ประมาทร่วม คืออะไร? ทำความเข้าใจให้ถูก ก่อนถูกเรียกค่าเสียหายหรือต้องขึ้นศาล





หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่าประมาทร่วม จากข่าวอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์บนท้องถนน แต่ไม่เข้าใจอย่างแท้จริงว่า ประมาทร่วม คือ อะไรกันแน่ แล้วมีผลอย่างไรต่อความรับผิดชอบทางกฎหมาย ใครจะต้องรับผิดชอบ หรือจะต้องจ่ายค่าเสียหายอย่างไร หากถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ประมาทร่วม หลายครั้งการไม่เข้าใจความหมายและผลทางกฎหมายของคำนี้ ทำให้ผู้ขับขี่เสียเปรียบในการเจรจาเคลมประกัน หรือกระทั่งในชั้นศาล
บทความนี้ แรบบิท แคร์ จึงจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดของประมาทร่วมอย่างละเอียด โดยอ้างอิงจากหลักกฎหมายไทย พร้อมอธิบายตัวอย่างเหตุการณ์ให้เห็นภาพชัดเจน เข้าใจง่าย และแนะนำวิธีเตรียมตัวรับมืออย่างมีสติหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง ทั้งในมุมของกฎหมาย ประกันภัย และการจัดการเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น เพื่อให้คุณสามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้อย่างเหมาะสมที่สุด
ประมาทร่วม ตามกฎหมาย หมายถึงอย่างไร?
ประมาทร่วม ตามกฎหมาย หมายถึง สถานการณ์ที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดเหตุการณ์เสียหาย โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ผิดเต็ม 100% หรืออีกฝ่ายที่ถูกทั้งหมด กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223 ระบุว่า หากความเสียหายเกิดจากความผิดของทั้งสองฝ่าย ให้แบ่งความรับผิดตามส่วนของความผิด โดยพิจารณาจากพฤติกรรม ความระมัดระวัง และสถานการณ์แวดล้อมที่เกิดขึ้น
นั่นแปลว่า ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชน หากทั้งสองฝ่ายมีพฤติกรรมที่ไม่ระมัดระวัง เช่น ขับรถเร็ว ไม่เปิดไฟเลี้ยว หรือเปลี่ยนเลนกะทันหัน ก็มีสิทธิ์จะถูกพิจารณาว่าประมาทร่วม และต้องรับผิดชอบร่วมกันตามสัดส่วน
คำแนะนำเพิ่มเติม ประมาทร่วมในทางกฎหมาย อาจถูกเรียกว่า ต่างฝ่ายต่างประมาทได้ด้วย โดยที่สถานการณ์ประมาทร่วม ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง จากผู้ที่อยู่ในอุบัติเหตุ ต้องอาศัยอำนาจทางกฎหมายช่วยตัดสิน โดยพื้นฐานอาจมาจากตำรวจที่เข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ หรืออาจมีการยื่นคำร้องให้ศาลช่วยตัดสินได้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างสถานการณ์ที่เข้าข่ายข้อหาประมาทร่วม
เพื่อให้เข้าใจชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ แรบบิท แคร์ จึงขอยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เข้าข่ายข้อหาประมาทร่วม 4 สถานการณ์เพิ่มเติม มีดังนี้
- รถยนต์คันหนึ่งขับสวนเลนมา ในขณะที่อีกคันเปลี่ยนเลนโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว เกิดชนกันกลางถนน
- รถจักรยานยนต์ขับแซงรถยนต์จากด้านซ้ายขณะที่รถยนต์หักเลี้ยวกะทันหัน โดยไม่มีการเปิดไฟเลี้ยว
- รถยนต์สองคันแข่งกันบนถนนสาธารณะ ทำให้ชนกันและมีผู้บาดเจ็บ
- รถขับมาด้วยความเร็วในเขตชุมชน แต่คนข้ามถนนกะทันหันนอกทางม้าลาย
ในทุกกรณีนี้ ศาลอาจพิจารณาว่าทั้งสองฝ่ายมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุ และตัดสินให้เป็นประมาทร่วมได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังถือว่าไม่ 100% เสมอไป ยังคงต้องอาศัยอำนาจจากกฎหมายในการตัดสินอยู่ดี เพียงแต่สถานการณ์ดังกล่าวมีโอกาสเป็นข้อหาประมาทร่วมสูงเท่านั้นเอง

ประมาทร่วม ใครจ่าย?
คำถามสำคัญที่ตามมาหลังจากเกิดอุบัติเหตุ คือ ประมาทร่วม ใครจ่าย? หากตกลงกันไม่ได้ หรือกรณีรุนแรงจนต้องขึ้นศาล ศาลจะใช้วิจารณญาณพิจารณาว่าแต่ละฝ่ายมีส่วนผิดมากน้อยเพียงใด เช่น หากศาลเห็นว่าฝ่ายหนึ่งผิด 70% อีกฝ่ายผิด 30% ก็จะให้รับผิดตามสัดส่วนดังกล่าว ทั้งในแง่ค่าเสียหาย และค่ารักษาพยาบาลของคู่กรณี ลองดูตัวอย่างตามหัวข้อย่อยด้านล่าง ดังต่อไปนี้
ประมาทคู่กรณีไม่มีใบขับขี่ หรือไม่มี พ.ร.บ. ประกันยังจ่ายไหม?
หากประมาทคู่กรณีไม่มีใบขับขี่ หรือประมาทรวม คู่กรณี ไม่มี พ.ร.บ. คำตอบ คือ ประกันภัยยังจ่ายให้ในบางกรณี โดยเฉพาะประกันชั้น 1 ที่คุ้มครองผู้เอาประกันไม่ว่าผิดหรือถูก ส่วนประกันชั้น 2+ หรือ 3+ ต้องพิจารณาเงื่อนไขเพิ่มเติม หากเป็นฝ่ายผิดอาจไม่คุ้มครอง หรือเรียกเก็บค่าเสียหายเพิ่ม กรณีไม่มีใบขับขี่หรือไม่มี พ.ร.บ. ยังมีโอกาสถูกดำเนินคดีทางอาญาเพิ่มเติมด้วย
ประมาทร่วม ประกันจ่ายไหม
สำหรับคำถามว่าประมาทร่วม ประกันจ่ายไหม คำตอบ คือ จ่าย ในหลายกรณี โดยเฉพาะหากคุณมีประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่ครอบคลุมทุกความเสียหาย แต่ประกันประเภทอื่น เช่น ชั้น 2+, 3+ ต้องตรวจสอบในกรมธรรม์ว่าระบุว่าคุ้มครองในกรณีประมาทร่วมหรือไม่ ถ้ามีก็ไม่ต้องกังวล เพราะจะได้รับความคุ้มครองตามปกติ
ประมาทร่วมแล้ว พ.ร.บ. จ่ายไหม
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยไม่พิจารณาว่าใครเป็นฝ่ายผิด ดังนั้นหากเกิดเหตุการณ์ที่เข้าข่ายประมาทร่วมคู่กรณีบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินถนน หากได้รับบาดเจ็บ พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองเบื้องต้นอยู่แล้ว
พ.ร.บ. จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท และหากเสียชีวิตจะมีค่าปลงศพเพิ่มเติม โดยไม่จำเป็นต้องรอผลพิสูจน์ผิดถูกจากศาลก่อน ผู้เสียหายสามารถยื่นขอรับค่าชดเชยจากบริษัทประกันภัยที่รับประกัน พ.ร.บ. ให้กับรถคันที่เกี่ยวข้องได้ทันที

ขับรถแล้วเกิดประมาทร่วม ต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่?
ในแง่กฎหมายจราจร หากคุณทำผิดและถูกระบุว่าประมาทร่วม คุณอาจต้องเสียค่าปรับตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่ผิด เช่น
- ขับรถโดยไม่ระมัดระวัง ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
- ไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
- ขับรถโดยไม่มีใบขับขี่ ปรับสูงสุด 10,000 บาท
ดังนั้น ประมาทร่วม เสียค่าปรับเท่าไหร่ คำตอบ จะขึ้นอยู่กับการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายในแต่ละกรณี แยกกันออกไปตามการพิจารณา
คดีขับรถประมาท ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต มีโทษอย่างไร?
กรณีร้ายแรงที่สุด คือ คดีขับรถประมาท ทําให้ผู้อื่นเสียชีวิต ซึ่งมีโทษทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ดังนี้
- จำคุกไม่เกิน 10 ปี
- ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
- หรือทั้งจำทั้งปรับ
และในบางกรณีหากศาลเห็นว่าการกระทำนั้นเข้าข่ายประมาทร่วม ผู้เสียหายหรือญาติอาจยังต้องรับผิดร่วมกันในส่วนค่าเสียหายด้วย หากมีพฤติกรรมที่เสี่ยงเช่นกัน
ถูกกล่าวหาว่าประมาทร่วม ต้องขึ้นศาลไหม?
หากมีฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับผิด หรือมีการโต้แย้งกันว่าใครเป็นผู้ประมาทร่วม คดีอาจต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ซึ่งเรียกว่าฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน หรือคดีแพ่ง และหากมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ก็อาจเป็นคดีอาญา ได้อีกด้วย ผู้ถูกกล่าวหาว่า ประมาทร่วม ขึ้นศาล จึงควรเตรียมเอกสาร พยานหลักฐาน กล้องวงจรปิด หรือพยานบุคคลให้พร้อม เพื่อให้การต่อศาลอย่างครบถ้วน และเป็นประโยชน์ต่อคดี
เรื่องประมาทร่วม ที่คนมีรถทุกคนควรรู้
สรุปแล้วประมาทร่วม คือ สถานการณ์ที่ทั้งสองฝ่ายมีส่วนผิดพลาดในอุบัติเหตุ โดยทางกฎหมายประมาทร่วม จะพิจารณาให้ทั้งสองฝ่ายรับผิดชอบตามส่วนที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หากเกิดเหตุการณ์นี้ ต้องตรวจสอบว่ามี ประกันภัย หรือไม่ และประเภทใดจึงจะสามารถเคลมได้เต็มจำนวน ส่วนกรณีไม่มีใบขับขี่ หรือไม่มี พ.ร.บ. อาจกระทบสิทธิ์การรับค่าสินไหม และมีความผิดทางกฎหมาย และหากต้อง ขึ้นศาล ควรปรึกษาทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปกป้องสิทธิ์ของตน
ดังนั้นการประมาทร่วม มีไหม? คำตอบ คือ มีแน่นอน และใกล้ตัวกว่าที่คิด ดังนั้นจึงควรขับขี่ด้วยความระมัดระวัง ศึกษากฎหมายไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยง และเลือกประกันภัยที่คุ้มครองครอบคลุม เพื่อให้มั่นใจว่าแม้เกิดเหตุไม่คาดคิดก็ยังมีทางออกที่ดีที่สุดเสมอ รวมถึงการที่มีคนคอยช่วยดูแลให้คุณไม่โดดเดี่ยวในสถานการณ์นั้น ย่อมดีกว่าอย่างแน่นอน
สุดท้ายนี้เพื่อให้ทุกการขับขี่ของคุณ ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุม และครบถ้วน แรบบิท แคร์ สามารถแนะนำประกันรถยนต์ที่เหมาะสมที่สุด รวมถึงดูแลคุ้มครองกรณีประมาทร่วมได้ด้วย เพียงแค่ติดต่อเข้ามาที่เบอร์ 1438 (โทรได้ 24 ชั่วโมง) เจ้าหน้าที่จะช่วยให้บริการด้านข้อมูล พร้อมคำแนะนำที่ดีที่สุด นอกเหนือจากนั้นคุณยังสามารถเปรียบเทียบประกันที่คุ้มค่าได้ด้วยตัวเอง ภายใต้ตัวเลือกจากบริษัทประกันภัยชั้นนำถึง 30 แห่ง อีกทั้งยังมีส่วนลดช่วยประหยัดสูงสุดถึง 70% และเลือกผ่อนค่าเบี้ยประกัน 0% ได้นานสุด 10 เดือน
สรุป
ประมาทร่วม คือ สถานการณ์ที่ทั้งสองฝ่ายมีส่วนผิดพลาดในอุบัติเหตุ โดยทางกฎหมายประมาทร่วมจะพิจารณาให้ทั้งสองฝ่ายรับผิดชอบตามส่วนที่ก่อให้เกิดความเสียหายในทุกกรณีนี้ ศาลอาจพิจารณาว่าทั้งสองฝ่ายมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุและตัดสินให้เป็นประมาทร่วมได้ ส่วนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ศาลจะใช้วิจารณญาณพิจารณาว่าแต่ละฝ่ายมีส่วนผิดมากน้อยเพียงใด ทั้งในแง่ค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลของคู่กรณี

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology