตรวจสอบความเสียหายต่าง ๆ แล้ว ทั้งผนังและพื้น หากยังอยู่ในสภาพดี มีเพียงคราบสกปรก ให้คุณใช้น้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำยาล้างจาน ฉีดล้าง ขัด ตะไคร่และสิ่งสกปรกได้เลย หลังจากนั้นก็ล้างด้วยน้ำสะอาด และปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ในกรณีที่มีบางจุดพบเชื้อรา ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด แล้วทิ้งไว้สักครึ่งชั่วโมงจึงค่อยล้างน้ำออก
แต่ในกรณีน้ำท่วมบ้านจนมิดชั้น 1 จำเป็นต้องตรวจดูความเสียหายของฝ้าเพดาน เพราะหากฝ้ามีการแอ่นตัว ด้รับความเสียหายหนัก หรือดูดน้ำสะสมไว้มากก็ควรเปลี่ยนฝ้าใหม่ เพราะอาจถล่มพังลงมาได้ในภายหลัง ซึ่งนี้เป็นอีกจุดที่ควรตรวจสอบ ซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนทำความสะอาดซ่อมแซมส่วนอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้
ส่วนบริเวณรั้วบ้านเองก็ควรตรวจสอบเช่นกัน เพราะเมื่อน้ำท่วมบ้านจะทำให้ดินบริเวณฐานรากอาจจะเกิดการอ่อนตัว ทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักน้อยลง รวมถึงเวลาที่น้ำลดลงจะมีแรงดูดที่ทำให้ตัวรั้วกำแพงคอนกรีตเอียงไปบ้างในบางจุดได้เช่นกัน
- เช็กเรื่องความชื้น เชื้อรา และสัตว์มีพิษที่อาจหลบซ่อนในบ้าน
อย่าลืมดูแลความสะอาดให้เรียบร้อย อย่าเพิ่งรีบร้อนกลับเข้ามาอาศัยในบ้าน โดยเฉพาะหากคุณยังไม่ได้ขจัดความชื้นออกจากบ้านและเฟอร์นิเจอร์ เพราะหากทิ้งไว้ ยิ่งชื้นนานก็จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อราซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และสภาพบ้านต่อไปในอนาคตได้
นอกจากนี้ คุณควรตรวจสอบความเรียบร้อยของบ้านก่อนว่าทุกซอกทุกมุมว่ามีสิ่งแปลกปลอม มีสัตว์ร้ายหรือสัตว์มีพิษ เช่น งู, แมงป่อง, จระเข้ ฯลฯ หลบซุกซ่อนอยู่หรือไม่อีกด้วย
ไฟไหม้บ้าน เช็กลิสต์ซ่อมยังไงดี?
เบื้องต้นแล้ว บ้านถูกไฟไหม้นั้น จะเสียหาย และซ่อมแซมยุ่งยากกว่าการถูกน้ำท่วม หลายครั้งที่การซ่อมแซมมักจะจบด้วยการทุบทิ้ง แล้วกู้สินเชื่อบ้านเพื่อสร้างใหม่ แต่ก็มีบางกรณีเช่นกันที่เราไม่จำเป็นต้องทำเช่นกัน โดยเบื้องต้น ต้องประเมินจากความเสียหายเสียก่อนว่าไฟไหม้บ้านนั้น สร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างหลักมากน้อยแค่ไหน
ในกรณีที่โครงสร้างยังคงดีอยู่ อาจซ่อมแซมเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การทาสีใหม่ ก็สามารถแก้ไขปัญหารอยดำจากไฟได้ แต่หากไฟไหม้ไปถึงส่วนสำคัญ หรือวิศวกรที่มีความชำนาญประเมินแล้วว่าเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ก็จำเป็นจะต้องทุบทิ้ง และสร้างใหม่ เพื่อความปลอดภัยของผู้อาศัยในระยะยาว ซึ่งจุดหลัก ๆ ที่เราควรสำรวจ ประเมิน และกู้ซ่อมบ้าน มีดังนี้
- บริเวณเสา และคานที่อยู่เหนือตำแหน่งที่เกิดไฟไหม้
พื้นที่บริเวณนี้นับได้ว่าเป็นจุดเสี่ยงมากที่สุดเนื่องจากเพลิงไหม้อาจสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างได้ และควรสำรวจบริเวณรอบ ๆ ด้วย เช่น พื้นคอนกรีต หากเกิดไฟไหม้ในชั้นที่ 1 พื้นส่วนที่อยู่ด้านใต้ของชั้นที่ 2 ของบ้านก็อาจจะได้รับความเสียหายไปด้วย นั่นเอง
หากวิศกรตรวจเช็กแล้วว่าพื้นบริเวณนั้นเสียหายไม่สามารถรับน้ำหนักได้แล้ว ก็อาจจะต้องเสียเงินทุบสร้างใหม่ แต่หากมีการคำนวณตรวจสอบแล้วว่าสามารถซ่อมแซมด้วยการสริมโครงสร้างได้ ปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดก็ไม่ต้องถึงกับทุบทิ้งแล้วสร้างขึ้นใหม่
หลัก ๆ แล้ว หากเกิดเพลิงไหม้ การสำรวจความเป็นไปได้ก่อนการซ่อมแซม ควรเป็นวิศวกรที่ชำนาญเท่านั้น เพราะจะทำให้ทราบว่าควรจะซ่อมแซมตรงไหนอย่างไรบ้าง เพื่อลดเสี่ยงกับการซ่อมแซมที่ไม่คุ้มกับเงินที่เสียไปด้วย หรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากซ่อมแซมไม่ถูกวิธี
เรื่องซ่อมแซมบ้านเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ว่าจะต้องซ่อมแซมบ้านเพราะน้ำท่วม หรือไฟไหม้ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เงินก้อนโตทั้งนั้น
ต้องนี้เลย สินเชื่อบ้าน จาก แรบบิท แคร์ ที่นี้พร้อมให้ทุกความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะต้องสร้างบ้านใหม้ หรืออยากกู้ซ่อมบ้าน รีโนเวท ก็สามารถทำได้ ด้วยระบบที่ไม่ยุ่งยาก ติดต่อง่าย พร้อมบริการเปรียบเทียบและติดตามกับทางสถาบันการเงิน ช่วยให้การกู้สินเชื่อซ่อมบ้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct