Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน เพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินให้ธุรกิจ

รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน เพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินให้ธุรกิจของคุณ!

การที่เราจะตัดสินสภาพการเงินของบริษัทสักแห่งหนึ่ง เราไม่สามารถดูเพียงว่าบริษัทนั้น ๆ มีสินทรัพย์เท่าไหร่เท่านั้น หากแต่จะต้องดูสภาพคล่องทางการเงิน เช่นสินทรัพย์ที่บริษัทนั้น ๆ ถือครองอยู่ สามารถผันเปลี่ยนเป็นเงินได้มากน้อยขนาดไหน นั่นคือสามารถว่าทำไม่สินทรัพย์หมุนเวียนจึงสำคัญมาก ๆ สำหรับบริษัท มีหลากหลายประเภท และสามารถนำไปต่อยอดคิดค่าตัวเลขที่สำคัญมาก ๆ ต่อไป สินทรัพย์หมุนเวียน จึงเป็นอีกหนึ่งข้อที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับบริษัท และนักลงทุนทุกคน !

สินทรัพย์หมุนเวียน คือ

สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) คือสินทรัพย์สภาพคล่องที่บริษัทสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราได้รวดเร็วภายใน 1 ปีหรือน้อยกว่านั้น พร้อมกับเมื่อปรับเปลี่ยนเป็นเงินแล้วจะไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงในเชิงมูลค่าเท่าไหร่ ซึ่งแต่ละบริษัท จะสามารถตรวจสอบได้ภายในบัญชีดุลการค้า ระบุจำนวนสินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้สิน

สินทรัพย์หมุนเวียน มีอะไรบ้าง

หากจะให้จำแนกสินทรัพย์หมุนเวียนอย่างละเอียด จะมีเยอะมาก ๆ เพราะในแต่ละธุรกิจก็จะแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นส่วนมากบริษัทจะจับกลุ่มทรัพย์สินหมุนเวียนไว้เป็นหัวข้อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจของแต่ละอุตสาหกรรม

เงินสด พันธบัตร หรือบัตรเงินสดอื่น ๆ (Cash / Cash Equivalent)


สินทรัพย์หมุนเวียนในรูปแบบที่ตรงไปตรงมาที่สุดคือเงินสด หรือเรียกได้ว่ามีความหมุนเวียนมากที่สุด เพราะเป็นเงินที่สามารถตีความมูลค่า และนำไปใช้ต่อได้เลยในทันที โดยสินทรัพย์หมุนเวียนรูปแบบอื่น ๆ ก็จะสามารถแปรเปลี่ยนเป็นเงินได้ด้วย ซึ่งเงินอาจอยู่ในรูปแบบธนบัตร หรือเหรียญ เงินในบัญชี เงินในกองทุนรวมบริษัท พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้เป็นต้น

หลักทรัพย์ (Marketable Securities)


หลักทรัพย์ของบริษัท สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ แต่ก็จะต้องมีข้อแม้ เพราะในกรณีของบางบริษัทที่หากนำหลักทรัพย์มาแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดแล้ว มูลค่าของบริษัทตกลง ในกรณีนี้หลักทรัพย์จะไม่ถือว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แต่โดยทั่วไปแล้วก็จะสามารถนับรวมได้ว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนได้

ลูกหนี้การค้า (Accounts Receivable)


บางครั้งหลักทรัพย์ของบริษัทก็จะอยู่ในรูปแบบของเงินค้างจำหน่ายของลูกค้า หรือคู่ค้า เช่นลูกค้าซื้อบริการของเรา โดยยังจ่ายค่าสินค้า หรือบริการไม่ครบ สิ่งนี้จะถูกเรียกว่าหนี้การค้า (Account Recievable) แต่ก็จะมีบางกรณีที่หนี้การค้ามีอายุเกินปี เช่นโปรเจ็คใหญ่ ๆ ที่กินเวลาเป็นปี ค่าจ้างทั้งหมดอาจไม่สามารถจ่ายใน 1 ปี ฉะนั้นอาจยังไม่ต้องระบุหนี้การค้าลงในสินทรัพย์

สินค้าคงคลัง (Inventory)


สินค้าที่ค้างอยู่ในคลังในรูปแบบของวัตถุดิบ ชิ้นส่วน หรือสินค้าที่สามารถค้าขายออกได้ภายใน 1 ปี ก็สามารถตีความได้ว่าเป็นทรัพย์สินหมุนเวียน แต่จะต้องคำนึงด้วยว่าสินค้าคงคลังนั้น ๆ เป็นสินค้าที่มีสภาพคล่องทางการค้ามากน้อยขนาดไหน เช่นหากเป็นสินค้าราคาสูงเช่นรถขุดเจาะ หรือเครื่อง 3D Printer ก็อาจไม่สามารถขายได้ภายใน 1 ปี และไม่ถือว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แต่หากเป็นน้ำมัน หรือเส้นใยสำหรับทำเสื้อ ที่อย่างไรก็ขายได้ และจำเป็น ก็อาจถือว่าเป็นทรัพย์สินหมุนเวียนได้

ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Liabilities)


คือค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไปกับสินค้า หรือบริการในอนาคต ซึ่งควรจะได้ แต่ยังไม่ได้ ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายเช่น ค่าประกันของพนักงาน ไปจนถึงค่าที่ ค่าออฟฟิศใหม่ในกรณีของบริษัทที่วางแผนจะย้ายที่ประกอบการทำงาน เป็นต้น

สินทรัพย์หมุนเวียน vs สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

ต่อไปเราลองมาเปรียบเทียบสินทรัพย์หมุนเวียน กับไม่หมุนเวียนกันก่อนดีกว่า โดยหากจะให้เข้าใจง่ายที่สุด สินทรัพย์หมุนเวียน สามารถซื้อขายออกได้รวดเร็วภายใน 1 ปี หากแต่สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนไม่สามารถขายได้ง่ายภายในระยะ 1 ปี แต่ก็อาจจะมีสินค้าบางอย่างที่คาบเกี่ยวกัน เป็นได้ทั้งหมุนเวียน และไม่หมุนเวียน เช่นหลักทรัพย์ และสินค้าคงคลัง

แต่โดยทั่วไปแล้วสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะจัดในกลุ่มเช่น ที่ดิน ต้นไม้ ตึก โรงงาน อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบงานต่าง ๆ ซึ่งจะไม่ขายง่ายเท่ากับทรัพย์สินหมุนเวียน พร้อมกับเป็นสินทรัพย์ที่เสื่อมสภาพ เสื่อมราคาได้ ฉะนั้นสินทรัพย์หมุนเวียนจึงจะถูกตีราคาที่ราคาต้นในการซื้อ ในขณะเดียวกันสินทรัพย์หมุนเวียนก็จะถูกตีราคาตามราคาตลาด เพราะเป็นสินทรัพย์ที่ไม่เสื่อมสภาพนั่นเอง

สินทรัพย์หมุนเวียน มีประโยชน์อย่างไร ?

ตัวเลขสินทรัพย์หมุนเวียน เป็นอีกหนึ่งตัวเลขที่สำคัญมาก ๆ เพราะเป็นเหมือนกับตัวเลขตั้งต้น ที่สามารถนำไปใช้คำนวณดัชนีต่าง ๆ ที่สามารถชี้วัดดุลการเงิน สภาวะคล่องตัวทางการเงิน และค่าอื่น ๆ อีกมากมาย

ใช้หาอัตราส่วนภาพคล่อง (Current Ratio)


อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) / หนี้สินหมุนเวียน (CL)

อัตราส่วนสภาพคล่อง บ่งบอกว่าบริษัทนั้น ๆ มีสภาพคล่องขนาดไหน เช่นหากไม่คล่องแสดงว่าบริษัทมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินหมุนเวียน โดยยิ่งตัวเลขเยอะ (เกิน 1 มาเยอะ ๆ) แสดงว่าความคล่องต่ำ แต่หากตัวเลขน้อย หมายถึงความคล่องสูง มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้ และเป็นสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินได้ง่าย

หาอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)


อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงคลัง) / หนี้สินหมุนเวียน

เป็นการคำนวณสภาพคล่อง (Current Ratio) โดยไม่คิดรวมสินค้าคงคลัง เพื่อที่จะนับดูที่เม็ดเงินจริง ๆ ไปเลยว่าหาเทียบกับหนี้สินหมุนเวียนแล้วบริษัทมีความคล่องเท่าไหร่ ซึ่งทางด้านการบัญชีแล้วเป็นการคิดสภาพคล่องที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเพราะเน้นไปที่เงินได้ของบริษัทโดยตรงเลย หรือใช้ในกรณีที่สินค้าในคลังมีความฝืดเคือง ขายออกยาก เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีค่าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น อัตราส่วนเงินสด, อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้, อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ, อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม, อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร และอื่น ๆ อีกมากมาย

วิธีการเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ

จะเห็นว่าสินทรัพย์หมุนเวียน มีผลอย่างมากกับสภาพคล่องการเงินของธุรกิจ โดยเฉพาะในกรณีของธุรกิจขนาดเล็ก และกลาง (SME) ซึ่งบริษัทที่มีสภาพคล่องทางการเงิน แน่นอนว่าจะนำมาซึ่งโอกาสในการเติบโตขยายกิจการให้ใหญ่โตมากขึ้น พร้อมกับสะท้อนว่ากิจการไปได้ด้วยดี สินทรัพย์หมุนเวียนมีมากกว่าหนี้สิน มาดูกันเลยว่าหากบริษัทอยากจะมีความคล่องการเงิน ต้องใส่ใจอะไรบ้าง

ทำงบประมาณการเงินให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


อันนี้อาจเป็นกฎเหล็กสำหรับบริษัททุกบริษัท แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทขนาดเล็ก ที่กำไรอาจไม่เยอะ และมีกฎแบบหลวม ๆ บางครั้งใช้เงินบริษัท จ่ายของเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วไม่รวมไว้ในบัญชี พอมารู้ตัวอีกทีรายจ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจสะสมจนทำให้บัญชีผิดเพี้ยน จากที่ดูเหมือนดุลการค้าดี กลับกลายเป็นมีความฝืดเคืองทางการเงินซะงั้น เพราะฉะนั้นความละเอียดในการทำงบประมาณจึงเป็นดั่งจุดที่คอยเตือนเจ้าของกิจการให้มีความระมัดระวังทางการเงินมากขึ้น

ตรวจสถานะเงินสดของกิจการเป็นประจำ


การตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพจะต้องนำสถานะการเงินปัจจุบัน ไปเทียบกับอดีต ไปเทียบกับ Benchmark ที่อยากได้ในอนาคต และวิเคราะห์ว่ามีเงินส่วนใดรั่วไหลออกไป หรือเราลงทุนไปกับสินไหน แล้วไม่ได้สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น ดูสินทรัพย์หมุนเวียนว่ามีเท่าไหร่ หากอยากให้เพิ่มขึ้นต้องตัดหนี้ตรงไหนออก หรือลงทุนตรงจุดใดเพิ่ม

หา Supplier ที่ให้ราคาต่ำ และทำสัญญาระยะยาว


หากธุรกิจของคุณต้องพึ่งพาวัสดุ หรือวัตถุดิบตั้งต้น ให้หาเจ้าที่ให้ราคา และข้อเสนอที่ถูกที่สุด พร้อมสินค้าที่มีคุณภาพ หรือมีเครดิตเสริม โปรโมชั่นพิเศษ และให้สร้างความสัมพันธ์กับ Supplier เพื่อจะได้เป็นคู่ค้าแบบระยะยาว เพราะนอกจากจะได้ต้นทุนที่ถูกลง ยังง่ายในการทำงบทุกเดือน และสามารถคาดการณ์สินทรัพย์หมุนเวียนของบริษัทในแต่ละมาตราได้อีกด้วย

