แคร์การเงิน

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร? ใครต้องจ่าย? ยื่นภาษีออนไลน์ได้หรือไม่?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: December 15,2022
ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กี่เปอร์เซ็นต์

แน่นอนว่าสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนผู้มีเงินได้จากการทำงานทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็คือ การยื่นภาษี เพื่อนำจ่ายตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเงินได้ที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเราจะได้รับจากบริษัทก็จะได้รับไม่เต็มจำนวนเงินเดือนตามที่ตกลง เนื่องจากส่วนหนึ่งของเงินเดือนของเราก็จะถูกหักไปสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม 750 บาท และอีกส่วนหนึ่งของเงินเดือนจะถูกหักภาษีล่วงหน้าหรือเรียกว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัทจะหักไว้ตามกฎหมาย รวมถึงอาจมีการหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท หลังจากนั้นจึงจะเหลือเป็นเงินเดือนสุทธิที่โอนเข้าบัญชีเงินเดือนของเรา ทำไมบริษัทจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย กับเรา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไรกันแน่ วันนี้น้องแคร์มีคำตอบ

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร? สัมพันธ์กับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร?

    ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือเงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินได้จะดำเนินการหักออกจากเงินได้ที่จะต้องจ่ายให้กับผู้รับเงินได้ อย่างเช่น บริษัทจ่ายเงินให้กับพนักงาน บริษัทก็คือผู้จ่ายเงินได้ ส่วนพนักงานผู้รับเงินเดือนก็คือผู้รับเงินได้ ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายนี้ก็คือการจัดเก็บภาษีล่วงหน้าตามกฎหมายที่ผู้จ่ายเงินได้จะต้องมีการหักออกก่อนนำจ่ายให้ผู้รับเงินได้ทุกครั้ง เพื่อนำส่งให้กับกรมสรรพากร และผู้จ่ายเงินได้จะต้องมีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือเอกสาร 50 ทวิให้กับผู้รับเงินได้ เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีและยื่นภาษีต่อไป

    โดยภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะมีความสัมพันธ์กับบุคคล 2 ประเภท ตามข้างต้น ก็คือ ผู้ที่จ่ายเงินได้ และผู้รับเงินได้ อ้างอิงตามกฎหมายแล้วมีการระบุไว้ว่า ให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีไว้ล่วงหน้านำส่งให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้รับเงินได้ก็จะได้รับเงินไม่เต็มจำนวนเนื่องจากบางส่วนเป็นภาษีที่ถูกหักไว้ แต่เมื่อผู้รับเงินได้จะต้องนำไปยื่นภาษีจะต้องนำเงินได้เต็มจำนวนก่อนถูกหักภาษีล่วงหน้าจากผู้จ่ายเงินได้ไปยื่นเท่านั้น ซึ่งเงินที่ถูกหักไว้ล่วงหน้าจากผู้จ่ายเงินได้นั้น ก็คือเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง ในส่วนของผู้รับเงินได้ก็จะได้รับเป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ ที่ผู้จ่ายเงินได้จะนำส่งให้ผู้รับเงินได้ หลังจากมีการดำเนินการหักภาษีล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ผู้รับเงินได้นำเอกสารดังกล่าวไปใช้เป็นหลักฐานในคำนวณภาษีและยื่นภาษีกับกรมสรรพากรต่อไป ซึ่งการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะเป็นเสมือนการแจ้งให้สรรพากรรับทราบว่าคุณคือบุคคลที่มีเงินได้ ที่จะต้องมีหน้าที่นำไปยื่นภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย

    ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายนี้จะมีความสัมพันธ์กับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตรงที่ ภาษีเงินได้ประจำปีที่เราคิดได้จะต้องถูกหักออกจากภาษีที่มีการจ่ายล่วงหน้า โดยภาษีจ่ายล่วงหน้านอกเหนือจากภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้วยังมีภาษีครึ่งปีด้วย โดยยอดภาษีจ่ายล่วงหน้าทั้ง 2 แบบจะถูกนำไปหักออกจากภาษีเงินได้ที่คิดได้ทั้งปี เมื่อดำเนินการหักเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำให้เราทราบว่าเราจะต้องมีการจ่ายภาษีเพิ่มหรือต้องขอคืนภาษี ซึ่งการจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือต้องขอคืนภาษีก็จะขึ้นอยู่กับว่าเรามีการจ่ายภาษีล่วงหน้าไปมากหรือน้อยเพียงใด หากมีการจ่ายภาษีล่วงหน้าไปมากกว่าจำนวนที่ต้องจ่ายภาษี คุณก็จะต้องขอคืนภาษี (ได้เงินคืน) แต่หากมีการจ่ายภาษีล่วงหน้าน้อยกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายภาษี คุณก็จะต้องมีการจ่ายภาษีเพิ่มนั่นเอง

    ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ยื่นภาษี  ยื่นภาษีออนไลน์

    ประเภทค่าใช้จ่ายที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง? ต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย กี่เปอร์เซ็นต์?

    ประเภทค่าใช้จ่ายที่บุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นผู้รับและจะต้องถูกนำมาหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งตามแบบ ภ.ง.ด.3 สามารถแบ่งได้ตามกำหนดไว้ทั้งหมด 7 ประเภท ดังนี้

    1. ค่าจ้างและเงินเดือน ตามมาตรา 40 (1)
      มนุษย์เงินเดือนผู้ได้รับเงินเดือนค่าจ้างทุกคน เงินเดือนที่จะได้รับในแต่ละเดือนจะต้องถูกหักหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยบริษัทผู้จ่ายเงินได้ก่อนทุกครั้งตามกฎหมาย ดังนั้น บริษัทที่จ่ายเงินได้ให้กับพนักงานจะต้องนำรายได้ตลอดทั้งปีของพนักงานมาคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยหากเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ก็จะได้รับยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือต่ำสุด 0% แต่หากคำนวณแล้วมียอดที่จะต้องเสียภาษี บริษัทก็จะนำยอดภาษีทั้งปีที่คำนวณได้หารด้วย 12 จะได้เป็นยอดที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในแต่ละเดือน ฝั่งพนักงานก็จะได้รับเป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือเอกสาร 50 ทวิ เพื่อนำไปยื่นภาษีประจำปีต่อไป
    2. จ้างทำงานหรือบริการ ตามมาตรา 40 (2)
      การจ้างทำงานหรือบริการ หมายถึงบริษัทมีการว่าจ้างงานบุคคลธรรมดาให้ทำงานหรือบริการ เช่น จ้างให้เป็นนายหน้าขายสินค้า และจะได้รับเงินได้ในรูปแบบส่วนแบ่งค่าคอม เป็นต้น จะใช้วิธีคำนวณเหมือนการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ หากเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ก็จะได้รับยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือต่ำสุด 0% เช่นกัน
    3. จ้างรับเหมาหรือบริการ
      การจ้างรับเหมาหรือบริการ ก็อย่างเช่น การจ้างผลิตสินค้าต่าง ๆ  รวมไปถึงการจ้างรีวิวสินค้าและการจ้างช่างภาพมาถ่ายรูปสินค้า และอื่น ๆ ที่จะต้องใช้อุปกรณ์ของผู้รับงานผู้ว่าจ้างไม่ได้เป็นคนจัดหาให้ ก็จะถือเป็นการจ้างรับเหมาหรือบริการทั้งสิ้น ซึ่งจะต้องมีการถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% แต่ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างมีอปุกรณ์ให้จะถูกจัดอยู่ในประเภทจ้างทำงานหรือบริการ ตามข้อ 2.
    4. จ้างบริการวิชาชีพอิสระ
      บริษัทผู้ว่าจ้างจะดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% โดยกลุ่มวิชาชีพอิสระจะประกอบไปด้วย 6 วิชาชีพ ดังต่อไปนี้เท่านั้น

      – โรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม การพยาบาล ผดุงครรภ์  เภสัชกรรม ทันตกรรม กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์  
      – ประณีตศิลป์ เช่น งานหล่อ งานวาด งานปั้น
      – สถาปนิก 
      – วิศวกร
      – นักบัญชี
      – ทนายความ

    5. ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์
      กรณีมีการเช่าสถานที่เพื่อจัดตั้งเป็นบริษัทโดยผู้เช่ามีสิทธิ์ในการถือกุญแจ จะถูกนับเป็นค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ที่บริษัทผู้ให้เช่าจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% รวมไปถึงส่วนของการจ้างนักแสดง นักร้อง อาชีพเพื่อความบันเทิงต่าง ๆ และรางวัลจากการแข่งขันหรือชิงโชค ก็จะถูกจัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% เช่นเดียวกัน แต่หากเป็นกรณีเป็นการยืมสถานที่ที่ไม่มีสิทธิ์ในการถือกุญแจ เช่น เป็นการเช่าสถานที่เพียงชั่วคราวเพื่อจัดงานแล้วจบ จะถูกจัดอยู่ในประเภทจ้างรับเหมาหรือบริการ ที่มีอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3%
    6. ค่าโฆษณา
      หากคุณมีบริษัทที่ต้องการผลิตโฆษณาเพื่อโปรโมทสินค้าของตนเอง โดยได้ทำการจ้างบริษัทรับทำโฆษณาเพื่อโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ด้านการตลาด เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ ก็จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 2% ในขณะที่หากเป็นงานบริการด้านการตลาด เช่น การจ้างรีวิวสินค้า จ้างบริษัททำการตลาด เหล่านี้ก็จะถูกจัดอยู่ในประเภทจ้างรับเหมาหรือบริการ ที่จะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ตามข้อ 3. แทน
    7. ค่าขนส่ง
      บริษัทที่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและให้บริการด้านการขนส่ง จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% แต่หากเป็นกรณีเป็นบริษัทที่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนบริการด้านขนส่งก็จะยังไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ในหมวดค่าใช้จ่ายประเภทค่าขนส่งจะรวมไปถึงค่าเบี้ยประกันวินาศภัย ที่จะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% ด้วยเช่นเดียวกัน
    ยื่นภาษีออนไลน์ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายกี่เปอร์เซ็นต์

    บริษัทคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของมนุษย์เงินเดือนอย่างไร?

    สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ มาตรา 40 (2) ในแต่ละงวด หากเป็นเงินได้รายเดือน ให้นำเงินได้นี้คูณด้วยจำนวนงวดที่ต้องจ่ายตลอดปีภาษี (คูณ 12 กรณีเป็นเงินเดือน) ก็จะได้จำนวนเงินได้พึงประเมินทั้งหมดที่จ่ายตลอดปีภาษี จากนั้นจึงนำเงินได้พึงประเมินตลอดปีที่คำนวณได้ไปคำนวณภาษีตามเกณฑ์มาตรา 48 ก็จะได้จำนวนภาษีที่จะต้องหักไว้ ณ ที่จ่ายทั้งปี และให้หารกลับด้วยจำนวนงวดที่ต้องจ่ายทั้งปีอีกครั้ง เช่น 12 ในกรณีจ่ายรายเดือน  ก็จะได้จำนวนเงินภาษีที่บริษัทจะต้องหักเอาไว้ ณ ที่จ่ายในแต่ละงวดนั่นเอง

    ตัวอย่างเช่น เป็นมนุษย์เงินเดือนมีรายได้พึงประเมินต่อเดือน 30,000 บาท ต่อปี 360,000 บาท มีรายการหักเบื้องต้นรวม 169,000 บาท ดังนั้นเงินได้สุทธิจะอยู่ที่ 360,000 – 169,000 = 191,000 บาท เมื่อนำมาคำนวณอัตราภาษีที่ต้องจ่ายตามขั้นภาษีเงินได้ จะต้องเสียภาษีเงินได้ที่ 5% เท่ากับ 2,050 บาท นำมา 2,050 บาท มาคำนวณหาภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยการนำ 2,050 หาร 12 = 170.8 บาท แสดงว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักออกจากเงินเดือนของผู้รับเงินได้ทุก ๆ เดือน จะอยู่ที่ 170.8 บาท ดังนั้น เงินเดือนที่จะได้รับจริงหลังหักกองทุนประกันสังคมและภาษีหัก ณ ที่จ่ายเรียบร้อยแล้ว จะอยู่ที่ 29,080 บาท เป็นต้น

    เงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง?

    1. การหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องเป็นการจ่ายเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป : การจ่ายเงินได้พึงประเมินจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ผู้จ่ายจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งตามกฎหมาย ก่อนนำส่งเงินได้ให้ผู้รับ แม้เงินได้ที่จะดำเนินการจ่ายนั้นจะมีการแบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่เกิน 1,000 บาทก็ตาม
    2. ผู้จ่ายต้องมีการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับผู้รับเงิน : ทุกครั้งที่ผู้จ่ายมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินได้ของผู้รับ ผู้จ่ายมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับผู้รับทุกครั้ง โดยออกให้ทันทีที่มีการหักภาษี เพื่อให้ผู้รับเงินได้ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณและยื่นภาษีประจำปีต่อไป ยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ มาตรา 40 (2) ผู้จ่ายเงินจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
    3. ยึดตามเกณฑ์เงินสด : ภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะยึดเกณฑ์เงินสด โดยยึดจากการจ่ายเงินวันใด ก็ต้องหักภาษีในวันนั้น โดยแบ่งเป็น

      การจ่ายเงินสด หากจ่ายเงินสดวันใด ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
      การจ่ายเป็นเช็คหรือตั๋วเงิน หากมีการจ่ายแบบเช็คหรือตั๋วเงิน จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามวันที่ที่ปรากฎสั่งจ่ายบนเช็คหรือตั๋วเงินเท่านั้น 
    4. การนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย : จะต้องนำส่งภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม

    หากไม่ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะมีความผิดหรือไม่?

    การหลีกเลี่ยงไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย จ่ายไม่ครบ ไม่ตรงตามกำหนด จะมีความผิด ดังนี้

    • กรณีหากผู้จ่ายเงินได้ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำเงินส่ง หรือนำเงินส่งแต่ไม่ครบ ผู้จ่ายเงินได้จะต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ ในการชำระเงินตามจำนวนภาษีที่ไม่ได้หักและไม่ได้นำส่ง หรือตามจำนวนเงินที่ขาด
    • กรณีหากผู้จ่ายเงินไม่นำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้จ่ายเงินจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน

    การยื่นภาษี สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้หรือไม่?

    การยื่นภาษีที่เกี่ยวข้องกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น จะมีการยื่นภาษีในแบบเดียวกัน พูดง่าย ๆ ก็คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่จะต้องมีการนำเอกสารหนังสือรับรองภาษีไปที่รวบรวมมาจากการถูกหักภาษี มากรอกรายละเอียดข้อมูลในแบบฟอร์มการยื่นภาษีร่วมด้วย เนื่องจากเอกสารหนังสือรับรองการหักภาษีจะเป็นตัวชี้วัดว่า เมื่อคุณคำนวณรายได้ทั้งปีแล้วจะต้องมีการเสียภาษีที่แท้จริงที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปก่อนแล้วเป็นจำนวนเท่าไหร่

    ซึ่งหากกรณีเอกสารหนังสือรับรองหารหักภาษีหาย คุณจะยังสามารถดำเนินการยื่นภาษีได้ปกติโดยให้ติดต่อไปยังผู้จ่ายเงินให้ออกเอกสารให้ใหม่ หรือสามารถใช้การบันทึกภาพถ่ายเอกสารแทนได้ ซึ่งการยื่นภาษีสามารถยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึงวันที่ 31 มี.ค.ของปีถัดไป (2566) และ หากเป็นการยื่นภาษีแบบออนไลน์จะสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เม.ย. 2566 ซึ่งหากใครที่ประสงค์จะยื่นภาษีแบบออนไลน์ สามารถยื่นภาษีออนไลน์ 2566 ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th

    และทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลของภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ และอย่าลืมว่าสิ่งที่จะช่วยให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเราสามารถจ่ายภาษีได้น้อยลง ก็คือการวางแผนซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตทั่วไป ประกันออมทรัพย์ ที่สามารถยื่นลดหย่อนได้สูงสุดถึง 100,000 บาท หรือจะเป็นประกันสุขภาพ ที่สามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้ถึง 25,000 บาท รวมถึงประกันบำนาญ ที่สามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 2000,000 บาท วิธีนี้ก็จะทำให้คุณมีภาระด้านภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปีลดลงได้ พร้อมได้รับความคุ้มครองจากผลิตภัณฑ์ที่คุณวางแผนทำไว้รองรับความเสี่ยงด้วย

    น้องแคร์แนะนำว่าใกล้สิ้นปีแบบนี้ให้รีบหาประกันดี ๆ ไว้ครอบครองโดยสามารถเข้ามาเลือกซื้อกันได้ที่ แรบบิท แคร์ เรารวบรวมทุกประเภทประกันที่สามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้จากหลากหลายบริษัทประกันชั้นนำไว้บริการคุณที่นี่ที่เดียว

    คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ

      

     

    บทความแคร์การเงิน

    Rabbit Care Blog Image 97227

    แคร์การเงิน

    ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

    เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
    คะน้าใบเขียว
    14/11/2024
    Rabbit Care Blog Image 94185

    แคร์การเงิน

    ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

    พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
    Natthamon
    03/09/2024
    Rabbit Care Blog Image 93664

    แคร์การเงิน

    มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

    เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
    คะน้าใบเขียว
    22/08/2024