ติดโรคฝีดาษลิงเสียชีวิต ประกันจะจ่ายไหมนะ
โควิด-19 ยังไม่ทันจะได้ยารักษา ก็มีเรื่องให้ทั่วโลกได้หวาดหวั่นใจอีกแล้ว กับโรคระบาดในอดีตที่หายไปนานอย่าง โรคฝีดาษลิง! แล้วแบบนี้เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น ประกันชีวิตที่ทำเอาไว้จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหน จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ไหม? เคลมได้หรือเปล่า? ไปหาคำตอบกับ แรบบิท แคร์ กันดีกว่า!
ฝีดาษลิง โรคระบาดในอดีตที่ยังต้องจับตามอง!
ก่อนจะไปไขข้อข้องใจ มาทำความรู้จักกันเสียหน่อยกับโรคที่ทั่วโลกกำลังจับตาดู รวมถึงในไทยก็ยังคงต้องเฝ้าระวัง อย่างโรคฝีดาษลิง หรือไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ เป็นโรคระบาดที่พบในสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น
สิ่งที่ทำให้โรคฝีดาษลิงต้องจับตามอง เนื่องมาจากความสามารถติดต่อจากสัตว์มาสู่คน และ คนไปสู่คน ด้วยการสัมผัสใกล้ชิด โดยผ่านการสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสชนิดนี้
สำหรับอาการของโรคฝีดาษลิง สามารถแบ่งได้ 2 ระยะ คือ
- ระยะก่อนออกผื่น เริ่มด้วยอาการไข้ ปวดหัว ปวดตัว ปวดหลัง อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต และอาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน และอาการทางระบบหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ เหนื่อย ได้อีกด้วย
- ระยะออกผื่น จะเริ่มต้นหลังจากมีไข้ประมาณ 1 – 3 วัน จะเริ่มมีตุ่มผื่นขึ้น มักขึ้นที่บริเวณใบหน้าและแขนขา มากกว่าที่ร่างกาย โดยเริ่มจากรอยแดงจุดๆ เป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำหนอง และจากนั้นจะแห้งออกหรือแตกออกแล้วหลุดออกมา ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์
สำหรับโรคฝีดาษลิงจะมีระยะฟักตัวก่อนแสดงอาการประมาณ 5 – 21 วัน และมักพบว่า เริ่มแสดงอาการในช่วง 10 – 14 วัน ส่วนอาการป่วยจะกินเวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์
และถึงแม้จะเป็นโรคที่สามารถหายได้เอง แต่โรคฝีดาษลิงยังคงมีอัตราการเสียชีวิต 1- 10% โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ กลุ่มเด็กเล็ก หรือกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม จนทำให้เสียชีวิตได้ จึงทำให้ยังเป็นโรคระบาดที่เรายังต้องระมัดระวัง จับตาดูเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาหรือมีวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะ แต่สามารถควบคุมการระบาดได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเป็นหลัก ซึ่งทางการแพทย์ ได้ออกมาให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการป้องกันโรคฝีดาษลิง ไว้ว่า
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย สัตว์ที่เป็นพาหะโดยเฉพาะลิง และสัตว์ฟันแทะ
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังสัมผัสสัตว์หรือสิ่งของสาธารณะ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือด น้ำเหลืองของสัตว์
- ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงมีการแพร่ระบาด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง หรือตุ่มน้ำใส จากผู้มีประวัติเสี่ยง หรือสงสัยว่าติดเชื้อ กรณีที่สัมผัสเชื้อไปแล้วเท่านั้น และควรฉีดวัคซีนป้องกันในกรณีที่ยังไม่เกิน 14 วัน ภายหลังจากการได้รับเชื้อโดยทันที
ส่วนผู้ที่ได้รับการปลูกฝีมาแล้วในอดีต จากการทดลองเก็บตัวอย่าง ทางสหรัฐอเมริกาได้ประเมินว่า 60% ภูมิคุ้มกันยังคงทำงานอยู่ โดยมีระยะเวลาครึ่งชีวิตจะอยู่ยาวนานประมาณ 90 ปี
แต่อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนไม่ได้หมายความว่าจะช่วยป้องกันโรคฝีดาษลิงได้หมด เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ อย่างภูมิคุ้มกันในร่างกายของแต่ละคนที่เป็นตัวแปรด้วย ดังนั้น จึงไม่ควรประมาท หมั่นล้างมือ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้อื่นอยู่เสมอ
เสียชีวิตด้วยโรคระบาด แบบนี้ประกันชีวิตคุ้มครองไหมนะ?
เบื้องต้นแล้ว ประกันชีวิต คือ สัญญาประกันภัยที่ตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง โดยหลัก ๆ มีเงื่อนไขว่า
- ผู้เอาประกันชีวิตตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัยให้กับบริษัทผู้รับประกันชีวิตภายในเวลาที่กำหนด
- ผู้เอาประกันชีวิตได้เสียชีวิตภายในเวลา หรือมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาอันได้กำหนดไว้
หมายความว่า ประกันชีวิตจะให้ความคุ้มครองต่อการเสียชีวิตทุกกรณี หากยังคงเป็นไปตามเงื่อนไขด้านเวลา และเบี้ยประกัน แม้คุณจะเสียชีวิตด้วยโรคระบาดอย่าง โควิด-19 โรคฝีดาษลิง หรือโรคระบาดอื่น ๆ ประกันชีวิต เสียชีวิตทุกกรณีก็ยังคงให้ความคุ้มครองต่อครอบครัว หรือบุคคลที่คุณได้ระบุไว้ในกรมธรรม์!
ส่วนกรณีที่เบิกเคลมค่ารักษาพยาบาลจะถูกนับว่าเป็นประกันสุขภาพ หากเป็นประกันชีวิตจะไม่สามารถเบิกเคลมค่ารักษาต่าง ๆ ได้
ตัวอย่าง
คุณแคร์ทำประกันชีวิตไว้ให้คุณใส่ใจ โดยคุณแคร์ทำการชำระเบี้ยประกันฯสม่ำเสมอ ภายหลังคุณแคร์ได้เสียชีวิตด้วยโรคระบาด เมื่อตรวจสอบเงื่อนไขต่าง ๆ พบว่า คุณแคร์เสียชีวิตภายใต้เงื่อนไขการทำประกันชีวิตที่ทางบริษัทฯประกันได้กำหนดไว้ ดังนั้น คุณใส่ใจที่ถูกใส่ชื่อไว้ในกรมธรรม์ จะได้รับผลประโยชน์อย่างผลตอบแทนจากประกันชีวิตไปโดยปริยาย
แต่กลับกัน ถ้า คุณ ก. ทำประกันชีวิตเอาไว้ให้ น้อง ข. แม้จะจ่ายเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ และเสียชีวิตภายใต้เงื่อนไขกำหนดระยะเวลาของประกันฯที่ทำไว้ แต่เกิดเหตุไม่คาดฝัน เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจโดยที่ไม่เคยแจ้งบริษัทฯไว้ ประกันชีวิตนั้นจะตกเป็นโมฆะทันที บริษัทฯ จะคืนค่าเบี้ยประกันต่าง ๆ ที่จ่ายไปแล้วให้แก่ผู้เอาประกันหรือทายาท แต่จะไม่ได้ผลตอบแทนต่าง ๆ ตามที่ตกลงเอาไว้
สรุปแล้ว แม้จะเสียชีวิตด้วยโรคระบาดก็ยังคงได้รับความคุ้มครองจากประกันชีวิต แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ดังนั้น แรบบิท แคร์ ขอแนะนำว่า อย่าลืมตรวจสอบให้ละเอียดเสมอก่อนการทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันใด ๆ เสมอ
แล้วประกันชีวิต เสียชีวิตทุกกรณีแบบไหนกันนะ? ที่จะโมฆะทันที!
หลัก ๆ แล้ว แต่ละบริษัทประกันจะมีเงื่อนไข และความคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป แต่เบื้องต้นแล้ว เงื่อนไขที่ทำให้ประกันชีวิตถูกยกเลิก หรือกลายเป็นโมฆะทันที จะมีดังนี้
- ปกปิดข้อมูลด้านสุขภาพแก่บริษัทฯ เช่น ไม่บอกว่าตนมีโรคประจำตัวอะไร หรือไม่มีการแจ้งเรื่องสุขภาพอย่างละเอียด อาจพบปัญหาประกันเป็นโมฆะได้
- ขาดการชำระเบี้ยประกันฯตามกำหนด จนทำให้ประกันขาดผล ขาดอายุ
- เสียชีวิตก่อนครบกำหนดระยะเวลารอคอยประกันฯ โดยแต่ละแห่งจะมีระยะเวลารอคอยที่แตกต่างกัน
- เสียชีวิตก่อนเงื่อนไขสัญญาประกันที่ตกลงไว้ว่าจะได้รับค่าสินไหมทดแทน
- ผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันภัยโดยเจตนา
- ผู้ทำประกันฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี หลังจากการเริ่มทำประกัน
โดยทาง แรบบิท แคร์ แนะนำว่า ก่อนการสมัครประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันใด ๆ ก็ตาม ควรชี้แจ้งในเรื่องสุขภาพแก่บริษัทประกันฯเสมอแม้ว่าทางบริษัทฯไม่ได้ร้องขอ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เราได้ประโยชน์จากการทำประกันอย่างสูงสุดนั่นเอง
สำหรับใครไม่รู้ว่าต้องทำประกันชีวิตแบบไหนดี? ลองมาปรึกษา แรบบิท แคร์ สิ เพราะเราคือโบรกเกอร์ประกันภัยที่ช่วยให้คุณได้เลือกประกันชีวิตด้วยแบบแผนที่หลากหลาย ได้ความคุ้มครองตามที่ใจต้องการ พร้อมเบี้ยประกันที่จับต้องได้ และบริการหลังการขายที่ให้คุณอุ่นใจได้ทุกการเจ็บป่วย คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct