หากอยากเริ่มทำธุรกิจเกี่ยวกับ Fast Fashion ต้องเริ่มอย่างไร วิธีสำรวจตัวเองว่าเหมาะกับธุรกิจนี้หรือไม่ ?
เมื่อพูดถึง Fast Fashion สำหรับกลุ่มคนที่ชื่นชอบความสวยความงามการแต่งตัวและแฟชั่นสมัยใหม่คงไม่มีใครไม่รู้จัก ซึ่งในปัจจุบันแม้จะมีกระแสตีกลับในเรื่องของการทำลายสิ่งแวดล้อมแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Fast Fashion นั้นได้รับความนิยมในท้องตลาดในวงกว้างเป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเพียงเท่านั้นแต่ยังได้รับความนิยมไปในระดับโลก
แน่นอนว่าเมื่อ Fast Fashion นั้นเป็นที่นิยมและถือเป็นสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการมากในท้องตลาดคนที่ต้องการจะกระโดดเข้ามามีส่วนแบ่งในธุรกิจนี้เองก็เลยมีจำนวนมาก วันนี้ แรบบิท แคร์ จึงนำข้อมูลดี ๆ มาฝาก ทั้งในแง่ของการเริ่มต้นทำธุรกิจที่เกี่ยวกับ Fast Fashion ว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไร และวิธีสำรวจตนเองว่าเหมาะกับธุรกิจ Fast Fashion นี้หรือไม่ มาดูไปพร้อมกันได้เลย!
ทำความรู้จัก Fast Fashion
Fast Fashion หรือหากแปลตรงตัวก็จะมีความหมายว่าแฟชั่นด่วน แฟชั่นที่รวดเร็ว ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ทำการผลิตเสื้อผ้าที่มีดีไซน์ทันสมัยในราคาต่ำ มีกระบวนการผลิตที่เน้นความรวดเร็วฉับไว วัตถุดิบคุณภาพต่ำ ใช้แรงงานในการผลิต ทำให้ราคาต้นทุนต่ำ เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบันที่ซื้อเสื้อผ้าตามสมัยนิยม ราคาไม่แพง โดยจะมีความโดดเด่นคือจะมีการเปลี่ยนรูปแบบของดีไซน์ไปเรื่อย ๆ มาไวไปไว และขายปริมาณมหาศาลในเวลาไม่นานก่อนที่จะเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ๆ มาแทนนั่นเอง
ทำไม Fast Fashion ถึงได้รับความนิยม
สำหรับเหตุผลที่ว่าทำไม Fast Fashion ถึงได้รับความนิยมนั้นมีหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งในแง่ของดีไซน์ที่มีความทันสมัย สวยงาม น่ารัก ดูมีสไตล์ตามสมัยนิยมตามเทรนด์แฟชั่นที่กำลังมาแรงขณะนั้น ช่วยสร้างความสนุกสนานในการแต่งตัวและความแปลกใหม่ให้กลุ่มคนที่รักในแฟชั่น และยังมีราคาที่ถูกจับต้องได้ง่ายอีกด้วยนั่นเอง
ข้อดีของ Fast Fashion
แน่นอนว่าการที่เสื้อผ้าสไตล์ Fast Fashion เป็นที่นิยมในวงกว้างไปทั่วโลกก็ย่อมมีเหตุผลหรือข้อดีที่มากพอที่จะทำให้ได้รับความนิยม โดยข้อดีของเสื้อผ้า Fast Fashion มีดังนี้
- มีดีไซน์ที่สวย ทันสมัย : เสื้อผ้า Fast Fashion มักจะมีดีไซน์ที่สวยงามและมีความทันสมัยเข้ากับเทรนด์ที่กำลังมาแรงในขณะนั้นอยู่เสมอ
- เปลี่ยนแปลงดีไซน์ให้มีความแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา : เสื้อผ้า Fast Fashion จะมีการออกแบบรายละเอียดให้มีความทันสมัยและแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา
- มีราคาถูก : เนื่องจากเป็นเสื้อผ้าที่เน้นดีไซน์ ไม่เน้นคุณภาพของเนื้อผ้าและรายละเอียดการตัดเย็บ มักเป็นเสื้อผ้าที่ถูกสั่งทำอย่างรวดเร็วเป็นล็อตจากโรงงาน เสื้อผ้า Fast Fashion จึงมีราคาค่อนข้างถูก
- หาซื้อได้ง่าย : เนื่องจากเป็นเสื้อผ้าที่ทำมาเพื่อขายคนหมู่มากพร้อม ๆ กันในขณะที่กำลังมาแรง เสื้อผ้า Fast Fashion จึงเป็นเสื้อผ้าที่สามารถหาซื้อได้ง่าย
- ใส่แล้วมีความมั่นใจ ดูทันสมัยเมื่อสวมใส่ : เนื่องจากเป็นเสื้อผ้าที่มีดีไซน์แปลกใหม่และทันสมัยทำให้ผู้สวมใส่มีความมั่นใจว่าตนเองเป็นหนึ่งในกลุ่มคนซึ่งเป็นผู้นำแฟชั่น และสร้างภาพลักษณ์ที่ดูทันสมัย ไม่ตกยุคให้กับผู้สวมใส่นั่นเอง
ข้อดีเหล่านี้คือข้อดีของเสื้อผ้า Fast Fashion ที่ทำให้เสื้อผ้าประเภทนี้ครองใจผู้คนในตลาดได้เป็นอย่างดี และทำให้แม้การสนับสนุนเสื้อผ้า Fast Fashion จะเป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นส่วนร่วมของการทำลายโลกก็ยังมีผู้คนซื้อเสื้อผ้า Fast Fashion กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ข้อเสียของ Fast Fashion
นอกจากจะมีข้อดีที่ทำให้เสื้อผ้า Fast Fashion สามารถครองใจผู้คนจนแทบจะกลายเป็นเจ้าตลาดเสื้อผ้านั้น เสื้อผ้าชนิดนี้ก็ยังมีข้อเสียมากมายซึ่งส่งผลกระทบทางตรงต่อทั้งตัวเราและโลกของเรานั่นคือ
- ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : มักใช้ผ้าใยสังเคราะห์จากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งมีส่วนเพิ่มการปล่อยคาร์บอนและเพิ่มภาวะโลกร้อน การขุดถางที่ดินเพื่อหาฝ้ายจำนวนมหาศาลทำให้เกิดความเสี่ยงภัยแล้ง คุณภาพของดินลดลง และลดความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ อีกทั้งสารเคมีจากการย้อมสีผ้าจะชะลงในน้ำทำให้น้ำเสีย และเป็นการก่อเกิดขยะสิ่งทอในปริมาณมหาศาลเกินกว่าจะกลบฝังได้
- เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานแบบเอารัดเอาเปรียบ : อุตสาหกรรม อ ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เนื่องจากการจ่ายค่าแรงต่ำกว่ามาตรฐานให้กับคนงานตัดเย็บเสื้อผ้า ทำให้พวกเขาต้องทำงานหนักและเป็นเวลานานมากในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค บางโรงงานที่ตัดเย็บเสื้อผ้าจ้างคนงานที่ยังไม่มีความสามารถด้วยค่าจ้างต่ำโดยไม่มีการรับประกันความปลอดภัย
- สร้างผลกระทบด้านลบต่อผู้บริโภค : อุตสาหกรรม Fast Fashion สร้างแรงกดดันให้ผู้บริโภค โดยทำให้ผู้บริโภคเชื่อว่าต้องทำตามแฟชั่นเสมอ ส่งผลให้เกิดวงจรการซื้อและทิ้งเสื้อผ้าไปซึ่งไม่มีวันสิ้นสุด กระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อเสื้อผ้ามากขึ้นด้วยการทำให้ยอมรับว่าเทรนด์มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้รู้สึกไม่พอใจกับเสื้อผ้าที่มีอยู่และกระตุ้นให้เกิดการซื้อมากขึ้น
- เป็นอันตรายต่อสัตว์ : สิ่งมีชีวิตในทะเลกลืนกินวัสดุสารเคมีที่มีพิษและไมโครไฟเบอร์ที่ปล่อยออกมาจากการผลิตเสื้อผ้าและไหลลงสู่น้ำและมหาสมุทร นำไปสู่การส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร
- ความเสื่อมโทรมของที่ดิน : การปลูกไหมเพื่อการค้าต้องการทรัพยากรมากมาย เช่น น้ำและปุ๋ยเคมี ซึ่งทำให้ดินเสื่อมโทรม
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจก : อุตสาหกรรม Fast Fashion มีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยมีคาร์บอนมากถึง 10% ของปริมาณทั่วโลก เนื่องจากการผลิตและการขนส่งที่เป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมนี้
- มลพิษจากสารเคมี : สิ่งทอคุณภาพต่ำส่งผลให้หลุมกลบฝังขยะปนเปื้อนไปด้วยสารตะกั่ว ยาฆ่าแมลง และสารเคมีที่มีพิษอื่น ๆ ที่ไม่ย่อยสลายทางชีวภาพ
- มลพิษทางน้ำ: การใช้สารเคมีในการย้อมสีผ้าส่งผลให้เกิดมลพิษทางน้ำที่มนุษย์และสัตว์ใช้ เป็นการมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดน้ำเสียถึง 20% โดยที่อุตสาหกรรมยีนส์เป็นต้นแบบของการสร้างมลพิษน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อระบบนิเวศท้องถิ่นและเป็นอุปสรรคต่อความยั่งยืน
อยากทำธุรกิจ Fast Fashion ต้องเริ่มอย่างไร ?
สำหรับผู้ที่มีความสนใจในการทำธุรกิจเกี่ยวกับ Fast Fashion แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไร สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ดังนี้
- สำรวจว่าตนเองชอบทำธุรกิจประเภทนี้จริงหรือไม่
- ศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนธุรกิจเพิ่มเติม
- สำรวจว่าเทรนด์ของ Fast Fashion ณ ปัจจุบันและแนวโน้มของเทรนด์ที่กำลังจะมาถึงเป็นอย่างไร
- วางแผนธุรกิจและกลยุทธ์ที่จะใช้ในการทำธุรกิจอย่างรอบคอบ
- วางแผนติดต่อรับของหรือผลิตสินค้าขึ้นมาขาย
- วางแผนการขายและการสื่อสารการตลาดออกไป (ควรเน้นที่ช่องทางออนไลน์)
- สามารถเริ่มต้นธุรกิจของตนเองได้เลย
วิธีสำรวจตัวเองว่าเหมาะกับธุรกิจ Fast Fashion หรือไม่
- เช็กว่าตนเองมีความรักในแฟชั่นหรือไม่
- เช็กว่าตนเองมี Sense ทางแฟชั่นมากน้อยแค่ไหน
- เช็กว่าตนเองชื่นชอบที่จะติดตามแฟชั่นใหม่ ๆ อยู่เสมอหรือไม่
- เช็กว่าตนเองสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้หรือไม่
- เช็กว่าตนเองสามารถยอมรับความเสี่ยงที่เกิดจากการมาไวไปไวของวงการนี้ได้หรือไม่
หากทำการสำรวจตนเองดูแล้วว่าตนเองมีคุณสมบัติเหล่านี้ก็แน่นอนว่าสามารถเริ่มลงมือทำธุรกิจเกี่ยวกับ Fast Fashion ได้ แต่หากไม่แนะนำว่าให้คิดทบทวนหรือหาแนวทางใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจจะดีกว่านั่นเอง
Fast Fashion มีแบรนด์อะไรบ้าง
แม้จะเข้าใจกันไปแล้วว่า Fast Fashion คืออะไร แต่หลายคนอาจยังนึกภาพไม่ออกว่า Fast Fashion ที่มีการวางขายอยู่ในเมืองไทยมีแบรนด์อะไรกันบ้าง แรบบิท แคร์ จึงนำตัวอย่างแบรนด์ Fast Fashion เจ้าใหญ่ที่ได้รับความนิยมอย่างเป็นสากลมาให้ดูกัน
- แบรนด์ UNIQLO
- แบรนด์ H&M
- แบรนด์ JASPAL
- แบรนด์ ZARA
- แบรนด์ SHEIN
ข้อมูลเหล่านี้คือข้อมูลน่ารู้ที่เกี่ยวกับ Fast Fashion และวิธีที่ แรบบิท แคร์ ได้หยิบยกมาแนะนำ สำหรับคนที่มีความสนใจอยากเริ่มทำธุรกิจเกี่ยวกับ Fast Fashion ซึ่งหากใครยังไม่มีเงินลงทุนก็ไม่ต้องกังวลใจ สามารถขอสินเชื่อส่วนบุคคล กับ แรบบิท แคร์ เพื่อเริ่มต้นธุรกิจเล็ก ๆ ของตนเองได้ ดำเนินการสะดวกสบาย มีเจ้าหน้าที่สแตนบายด์คอยให้คำแนะนำ
สรุป
Fast Fashion คือเป็นอุตสาหกรรมที่ทำการผลิตเสื้อผ้าที่มีดีไซน์ทันสมัยในราคาต่ำ มีกระบวนการผลิตที่เน้นความรวดเร็วฉับไว วัตถุดิบคุณภาพต่ำ ใช้แรงงานในการผลิต ทำให้ราคาต้นทุนต่ำ แต่ในทางกลับกัน Fast Fashion ก็มีข้อเสียที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รวมไปถึงการที่ธุรกิจจำเป็นจะต้องวิ่งตามเทรนด์อยู่ตลอดเวลา หากพลาดขึ้นมาอาจหมายถึงการขาดทุนครั้งใหญ่ได้ ดังนั้น ก่อนการเริ่มต้นธุรกิจทุกครั้งอย่าลืมสำรวจว่าเงินทุนรวมไปถึงความพร้อมของตัวเราด้วยว่าพร้อมเริ่มต้นธุรกิจเหล่านี้หรือไม่
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct