ขับรถปวดหลัง เพราะนั่งนานหลายชั่วโมง มีวิธีแก้ปวดแบบไหนให้ทำตามบ้าง
อาการขับรถปวดหลังสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ใช้งานรถยนต์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไกลหรือระยะสั้นก็ตาม เนื่องจากเหตุผลสำคัญอย่างพฤติกรรมการนั่งขับขี่ที่ไม่เหมาะสม หรือการนั่งขับที่ใช้เวลานานเกินไป จนกลายเป็นอาการขับรถปวดหลังสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าหากไม่มีการแก้ไขอย่างเหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดเป็นโรคปวดเรื้อรังได้เช่นเดียวกัน เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานรถยนต์ทุกคนที่มีความเสี่ยงจะเกิดอาการขับรถปวดหลัง แล้วรู้สึกเจ็บปวดจนขับขี่ลำบาก แรบบิท แคร์ เลยเลือกนำเสนอวิธีแก้ไขปัญหา พร้อมกับการสรุปท่านั่งขับรถที่เหมาะสมเตรียมไว้ให้ด้วย
5 วิธีแก้ปวดหลัง นั่งนาน
5 วิธีแก้ปวดหลัง นั่งนาน คือ ปรับพฤติกรรมในการนั่งขับรถ, พักยืดกล้ามเนื้อ, เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงระหว่างขับ, ใช้อุปกรณ์เสริมเข้ามาช่วย และออกกำลังกายเพื่อแก้ปัญหาอาการปวด ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีทั้งหมดที่กล่าวมา มีรายละเอียดเพิ่มเติมที่จะสามารถทำตามได้อย่างง่ายดาย ดังเนื้อหาในหัวข้อย่อยต่อไปนี้
ปรับพฤติกรรมในการนั่งขับรถ
ปรับพฤติกรรมการนั่งขับรถให้ดี เพราะอาการขับรถปวดหลังโดยหลักแล้วเริ่มต้นจากการจัดท่านั่งที่ไม่ดี แล้วต้องนั่งขับเป็นเวลานาน การเริ่มต้นปรับพฤติกรรมให้ดีที่สุด คือ ปรับเบาะนั่ง, ปรับระยะขา, ปรับพนักพิงหลัง, ปรับตำแหน่งรองศรีษะ และปรับระยะพวงมาลัย ส่วนวิธีการปรับเพิ่มเติมในแต่ละข้อ เพื่อช่วยลดโอกาสเกิดอาการขับรถปวดหลัง มีดังนี้
- ปรับเบาะนั่ง ให้เกิดความเหมาะสมจนสามารถมองเห็นระยะได้รอบคัน ปรับเบาะให้สูงโดยเหลือระยะห่างระหว่างศรีษะกับเพดานรถประมาณ 1 ฝ่ามือ และยกปลายเบาะให้เงยขึ้นเล็กน้อย ช่วยให้มองเห็นทัศนวิสัยดีขึ้น รวมถึงควบคุมรถได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
- ปรับระยะขา ให้เข่าไม่งอมากเกินไป สามารถเหยียบเบรกและคันเร่งได้อย่างถนัดพอดี เริ่มต้นจากการปรับท่านั่งให้สะโพกแนบเบาะเต็มที่
- ปรับพนักพิงหลัง ให้ตั้งตรงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในขณะที่เรายังรู้สึกความสบายอยู่ด้วย แต่อย่างน้อยควรเอนเอียงไว้ประมาณ 110 องศา ให้มีระยะห่างจากพวงมาลัยที่พอดี โดยที่ยังวางมือไว้บนพวงมาลัยได้ดี
- ปรับตำแหน่งรองศรีษะ โดยอิงจากใบหูให้อยู่กึ่งกลางของหัวหมอนตามแนวด้านข้าง เพื่อช่วยรองรับสรีระ รวมถึงความพร้อมสำหรับการรับมือหากเกิดแรงกระแทกได้ด้วย
- ปรับระยะพวงมาลัย ให้สูงไม่เกินช่วงไหล่ของผู้ขับขี่ พยายามปรับมุมพวงมาลัยให้อยู่ในระดับประมาณ 3 และ 9 นาฬิกา ซึ่งจะช่วยให้เราหมุนพวงมาลัยได้ง่าย แบบที่ไม่หลุดมือ และช่วยลดอาการปวดไหล่ได้อีกต่างหาก
พักยืดกล้ามเนื้อ
พักยืดกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการขับรถปวดหลัง จากอาการที่กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บ เมื่อต้องนั่งขับอยู่ท่าเดิมโดยใช้เวลานาน ฉะนั้นถ้ารู้ตัวว่าเริ่มขับรถเป็นเวลานาน แล้วรู้สึกขับรถปวดหลัง ให้แวะพักที่จุดจอดรถ และทำการยืดกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม ส่วนท่ายืดกล้ามเนื้อที่ดี แรบบิท แคร์ เตรียมมาแนะนำทั้งหมด 7 ท่าด้วยกันดังนี้
- ท่าที่ 1 เริ่มต้นจากการยกแขนขวาขนานพื้น ตั้งฉากกับลำตัว ใช้มือซ้ายจับศอกขวา ออกแรงผลักไปข้างหลัง ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำข้างละ 5 ครั้ง
- ท่าที่ 2 เหยียดขาไปด้านหน้า ยกเท้าขึ้น เหยียดปลายเท้าสุด กระดกปลายเท้าขึ้นลงเล็กน้อย ทำซ้ำข้างละ 5 ครั้ง
- ท่าที่ 3 นั่งยืดตัว บืบไหล่ยกขึ้นหาใบหู ค้างไว้ 2 วินาที ค่อยลง ทำประมาณ 5 ครั้ง
- ท่าที่ 4 นั่งยืดตัวตรง มือจับขอบเขาะ มือซ้ายสอดใต้ขาขวา บิดตัวค้างไว้ 5 วินาที ทำข้างละ 5 ครั้ง
- ท่าที่ 5 นั่งเหยียดขาไปด้านหน้า ยกเท้าลอยพ้นพื้น ทำข้างละ 5 ครั้ง
- ท่าที่ 6 ยืนตัวตรง 2 มือจับพนักพิง เขย่งปลายเท้า 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย โดยทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที แล้วจึงกลับมายืนท่าเดิม ทำข้างละ 10 ครั้ง
- ท่าที่ 7 พับเข่าไปด้านหลัง ใช้มือดึงข้อเท้าเข้าหาสะโพก จะรู้สึกตึงต้นขาด้านหน้า แต่ให้ทำตัวตรงค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำข้างละ 4-5 รอบ
เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงระหว่างขับ
เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงระหว่างขับ เช่น การขับรถต่อเนื่องนานเกินไปโดยไม่หยุดพักยืดกล้ามเนื้อ หรือมีการก้มเงยบ่อยครั้ง จนทำให้เกิดอาการขับรถปวดหลังเฉพาะจุดขึ้นมา ถึงแม้ว่าเราจะทำการยืดกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมแล้ว ถ้ายังไม่ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่กล่าวมา ก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกขับรถปวดหลังขึ้นมาได้เรื่อย ๆ นั่นเอง
ใช้อุปกรณ์เสริมเข้ามาช่วย
ใช้อุปกรณ์เสริมเข้ามาช่วยเมื่อรู้สึกถึงอาการขับรถปวดหลังบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในส่วนของเบาะรองหลังกับหมอนรองคอ เพราะการที่เราเสริมความนุ่มสบายให้กับส่วนหลังรับภาระหนัก จะลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ดี ยิ่งถ้าเป็นคนตัวเล็กต้องมีการปรับให้ตัวไปชิดพวงมาลัยมากขึ้น มีโอกาสรู้สึกขับรถปวดหลังมากกว่าคนอื่น การเสริมเบาะรองจึงเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาอย่างมาก รวมถึงเบาะรองคอที่ช่วยเสริมการรับสรีระของศรีษะให้ดีขึ้นอีกระดับ
ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดอาการขับรถปวดหลังได้ จากการที่เราเสริมกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เช่น การแพลงก์ ซิทอัพ ที่เน้นกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว หรือการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังมัดลึก โดยผลลัพธ์ของการออกกำลังกายตามคำแนะนำ จะช่วยเพิ่มความกระชับให้กับกล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่พยุงกระดูกสันหลัง และเพิ่มความมั่นคงให้กับแนวกระดูกสันหลัง ถือเป็นการช่วยลดปัญหาขับรถปวดหลังได้ดีในระยะยาว
หากอนาคตในการขับขี่รถยนต์เกิดความรู้สึกขับรถปวดหลังอีก อย่าลืมเลือกวิธีที่เราสะดวกสบายไปใช้งาน ปรับตัวให้สามารถขับขี่ได้ต่อเนื่อง พร้อมลดอาการปวดจนไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ทางที่ดีถ้ารู้ว่าตัวเองต้องขับรถยนต์เป็นระยะเวลานานบ่อยครั้ง ควรนำทุกวิธีไปปรับใช้อย่างเหมาะสมให้ครบถ้วน จะได้เลี่ยงการเกิดความรู้สึกขับรถปวดหลังมากที่สุดนั่นเอง
สรุปท่านั่งขับรถที่เหมาะสม
สรุปท่านั่งขับรถที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้มีอาการขับรถปวดหลัง ต้องให้ความสำคัญกับการปรับท่านั่งในทุกส่วน เริ่มต้นตั้งแต่ระยะเบาะให้ห่างเหมาะสมกับพวงมาลัย สามารถยืดขา งอเขาได้เหมาะสม พร้อมกับการเบรกและเหยียบคันเร่ง ปรับพนักพิงให้ตรง แต่ยังรู้สึกสบายเมื่อต้องนั่งเป็นเวลานาน มีมุมเอียงที่พอดี ปรับความสูงต่ำให้ดีกับสรีระของผู้ขับขี่ หากเราสามารถเริ่มต้นจัดท่านั่งได้ตั้งแต่แรก ก็ช่วยลดความเสี่ยงขับรถปวดหลังได้ดีที่สุดด้วยเหมือนกัน
พอได้ท่านั่งที่ดีแล้ว นอกเหนือจากการช่วยลดอาการขับรถปวดหลัง ยังช่วยทำให้ลดอาการบาดเจ็บ หากเกิดสถานการณ์ไม่คาดฝัน อย่างอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วย เนื่องจากเบาะที่เราปรับไว้พอดีกับสรีระ และระยะการยืดขาที่เหมาะสม ฉะนั้นตลอดเวลาที่ต้องขับรถ อย่าลืมจัดท่านั่งให้ดีก่อนออกเดินทาง หาโอกาสที่เหมาะสมสำหรับจอดรถพักผ่อนเพิ่มเติม รวมถึงการเตรียมความพร้อมเรื่องประกันรถยนต์ให้ดี จะได้สามารถจัดการปัญหาอย่างเร่งด่วน หากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนขึ้นมาจริง ๆ
สำหรับคนที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับประกันรถยนต์เพิ่มเติม สามารถติดต่อหา แรบบิท แคร์ ได้ที่เบอร์ 1438 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง และถ้าตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์กับทาง แรบบิท แคร์ เรามีส่วนลดช่วยประหยัดให้สูงสุดถึง 70% และเลือกผ่อนประกันรถยนต์ 0% ได้นาน 10 เดือน
สรุป
5 วิธีแก้ปวดหลัง นั่งนาน สามารแก้ไขได้ง่าย ๆ ดังนี้
- ปรับพฤติกรรมในการนั่งขับรถ เพราะอาการขับรถปวดหลังมักเกิดจากการจัดท่านั่งที่ไม่ดี แล้วต้องนั่งขับเป็นเวลานาน โดยเราเริ่มได้ง่าย ๆ เพียงปรับเบาะนั่ง, ปรับระยะขา, ปรับพนักพิงหลัง, ปรับตำแหน่งรองศรีษะ และปรับระยะพวงมาลัย ให้ได้ระยะที่เหมาะสม
- หากต้องขับรถป็นระยะเวลานาน ๆ ควรจอดรถแวะพักข้างทางเพื่อพักยืดกล้ามเนื้อบ้าง
- เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงระหว่างขับ เช่น การขับรถต่อเนื่องนานเกินไปโดยไม่หยุดพักยืดกล้ามเนื้อ หรือมีการก้มเงยบ่อยครั้ง
- ใช้อุปกรณ์เสริมเข้ามาช่วย เช่น การซื้อเบาะเสริมรองนั่งมาใช้งาน เพื่อให้สามารถปรับพฤติกรรมการนั่งที่ถูกสุขลักษณะได้นั้นเอง
- ออกกำลังกายเพื่อแก้ปัญหาอาการปวด เช่น การแพลงก์ ซิทอัพ ที่เน้นกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว หรือการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังมัดลึก
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology