แคร์สุขภาพ

รู้จัก “อีโบล่า” โรคไข้เลือดออกจากไวรัส ในแอฟริกา รุนแรงเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
 
Published: November 1,2022
  
 
อีโบล่า โรคอีโบล่า

โลกนี้อยู่ยากขึ้นทุกวัน คำพูดนี้คงไม่เกินจริง เพราะนอกจากจะมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ แล้ว ก็ยังมีโรคระบาดเดิมที่เคยระบาดหนักในอดีตอย่าง “โรคอีโบล่า” เริ่มกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง แม้ไวรัสนี้จะยังไม่เคยเกิดการระบาดขึ้นในประเทศไทยมาก่อนก็ตาม แต่ล่าสุดก็ได้มีการกลับมาแพร่ระบาดเชื้อนี้อีกครั้งที่ประเทศซูดานและประเทศแถบแอฟริกา ทำให้หลายคนเริ่มหวาดผวาวิตกกังวลว่าจะเกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างเหมือนคราวเชื้อไวรัสโควิด 19 อีกหรือไม่ และใครหลาย ๆ คนก็เริ่มวางแผนเตรียมหาซื้อประกันสุขภาพเอาไว้รับมือ เผื่อเกิดการระบาดขึ้นจริงกันแล้ว น้องแคร์เลยจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคอีโบล่า หรือไวรัสอีโบล่า ว่ามันคืออะไร มีวิธีป้องกันได้หรือไม่ และถ้าหากซื้อประกันสุขภาพไปแล้วเกิดติดเชื้ออีโบล่า จะสามารถเคลมค่ารักษาได้หรือไม่ ไปดูข้อมูลที่น้องแคร์นำมาฝากกันได้เลย

ทำความรู้จัก โรคอีโบล่า มันคือโรคอะไร?

อีโบล่า (Ebola) หรือโรคอีโบ่ลา คือ โรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นมาจากเชื้อไวรัสอีโบล่า (Ebola virus) ซึ่งเป็นตระกูล Filoviridae (EVD) ที่มักพบเชื้อในเขตป่าร้อนชื้น ชื่อเดิมของอีโบล่า คือ โรคไข้เลือดออกอีโบล่า เป็นไข้เลือดออกที่เกิดจากไวรัส พบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ.2519 พร้อมกันที่แอฟริกากลาง 2 สถานที่ คือ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งริมแม่น้ำอีโบล่า เมืองยัมบูกู สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์) และที่ประเทศซูดาน โรคนี้จึงมีชื่อตามชื่อแม่น้ำ เนื่องจากมีการค้นพบเชื้อไวรัสในแม่น้ำอีโบล่า

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    อีโบล่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงและอันตรายถึงชีวิต ที่มาของเชื้อนี้สันนิษฐานว่ามีแหล่งพาหะมาจากค้างคาว และลิง ติดต่อมาสู่คน ใครก็ตามที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้เข้าสู่ร่างกาย จะถูกทำลายระบบภูมิคุ้มกันและอวัยวะที่สำคัญ จนทำให้ระดับเซลล์การแข็งตัวของเลือด (Blood-Clotting Cells) ต่ำนำไปสู่ภาวะเลือดออกรุนแรงควบคุมไม่ได้และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด ไวรัสอีโบล่านี้จะมีอยู่ 5 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่

    • สายพันธุ์ชาร์อี (Ebola-Zaire) 

    ถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในแม่น้ำอีโบล่า เมืองยัมบูกู สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์) พบผู้ติดเชื้อจำนวน 318 ราย และมีผู้เสียชีวิตกว่า 280 ราย

    • สายพันธุ์ซูดาน (Ebola-Sudan)

    พบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 เช่นเดียวกัน ในเขตชนบทห่างไกล ประเทศซูดาน พบผู้ติดเชื้อจำนวน 284 ราย และมีผู้เสียชีวิต 151 ราย

    •  สายพันธุ์เรสตัน (Ebola-Reston)

    ถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2532 – 2533 โดยพบว่ามีการติดเชื้อในลิงจากประเทศฟิลิปปินส์ ในสถานกักกันของห้องปฏิบัติการที่เมือง Reston ประเทศสหรัฐอเมริกา การพบเชื้อครั้งนี้ทำให้เกิดโรครุนแรงในลิงและมีลิงตายเป็นจำนวนมาก ส่วนในคน พบการติดเชื้อ 4 ราย แต่ไม่แสดงอาการ

    •  สายพันธุ์ (Ebola-cote d’lvoire)

    พบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ที่ประเทศโกตติวัวร์ (cote d’lvoire) ที่มาของเชื้อพบว่าส่วนมากเกิดการติดเชื้อในลิง มีลิงป่วยหลายตัวและพบผู้ป่วยที่เป็นคน 1 ราย ซึ่งได้รับเชื้อจากการชำแหละลิง ผู้ป่วยรายนี้มีการแสดงอาการของโรคแต่ไม่เสียชีวิต

    • สายพันธุ์บุนดีบูเกียว (Ebola-Bundibugyo)

    ถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 จากการระบาดของเชื้อในตำบล Bundibugyo ที่ประเทศยูกันดา มีผู้ป่วยจำนวน 149 ราย ไม่มีรายงานการเสียชีวิต

    โรคติดต่อ อีโบล่า

    เชื้อไวรัสอีโบล่าเกิดการแพร่ระบาดได้อย่างไร?

    ในอดีตเชื้อไวรัสอีโบล่ามีการแพร่ระบาดจากสัตว์เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านการสัมผัสกับเลือด อวัยวะ สารคัดหลั่งหรือของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายของสัตว์ที่มีการติดเชื้อนี้ จนนำมาสู่การติดเชื้อจากคนสู่คน โดยมีหลักฐานพบว่าการติดเชื้อจากคนสู่คนเกิดมาจากการไปสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อได้แก่ ค้างคาว ลิง แอนติโลป ชิมแปนซี กอริลลา และเม่นในแอฟริกา ที่กำลังป่วยหรือเป็นซากในป่าที่มีฝนชุก จากนั้นโรคอีโบล่าจึงมีการแพร่ระบาดไปยังชุมชนเป็นวงกว้าง โดยสามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสเลือด อวัยวะ สารคัดหลั่งหรือของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่นเดียวกัน

    เชื้อไวรัสนี้มักจะแฝงตัวมากับนักท่องเที่ยวและผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาด รวมไปถึงมาจากการนำเข้าสัตว์ป่าที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสอีโบล่า เป็นโรคติดต่อที่เมื่อได้มีการสัมผัสโดยตรงก็จะเกิดการติดเชื้อ โดยเชื้อจะมีระยะการฟักตัวอยู่ที่ 2 – 21 วัน จากนั้นจึงจะเริ่มแสดงอาการ และยังสามารถแพร่เชื้อต่อได้ผ่านสารคัดหลั่งแม้จะหายจากโรคนานกว่า 7 สัปดาห์

    หากได้รับเชื้ออีโบล่า จะมีอาการอย่างไร?

    หากมีการรับเชื้ออีโบล่าเข้าสู่ร่างกาย ไวรัสจะเข้าไปทำลายเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยจะเกาะติดกับเซลล์เป้าหมายและเข้าสู่เซลล์ เพื่อแพร่กระจายเชื้อไปยังอวัยวะอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว อาการของการติดเชื้อโดยทั่วไปจะเหมือนกับการติดเชื้อไข้เลือดออก ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสอีโบล่าจึงจะมีอาการ ดังนี้

    • มีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย
    • ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ปวดตามข้อ
    • อาเจียน เจ็บคอ
    • มีอาการท้องเสีย
    • มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย
    • ตับและไตไม่ทำงาน
    • บางรายอาจมีเลือดออกทั้งภายใน และภายนอก
    • เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดต่ำ

    นอกจากนี้เชื้อไวรัสอีโบล่ายังสามารถที่จะแพร่ระบาดต่อไปได้ตลอด ตราบใดที่เลือดและสิ่งคัดหลั่งในร่างกายยังมีเชื้อไวรัสนี้แฝงอยู่ และทำให้มีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 50%

    อาการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า โรคอีโบล่า

    โรคอีโบล่า ติดต่อกันได้อย่างไร?

    แม้ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสที่มีความน่ากลัวรุนแรง แต่อีโบล่าก็ไม่ได้เป็นโรคที่แพร่เชื้อได้ง่ายมากเหมือนไข้หวัดใหญ่ หรือโรคหัด อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าเชื้อนี้จะสามารถแพร่กระจายติดต่อกันได้ต้องมาจากการสัมผัสกับเลือด อวัยวะ สารคัดหลั่งของคนหรือสัตว์ที่มีการติดเชื้ออยู่เท่านั้น จึงจะสามารถติดเชื้อและแพร่ระบาดต่อไปได้ และส่วนใหญ่แล้ว ความเสี่ยงในการได้รับไวรัสอีโบล่ายังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นปัจจัยหรือสาเหตุที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น ก็จะมีดังต่อไปนี้

    • ไปสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่มีการติดเชื้อหรือผู้ที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อ 
    • เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคหนัก
    • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อโดยที่ไม่ใส่ถุงยางอนามัย 
    • ผู้ทำพิธีศพที่ติดเชื้อ หรือผู้ที่ต้องใกล้ชิดกับศพ เนื่องจากร่างของผู้ตายยังสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้
    • ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ร่วมกับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบล่า
    • ผู้ที่ทำวิจัยหรือทำงานเกี่ยวกับสัตว์ โดยเฉพาะลิงที่มาจากแอฟริกา ฟิลิปปินส์ ทำให้มีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อมากขึ้น
    • สัมผัสกับสัตว์ป่าที่ติดเชื้อ หรือ รับประทานอาหารพิศดาร อาหารป่าแปลก ๆ 
    • บุคคลที่ต้องดูแลผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวที่มีการติดเชื้อ โดยเฉพาะหมอ พยาบาลแพทย์สามารถได้รับเชื้อได้ง่าย บุคลากรทางการแพทย์ ที่ไม่ได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน อย่าง หน้ากากและถุงมือ

    เราสามารถป้องกันและมีวิธีการรักษาหากเป็นโรคอีโบล่าได้อย่างไร?

    ในส่วนของการป้องกันการเกิดโรคอีโบล่านั้น ต้องบอกตามตรงว่าในปัจจุบันประเทศทั่วโลกยังคงไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อไวรัสอีโบล่าอย่างแพร่หลายและยังไม่มีการรักษาเฉพาะทาง แต่ก็ได้มีการพัฒนาวัคซีนสำหรับการป้องกันบ้างแล้ว โดยนำไปทดลองใช้กับบุคคลากรทางการแพทย์และประชาชนในพื้นที่ระบาดหนักเท่านั้น ยังไม่ถูกนำมาใช้กับบุคคลทั่วไป สิ่งที่ทำได้ดีที่สุด ณ ขณะนี้ คือการหลีกเลี่ยงปัจจัยหรือสาเหตุที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อตามข้อมูลข้างต้น การคัดกรองผู้ป่วยตามอาการ การประคับประคองอาการและใช้ยาต้านเชื้อโรค เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ

    สำหรับการป้องกันในประเทศไทย ขณะนี้กรมควบคุมโรคก็ได้มีมาตรการการคัดกรองนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่สนามบินแบบเข้มงวดมากขึ้น พร้อมทั้งเฝ้าระวังป้องกันโรค และยังคงเป็นข่าวดีที่ประเทศไทยเรายังไม่พบรายงานการติดเชื้อนี้แต่อย่างใด โดยกำหนดมาตรการในการควบคุมโรคที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ดังนี้

    1. ตรวจคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกทุกราย โดยการตรวจวัดอุณหภูมิและลงบันทึก พร้อมให้แจ้งที่อยู่ที่ชัดเจนในประเทศไทย แจ้งข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ วันเดือนปีล่าสุดที่เดินทางออกจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
    2. ผู้ที่เดินทางมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ภายใน 21 วัน ให้เขียนใบรายงานตัวและปฏิบัติตามบัตรเตือนสุขภาพ (Health beware card) พร้อมสังเกตอาการตนเอง
    3. ผู้ที่เดินทางมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ภายใน 21 วัน ที่ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายแล้วมีอุณหภูมิตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป มีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อย เพลีย และมีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยหรือผู้สงสัยป่วยด้วยโรคติดเชื้ออีโบล่า ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ด่านฯสุวรรณภูมิ เพื่อพิจารณาส่งต่อไปยังสถาบันบำราศนราดูร
    4. กองโรคติดต่อทั่วไปประสานเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เพื่อติดตามข้อมูลการคัดกรอง ผู้เดินทางจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกทุกสัปดาห์ พร้อมประเมินสถานการณ์โรค
    5. ให้เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ถ่ายสำเนาหน้าพาสปอร์ตที่ประทับตราเข้า-ออกประเทศ กับผู้ที่เดินทางมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ภายใน 21 วัน เพื่อใช้ในการติดตามข้อมูลของทีมสอบสวนโรค

    หากมีการติดเชื้ออีโบล่า จะสามารถใช้ประกันสุขภาพเคลมค่ารักษาได้หรือไม่?

    แน่นอนว่าพอมีข่าวการกลับมาแพร่ระบาดของโรคอีโบล่าอีกครั้ง แม้จะยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่หลาย ๆ คนก็เกิดความวิตกกังวลว่าจะมีโอกาสเป็นเหมือนกับสถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 หรือไม่ ทำให้คนส่วนใหญ่ที่ทราบข่าวและมีความกังวลได้เริ่มวางแผนที่จะหาซื้อประกันสุขภาพที่มีวงเงินค่ารักษาสูง ๆ เพียงพอต่อการรักษาเอาไว้ติดตัวเตรียมความพร้อมรับมือเหตุที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

    แต่บางส่วนก็อาจจะมีคำถามในใจว่า ถ้าเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบล่าในประเทศไทยขึ้นมาจริง ๆ จะสามารถใช้งานประกันสุขภาพที่ซื้อไว้ในการเบิกเคลมค่ารักษาได้หรือไม่ น้องแคร์จึงอยากแจ้งเป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นสำหรับผู้ถือประกันสุขภาพว่า หลักเกณฑ์เบื้องต้นที่เป็นผลประโยชน์ความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันสุขภาพในปัจจุบันจะครอบคลุมถึงการรักษาโรคอุบัติใหม่และโรคติดต่อต่าง ๆ โดยเฉพาะประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ที่มีวงเงินความคุ้มครองสูงและครอบคลุมการรักษาหลากหลยรูปแบบ จ่ายค่ารักษาตามจริง ดังนั้นหากวันนี้เรามีความกังวลเรื่องโรคอีโบล่าและอยากทำประกันสุขภาพ น้องแคร์ก็ขอแนะนำว่าควรซื้อประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายเพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งาน เพราะถึงแม้จะยังไม่ได้มีการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบล่า ก็ยังสามารถใช้งานในการรักษาโรคอื่น ๆ ได้โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องวงเงิน

    โรคติดต่อ อีโบล่า ไวรัสอีโบล่า

    และสำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกทำประกันสุขภาพกับบริษัทไหนดี หรือแผนไหนดี ก็สามารถเข้ามาดูข้อมูลที่แรบบิท แคร์ ได้เลย เรามีฟีเจอร์ช่วยเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับคุณและตรงความต้องการของคุณมากที่สุดไว้บริการ วางแผนรับมือตั้งแต่วันนี้ชีวิตดีแน่นอน!

    คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ

      

     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024