Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบประกันชีวิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

trustee.png
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Oct 04, 2023

ไขข้อข้องใจ ผู้จัดการมรดกคือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง?

เคยสงสัยกันไหมว่า ผู้จัดการกองมรดกนั้นคืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับการจัดการมรดกนัก แล้วคนทั่วไปอย่างเรา ๆ จำเป็นไหมที่จะต้องมีผู้จัดการกองมรดก หากต้องเป็นผู้จัดการมรดก มีอายุกี่ปี มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กับ แรบบิท แคร์ กันเถอะ

ผู้จัดการมรดกคือใคร? สำคัญอย่างไรในกองมรดก?

ผู้จัดการกองมรดก คือ ผู้เข้ามาทำหน้าที่รวบรวม ทำบัญชี และแบ่งปันทรัพย์สินหรือที่เราเรียกกันว่า มรดก ของผู้ตายให้กับทายาทหรือผู้ที่มีสิทธิรับมรดกในอัตราส่วนตามกฎหมาย โดยที่มาของผู้จัดการกองมรดก สามารถมาได้จากสองช่องทาง คือ

ผู้ที่ผู้ตายระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้จัดการกองมรดกที่ได้รับการแต่งตั้งจะเข้ามาจัดการมรดกให้ทันที โดยไม่ต้องรอยื่นให้ศาลแต่งตั้งให้ ยกเว้นแต่ทายาทผู้มีสิทธิคัดค้าน

ผู้ที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้แต่งตั้งได้ ก็คือ ทายาท (ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม), ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (เช่น เจ้าหนี้, ผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาท หรือผู้จัดการกองมรดกโดยพินัยกรรม เป็นต้น) และอัยการ

ผู้จัดการมรดก เป็นใครได้บ้าง?

ผู้จัดการกองมรดกสามารถเป็นใครก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นทายาทของเจ้ามรดก แต่จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาลและได้รับการยินยอมจากตัวผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกด้วย ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • เป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะ อายุ 20 ปีบริบูรณ์
  • ไม่เป็นคนวิกลจริต, คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

นอกจากนี้ ผู้จัดการกองมรดกยังมีหน้าที่นำมรดกของผู้ตายไปชำระหนี้สินของเจ้ามรดกแก่เจ้าหนี้ ทำบัญชีมรดก และรายการแสดงบัญชีการจัดการ โดยต้องจัดการไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่มรดก เช่น ผู้จัดการมรดก มีอำนาจขายที่ดินมรดกเพื่อนำไปใช้หนี้สินของผู้ตายได้ หากเสียงส่วนใหญ่จากทายาทได้รับความยินยอม

การตั้งผู้จัดการมรดก ต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนหรือไม่?

แม้ผู้จัดการกองมรดกจะสามารถถูกแต่งตั้งได้จากศาล แต่การแต่งตั้งผู้จัดการกองมรดกโดยไม่ต้องรอศาลแต่งตั้งได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาล ต้องเป็นทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก หรือผู้ที่ได้รับมรดกตามพินัยกรรม หรืออาจเป็นบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก หรือสามีภริยาซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมีทรัพย์สินร่วมกัน เป็นต้น

จากนั้นเตรียมเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง ดังนี้

  • เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับผู้ตาย เช่น สูติบัตร, ทะเบียนสมรส, ทะเบียนบ้าน, บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น มรณบัตรของผู้เสียชีวิต
  • เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดก เช่น โฉนดที่ดิน, หนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ห้องชุด, สมุดเงินฝากธนาคาร, ทะเบียนรถยนต์, ทะเบียนอาวุธปืน เป็นต้น
  • บัญชีเครือญาติ
  • หนังสือยินยอมให้เป็นผู้จัดการกองมรดกจากทายาท
  • พินัยกรรม (ถ้ามี)
  • หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)

นำเอกสารข้างต้น ไปยังศาลที่เจ้ามรดก (ผู้ตาย) มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลในขณะถึงแก่ความตาย หรือถ้าไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศ ให้ไปศาลทีทรัพย์ตั้งอยู่ โดยจะมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมศาล, ค่าปิดประกาศแจ้ง ณ ภูมิลำเนาผู้ตายหรือที่ว่าการอำเภอ ตามอัตรานำหมายของศาล เป็นต้น

ซึ่งคำถามที่ว่าตั้งผู้จัดการมรดก ต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนหรือไม่? แน่นอนว่าการรับความยินยอมจากทายาททุกคนเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อลดความขัดแย้ง ความไม่พอใจ และป้องกันการเกิดปัญหา แต่หากมีทายาทคนไหนไม่เห็นด้วย ก็สามารถยื่นเรื่องส่งศาลเพื่อพิจารณาจัดตั้งผู้จัดการมรดกใหม่ก้ได้เช่นกัน ทั้งนี้คำตัดสินต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลด้วย

ขอเป็นผู้จัดการมรดก ใช้เวลากี่วัน? มีหน้าที่อะไรบ้าง?

เมื่อยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว จะนัดไต่สวนคำร้องประมาณ 2 เดือน หลังจากไต่สวนคำร้องเสร็จ 1 เดือน ผู้ร้องสามารถขอคัดสำเนาคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดก พร้อมหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดเพื่อใช้ดำเนินการต่อไปได้เลย โดยเมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้ว ทางศาลจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งให้หน้าที่ของผู้จัดการมรดก ดังต่อไปนี้

  • จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน และต้องจัดทำให้เสร็จภายใน 1 เดือน หากไม่เสร็จก็สามารถขออนุญาตต่อศาลขยายระยะเวลาอีกได้ ซึ่งบัญชีทรัพย์มรดก ต้องประกอบด้วย รายการแสดงทรัพย์สิน, สิทธิเรียกร้อง, เงิน, มูลค่า และแจ้งจำนวนเจ้าหนี้ เป็นเงินรวมเท่าใด และต้องมีพยานรับรอง 2 คน โดยหนึ่งในพยานจะต้องเป็นทายาทที่มีส่วนได้เสียในกองมรดกด้วย ถ้ามิได้จัดทำให้เสร็จภายในกำหนดเวลา และตามแบบที่กำหนด หรือบัญชีไม่เป็นที่พอใจแก่ศาล เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือการทุจริต หรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้

  • ต้องจัดการทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการ และแบ่งปันมรดกแก่ทายาททั้งหมด ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งตั้ง โดยจำนวนเสียงข้างมากของทายาท หรือศาลจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

  • ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดก เว้นแต่พินัยกรรมหรือทายาทจำนวนเสียงข้างมากจะได้กำหนดไว้

  • จะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้ เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตจากศาล

  • ต้องจัดการมรดกด้วยตนเอง

  • ถ้าผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก โดยเห็นแก่ทรัพย์สินอย่างใด ๆ หรือประโยชน์อื่นใดอันบุคคลภายนอกได้ให้ หรือได้ให้คำมั่นว่าให้เป็นลาภส่วนตัวย่อมไม่ผูกพันทายาท เว้นแต่ทายาทจะได้ยินยอมด้วย

  • ต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสีย และแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นภายในเวลาอันสมควร

  • ทายาทจะต้องบอกทรัพย์สินมรดกและหนี้สินของผู้ตายตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการกองมรดก

  • ผู้จัดการกองมรดกต้องจัดแบ่งสินมรดกและมอบโดยเร็วโดยชำระหนี้กองมรดก(ถ้ามี)เสียก่อน

ในกรณีที่ผู้จัดการมรดกไม่ยอมแบ่งมรดก ต้องทำยังไง?

หากผู้จัดการกองมรดกไม่ยอมแบ่งทรัพย์สินตามที่กำหนดในพินัยกรรมหรือตามกฎหมาย ผู้รับสืบทอดมีสิทธิ์ในการดำเนินการตามหลักกฎหมาย โดยสามารถดำเนินการได้ ดังนี้

• ติดต่อทนายความ

ในกรณีที่ผู้จัดการกองมรดกไม่ปฏิบัติตามหน้าที่, คุณควรขอคำแนะนำจากทนายความเพื่อเข้าใจสิทธิ์ของคุณ และวิธีการดำเนินการต่อไป

• ฟ้องร้องไปยังศาล

หากคุณมั่นใจว่าผู้จัดการกองมรดกละเมิดหน้าที่ของเขา คุณสามารถยื่นเรื่องให้ศาลได้ เพื่อวินิจฉัยยกเลิกสถานะของผู้จัดการกองมรดก หรือให้ความช่วยเหลือในการแบ่งทรัพย์สิน โดยบางครั้งศาลอาจเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเจรจากับผู้จัดการกองมรดกได้

เบื้องต้นแล้ว ไม่เพียงแค่กรณีที่ผู้จัดการกองมรดกไม่ยอมแบ่งมรดกเท่านั้น แต่หากผู้จัดการกองมรดกไม่ทำหน้าที่อย่างถูกต้อง เช่น ปิดบังมรดกต่อทายาท, มีการแบ่งมรดกที่ทางทายาทมองว่าไม่เป็นธรรม เป็นต้น ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะทางทายาทฟ้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก และแต่งตั้งผู้จัดการกองมรดกใหม่ได้เช่นกันตามกระบวนการข้างต้น

จะเห็นได้ว่าเรื่องการแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องที่ยุ่งยากไม่น้อย หากต้องการแบ่งเบาภาระเหล่านี้ลง การเริ่มต้นมรวบรวมเอกสารสำคัญต่าง ๆ รวมถึงททรัพย์สินเตรียมพร้อมไว้ ก็ไม่เสียหาย เช่น โฉนดที่ดินต่าง ๆ , ทำประกันชีวิต หรือประกันต่าง ๆ รวมถึงทำพินัยกรรมไว้แต่ต้นก็ไม่เสียหาย หรือการทำประกันชีวิตทิ้งไว้ให้กับคนที่คุณรักเอง ก็ถือว่าเป็นการทำพินัยกรรมทิ้งไว้ให้คนที่อยู่ข้างหลังได้ทันที

สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะทำประกันชีวิตที่ไหนดี? หรือจะเลือกเปรียบเทียบทำประกันเจ้าไหน? นี่เลยกับ แรบบิท แคร์ ! ด้วยบริการเปรียบเทียบประกันต่าง ๆ ให้คุณได้เบี้ยประกัน และผลประโยชน์ที่ต้องการ กับ แรบบิท แคร์ คลิกเลย!

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Credit Care ไทยประกันชีวิตCredit Care

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ยเริ่ม 3 บาท/วัน คุ้มครอง
  • เสียชีวิตอุบัติเหตุ สูงสุด 1 ล้าน
  • บัตรเครดิต ชดเชย เสียชีวิต 1 แสนบาท
  • คุ้มครองคู่สมรส สูงสุด 1.5 ล้าน
  • ครอบคลุม 20-60 ปี
  • คุ้มครอง จยย. ขับขี่ สูงสุด 1 แสน
  • สมัครง่าย เบี้ยคงที่ ไม่ตรวจสุขภาพ
Gen Senior 55 GeneraliGen Senior 55

Generali

  • เบี้ยเริ่มต้น 11 บาท/วัน
  • คุ้มครองตลอดสัญญา สูงสุด 90 ปี
  • รับเงินก้อน 350,000 บาท สูงสุด
  • ชำระรายปี ลด 7%
  • อายุรับประกัน 55-70 ปี
  • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ สมัครง่าย
  • ส่งต่อเงินก้อนให้ลูกหลาน อยู่ครบสัญญาหรือจากไป
สูงวัยไร้กังวล ไทยประกันชีวิตสูงวัยไร้กังวล

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ยเริ่ม 8 บาท/วัน ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • ส่งต่อมรดกให้คนที่รัก
  • เสียชีวิตรับสูงสุด 450,000 บาท
  • รับสูงสุด 150% ของเงินประกัน เมื่อเสียชีวิต
  • อายุสมัคร 50-75 ปี คุ้มครอง 90 ปี
  • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ สมัครง่าย
  • จ่ายเบี้ยได้ทั้งรายปี และรายเดือน
GEN Senior So Good GeneraliGEN Senior So Good

Generali

  • เบี้ยเริ่ม 15 บาท/วัน
  • ค่าเบี้ยคงที่ จนถึง 90 ปี
  • คุ้มครองสูงสุด 150% รับ 450,000 บาท
  • ชำระรายเดือน สูงสุด 12 เดือน
  • สมัครได้ อายุ 55-70 ปี
  • สมัครง่าย ผ่านโทรศัพท์ 15 นาที
  • ชำระรายปี รับส่วนลด 8%

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา