Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 02, 2024

โรคปลอกประสาทอักเสบคืออะไร และมีวิธีการแก้ไขอย่างไร?

โรคปลอกประสาทอักเสบ เกิดจากอะไร?

จากข้อมูลของ อ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล และ รศ.พญ.นาราพร ประยูรวิวัฒน์ ในบทความสุขภาพเรื่อง “โรคปลอกประสาทอักเสบ” จากเว็บไซต์ของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ได้กล่าวถึงโรคปลอกประสาทอักเสบ (Demyelinating Disease) ว่าจะเกิดขึ้นในบริเวณระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกประสาทที่หุ้มเส้นประสาทในส่วนของสมอง เส้นประสาทตา และไขสันหลัง โดยที่ปลอกประสาทนั้นจะมีหน้าที่ในการนำกระแสประสาท หากมีการอักเสบของปลอกประสาทขึ้นมาก็จะทำให้อวัยวะนั้น ๆ เกิดอาการผิดปกติไป เช่น มองเห็นไม่ชัด เส้นประสาทตาอักเสบ มีอาการตาพร่ามัว หรือไขสันหลังอักเสบจนทำให้มีอาการแขนขาอ่อนแรงทั้งสองข้าง เป็นต้น

โรคปลอกประสาทอักเสบ สาเหตุมาจากอะไร?

โรคปลอกประสาทอักเสบของระบบประสาทส่วนกลางนั้นจะพบได้บ่อยจาก 2 โรคนี้ ได้แก่ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis : MS) หรือโรคเอ็มเอส และโรคนิวโรมัยอิลัยติสออฟติกา (Neuromyelitis Optica : NMO) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่าโรคเอ็นเอ็มโอ โดยที่ทั้ง 2 โรคนี้นั้นจะมีลักษณะอาการที่คล้ายกัน แต่จะแตกต่างกันในบางส่วนทั้งในเรื่องของสาเหตุ กลไกการเกิดโรค รวมไปถึงวิธีการรักษา ซึ่งในปัจจุบันนี้ทั้ง 2 โรคนั้นสามารถรักษาให้หายได้ โดยการวินิจฉัยแยกโรคที่ถูกต้อง เนื่องจากอาการของโรคนั้นไม่จำเพาะต่อโรคใดโรคหนึ่ง ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อให้ได้สาเหตุหรือการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง ชัดเจน และรักษาได้ในระยะยาว

การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อแยกโรคปลอกประสาทอักเสบ

1. การตรวจจอประสาทตาโดยใช้เครื่องมือพิเศษ

เช่น ภาพถ่ายจอประสาทตา การตรวจการนำเข้ากระแสประสาทตา การตรวจความหนาของจอประสาทตา เป็นต้น

2. การตรวจคลื่นแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging : MRI)

ในส่วนที่มีอาการ เช่น ไขสันหลัง เส้นประสาทตา สมอง เป็นต้น เพื่อทำให้เกิดการมองเห็นภาพที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น จะได้ง่ายต่อการวินิจฉัยโรคมากกว่าภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปกติ

3. การตรวจเลือด

จะช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคและสามารถวางแผนการรักษาได้ง่ายขึ้น

4. การตรวจน้ำไขสันหลัง

จะช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคโดยที่โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งนั้นจะมีเม็ดเลือดขาวที่สูงมากกว่าปกติ และจะตรวจพบโปรตีนที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการอักเสบของระบบประสาทได้นั่นเอง

โรคปลอกประสาทอักเสบ อาการมีอะไรบ้าง?

1. โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (โรคเอ็มเอส)

สาเหตุ มักจะพบได้บ่อยในผู้หญิงที่กำลังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์อายุ 20-40 ปี และจะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคดังนี้ เช่น

  • กรรมพันธุ์
  • ชนชาติ (คนไทยจะพบได้น้อย)
  • เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เชื้ออีบีวี (Epstein-Bar Virus)
  • ระดับวิตามินดีในเลือดต่ำ
  • การสูบบุหรี่
  • โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ เป็นต้น

กลไกการเกิดโรค จะเกิดจากการที่เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ที่อยู่ในต่อมน้ำเหลืองนั้นได้รับการกระตุ้นจากสารบางชนิด และมีกลไกกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์นั้นออกจากต่อมน้ำเหลืองแล้วผ่านเข้าไปยังระบบประสาทส่วนกลาง เช่น เส้นประสาทตา ไขสันหลัง สมอง เป็นต้น จนเกิดการไปทำลายปลอกประสาทหรือปลอกมัยอิลินที่หุ้มอยู่รอบเส้นประสาท โดยที่ปลอกประสาทนั้นจะมีหน้าที่ในการส่งต่อกระแสประสาทให้เป็นไปอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการอักเสบและเกิดการทำลายปลอกประสาท จึงทำให้มีการนำกระแสประสาทได้ช้าลง และเกิดมีอาการผิดปกติต่าง ๆ ร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอาการเกิดขึ้นพร้อมกันก็ได้

อาการ

  • ตามัวลงอย่างเฉียบพลัน โดยมักจะเป็นข้างเดียว
  • กลอกตาแล้วเจ็บภายในเบ้าตา
  • ชาบริเวณแขน ขา ลำตัว กล้ามเนื้อแขนหรือขาอ่อนแรง ควบคุมระบบขับถ่ายได้อย่างผิดปกติ
  • มองเห็นภาพซ้อน ภาพเบลอ เดินเซ
  • เกร็งกล้ามเนื้อแขนขาเป็นพัก ๆ
  • พูดไม่ชัด เคี้ยวหรือกลืนอาหารลำบาก
  • อารมณ์แปรปรวน หรืออาจจะเป็นโรคซึมเศร้าได้
  • สูญเสียการทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่สัมพันธ์กัน
  • รู้สึกมึนงง เมื่อยล้าง อ่อนเพลีย
  • มีปัญหาเกี่ยวกับความจำและการทำสมาธิ

การรักษา

  • การรักษาระยะเฉียบพลัน จะมีการฉีดยาสเตียรอยด์ทางหลอดเลือดเป็นเวลา 3-7 วัน โดยจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย และจะต้องรับประทานยาสเตียรอยด์ต่อหลังจากที่มีการฉีดยาไม่เกิน 1-2 สัปดาห์
  • การรักษาระยะยาว โดยจะมีทั้งการฉีดยาใต้ผิวหนัง การรับประทานยา และการฉีดยาทางหลอดเลือด

การดำเนินโรคเอ็มเอส โรคนี้จะมีอาการกำเริบได้เป็นพัก ๆ ซึ่งอาจจะมีการกำเริบในตำแหน่งใหม่หรือตำแหน่งเดิมก็ได้ โดยมักจะกำเริบในช่วงปีแรก ๆ ของโรค เฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อปี ซึ่งผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มักจะมีโอกาสกำเริบขึ้นมาได้อีก 1% แต่ในบางครั้งก็จะมีการดำเนินโรคแบบรุดหน้า คือ ค่อย ๆ เป็นมากขึ้นโดยที่ไม่มีช่วงเวลาที่โรคกำเริบได้อย่างชัดเจน

2. โรคนิวโรมัยอิลัยติสออฟติกา (โรคเอ็นเอ็มโอ)

สาเหตุ โรคนี่มักจะพบเห็นได้บ่อยในผู้หญิงที่กำลังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์เช่นเดียวกัน แต่ก็อาจจะพบได้ในผู้ป่วยอายุน้อยไปจนถึงอายุมากกว่า 80 ปีด้วย ซึ่งก็จะมีอายุเฉลี่ยที่ประมาณ 40 ปี

  • กรรมพันธุ์
  • ชนชาติ (คนไทยและคนในประเทศแถบเอเชียจะพบได้บ่อยกว่าชนชาติผิวขาว)
  • เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เชื้ออีบีวี (Epstein-Bar Virus)

กลไกการเกิดโรค ผู้ป่วยโรคนี้จะมีการสร้างสารต่อต้านภูมิ (Antibody) โดยเม็ดเลือดขาวจะปล่อยเข้าไปในกระแสเลือดผ่านสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาทตา เป็นต้น เพื่อให้สารต่อต้านภูมินี้ไปจับกับตัวรับสารที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของผนังเซลล์ โดยจะทำหน้าที่เป็นช่องการผ่านของน้ำ (Aquaporin Channel) ที่อยู่บนผิวเซลล์ของระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้นเมื่อเกิดการจับตัวกันระหว่างสารต่อต้านภูมิและตัวรับสาร ก็จะเกิดการไปทำลายเซลล์ให้มีอาการผิดปกติตามมานั่นเอง

อาการ

  • เกร็งกล้ามเนื้อแขนขาเป็นพัก ๆ
  • มีอาการชาบริเวณแขน ขา ลำตัว กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง
  • ควบคุมระบบขับถ่ายได้อย่างผิดปกติ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • พูดไม่ชัด เคี้ยวหรือกลืนอาหารลำบาก
  • อารมณ์แปรปรวน หรืออาจจะเป็นโรคซึมเศร้าได้
  • สูญเสียการทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่สัมพันธ์กัน

การรักษา

  • ในกรณีที่เป็นระยะกำเริบเฉียบพลัน จะมีการฉีดยาสเตียรอยด์ทางหลอดเลือด 3-7 วัน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย และจะต้องรับประทานยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องหลังจากที่ได้รับการฉีดยาไปแล้ว แต่ถ้าหากผู้ป่วยได้รับยาสเตียรอยด์ไปแล้วมีอาการดีขึ้นเพียงเล็กน้อย แพทย์ก็อาจจะพิจารณาให้มีการเปลี่ยนถ่ายพลาสมา (Plasma Exchange) 5-7 ครั้ง โดยจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก
  • การรักษาในระยะโรคสงบ เนื่องจากว่าโรคนี้มีการกำเริบได้เป็นระยะ จึงต้องมีการใช้ยาป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำด้วย โดยจะมีทั้งแบบรับประทานและแบบยาฉีดทางหลอดเลือด

โรคปลอกประสาทอักเสบ วิธีป้องกันมีอะไรบ้าง?

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สารอาหารครบถ้วน
  4. พยายามไม่เครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส
  5. งดการดื่มสุราและสูบบุหรี่

ดังนั้นเรื่องสุขภาพจึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ ในชีวิตของคนเรา เพราะในปัจจุบันนี้ผู้คนต่างใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางความเสี่ยงต่าง ๆ มากมายที่เรานั้นไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อเราเจ็บป่วยขึ้นมาเมื่อใด สิ่งสำคัญที่เราจะต้องเตรียมนั่นก็คือในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ซึ่งถ้าหากว่าใครที่ไม่ได้มีเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็อาจจะลำบากขึ้นมาได้ ดังนั้นการเลือกทำประกันสุขภาพจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะประกันสุขภาพจะช่วยรองรับความเสี่ยงด้วยวงเงินคุ้มครองด้านสุขภาพในยามฉุกเฉิน ช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาล สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท อีกทั้งยังช่วยคลายกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาได้อีกด้วย เจ็บป่วยเล็กน้อยก็เคลมได้

และเมื่อมีการซื้อประกันสุขภาพผ่านโบรกเกอร์ชั้นนำอย่างแรบบิท แคร์ คุณจะสามารถเข้าถึงความคุ้มครองได้อย่างรวดเร็วและได้รับความคุ้มครองอย่างง่าย ๆ โดยที่เบี้ยประกันนั้นมีราคาที่ถูกด้วย เพราะคุณจะได้รับแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมและตอบโจทย์ตามความต้องการของคุณได้เป็นอย่างดีจากการเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพที่หลากหลาย อีกทั้ง แรบบิท แคร์ ยังมีข้อเสนอสุดพิเศษให้คุณอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพรายปี ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ประกันสุขภาพรายเดือน ประกันสุขภาพแบบไม่ต้องสำรองจ่าย หรือประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี อีกทั้งยังมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ง่ายดาย และสะดวกรวดเร็ว โดยที่คุณนั้นไม่ต้องไปเสียเวลาติดต่อตัวแทนขายประกันสุขภาพทีละบริษัทด้วยตนเองแต่อย่างใด

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

ประกันสุขภาพ ผู้สูงอายุGEN Senior Extra 7

ผู้สูงอายุ

  • คุ้มครองถึงอายุ 85 ปี สมัครได้ 41-70 ปี
  • สุขภาพหลักล้าน คุ้มครองเต็มที่ 1 ล้านบาท
  • ค่าห้อง รพ. คุ้มครอง 6,000 บาท/วัน
  • คุ้มครองค่ารักษาบ้าน รับเงินสูงสุด 60,000 บาท
  • คุ้มครอง CT Scan ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • ค่าตรวจแพทย์ คุ้มครองสูงสุด 12,000 บาท
  • สิทธิภาษีลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท
วิริยะ วี เบ็ทเทอร์ แคร์วิริยะ วี เบ็ทเทอร์ แคร์

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • แคร์คนทำ สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • แคร์ทั้งปี คุ้มครองเหมาจ่ายสูงสุด 770,000 บาท
  • ค่าห้องสูงสุด 4,500 บาท/วัน แคร์นอน รพ.
  • อายุ 15 วัน - 65 ปี สมัครได้ ไม่ต้องตรวจ
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู จ่ายตามจริง สูงสุด 30 วัน
  • คุ้มครองสูญเสียการได้ยิน การมองเห็น 100,000 บาท
  • แคร์ภาษี ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 25,000 บาท
วิริยะ วี เพรสทีจ แคร์วิริยะ วี เพรสทีจ แคร์

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • จ่ายค่ายากลับบ้าน แคร์ตามจริง
  • รักษาได้สูงสุด 4.5 ล้าน/ครั้ง ไม่จำกัดครั้ง
  • ค่าห้องสูงสุด 12,000 บาท/วัน แคร์นอน รพ.
  • ค่ารักษาอุบัติเหตุ 24 ชม. จ่ายตามจริง 31 วัน
  • แคร์มะเร็ง คุ้มครองเคมีบำบัด 100,000 บาทต่อปี
  • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต แคร์สูงสุด 100,000 บาท
  • แคร์ภาษี ลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท
ประกันเพิ่มเติมGEN Health D-Koom

ประกันเพิ่มเติม

  • เบี้ยไม่แพง เริ่มต้นที่ 18 บาท/วัน
  • เหมาจ่ายสูงสุด 1 ล้าน ไม่จำกัดวงเงิน/ครั้ง
  • คุ้มครองค่าห้อง 8,000 บาท/วัน ครอบคลุม BDMS
  • อายุ 6-65 ปี สมัครได้ ต่ออายุถึง 70 ปี
  • คุ้มครองหลายโรค รวมโรคร้าย โควิด-19
  • ไม่ต้องสำรองจ่าย รพ.เอกชนทั่วไทย
  • ลดหย่อนภาษี รับสูงสุด 25,000 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา