Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

🎵 9.9 Rabbit แจกฟรี!! หูฟัง Apple Airpods Gen 3 และ Rabbit Voucher มูลค่ารวม 12,790 บาท แค่สมัครบัตรฯ UOB ผ่าน Rabbit Care คลิก! 💳

หลังคารถกระบะแบบไหนถึงจะเรียกว่าผิดกฎหมาย?

กฎหมายเกี่ยวกับหลังคารถกระบะมีอะไรบ้าง?

จากข้อมูลในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตราที่ 14 ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้กล่าวไว้ว่า “รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และมีการใช้งานรถคันนั้น เว้นแต่ว่าเจ้าของรถจะนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพให้เรียบร้อยก่อน” ดังนั้นในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่ารถที่มีการเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งนั้นอาจจะก่อให้เกิดอันตรายในเวลาที่ใช้งาน นายทะเบียนจะมีการสั่งให้ทางเจ้าของรถนั้นดำเนินการแก้ไขและนำรถไปตรวจสภาพก่อนใช้งาน ซึ่งการตรวจสภาพรถดังกล่าวนั้น ทางนายทะเบียนจะสั่งให้เจ้าของรถนำรถไปตรวจสภาพตามสถานที่ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และให้นำมาตรา 12 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่ารถนั้นปลอดภัยในเวลาที่ใช้งาน ก็ให้แก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียน และในใบคู่มือจดทะเบียนรถคันนั้นด้วย

การต่อเติมหลังคารถกระบะมีอะไรบ้าง?

  • การต่อเติมหลังคา
    สำหรับการติดตั้งหลังคาหรือการดัดแปลงสภาพรถยนต์ที่มีผลต่อความแข็งแรงของรถยนต์ ทางเจ้าของรถจะต้องดำเนินการแจ้งเปลี่ยนแปลงสภาพกับทางกรมขนส่งด้วย โดยจะต้องมีใบรับรองจากทางวิศวกร พร้อมทั้งเอกสารใบเสร็จรับเงินในการติดตั้งประกอบด้วย
  • การต่อเติมคอกหรือการทำกระบะ pick-up
    สำหรับรถกระบะแบบเดิมที่จะไม่มีหลังคานั้น ถ้าหากว่ามีการต่อเติมหลังคารถกระบะเข้าไปแล้วทำให้น้ำหนักรถยนต์เพิ่มขึ้นจาก 1,400 กิโลกรัม มาเป็น 1,600 ตัน ทางเจ้าของรถจะต้องมีการไปแจ้งกับนายทะเบียนที่กรมขนส่งก่อนที่จะมีการนำรถออกมาวิ่งใช้งาน เพราะไม่เช่นนั้นจะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย และจะถูกปรับไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งการเปลี่ยนรถกระบะธรรมดาให้กลายมาเป็นรถกระบะบรรทุกโดยการสร้างหลังคารถกระบะขึ้นมา เช่น หลังคาผ้าใบรถกระบะ ก็จะต้องมีการเสียภาษีรถยนต์แบบรถกระบะบรรทุกในทุก ๆ ปีด้วย ดังนั้นก่อนที่จะมีการดัดแปลงหรือต่อเติมใด ๆ ก็ควรที่จะต้องศึกษารายละเอียดของการดัดแปลงสภาพรถยนต์ให้ดีเสียก่อน ไม่เช่นนั้นอาจจะกลายเป็นการทำผิดกฎหมายขึ้นมาได้นั่นเอง
  • ความสูง
    รถกระบะที่ได้มีการติดตั้งหลังคารถแล้ว หากวัดจากพื้นกระบะไปจนถึงหลังคาด้านบนสุด จะต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หลังจากนั้นให้ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยของการติดตั้งอีกครั้ง เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายทั้งในเรื่องของความสูง หรือในเรื่องของสภาพการใช้งาน และเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเมื่อนำรถกระบะไปใช้งานแล้ว จะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายบนท้องถนนด้วย

ขั้นตอนการแจ้งดัดแปลงสภาพรถยนต์มีอะไรบ้าง?

  • 1. กรอกแบบคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนรถที่กรมการขนส่งทางบก
  • 2. ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐาน เช่น ใบเสร็จรับเงินที่ได้มาจากทางโรงงานหรือร้านที่ติดตั้งหลังคารถกระบะ
  • 3. นำรถเข้ารับการตรวจสภาพที่สำนักงานขนส่ง
  • 4. ชำระค่าธรรมเนียมให้เรียบร้อย
  • 5. รับใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น

เอกสารในการยื่นคำขอดัดแปลงสภาพรถยนต์มีอะไรบ้าง?

  • 1. หลักฐานประจำตัวของเจ้าของรถ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
  • 2. ใบเสร็จรับเงินที่ติดตั้งโครงหลังคารถกระบะหรือกระบะข้าง
  • 3. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
  • 4. หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (ในกรณีที่เจ้าของรถไม่ได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง)

ค่าจดทะเบียนหลังคารถกระบะแพงไหม?

สำหรับค่าใช้จ่ายหรืออัตราค่าธรรมเนียมในการติดตั้งหลังคารถกระบะหรือเสริมกระบะข้าง จะมีรายละเอียดดังนี้

  • ค่าคำขอ ฉบับละ 5 บาท
  • ค่าตรวจสภาพรถ (รย.) ฉบับละ 50 บาท
  • ค่าแก้ไขรายการทะเบียนรถ (รย.) ฉบับละ 50 บาท

ดัดแปลงหลังคารถกระบะ มีโทษปรับเท่าไหร่?

หากมีการต่อเติมหรือดัดแปลงรถให้เปลี่ยนไปจากสภาพที่จดทะเบียนไว้ ก็จะมีความผิดทางกฎหมาย และถูกปรับไม่เกิน 2,000 บาท

การดัดแปลงสภาพรถที่จะต้องแจ้งกรมการขนส่งทางบกมีอะไรบ้าง?

  • 1. มีการเสริมระบบรองรับน้ำหนักและระบบกันสะเทือนให้แก่รถยนต์
  • 2. มีการเปลี่ยนแปลงระบบขับเคลื่อนของรถยนต์ เช่น การดัดแปลงสภาพเกียร์ เป็นต้น
  • 3. มีฝาปิดด้านท้ายมีการติดตั้งอุปกรณ์ทุ่นแรงเพื่อยกสิ่งของ หรือมีลิฟต์ท้าย
  • 4. มีการเปลี่ยนแปลงระบบไฟรถยนต์
  • 5. มีการติดตั้งโครงหลังคาหรือโครงเหล็กด้านข้างรถ
  • 6. มีการเปลี่ยนชนิดของเชื้อเพลิง และมีการแก้ไขดัดแปลงตัวถังรถ
  • 7. มีการเปลี่ยนสีรถยนต์ รวมไปถึงการ wrap sticker หากอยู่ในกรณีที่ติดเกิน 30% ของพื้นที่ตัวรถก็จะต้องแจ้งให้ทางกรมการขนส่งทางบกทราบ
  • 8. มีการติดตั้งอุปกรณ์กันมุด (จะต้องมีใบรับรองวิศวกรประกอบ)

กฎหมายเกี่ยวกับรถกระบะที่ควรรู้มีอะไรบ้าง?

  • ระยะบรรทุกที่ปลอดภัย สิ่งของที่บรรทุกจะต้องมีความกว้างที่ไม่เกินความกว้างของตัวรถ ยาวไม่เกินด้านหน้าของหม้อรถ และด้านหลังจะต้องยาวพ้นจากรถไม่เกิน 5 เมตร ส่วนความสูงจะต้องไม่เกิน 3 เมตรจากพื้น แต่ถ้ารถมีความกว้างมากกว่า 2.3 เมตร ก็จะสามารถบรรทุกได้สูงสุด 3.8 เมตร
  • ขนาดของการบรรทุก ต้องไม่เกิน 1 ตัน หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และสิ่งของที่บรรทุกไปนั้นจะต้องมีการผูกมัดติดกับตัวรถไว้อย่างแน่นหนา
  • การบรรทุกของโดยเปิดท้ายรถ หากบรรทุกของจนไม่สามารถปิดท้ายกระบะรถได้ จะต้องมีการนำผ้าสีแดงที่มีความกว้าง 30 เซนติเมตร ความยาว 45 เซนติเมตร นำมาผูกเอาไว้ในตำแหน่งที่รถด้านหลังสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และในกรณีที่เป็นเวลากลางคืนหรือไม่สามารถมองเห็นได้ในระยะ 150 เมตร จะต้องมีการติดสัญญาณไฟสีแดงเอาไว้ เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนด้วย
  • การดัดแปลงเพิ่มเติมเพื่อบรรทุกสิ่งของ สำหรับการติดตั้งคอกสูงนั้นจะขึ้นอยู่กับความกว้างของตัวรถ หากมีความกว้างที่น้อยกว่า 3 เมตร ก็จะสามารถติดตั้งคอกสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร แต่ถ้าหากรถกว้างเกิน 2.3 เมตร ก็จะสามารถติดตั้งคอกสูงได้ไม่เกิน 3.8 เมตร
  • การนั่งท้ายรถกระบะ ห้ามใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักรถต่ำกว่า 1,600 กิโลกรัม มาใช้เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน หรือการนำรถยนต์นั่งส่วนบุคคล มาใช้เป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง

หากเกิดอุบัติเหตุจากรถกระบะที่มีการดัดแปลงหลังคา แบบนี้ทางบริษัทประกันภัยจะรับเคลมไหม?

การต่อเติมหลังคารถกระบะนั้นจะต้องมีการนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพดูก่อน ตามข้อมูลในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เนื่องจากว่ารถยนต์ที่จดทะเบียนแล้วจะไม่สามารถแปรสภาพ ดัดแปลง หรือแก้ไขตัวรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากว่ารถยนต์ถูกเปลี่ยนสภาพไปโดยการต่อเติมหลังคารถกระบะ ทางเจ้าของรถจะต้องแจ้งกับทางบริษัทประกันภัยด้วย เพราะรายการในทะเบียนและในใบคู่มือจดทะเบียนรถก็จะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ไปตามที่นายทะเบียนแก้ไขให้ใหม่นั่นเอง ส่วนในเรื่องของเงื่อนไขความคุ้มครองหรือเบี้ยประกันภัยนั้น ก็จะต้องมีการพูดคุยกับทางบริษัทประกันภัยอีกครั้ง เพื่อป้องกันการเข้าใจที่ไม่ตรงกัน สามารถคลิกดูรายละเอียด ประกันภัยรถยนต์ ได้ที่เว็บไซต์ แรบบิท แคร์ หรือโทร 1438 Care Center พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

ควรเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

ก็ยังคงสอดคล้องมาจากคำแนะนำข้างต้นที่ว่า ควรจะเลือกทำเป็น ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไว้จะดีที่สุด เพราะถึงแม้ว่าราคาเบี้ยประกันจะแพงเป็นอันดับต้นในบรรดาประกันภัยทุกชั้น แต่ในเรื่องของความคุ้มครองที่จะได้รับนั้นก็คุ้มค่ามากที่สุด และยังช่วยทำให้ผู้ขับขี่นั้นมีความมั่นใจในการขับขี่ไปด้วย ดังนั้นจึงถือว่าคุ้มค่า คุ้มราคามากที่สุด เพราะประกันภัยชั้น 1 ถือว่าเป็นประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นในกรณีที่รถชนรถ รถชนคน รถหาย รถไฟไหม้ หรือรถน้ำท่วม ทางประกันภัยก็จะรับเคลมให้ทั้งสิ้น

ซื้อประกันรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

นอกจากนี้ แรบบิท แคร์ ยังมีระบบเปรียบเทียบแผนประกันภัยออนไลน์ ที่จะช่วยให้คุณได้เช็กเบี้ยประกันของแต่ละบริษัทประกันภัยชั้นนำได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังใช้งานง่ายและรวดเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาที ก็สามารถที่จะให้รายละเอียดแผนประกันภัยที่ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการของคุณได้มากที่สุดอีกด้วย จึงทำให้ช่วยประหยัดเวลาไปได้มาก และนอกจากนี้ แรบบิท แคร์ ยังมีข้อเสนอสุดพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ แรบบิท แคร์

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา