ค่าสินไหมทดแทนมีกี่แบบ ได้รับตอนไหน ทำอย่างไรถึงจะได้
สำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ที่มีประกันรถยนต์ภาคสมัครใจอยู่แล้ว คงเคยได้ยินเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนกันมาบ้าง เพียงแต่อาจจะยังไม่มีโอกาสได้ทำความเข้าใจแบบ 100% ว่ามันหมายถึงอะไร เราจะได้รับเจ้าค่าสินไหมทดแทนเมื่อไหร่ รวมถึงการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง มีทั้งหมดกี่กรณีที่สามารถดูแลได้ครอบคลุม เพื่อให้ทุกคนทราบว่าเมื่อถึงเวลาต้องการ เรียก ค่าสินไหมทดแทน ต้องดำเนินการอย่างไร และหลักเกณฑ์ การจ่าย ค่าสินไหมทดแทนต้องดูตรงไหน
เพราะฉะนั้นใครที่สมัครประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเอาไว้ ส่วนมากจะมีสิทธิ์ในเรื่องค่าสินไหมทดแทนอยู่แล้ว เหลือเพียงแค่การเข้าใจรายละเอียดทั้งหมด จะได้ไม่พลาดเวลาที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน
ค่าสินไหมทดแทนคืออะไร
ค่าสินไหมทดแทน คือ ค่าชดเชยความเสียหายอันเกิดจากการกระทำที่ทำให้ผู้ถูกกระทำ มีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งต้องคำนวณออกมาเป็นเงินได้ เช่น ค่าซ่อมแซมรถยนต์, ค่าเสียหายทรัพย์สิน, ค่ารักษาพยาบาล ไปจนถึงค่าสินไหมที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของการจ่ายเงิน (ค่าทำขวัญ ค่าเสียหายต่อสิทธิ์ เป็นต้น) ยิ่งไปก่านั้นตัวค่าสินไหมทดแทนเองยังรวมถึงกรณีที่ถูกข่มขู่ หลอกลวง หรือการใช้กลโกงทำให้หลงเชื่อ ก็สามารถเรียกร้องค่าสินไหมตรงนี้ได้เช่นเดียวกัน
ค่าสินไหมทดแทน มีอะไรบ้าง
ค่าสินไหมทดแทน ประกอบไปด้วย 3 ข้อหลัก ๆ ได้แก่ สินไหมทดแทน กรณีละเมิดตามหลักทั่วไป, สินไหมทดแทน ประกันวินาศภัย และสินไหมทดแทน ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดจะมีการระบุเอาไวอย่างชัดเจนถึงกรณีที่ต้องมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือการเจรจาค่าสินไหม สามารถติดตามอ่านได้จากหัวข้อย่อยดังต่อไปนี้
สินไหมทดแทน กรณีละเมิดตามหลักทั่วไป
สินไหมทดแทน กรณีละเมิดตามหลักทั่วไป หมายถึง ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงกับทางผู้เสียหาย ซึ่งทางผู้ที่เป็นฝ่านกระทำละเมิดจนเกิดความเสียหาย ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน เพื่อเป็นการเยียวยา ชดใช้ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทางผู้เสียหายสามารถกลับคืนสถานะภาพเดิมได้ใกล้เคียงมากที่สุด จะรวมถึงค่าเสียหายที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ และค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้ด้วย
สินไหมทดแทน ประกันวินาศภัย
สินไหมทดแทน ประกันวินาศภัย หมายถึง การจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีที่รถยนต์หรือทรัพย์สินของคุณ ถูกวินาศภัยทำให้เสียหายโดยมีสภาพแตกต่างไปจากตอนที่ทำประกัน โดยทางประกันจะเลือกการจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขกรมธรรม์ความคุ้มครองอีกทีหนึ่ง
สินไหมทดแทน ประกันภัยรถยนต์
สินไหมทดแทน ประกันภัยรถยนต์ อันเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ภายใต้การคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันรถยนต์ที่สมัครเอาไว้ ทั้งนี้ทางประกันจะเข้ามาดูแลเรื่องค่าสินไหมทดแทน กรณีโดนรถชน รวมถึงกรณีอื่นที่ระบุเอาไว้ในเงื่อนไขการคุ้มครอง ซึ่งจะสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณีได้เป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ ค่ารักษาพยาบาล และอื่น ๆ ได้ตามระบุ
ตัวอย่างกรณีค่าสินไหมทดแทนที่มีโอกาสพบเจอบ่อย
ตัวอย่างกรณีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่มีโอกาสพบเจอบ่อย ได้แก่ ค่าสินไหมทดแทน กรณี ประมาทร่วม, ค่าสินไหมทดแทน กรณีบาดเจ็บ, ค่าสินไหมทดแทน กรณีเสียชีวิต พรบ, ค่าสินไหมทดแทน รถชน และค่าทนทุกข์ทรมานจากการบาดเจ็บ โดยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินไหมทดแทนแต่ละข้อมีดังนี้
- ค่าสินไหมทดแทน กรณี ประมาทร่วม จะไม่มีใครสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ เนื่องจากเป็นการประมาทร่วม ต่างฝ่ายต้องแจ้งเคลมประกันเพื่อรับผิดชอบในส่วนของตัวเอง เว้นแต่ว่าจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมความ จนเกิดการพิสูจน์ที่ลงลึกรายละเอียดมากกว่าเดิม และได้ผลลัพธ์ถึงผู้ที่มีความผิดมากกว่า ถึงจะสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณีได้
- ค่าสินไหมทดแทน กรณีบาดเจ็บ สามารถเรียกค่าสินไหมจากพรบ รถยนต์ ซึ่งจะได้รับค่าสินไหมไม่เกิน 80,000 บาท/คน แต่ถ้าหากมีการสูญเสียอวัยวะ จะได้รับค่าสินไหมไม่เกิน 500,000 บาท/คน
- ค่าสินไหมทดแทน กรณีเสียชีวิต พร บ จะได้รับค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท/คน
- ค่าสินไหมทดแทน รถชน ขึ้นอยู่กับการเจรจาเรียกร้องค่าสินไหมต่อผู้ที่เป็นฝ่ายละเมิด
- ค่าทนทุกข์ทรมานจากการบาดเจ็บ ไม่สามารถคำนวณเป็นเงินออกมาได้ก็จริง แต่หากมีการฟ้องร้องต่อศาล ทางศาลก็จะพิจารณาถึงความเป็นจริงในผลที่เกิดขึ้น และสั่งฟ้องให้ทางผู้ละเมิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามที่สานเห็นแก่สมควร
คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับคนที่ใช้งานรถยนต์เป็นประจำ ควรเลือกทำประกันรถยนต์ที่ดูแลได้ครอบคลุมมากที่สุดอย่างประกันชั้น 1 โดยเฉพาะในส่วนของการคุ้มครองที่ดูแลได้รอบด้าน แถมยังมีเรื่องค่าสินไหมทดแทน ประกันภัย รถยนต์ ชั้น 1 ที่พร้อมช่วยเหลือสูงสุดในหมวดหมู่ประกันทั้งหมด
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมีกี่ประเภท
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มีทั้งหมด 4 ประเภทหลัก คือ ค่าซ่อมรถ, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าปลงศพ และค่าทดแทนกรณีรถเสียหายโดยสิ้นเชิง รายละเอียดการชดใช้ในแต่ละรูปแบบ จะมีข้อมูลบ่งบอกว่าค่าสินไหมทดแทน คิด ยัง ไง ในแต่ละกรณีรวมอยู่ด้วย
- ค่าซ่อมรถ จะถูกคำนวณค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเจ้าหน้าที่
- เอกสารที่ต้องใช้ คือ ใบเคลมหรือใบรับรองความเสียหายตัวจริง, ใบเสนอราคาค่าซ่อมรถ, ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน, รูปถ่ายรถยนต์ก่อนซ่อม ระหว่างซ่อม หลังซ่อม พร้อมเปรียบเทียบอะไหล่, บัตรประชาชน สำเนาสมุดบัญชี และหนังสือรับรองการจดทะเบียน
- เอกสารที่ต้องใช้ คือ ใบเคลมหรือใบรับรองความเสียหายตัวจริง, ใบเสนอราคาค่าซ่อมรถ, ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน, รูปถ่ายรถยนต์ก่อนซ่อม ระหว่างซ่อม หลังซ่อม พร้อมเปรียบเทียบอะไหล่, บัตรประชาชน สำเนาสมุดบัญชี และหนังสือรับรองการจดทะเบียน
- ค่ารักษาพยาบาล ตั้งแต่อาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงการบาดเจ็บที่อาจถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทางบริษัทประกันว่าจะดำเนินการอย่างไร บางกรณีอาจไม่ต้องสำรองจ่าย เพราะทางบริษัทเข้ามาช่วยดูแลค่าสินไหมทดแทนให้ทันที
- เอกสารที่ต้องใช้ คือ ใบเคลมหรือใบรับรองความเสียหายตัวจริง,ใบรับรองแพทย์, ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล, บัตรประชาชน และสำเนาสมุดบัญชี
- เอกสารที่ต้องใช้ คือ ใบเคลมหรือใบรับรองความเสียหายตัวจริง,ใบรับรองแพทย์, ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล, บัตรประชาชน และสำเนาสมุดบัญชี
- ค่าปลงศพ ประเมินค่าสินไหมทดแทนจากพิธีของแต่ละศาสนา ซึ่งอาจประกอบไปด้วยค่าทำศพตามแต่ละศาสนา การตกแต่งร่างกาย ฉีดยา แต่งตัวแต่งหน้าศพ ไปจนถึงค่าพิธีการทั้งหมด
- เอกสารที่ต้องใช้ คือ ชุดใบมรณบัตร, ใบรับรองการเสียชีวิต หรือใบชันสูตรพลิกศพ, บัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบันทึกประจำวัน และสำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
- เอกสารที่ต้องใช้ คือ ชุดใบมรณบัตร, ใบรับรองการเสียชีวิต หรือใบชันสูตรพลิกศพ, บัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบันทึกประจำวัน และสำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
- ค่าทดแทนกรณีรถเสียหายโดยสิ้นเชิง กรณีนี้เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรถยนต์ถูกตีสภาพว่าเสียหายเกินกว่า 70% บริษัทจะประเมินและจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนความคุ้มครอง โดยที่เราต้องโอนซากรถให้กับทางประกันด้วย หรือที่เราเรียกว่าคืนทุนนั่นเอง
ทั้งนี้ในแต่ละรูปแบบของการชดใช้ จะมีอัตราค่าสินไหมทดแทนที่แตกต่างกันออกไปตามโอกาส หรือตามเงื่อนไขที่ทุกบริษัทได้มีกำหนดเอาไว้ ซึ่งอย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า อัตราค่าสินไหมทดแทน คือ การคำนวณความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงให้เป็นจำนวนเงิน ส่วนความเสียหายที่ไม่สามารถตำนวณเป็นเงินได้ ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจา การเรียกร้อง หรือการตัดสินจากศาลให้ผู้กระทำการละเมิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามศาลสั่ง
ค่าเสียโอกาส เกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องนี้
ค่าเสียโอกาส เกี่ยวข้องกับค่าสินไหมทดแทน เพราะกรณีที่เราเกิดอุบัติเหตุ รถยนต์เสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ ต้องมาดูสถานการณ์ ณ เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ จนถึงช่วงเวลาที่ซ่อมแซมรถยนต์เสร็จพร้อมนำกลับมาใช้งาน ในระหว่างนั้นเราสูญเสียโอกาสอะไรไปบ้างหรือไม่
เช่น เรากำลังเดินทางไปส่งสินค้าตามเวลาที่กำหนด แต่เราไม่สามารถไปส่งได้เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ทางผู้ซื้อไม่รับสินค้าชิ้นนั้นแล้ว แปลว่าเราเสียโอกาสในการขายสินค้า ซึ่งจะสามารถเจรจาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากทางผู้กระทำความเสียหายได้ หรือหากมีมูลค่าความเสียหายเกิดขึ้นสูง ต้องมีการฟ้องร้องต่อศาล เพื่อให้ช่วยตัดสินใจในสิ่งที่เกิดขึ้น
คำแนะนำเพิ่มเติม แต่ทั้งนี้หากเป็นค่าเสียโอกาสในกรณีที่ไม่ละเอียดอ่อน หรือลงลึกเหมือนในตัวอย่าง บางบริษัทประกันรถยนต์จะมีบันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับ ค่าขาดประโยชน์ เอาไว้ เพื่อให้ทางผู้เสียหายสามารถเข้าไปติดตาม เรียกร้องได้โดยตรงจากทางบริษัท และหลังจากที่เรียกร้องคุณจะได้รับใบรับเงินชดใช้ค่าสินไหมรถยนต์ เพื่อเป็นการยืนยันสำหรับค่าสินไหมทดแทนอีกทีหนึ่ง ซึ่งส่วนมากจะเรียกได้สูงสุดที่วันละ 500 บาท ไม่เกิน 7-10 วัน
ค่าเสียเวลา คิดยังไง
ค่าเสียเวลา หรือ ค่าขาดประโยชน์ จะมีอัตราการคิดออกมาเป็นจำนวนเงินดังนี้
- รถยนต์ที่นั้งไม่เกิน 7 คน (รวมผู้ขับขี่) – มีการชดเชยไม่ต่ำกว่า 500 บาท/วัน
- รถยนต์รับจ้างสาธารณะที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รวมผู้ขับขี่) – มีการชดเชยไม่ต่ำกว่า 700 บาท/วัน
- รถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน 7 คน (รวมผู้ขับขี่) – มีการชดเชยไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท/วัน
ขั้นตอนเรียกค่าสินไหมจากคู่กรณี
- ติดต่อหาตัวแทนประกันรถยนต์เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
- รวบรวมและจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปยังบริษัทของคู่กรณี
- รอพิจารณาตามกระบวนการเป็นระยะเวลาประมาณ 7-15 วัน
- เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วทางบริษัทจะดำเนินการชำระค่าสินไหมทดแทนให้เป็นเวลา 15 วัน
หลักการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
สรุปหลักการจ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีที่สามารถคำนวณเป็นเงินจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงได้ ทางบริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ตามความคุ้มครอง แต่หากเป็นความเสียหายที่ไม่สามารถคำนวณด้วยเงินได้ ต้องมีการพิจารณากันอีกทีหนึ่งถึงความเหมาะสมตามหลักฐาน หรือตามความเสียหายที่สามารถพิสูจน์ได้
ค่าเสียหายกับค่าสินไหมทดแทน ต่างกันอย่างไร
ความเสียหายจะแตกต่างกับค่าสินไหมทดแทนตรงที่ ค่าเสียหายนั้นไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะต้องทำให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม เพราะอาจมีฐานการพิจารณาที่มาจากส่วนอื่นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งทางด้านค่าสินไหมทดแทนไม่ได้จำกัดเพียงแค่การชดใช้เงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการชดใช้ทรัพย์สินด้วยเช่นกัน
รู้จักกับค่าสินไหมทดแทน จากประกันสังคม
ค่าสินไหมทดแทนจากประกันสังคม คือ เงินทดแทนคุ้มครองลูกจ้างที่จะช่วยดูแลคุ้มครองถึง 4 ด้าน ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลจ่ายตามจริงไม่เกิน 50,000 บาท/คน เมื่อเกิดอุบัติเหตุประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย แต่ถ้าหากประสบอุบัติเหตุรุนแรง จะจ่ายที่ 100,000-300,000 บาท/คน, ค่าทดแทนรายเดือน ร้อยละ 70 ของเงินเดือน ไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน, ค่าทำศพ 50,000 บาท และค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน มีค่าใช้จ่ายกายภาพบำบัดตามจริงไม่เกิน 24,000 บาท/คน และค่าใช้จ่ายผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูร่างกายจ่ายตามจริงไม่เกิน 40,000 บาท/คน
ค่าขาดไร้อุปการะ คือ อะไร
ค่าไร้อุปการะคือ กรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นถึงชีวิตของผู้ถูกละเมิด และกลายเป็นความเสียหายที่ทำให้ผู้ใดผู้ถึงต้องกลายเป็นผู้ขาดอุปการะไป ทางผู้กระทำการละเมิด ต้องมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม ค่าขาดไร้อุปการะ ใครเรียกได้บ้าง? โดยผู้เรียกร้องต้องมีสิทธิ์ตามกฎหมาย มาตรา 443 วรรค 3 ถึงจะสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ได้
หากดูภาพรวมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับค่าสินไหมทดแทนที่เรากล่าวถึง ดูจะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในหลาย ๆ ส่วนเลยก็ว่าได้ ดังนั้นการเลือกสมัครประกันรถยนต์เผื่อเอาไว้ในยามฉุกเฉิน จะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้เสียหายให้น้อยลงได้อย่างมาก ดังนั้น แรบบิท แคร์ จึงอยากขอให้ทุกคนได้ลองพิจารณาดูว่าประกันรถยนต์ประเภทไหนที่เหมาะสมสำหรับคุณมากที่สุด หรือจะติดต่อมาที่เบอร์ 1438 (24 ชม.) เพื่อให้ทาง แรบบิท แคร์ ช่วยประเมินให้อีกทีหนึ่งก็ได้!
สรุป
ค่าสินไหมทดแทน คือ ค่าชดเชยความเสียหายอันเกิดจากการกระทำที่ทำให้ผู้ถูกกระทำมีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งต้องคำนวณออกมาเป็นเงินได้ เช่น ค่าซ่อมแซมรถยนต์, ค่าเสียหายทรัพย์สิน, ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งสามารถแบ่งแยกย่อยได้ 3 ข้อหลัก ๆ ได้แก่ สินไหมทดแทน กรณีละเมิดตามหลักทั่วไป, สินไหมทดแทน ประกันวินาศภัย และสินไหมทดแทน ประกันภัยรถยนต์
ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย