วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี ทำอย่างไรบ้าง? ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

Thirakan T
ผู้เขียน: Thirakan T Published: มิถุนายน 13, 2024
Thirakan T
Thirakan T
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology
คะน้าใบเขียว
แก้ไขโดย: คะน้าใบเขียว Last edited:
คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี

หลายคนอาจเคยเจออุบัติเหตุรถชนจนเป็นเหตุที่ทำให้ต้องแจ้งเคลมประกันรถยนต์ แต่การเคลมประกันรถยนต์มีหลายแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเกิดเหตุ ณ ขณะนั้น อย่างไรก็ตาม การแจ้งเคลมแบบมีคู่กรณีมีเงื่อนไขและเอกสารที่ต้องแจ้งเคลมที่แตกต่างจากการเคลมประกันรถยนต์แบบอื่น ๆ วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมขั้นตอนและวิธีเคลมประกัน มีคู่กรณีมาให้เรียบร้อยแล้ว

วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี คืออะไร?

การเคลมประกันมีคู่กรณี หรือเรียกโดยทั่วไปว่าคือ การเคลมสด คือ การแจ้งขอเคลมกรณีความเสียหายที่ต้องให้ตัวแทนของบริษัทประกัน หรือเจ้าหน้าตรวจสอบเป็นผู้เดินทางเข้าตรวจสอบความเสียหาย ณ ที่เกิดเหตุ โดยคู่กรณียังอยู่ในที่เกิดเหตุ หรือผู้เอาประกันสามารถระบุข้อมูลของคู่กรณีได้อย่างชัดเจน ดังนั้นแล้ว เมื่อเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนของบริษัทดำเนินการตรวจสอบความเสียหาย หรือเจรจาไกล่เกลี่ยกับคู่กรณีได้เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้มอบใบเคลมหรือเอกสารหลักฐานสำหรับให้ผู้เอาประกันนำรถเข้าซ่อมที่อู่หรือศูนย์บริการในเครือของบริษัทประกันภัยได้ตามที่เงื่อนไขสัญญากรมธรรม์กำหนดได้ทันที และในกรณีที่มีผู้บาดเจ็บ หรือไม่บาดเจ็บ รวมไปถึงกรณีมีผู้เสียชีวิต ตรงนี้ควรรอเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ กู้ภัยที่ได้รับมอบหมายมาดำเนินการ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เช่น รถติดไฟไหม้/เสี่ยงอันตรายซ้ำ

วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี ต้องเริ่มจากอะไร?

ขั้นตอนการเคลมประกันรถยนต์แบบสด หรือวิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี มีดังต่อไปนี้

1. ติดต่อบริษัทประกันรถยนต์

เริ่มจากการเตรียมเอกสารกรมธรรม์ประกันรถยนต์ที่เลือกทำไว้ จากนั้นติดต่อบริษัทประกันรถยนต์ตามข้อมูลช่องทางที่มีระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์ พร้อมแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น หมายเลขกรมธรรม์ ชื่อและข้อมูลรถคันเอาประกัน รายละเอียดเหตุการณ์และความเสียหายเบื้องต้นที่เกิดขึ้น และสถานที่เกิดเหตุ จากนั้นรอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาคสนามเข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุต่อไป โดยระหว่างรอ ควรเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินทันทีเพื่อความปลอดภัย และถ้าหากมีผู้บาดเจ็บหรือรถไม่สามารถขับเคลื่อนได้ ก็ควรแจ้งพนักงานบริษัทประกันทันที เพื่อประสานงานเรียกรถพยาบาลหรือรถยกลากไปยังที่เกิดเหตุโดยเร็วที่สุด

2. แสดงเอกสารยืนยันตัวตนแก่เจ้าหน้าที่ภาคสนาม

เมื่อตัวแทนหรือเจ้าหน้าที่ภาคสนามเดินทางมายังที่เกิดเหตุ ให้ผู้เอาประกันแสดงเอกสารยืนยันตัวตนที่เกี่ยวข้องกับรถคันเอาประกัน ตัวอย่างเช่น บัตรประชาชน ใบอนุญาตขับขี่  เล่มทะเบียนรถ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ เพื่อความรวดเร็วในการยืนยันการตรวจสอบข้อมูลของเจ้าหน้าที่ภาคสนาม

3. เจ้าหน้าที่สรุปเหตุการณ์

จากนั้นผู้เอาประกันเข้าร่วมการตรวจสอบการเกิดเหตุ โดยเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยละเอียด เพื่อสรุปเหตุการณ์ว่าฝั่งใดเป็นฝั่งถูก หรือฝั่งผิด ซึ่งจะมีผลต่อการชำระเงินค่าความเสียหายส่วนแรกที่ได้มีการตกลงไว้กับบริษัทประกันภัยในตอนเริ่มต้นทำสัญญากรมธรรม์ ตามขั้นตอนวิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี

4. เจ้าหน้าที่ออกใบเคลมประกัน

เมื่อเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนของบริษัทประกันเข้าตรวจสอบพื้นที่ที่เกิดเหตุ และสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นได้แล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการออกใบสรุปความเสียหายหรือใบเคลมให้กับผู้เอาประกันเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการนำรถเข้ารับการซ่อมจากอู่หรือศูนย์บริการที่อยู่ในเครือของบริษัทประกันภัยโดยที่ผู้เอาประกันไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด

วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี คือการเคลมประเภทใด?

วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี คือ การเคลมประกันรถยนต์แบบสด หรือการที่มีการแจ้งเคลมทันทีเมื่อเกิดความเสียหาย โดยคู่กรณีต้องยังอยู่ในที่เกิดเหตุ หรือผู้เอาประกันสามารถระบุข้อมูลของคู่กรณีได้อย่างครบถ้วนแม่นยำ เช่น เลขทะเบียนรถ ชื่อนามสกุล หรือข้อมูลติดต่อคู่กรณี โดยเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนของบริษัทประกันจะดำเนินการเข้าตรวจสอบเหตุการณ์ และสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้น ถ่ายรูปที่เกิดเหตุ เจราจาไกล่เกลี่ยกับคู่กรณี และดำเนินการออกเอกสารหลักฐานใบสรุปความเสียหาย หรือใบเคลมให้กับผู้เอาประกันเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการนำรถเข้ารับการซ่อมต่อไป โดยแบบประกันที่สามารถแจ้งเคลมความเสียหายแบบการเคลมสด แบบมีคู่กรณี ได้แก่ ประกันรถยนต์ชั้น 1, ชั้น 2+ และชั้น 3+

วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี

วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี แตกต่างจากกรณีไม่มีคู่กรณีอย่างไร?

เคลมประกันแบบไม่มีคู่กรณี (เคลมแห้ง)

การเคลมประกันรถยนต์แบบไม่มีคู่กรณี คือ การแจ้งเคลมประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์คันเอาประกัน รู้จักทั่วไปในชื่อ การเคลมแบบแห้ง ซึ่งอาจเป็นการแจ้งเคลมความเสียหายเล็กน้อยรอบคันรถคันเอาประกัน ซึ่งมักเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่มีคู่กรณีที่เป็นรถยนต์ เป็นอุบัติเหตุที่เล็กน้อย ความเสียหายไม่มากนัก ตัวอย่างเช่น ขับรถชนฟุตบาท ขับรถรถชนต้นไม้ เสาไฟฟ้า หรือประตูบ้าน หรือการแจ้งเคลมกรณีถูกชนแล้วหนี และไม่สามารถระบุข้อมูลผู้กรณีได้ ซึ่งไม่ใช่วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี

ประเภทประกันรถยนต์ที่สามารถเคลมประกันรถยนต์แบบไม่มีคู่กรณีได้ คือ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ซึ่งอาจต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) ตามที่มีระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์ ในขณะที่การเคลมประกันรถยนต์ชั้น 2+ และ 3+ จำเป็นต้องมีการแสดงหลักฐานที่สามารถระบุตัวคู่กรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้อย่างชัดเจน 

การแจ้งเคลมประกันรถแบบแห้ง ต้องสามารถระบุวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ ตลอดจนข้อมูลคู่กรณีที่ไม่ใช่รถยนต์ได้อย่างชัดเจน รวมถึงต้องเตรียมเอกสารประกอบการเคลมรถยนต์ให้ครบถ้วน เพื่อเตรียมติดต่อเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยรถยนต์ต่อไป ดังต่อไปนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบอนุญาตขับขี่ขับขี่หรือสำเนา
  • เล่มทะเบียนรถ หรือสำเนา
  • สำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
  • ใบเคลมประกันรถจากบริษัทฯ
  •  รูปถ่ายหลักฐานและบันทึกความเสียหาย

ทั้งนี้ วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณีและการชนแบบไม่มีคู่กรณีในกรณีไม่สามารถระบุคู่กรณีที่เป็นรถยนต์ได้ หรือคู่กรณีไม่ใช่รถยนต์ สามารถแบ่งออกมาเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) ชนสิ่งของที่ไม่ใช่ยานพาหนะทางบก เช่น การเฉี่ยวชนฟุตบาท เสาไฟฟ้า ประตูหรือรั้วบ้าน หรือต้นไม้ 2) ความเสียหายที่ไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ เช่น กรณีถูกชนแล้วหนี หรือกรณีรถมีร่องรอยเสียหายโดยที่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ และ 3) ภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น ภัยธรรมชาติที่ไม่ทราบล่วงหน้า ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี

เคลมประกันแบบมีคู่กรณี (เคลมสด)

การเคลมประกันรถยนต์แบบสด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เคลมสด คือรูปแบบวิธีเคลมประกัน มีคู่กรณีและความเสียหายจากกรณีรถคันเอาประกันชนกับยานพาหนะทางบก หรือชนกับคู่กรณีที่ไม่ใช่รถยนต์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง โดยผู้เอาประกันจะเป็นผู้ติดต่อแจ้งเคลมกับบริษัทประกันภัยทันที ณ วันเวลาที่เกิดเหตุ และรอเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนบริษัทประกันเข้าสรุปความเสียหาย ไกล่เกลี่ย หรือสรุปฝั่งผู้กระทำผิด ณ ที่เกิดเหตุ 

ทั้งนี้ หากผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด อาจต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกตามที่มีการตกลงไว้กับบริษัทประกันภัยรถยนต์ในกรณีที่ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด ซึ่งการเลือกจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกจะช่วยลดค่าเบี้ยประกันได้ เมื่อเปรียบเทียบกับแบบประกันที่ไม่มีการตกลงจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 

ตัวอย่างเช่น เบี้ยประกันรถยนต์แบบรายปี มีเบี้ยประกันอยู่ที่ 10,000 บาท แต่หากผู้เอาประกันเลือกทำประกันรถยนต์แบบที่ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกก่อนทุกครั้งที่แจ้งเคลมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถเอาประกัน  และผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด โดยต้องจ่าย 2,000 บาท ทำให้เหลือเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายอยู่ที่ 8,000 บาทเท่านั้น

วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี ไม่รับเคลมกรณีใดบ้าง?

คปภ. ระบุว่าบริษัทประกันอาจปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมชดเชย กรณีผู้เอาประกันนำรถคันเอาประกันใช้งานผิดเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์ ดังต่อไปนี้ 

  • ใช้รถยนต์กระทำความผิดตามกฎหมาย เช่น การขนยาเสพติด หรือใช้ปล้นทรัพย์สิน
  • ใช้รถยนต์ผิดประเภท เช่น การปรับแต่งรถยนต์และใช้แข่งขันความเร็ว หรือใช้ลากจูง
  • ใช้รถยนต์ในขณะที่มีแอลกอฮอล์อยู่ในเลือดเกินกว่า 150 มิลลิกรัม
  • ใช้รถยนต์นอกอาณาเขตคุ้มครอง โดยไม่แจ้งให้บริษัทประกันรถยนต์รับทราบ
  • ใช้รถยนต์ในพื้นที่ที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากสงคราม การปฏิวัติต่อต้าน อาวุธปรมาณู และความเสียหายจากกัมมันตภาพรังสี

วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี

วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี ทำอย่างไร?

การแจ้งเคลมประกันรถยนต์ มีคู่กรณี หากแจ้งเคลมทันที ณ วันเวลาเกิดเหตุจะเรียกว่า “เคลมสด”

ในขณะที่หากแจ้งเคลมประกันภายหลังจากการเกิดเหตุความเสียหาย จะเรียกว่า “เคลมแห้ง” ทั้งนี้ ใบเคลมประกัน หรือใบสรุปความเสียหายของรถคันเอาประกันที่ผู้เอาประกันได้รับจากเจ้าหน้าที่ทันที หลังจากเจ้าหน้าที่สรุปเหตุการณ์และความเสียหายจากพื้นที่เกิดเหตุ อาจมีอายุใช้งานภายใน 1-2 ปีนับจากวันที่ออกใบเคลม ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน และวิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี

รวมถึงวิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี หากรถคันเอาประกันเฉี่ยวชนกับคู่กรณีที่ไม่ใช่ยานพาหนะทางบก หรือรถยนต์ ตัวอย่างเช่น รั้วบ้าน เสาบ้าน กระถางต้นไม้ ถือว่าเป็นเหตุการณ์ความเสียหายแบบมีคู่กรณี แม้ว่าคู่กรณีจะไม่ใช่รถยนต์ก็ตาม แต่ผู้เอาประกันจำเป็นต้องระบุข้อมูลคู่กรณี และรายละเอียดของการเกิดเหตุได้อย่างครบถ้วน ซึ่งอาจจะต้องมีการจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ อย่างไรก็ตาม มีรายละเอียดแจ้งเคลมประกันชั้น 1 โดยทั่วไปดังต่อไปนี้

  • ติดต่อบริษัทประกันพร้อมแจ้งรายละเอียดเหตุการณ์ สถานที่เกิดเหตุ และข้อมูลกรมธรรม์
  • รอเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ ไกล่เกลี่ย และประเมินความเสียหาย ณ พื้นที่ที่เกิดเหตุ
  • นำรถคันเอาประกันเข้าซ่อม ณ ศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมตามแบบประกันที่เลือกทำไว้

วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี ใช้เอกสารอะไรบ้าง

  • สำเนาใบขับขี่ของผู้ขับขี่ในขณะเกิดเหตุ
  • สำเนาทะเบียนรถยนต์
  • สำเนาหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
  • สำเนาบันทึกประจำวัน (ตามกรณีที่เกิดขึ้น)
  • เอกสารการชนแล้วแยก หรือใบรับรองความรับผิดจากคู่กรณี (ตามกรณีที่เกิดขึ้น)

กรณีที่การเคลมประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครอง

  1. การใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น การขนส่งยาเสพติดหรือการปล้นทรัพย์สิน
  2. การใช้รถเพื่อการแข่งขัน ซึ่งเป็นการใช้งานในลักษณะที่ไม่เหมาะสม และอาจสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น
  3. อุบัติเหตุที่ผู้ขับมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 150 มิลลิกรัม หรือในคำพูดทั่วไปก็คือ เมาแล้วขับ
  4. การนำรถไปใช้งานในลักษณะลากจูง ซึ่งถือเป็นการใช้รถยนต์ในประเภทที่ผิดและอาจทำให้รถเกิดความเสียหายจากการใช้งานที่ไม่ปกติ
  5. การนำรถออกไปใช้นอกเขตพื้นที่การคุ้มครอง เช่น การขับขี่รถออกนอกประเทศ โดยหากมีความจำเป็นต้องทำเช่นนั้น ควรแจ้งบริษัทประกันภัยตามกรณี
  6. อุบัติเหตุที่เกิดจากสงคราม การปฏิวัติต่อต้าน อาวุธนิวเคลียร์ และความเสียหายจากกัมมันตภาพรังสี

การจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกในการเคลมประกันแบบมีคู่กรณี

หลังจากที่พนักงานจากบริษัทประกันได้ทำการพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ฝ่ายที่ผิดอาจจะต้องชำระค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) ให้กับคู่กรณีก่อน ตามเงื่อนไขที่ตกลงกับบริษัทประกัน ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจหรือ Deductible คือค่าเสียหายที่ผู้ใช้รถตกลงที่จะชำระให้กับบริษัทประกันในกรณีที่มีการเคลมจากอุบัติเหตุที่ผู้ใช้รถเป็นฝ่ายผิด โดยผู้ขับขี่สามารถเลือกที่จะตกลงในช่วงการทำประกัน ซึ่งจะช่วยลดเบี้ยประกันตามจำนวนค่า Deductible ที่ได้ระบุไว้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเบี้ยประกันรายปีอยู่ที่ 10,000 บาท แต่หากคุณระบุว่า ยินดีจ่ายค่า Deductible ทุกครั้งที่เกิดเหตุในกรณีที่เป็นฝ่ายผิดที่ 2,000 บาท เบี้ยประกันจะถูกปรับลดลงให้เหลือเพียง 8,000 บาทเท่านั้น

แรบบิท แคร์ รวบรวมแบบประกันรถยนต์ชั้น 1 จากทุกบริษัทประกันภัยชั้นนำมาให้ได้เลือกเปรียบเทียบและต่อประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ได้ด้วยตนเองตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมรับสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าซื้อตรงจากบริษัทประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดสูงสุด 70% บริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางถนนตลอด 24 ชั่วโมง บริการรถสำรองใช้ระหว่างซ่อม และบริการเสริมเพิ่มความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ขับขี่อีกมากมาย ขอรับคำแนะนำว่า ประกัน ชั้น 1 คุ้มครอง อะไร บ้าง หรือวิธีเคลมประกัน มีคู่กรณีจากผู้เชี่ยวชาญของแรบบิท แคร์ ได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โทรเลย 1438 ตลอด 24 ชั่วโมง

สรุป

วิธีเคลมประกันมีคู่กรณี จะเป็นการเคลมทันทีเมื่อเกิดความเสียหายกับตัวรถ โดยคู่กรณีต้องยังอยู่ในที่เกิดเหตุ หรือระบุข้อมูลของคู่กรณีได้อย่างครบถ้วน เช่น เลขทะเบียนรถ, ชื่อนามสกุล หรือข้อมูลติดต่อคู่กรณี และเมื่อเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนบริษัทประกันตรวจสอบสถภาพความเสียหาย จะมีการเจรจาไกล่เกลี่ยกับทางคู่กรณี และมีการดำเนินการออกเอกสารหลักฐานใบเคลมเพื่อให้นำรถเข้าซ่อมต่อไป ซึ่งจะแตกต่างจากการเคลมไม่มีคู่กรณีที่ตัวผู้เอาประกันจะต้องเป็นคนแจ้งความเสียหาย พร้อมระบุเหตุการณ์ต่าง ๆ แทน และมีเรื่องของค่าใช้จ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ด้วย


บทความแนะนำอื่นๆ : ประกันภัยรถยนต์และการเคลมประกัน

ขับรถแหกโค้งเอง แบบนี้เคลมประกันได้ไหม? รถยนต์ไฟฟ้า EV สามารถซื้อประกันภัยได้หรือไม่ ราคาเท่าไหร่? ขับรถชนบ้านคนอื่น ประกันรถยนต์คุ้มครองไหม? เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประกันรถพยาบาล (Ambulance) ค่าสินไหมทดแทนคืออะไร มีการชดใช้กี่แบบ

บทความแคร์เรื่องประกันยานยนต์

Rabbit Care Blog Image 102491

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ประมาทร่วม คืออะไร? ทำความเข้าใจให้ถูก ก่อนถูกเรียกค่าเสียหายหรือต้องขึ้นศาล

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่าประมาทร่วม จากข่าวอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์บนท้องถนน แต่ไม่เข้าใจอย่างแท้จริงว่า ประมาทร่วม คือ อะไรกันแน่
Thirakan T
11/07/2025
Rabbit Care Blog Image 102242

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ใบขับขี่หาย ทําไง ? ทำใหม่แบบออนไลน์ได้รึเปล่า?

ใบขับขี่เขาว่าเป็นเรื่องใหญ่ แน่นอนว่าทุกคนคงไม่อยากกลับไปสอบใบขับขี่กันใหม่โดยใช่เหตุแน่ แถมการไม่พกใบขับขี่ก็อาจถูกปรับตามกฎหมายจราจรอีกด้วย
Thirakan T
25/06/2025
Rabbit Care Blog Image 102184

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

กฎหมายคาดเข็มขัดนิรภัย โทษปรับเท่าไหร่?

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในกฎหมายจราจรที่เราคุ้นเคยมากที่สุด และทุกคนต้องรู้จักกันเป็นอย่างกฎหมายคาดเข็มขัดนิรภัย
Thirakan T
25/06/2025