Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Oct 13, 2023

Fisher Effect คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรในทางเศรษฐศาสตร์

ในยุคที่เศรษฐกิจมีความผันผวนสูง และอัตราเงินเฟ้อมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากกขึ้น ข้อหนึ่งที่สำคัญสำหรับนักลงทุนเลยก็คือการวิเคราะห์และคาดการณ์ทิศทางของเศรษฐกิจและการลงทุน ทฤษฎี Fisher Effect จึงเปรียบเสมือนอีกเครื่องมือหนึ่งสำหรับการคาดการณ์เหล่านั้น ดังนั้นวันนี้เรามีข้อมูล Fisher Effect คืออะไรมาฝาก

Fisher Effect คืออะไร?

ทฤษฎี Fisher Effect คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest Rate) และ อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) ถูกเสนอโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ Irving Fisher ในปี 1930 นั่นหมายความว่า ทฤษฎี Fisher effect คือการอธิบายความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศที่สนใจ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทย กับต่างประเทศ จะเท่ากับความแตกต่างของอัตราเงินเฟ้อระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต สามารถอธิบายได้ด้วยสมการข้างล่าง คือ

อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest rate) = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real interest Rate) + อัตราเงินเฟ้อที่คาดหมาย (Expected Inflation Rate)

หรือหากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายและเห็นภาพมากขึ้น สามารถสรุปได้ว่า ทฤษฎี Fisher effect เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายว่า ‘อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน’ จะเปลี่ยนแปลงตาม ‘อัตราเงินเฟ้อคาดหมาย’ นั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น

  • ดอกเบี้ยเงินฝาก คืออัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest rate) = 5%
  • อัตราเงินเฟ้อคาดหมาย (Expected Inflation rate) = 3%
  • อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) = 2%

ทฤษฎี Fisher Effect มีประโยชน์อย่างไร?

โดยปกติแล้ว ทฤษฎี Fisher Effect จะถูกอธิบายเชื่อมโยงกับทฤษฎีอำนาจซื้อเปรียบเทียบ หรือที่เรียกว่า ทฤษฎี International Fisher Effect (IFE) ซึ่งอาศัยความแตกต่างของเงินเฟ้อระหว่างสองประเทศเป็นตัวกลาง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจากทฤษฎีพบว่า การเปลี่ยนแปลงอัตราการแลกเปลี่ยนที่คาดหมาย จะส่งผลกระทบต่อผลกำไร หรือขาดทุนของนักลงทุน โดยความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal Interest Rate) ในตลาดเงินระหว่างตลาดเงินสองประเทศ จะเท่ากับเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสองสกุล ในทิศทางตรงกันข้ามกัน คือ เงินตราสกุลที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า จะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเงินตราสกุลที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ด้วยเหตุนี้ ทฤษฎี Fisher Effect จึงมีประโยชน์ต่อการคาดการณ์ผลลัพธ์ของการลงทุนอันเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนนั่นเอง

ตัวอย่างทฤษฎี Fisher Effect?

ทฤษฎี Fisher Effect สามารถใช้อธิบายปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ได้ ซึ่งจากผลการศึกษาของ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยพบว่า อัตราเงินเฟ้อ (INF) มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารพาณิชย์ สอดคล้องกับทฤษฎี Fisher Effect หมายความว่า หากในระบบเศรษฐกิจมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาเงินเฟ้อด้วยการปรับดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารสูงตาม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนต้องการฝากเงิน กล่าวโดยสรุปคือ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน จะแปรผันตรงกับอัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศ ดังนั้น ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูง จะมีอัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินสูงกว่าประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่า

ตัวอย่างทฤษฎี International Fisher Effect?

ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนชาวสหรัฐอเมริกาลงทุนด้วยการซื้อพันธบัตรของไทยอายุ 10 ปี ให้ผลตอบแทน 4% ซึ่งในขณะนั้น สหรัฐอเมริกาได้ออกพันธบัตรอายุ 10 ปี ให้ผลตอบแทน 6% ทำให้ผลต่างของอัตราดอกเบี้ยเป็น 2% ดังนั้นในช่วงเวลา 10 ปี เงินตราสกุลบาทไทยคือสกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า ควรจะแข็งค่าขึ้นอย่างน้อย 2% นักลงทุนชาวสหรัฐอเมริกา จึงจะไม่ขาดทุน แต่หากเงินบาทไทยอ่อนค่าลงหรือแข็งขึ้นแต่ไม่ถึง 2% นักลงทุนควรจะลงทุนกับพันธบัตรสหรัฐอเมริกา จะทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ในทางกลับกัน หากเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นมากกว่า 2% เช่น แข็งค่าขึ้น 4% นักลงทุนก็จะได้ผลกำไรจากการลงทุนเท่ากับ 2% นั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี Fisher Effect

จากทั้งหมดดังที่กล่าวไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นนิยามของ Fisher Effect คืออะไร หรือตัวอย่างการนำทฤษฎี Fisher Effect มาใช้คาดการณ์การลงทุน จะช่วยให้มีความเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ของทฤษฎี Fisher effect มากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการลงทุนในอนาคตได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรจะศึกษาเพิ่มเติมถึงวิธีการนำสมการหรือเครื่องมือในการวิเคราะห์มาใช้กับFisher Effect ด้วยเช่นกัน

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

UOB Xpress สินเชื่อส่วนบุคคลUOB Xpress

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 9.99% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา
  • สูงสุด 2,000,000 บาท
  • รวมหนี้สินเชื่อ ผ่อน 60 เดือน
  • พนักงาน 25,000 บาท อายุงาน 4 เดือน
  • รายได้ 25,000 บาท กิจการ 3 ปีขึ้นไป
  • อายุ 20-60 ปี รวมระยะผ่อน
สินเชื่อส่วนบุคคล Happy CashHappy Cash

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 9.99% พิเศษ 5 เดือน
  • สูงสุด 1.5 ล้าน
  • ผ่อน 60 เดือน ไม่มีค้ำ
  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ผ่อนรวมไม่เกิน 60 ปี
  • พนักงาน 15,000 บาท+, เจ้าของกิจการ 50,000 บาท+
  • อายุงาน 6 เดือนขึ้นไป, เจ้าของกิจการ 3 ปี
LINE BKLINE BK

สินเชื่อเงินสด

  • ยืมได้แม้รายได้ 5,000 บาท
  • ใช้วงเงินทันทีหลังอนุมัติ
  • ใช้จ่ายจำเป็น ดอกเบี้ยไม่เกิน 25%
  • ทุนธุรกิจ ดอกเบี้ยไม่เกิน 33% วงเงิน 100,000 บาท
  • อนุมัติ 5 เท่าของรายได้ สูงสุด 8 แสน
  • บัญชี LINE BK สมัครใน LINE
สินเชื่อเงินสดนาโนฟินนิกซ์นาโนฟินนิกซ์

สินเชื่อเงินสด

  • ยืม 10,000 บาท ดอกเบี้ยวันละ 9 บาท
  • อนุมัติเร็ว แจ้งผลใน 5 นาที
  • กู้ได้แม้รายได้ 8,000 บาท
  • วงเงิน 100,000 บาท ไม่ต้องค้ำ
  • สมัครได้ทุกอาชีพ รายได้ไม่แน่นอน
  • ใช้แค่บัตรประชาชนและสเตทเม้นท์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา