แคร์การลงทุน

สินทรัพย์ คืออะไร​? รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสินทรัพย์ ที่เจ้าของธุรกิจ-เจ้าของกิจการควรรู้ไว้

ผู้เขียน : Tawan
Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต

close
linkedin icon
 
 
Published: October 16,2023
  
 
สินทรัพย์ คืออะไร

สินทรัพย์ สิ่งที่ผู้ที่คิดจะเป็นเจ้าของธุรกิจ/เจ้าของกิจการควรรู้จักไว้ สินทรัพย์ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร มีกี่ประเภท แตกต่างกับทรัพย์สินอย่างไร สินทรัพย์ไม่มีตัวตนคืออะไร งบแสดงฐานะทางการเงินประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง ? อธิบายส่วนประกอบและสมการการทำงบแสดงฐานะทางการเงิน จาก แรบบิท แคร์

สินทรัพย์ คืออะไร ?

สินทรัพย์เป็นทรัพยากรที่มีมูลค่า ซึ่งอาจเป็นของบุคคลหรือกิจการที่มีสิทธิ์ครอบครอง หรือเป็นผู้ถือสิทธิ์ในการครอบครอง รวมถึงคาดว่าจะได้รับประโยชน์ในอนาคต ซึ่งเกิดมาจากเหตุการณ์ในอดีต สามารถที่จะมีรูปร่างที่ชัดเจน เช่น บ้าน ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร รถยนต์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ และบางครั้งก็ไม่มีรูปร่างที่ชัดเจนหรือเป็นสิ่งของก็ได้ โดยยังสามารถถือเป็นสินทรัพย์ เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ สัมปทาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องหมายการค้า ทรัพยากรต่าง ๆ 

ซึ่งทรัพยากรต่าง ๆ จะสามารถถือเป็นสินทรัพย์และสามารถได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเมื่อเข้าข่ายองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนดังนี้

  1. มีการครอบครองโดยบุคคลหรือกิจการ : หมายถึงสิ่งที่บุคคลหรือกิจการสามารถนำสินทรัพย์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ตามศักยภาพเมื่อใดก็ได้ ตัวอย่างเช่น กิจการที่เป็นเจ้าของวัตถุดิบสามารถนำวัตถุดิบไปใช้ในกระบวนการผลิต ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้ หรือบุคคลที่เป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ สามารถนำมันมาใช้ในการอาศัย ทำธุรกิจ ปล่อยเช่า หรือขายเพื่อทำกำไรตามความต้องการ
  1. มีศักยภาพในการเพิ่มประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต : สินทรัพย์ที่ถือครองอาจมีโอกาสที่จะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต ตัวอย่างเช่น ลูกหนี้การค้าซึ่งกิจการมีสิทธิ์เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้หลังจากที่กำหนดชำระเงินไว้ หรือเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าเพื่อขาย สินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ยังสามารถถือครองเพื่อรับประโยชน์จากการเพิ่มมูลค่าในอนาคตได้
  1. การประเมินมูลค่าต้นทุนได้อย่างเป็นธรรม : สินทรัพย์จำเป็นต้องมีวิธีการประเมินมูลค่าได้ การบันทึกมูลค่าต้นทุนในบัญชีการเงินต้องเป็นไปในทางที่เชื่อถือได้ เช่น ลูกหนี้การค้าที่มีบันทึกใบแจ้งหนี้แสดงจำนวนเงินที่ได้ทำการเรียกเก็บ

สินทรัพย์ แตกต่างจากทรัพย์สินอย่างไร ?

หลังจากที่เราได้ทราบกันไปแล้วว่าคำว่า สินทรัพย์ คืออะไร ต่อมาเราจะมาดูกันว่าคำว่า “สินทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร เริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักความหมายและลักษณะการนำมาใช้งานของคำเหล่านี้กันได้เลย

ทรัพย์สิน 

เป็นคำที่ใช้กันทั่วไป มักนำมาใช้ในการอธิบายถึงสิ่งของที่มีมูลค่าต่าง ๆ ที่สามารถถือครองและนับมูลค่าเป็นเงินได้ อย่างไรก็ดี คำว่า “ทรัพย์สิน” ส่วนใหญ่จะพบในหมวดของกฎหมาย คำนี้สามารถแบ่งออกเป็น

  • ทรัพย์สินมีตัวตน (Tangible assets) เช่น บ้าน ที่ดิน โรงงาน รถยนต์ สิ่งของต่าง ๆ ที่สามารถเห็นและสัมผัสได้
  • ทรัพย์สินทางการเงิน (Financial assets) เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร หุ้น ตราสารหนี้
  • ทรัพย์สินไม่มีตัวตน (Intangible assets) เช่น ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ซอฟต์แวร์

สินทรัพย์

เป็นคำที่สามารถพบเห็นในงานทางบัญชีและการเงิน มักใช้ในบัญชีและงบการเงิน คำนี้อาจหมายถึงทรัพย์สินที่เป็นมูลค่าที่บุคคลหรือกิจการครอบครอง อย่างไรก็ตาม คำว่า “สินทรัพย์” มีความหมายที่กว้างกว่าที่รวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตด้วย ตัวอย่างเช่น ลูกหนี้การค้า ที่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ในทางบัญชี แม้ไม่ได้เป็นทรัพย์สิน แต่ก็เป็นประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต นอกจากนี้ สิ่งของเช่นรถยนต์ที่ถูกซื้อขายซึ่งทางกฎหมายยังไม่ได้ถือครองเป็นทรัพย์สิน แต่ในบัญชี ถือว่าเป็นสินทรัพย์ของกิจการเรียบร้อยแล้ว

อาจกล่าวสรุปได้อย่างง่ายว่าทรัพย์สินนั้นจะใช้เรียกสิ่งของที่มีมูลค่าต่าง ๆ ทั่วไปที่บุคคลนั้นๆเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่สินทรัพย์จะนับรวมประโยชน์ที่คาดว่าจะได้ในอนาคตด้วยนั่นเอง

สินทรัพย์มีอะไรบ้าง ?

สินทรัพย์นั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ  คือ สินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 

  • สินทรัพย์หมุนเวียน คือ ทรัพย์ที่มีความเคลื่อนไหวสูง สามารถแปลงเป็นเงินสดหรือนำไปใช้ให้หมดได้ภายใน 1 ปี
  • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เป็นสิน ทรัพย์ที่ถือครองและใช้ประโยชน์ในระยะยาว ระยะเวลานานกว่า 1 ปี และไม่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนสามารถเป็นได้ทั้งสินทรัพย์ที่มีตัวตนและสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนนั่นเอง

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน คืออะไร ?

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) หมายถึงสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงิน หรือไม่ได้เป็นสิ่งของแต่สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ สินทรัพย์เหล่านี้ไม่สามารถจับต้องได้ แต่อยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้

ประเภทของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

  • สิทธิบัตร (Patent) : หมายถึงเอกสิทธิ์ที่รัฐมอบให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรต่าง ๆ  เช่นรถยนต์, โทรทัศน์, หรือการออกแบบขวดน้ำอัดลม เป็นต้น
  • ลิขสิทธิ์ (Copyrights) : หมายถึงสิทธิแต่ผู้เดียวที่มีกฎหมายยอมรับให้ใช้ในงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ เช่นเพลง, หนังสือ , ภาพวาด
  • สิทธิการเช่า (Leasehold) : หมายถึงสิทธิที่บุคคลจะได้รับในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามระยะเวลาที่ได้กำหนดเอาไว้
  • สัมปทานและการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Franchises and Licensing) : หมายถึงสิทธิที่ได้รับในการใช้ชื่อและสิทธิการค้าของบริษัทอื่น ๆ เพื่อประกอบกิจการต่าง ๆ
  • เครื่องหมายการค้าและยี่ห้อการค้า (Trademark and Tradename) : หมายถึงสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงว่าสินค้าหรือบริการนั้นเกี่ยวข้องกับบริษัทหรืออยู่ภายใต้แบรนด์ใด
  • ค่าความนิยม (Goodwill) : หมายถึงค่าความนิยมที่เกิดขึ้นต่อกิจการดังกล่าว ซึ่งมาจากความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า, สถานที่ตั้ง, คุณภาพของสินค้าหรือบริการ และประสิทธิภาพในการผลิต

อาจกล่าวได้ว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นทรัพย์ที่ไม่แสดงให้เห็นอย่างเป็นทางการแต่สามารถแสดงความคุ้มค่าของกิจการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเติบโตของกิจการในอนาคตได้อย่างแน่นอน

สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ ในการทำงบแสดงฐานะทางการเงิน

หลังจากทราบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสินทรัพย์ไปแล้ว สิ่งที่เจ้าของธุรกิจ/กิจการต้องเรียนรู้เป็นลำดับถัดไป ก็คือเรื่องของการทำงบแสดงฐานะทางการเงินซึ่งมี สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเป็นองค์ประกอบหลักนั่นเอง

สินทรัพย์ (Assets)

สินทรัพย์คือทรัพยากรของกิจการ ได้รับมาจากอดีตและนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคต (หากต้องการการยืนยันว่าสิ่งนั้นเป็นสินทรัพย์หรือไม่ควรตรวจสอบเงื่อนไขเพิ่มเติมจากข้อมูลที่ได้กล่าวไปที่หัวข้อก่อนหน้า) 

หนี้สิน (Liabilities)

หนี้สินคือสิ่งที่ต้องชำระคืนในอนาคตตามชื่อ เช่นเดียวกับการกู้ยืมเงิน (ที่เราต้องการคืนเงินให้คนที่ให้กู้) หนี้สินแบ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินไม่หมุนเวียน

ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity)

ส่วนของเจ้าของคือทุนที่มีของกิจการ ซึ่งค่าเท่ากับสินทรัพย์ลบด้วยหนี้สิน (ถ้างบแสดงฐานะการเงินถูกต้อง ผลรวมของสินทรัพย์จะเท่ากับผลรวมของหนี้สินและส่วนของเจ้าของ) โดยชื่อส่วนของเจ้าของจะเปลี่ยนไปตามลักษณะของกิจการ

เช่น ส่วนของเจ้าของสำหรับกิจการคนเดียวเรียกว่า “ส่วนของเจ้าของ” ส่วนของผู้ถือหุ้นสำหรับห้างหุ้นส่วนเรียกว่า “ส่วนของผู้ถือหุ้น” ส่วนของผู้ถือหุ้นสำหรับบริษัทเรียกว่า “ส่วนของผู้ถือหุ้น”

อีกทั้งส่วนของเจ้าของ จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

  • ทุนเรือนหุ้น หรือเงินที่เจ้าของนำมาลงทุนในกิจการ
  • ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (ส่วนต่างของมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้นจากการขายหุ้นในราคาสูงกว่าราคา)
  • กำไรสะสม หรือ ขาดทุนสะสม (ผลรวมของทั้งกำไรและขาดทุนที่สะสมมาตั้งแต่วันแรกที่กิจการเริ่มประกอบธุรกิจ)

หรืออาจสรุปแบบสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า

  • สินทรัพย์ (Assets) คือทรัพยากรของกิจการที่มาจากอดีต
  • หนี้สิน (Liabilities) คือทุนที่ได้มาจากการกู้ยืมและเป็นสิ่งที่ต้องจ่ายคืนในอนาคต
  • ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) คือทุนของกิจการที่มาจากเจ้าของ

โดยสิน ทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงินเชื่อมโยงกันตามสมการสมการบัญชี (Accounting Equation) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบหลักของงบแสดงฐานะการเงินดังนี้

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสินทรัพย์ ที่เจ้าของธุรกิจ-เจ้าของกิจการหรือผู้ที่กำลังมีแผนที่จะดำเนินกิจการของตัวเองในอนาคตควรรู้ไว้ จะได้ลิสต์สิ่งที่ต้องวางแผน และนำความรู้เบื้องต้นเหล่านี้ไปต่อยอดศึกษาเพิ่มเติมกันได้ หากใครที่ศึกษาจนมีความรู้ถ่องแท้และมั่นใจ ลำดับถัดไปก็ต้องเป็นสเตปการวางแผนขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงหาเงินทุนเพื่อเปิดกิจการกันได้เลย 

นอกจากนี้หากใครมีความกังวลเรื่องเงินทุนในการทำธุรกิจก็ไม่ต้องทุกข์ใจไป สามารถขอสินเชื่อ จาก แรบบิท แคร์ ไปเริ่มลงทุนกันได้ ยื่นขอได้พร้อมเริ่มสร้างกำไร อนุมัติเร็ว!

icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ


 

บทความแคร์การลงทุน

Rabbit Care Blog Image 97452

แคร์การลงทุน

ดัชนี S&P500 คืออะไร? ทำไมถึงน่าสนใจสำหรับเหล่านักลงทุน

นอกเหนือจากเรื่องของหุ้นดาวโจนส์แล้ว หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า S&P500 และถือเป็นอีกหนึ่งหุ้นหลักในการลงทุนกับตลาดหลักกันมาบ้าง
คะน้าใบเขียว
19/11/2024
Rabbit Care Blog Image 97364

แคร์การลงทุน

รู้จักกับ ดัชนี Dow Jones ทำไมนักลงทุนต้องจับตามอง?

สำหรับใครที่เป็นนักลงทุนมือใหม่ หรือเริ่มมีความสนใจด้านการลงทุนเกี่ยวกับเรื่องหุ้น โดยเฉพาะการเทรดหุ้นในต่างประเทศ อาจจะเคยได้ยินมาว่า dow jones หรือ
คะน้าใบเขียว
18/11/2024
Rabbit Care Blog Image 96036

แคร์การลงทุน

รวมวิธีที่จะเพิ่มโอกาสในการหลุดพ้นจากการ ‘ติดดอย’ ได้มากยิ่งขึ้น!

‘ติดดอย’ คำที่เหล่านักลงทุนทั้งมือใหม่และมือเก่าต่างก็ต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครต่างก็ไม่อยากจะเผชิญ
คะน้าใบเขียว
24/09/2024