พยายามลดปริมาณสินค้าคงคลังลง


อีกหนึ่งเหตุผลที่บริษัทไม่ค่อยมีความคล่องตัวทางการเงินก็เพราะเงินอาจไปจมกับสินค้าคงคลัง ซึ่งหากเป็นสินค้าจำเป็น ที่มีคู่ค้าแน่นอนอยู่แล้ว ก็อาจไม่ได้เป็นปัญหา แต่หากเป็นสินค้าที่สามารถเสื่อมสภาพ และไม่ได้ขายออกง่ายขนาดนั้น เช่นรถจักร หรือเฟอร์นิเจอร์ การมีสินค้าค้างคลังมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้

สำรองเงินสดไว้ให้เพียงพอ ไม่ลงทุนเกินตัว


บริษัทขนาดกลาง และเล็กบางบริษัทตกหลุมพลาง พอได้เงินสดมาจำนวนหนึ่งจะเกิดความรู้สึกต้องการขยาย เช่นหากเป็นร้านอาหารก็จะขยายสาขา โรงงานก็จะขยายแหล่งผลิตใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าเราสามารถขยายกิจการได้ แต่จะต้องมีเงินสด หรือต้องมีสินทรัพย์หมุนเวียนในบริษัทเยอะเพียงพอที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ เพราะต้องจำไว้ว่าอย่างไรก็ตาม อาคาร หรือเครื่องมือการผลิต คือสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน การจะเปลี่ยนให้สินทรัพย์เหล่านั้นกลับมาเป็นเงิน ไม่ใช่เรื่องง่าย

เลือกลูกค้าที่มีคุณภาพ


แน่นอนว่าลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญของทุกธุรกิจ แต่ก็ต้องขอเน้นย้ำว่าลูกค้าก็จะต้องมีมาตรฐาน หรือเราจะต้องมีปฎิบัติการที่รัดกุม มีการเซ็นต์สัญญาที่ชัดเจน เพื่อรับมือกับกรณีที่ลูกค้าไม่ยอดจ่ายค่าบริการ หรือจ่ายช้า ซึ่งมีสิทธิ์ทำให้เกิดความฝืดเคืองทางก้านการเงินในบริษัทได้เลย


อ่านมาจนถึงตรงนี้หวังว่าทุกท่านคงจะได้รู้จักความหมายที่แท้จริงของสินทรัพย์หมุนเวียน และประโยชน์ต่อธุรกิจ โดยเฉพาะในการรักษาสภาพความคล่องทางการเงินของบริษัท ซึ่งสำหรับใครที่เริ่มมีธุรกิจขนาดเล็ก ไปจนถึงกลาง อยากได้เงินทุนไปต่อยอดธุรกิจ แนะนำสินเชื่อส่วนบุคคล สมัครง่าย วงเงินเยอะ ไม่ต้องค้ำประกัน คลิกเลย

ค้นหาสินเชื่อ

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

CardX SPEEDY LOAN
  • ผ่อนนานสูงสุด 24 และ 72 เดือน
  • วงเงินกู้ถึงหลักล้าน
  • อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี
  • มีอายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
  • มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาทขึ้นไป
สินเชื่อบุคคลซิตี้
  • ผ่อนชิลๆ 60 เดือน
  • อนุมัติวงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท
  • มีรายได้ต่อเดือน 20,000 บาทขึ้นไป
  • อายุงานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
  • ไม่เคยยื่นกับ Citi ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
สินเชื่อส่วนบุคคล Happy Cash ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

LH Bank

  • ดอกเบี้ยต่ำ 8.88%/ปี*
  • วงเงินสูงสุด 1.5 ล้านบาท*
  • ผ่อนนานสูงสุด 60 เดือน*
  • ไม่ต้องค้ำประกัน
  • อายุงานไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป
  • ทำงานในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล
  • รายได้ต่อเดือนขั้นต่ำ 30,000 บาทขึ้นไป
สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล TTB Cash2Go
  • อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 25% ต่อปี
  • ไม่ต้องค้ำ
  • ดอกเบี้ยพิเศษ ลดต้นลดดอก
  • ผ่อนได้นานสุด 60 เดือน
  • วงเงินอนุมัติสูง 5 เท่าของรายได้

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา