รถไฟไหม้เกิดจากอะไร ต้องรับมืออย่างไร ไฟไหม้รถเคลมประกันได้ไหม
รถไฟไหม้ หรือไฟไหม้รถ เหตุการณ์ที่ไม่ว่าเจ้าของรถยนต์คันไหนก็คงไม่คาดฝันว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง แต่หากเหตุการณ์ไม่คาดฝันนั้นกลายเป็นความจริงจะต้องรับมืออย่างไร สามารถป้องกันไว้ก่อนล่วงหน้าได้ไหม หากเกิดขึ้นประกันรับเคลมหรือไม่ ลองศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ที่ควรรู้ไว้ ในบทความนี้ได้เลย
รถยนต์ไฟไหม้ เกิดขึ้นได้จริงไหม ?
เหตุการณ์ไฟไหม้รถ หรือรถไฟไหม้สามารถเกิดขึ้นได้จริง โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากปัญหาทางเทคนิค หรือการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง เช่น ความผิดปกติในระบบไฟฟ้าของรถยนต์ การรั่วไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง หรือการเกิดประกายไฟจากส่วนที่มีความร้อนสูง เช่น เครื่องยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์ หรือท่อไอเสีย นอกจากนี้การดัดแปลงรถยนต์ หรือการติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่ไม่ได้มาตรฐานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ได้ การป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถทำได้โดยการเช็กสภาพและดูแลรักษารถยนต์ให้ได้มาตรฐาน เช่น การตรวจสอบระบบไฟฟ้า และเชื้อเพลิงอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการหลีกเลี่ยงการเก็บวัตถุไวไฟในรถ และการใช้รถยนต์ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
รถไฟไหม้ อันตรายหรือไม่ ?
รถไฟไหม้เป็นเหตุการณ์ที่มีอันตรายสูงมาก เนื่องจากสามารถลุกลามอย่างรวดเร็ว และปล่อยควันพิษที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ความร้อนจากเปลวไฟยังสามารถทำลายโครงสร้างของรถ และอุปกรณ์ภายใน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการระเบิดหากมีน้ำมันเชื้อเพลิง หรือวัสดุไวไฟอยู่ในรถ นอกจากนี้การเกิดไฟไหม้ยังส่งผลต่อความปลอดภัยของชีวิต และทรัพย์สินของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้น
รถไฟไหม้ เกิดจากอะไร ?
รถยนต์ไฟไหม้ สาเหตุเกิดจากหลายสาเหตุ โดยปัจจัยหลักมักมาจากปัญหาในระบบของรถยนต์ เช่น ระบบไฟฟ้าภายในที่มีการลัดวงจร อันเนื่องมาจากสายไฟชำรุดหรือการเชื่อมต่อที่ไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการรั่วไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง หรือของเหลวไวไฟในระบบเครื่องยนต์ หรือท่อส่งน้ำมันที่เสื่อมสภาพก็อาจทำให้เกิดประกายไฟ และลุกลามกลายเป็นไฟไหม้ได้
อีกทั้งความร้อนสูงจากเครื่องยนต์ หรือท่อไอเสียที่สัมผัสกับวัสดุไวไฟ เช่น น้ำมันเครื่อง หรือเศษสิ่งสกปรก ก็อาจเป็นสาเหตุของไฟไหม้ได้เช่นกัน การดัดแปลงรถยนต์ที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่ไม่ผ่านการรับรอง หรือการใช้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพ ก็เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดไฟไหม้ได้ ดังนั้นการดูแลรักษา และตรวจเช็ครถยนต์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการใช้ชิ้นส่วน และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน จึงเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดรถยนต์ไฟไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้น ยังมีกรณีไฟไหม้โดยถูกวางเพลิง ซึ่งสามารถแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุได้ ด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง 14,000 บาท อีกทั้งบริษัทประกันจะจัดหาทนายเพื่อให้ทำการฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ตามสมควร ซึ่งถ้าพอรู้เรื่องเกี่ยวกับการมีคดีความกับบริษัทประกัน จะทราบได้ทันทีว่า ใครที่ก่อคดีความจะโดน ประกันเรียกโหดมากแน่นอน
รถไฟไหม้ ซ่อมได้ ไหม ?
รถที่ไฟไหม้จะสามารถซ่อมได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้น หากความเสียหายจำกัดอยู่ในบางส่วน เช่น ภายนอกตัวถังรถยนต์ หรือส่วนของห้องโดยสารที่ไม่ได้กระทบกับระบบเครื่องยนต์ และโครงสร้างหลักของรถยนต์ การซ่อมแซมอาจทำได้โดยการเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหาย และฟื้นฟูระบบให้กลับมาใช้งานได้ปกติ อย่างไรก็ตามหากความเสียหายเกิดขึ้นในส่วนสำคัญ เช่น ระบบเครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้าหลัก หรือโครงสร้างของตัวรถจนกระทบกับความปลอดภัย การซ่อมอาจไม่คุ้มค่า หรือไม่สามารถทำได้เลย ทั้งนี้ควรปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญ หรือศูนย์บริการที่ได้รับมาตรฐานเพื่อประเมินความเสียหาย
ไฟไหม้รถ ควรทำอย่างไร ?
หากเกิดเหตุรถไฟไหม้ ไฟไหม้ขณะขับขี่ ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่ค่อนข้างฉุกเฉิน และร้ายแรง ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตามขั้นตอนอดังนี้อย่างมีสติ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของตนเอง และผู้โดยสาร
- รีบจอดรถในที่ปลอดภัยทันที และดับเครื่องยนต์เพื่อหยุดการทำงานของระบบต่างๆ
- รีบออกจากรถพร้อมกับผู้โดยสารทั้งหมด และอยู่ห่างจากรถในระยะที่ปลอดภัย
- หากไฟยังไม่ลุกลามมาก ควรใช้ถังดับเพลิงสำหรับรถยนต์เพื่อควบคุมไฟเบื้องต้น โดยฉีดที่ฐานของเปลวไฟ ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการเปิดฝากระโปรงหน้ารถในทันที เพราะอาจทำให้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น และเร่งการลุกลามของไฟ
- เมื่อทุกคนอยู่ในที่ปลอดภัยแล้วควรโทรแจ้งหน่วยงานดับเพลิง หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าช่วยเหลือ
- แจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อดำเนินการตรวจสอบความเสียหาย และจัดการตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่มีอยู่ (โดยปกติแล้วประกันภัยที่คุ้มครองรถไฟไหม้ ประกันชั้น 1 ประกันชั้น 2+ และประกันชั้น 2)
รถไฟไหม้ ประกันจ่ายไหม ?
ในส่วนของผู้ที่สงสัยว่าไฟไหม้รถ ประกันจ่ายไหม กรณีรถยนต์ไฟไหม้ การที่ประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ขึ้นอยู่กับประเภทของกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันเลือกไว้ หากเป็นประกันชั้น 1 ซึ่งให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกความเสี่ยง มักจะครอบคลุมกรณีไฟไหม้รถยนต์ทั้งที่เกิดจากอุบัติเหตุ หรือความผิดปกติของระบบรถยนต์ นอกจากนี้ประกันรถชั้น2 หรือประกัน 2+ ก็มักจะคุ้มครองในกรณีไฟไหม้ที่เกี่ยวข้องกับการชน หรือเหตุการณ์ที่ระบุในกรมธรรม์ด้วย ส่วนประกันภัยชั้น 3 หรือ 3+ โดยทั่วไปจะไม่ครอบคลุมกรณีไฟไหม้รถยนต์ ดังนั้นผู้เอาประกันควรตรวจสอบรายละเอียด และเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่ถืออยู่ รวมถึงติดต่อบริษัทประกันภัยเพื่อยืนยันความคุ้มครองในกรณีดังกล่าวอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม สำหรับประกันภัยรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นของบริษัทประกันภัยใดก็ตาม จะมีข้อยกเว้นภัยก่อการร้าย หรือ รย.30 เป็นเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์เพื่อแสดงว่า บริษัทจะไม่คุ้มครองความสูญเสีย ความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำก่อการร้ายทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดที่กระทำเพื่อควบคุม ป้องกัน หรือหยุดยั้ง การกระทำก่อการร้ายนั้นก็ตาม ยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ คือ หากเกิดการชุมนุมทางการเมืองที่มีคน 2 ฝ่ายเผชิญหน้ากัน แล้วตำรวจพยายามสลายการชุมนุมและทำให้รถไฟไหม้ขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ประกันภัยก็จะไม่รับผิดชอบใด ๆ แม้จะเป็นการกระทำที่ทำไปเพื่อหยุดยั้งความชุลมุนของฝูงชนก็ตาม แต่ถ้าใครที่มีความกังวลในเรื่องนี้และต้องการทำประกันที่ครอบคลุมในกรณีดังกล่าว ปัจจุบันก็เริ่มจะมีประกันภัยการก่อการร้ายและความรุนแรงทางการเมืองในบางบริษัทให้เลือกสมัครอยู่บ้างเช่นกัน ซึ่งจะคุ้มครองทรัพย์สินทุกอย่างครอบคลุมถึงกรณีรถไฟไหม้จากความไม่สงบด้วย
ข่าว รถไฟไหม้ ล่าสุด รถไฟไหม้ ล่าสุด
เหตุการณ์รถไฟไหม้ล่าสุดที่เป็นที่สนใจคือกรณีรถบัสนักเรียนไปทัศนศึกษาเกิดเพลิงไหม้ที่อุทัยธานี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กอนุบาล นับเป็นอุบัติเหตุที่สร้างความเศร้าสลด และกระตุ้นความตื่นตัวในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของยานพาหนะสาธารณะอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีกรณีรถยนต์ไฟไหม้จากปัญหาทางเทคนิค เช่น ระบบไฟฟ้าลัดวงจรที่เกิดขึ้นในรถยนต์บางรุ่น ส่งผลให้ผู้ขับขี่ต้องเผชิญอันตรายระหว่างการใช้งาน
สำหรับการป้องกันเหตุการณ์รถยนต์ไฟไหม้ ไฟไหม้รถยนต์ ควรมีการตรวจสอบสภาพรถอย่างสม่ำเสมอ และระมัดระวังเรื่องการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในรถ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดไฟไหม้รถยนต์บ่อยครั้ง ผู้ขับขี่ และผู้โดยสารควรทราบวิธีปฏิบัติในกรณีฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัยสูงสุด
รถไฟฟ้าไฟไหม้
รถไฟฟ้า ไฟไหม้ ในช่วงที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์ที่รถไฟฟ้าไฟไหม้ ไฟไหม้รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าไหม้ รถ ev ไฟไหม้ ขึ้นในบางพื้นที่ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ได้รับความสนใจจากสังคม เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของระบบขนส่งมวลชน โดยสาเหตุของไฟไหม้มักเกี่ยวข้องกับปัญหาทางเทคนิค เช่น การลัดวงจรของระบบไฟฟ้าภายใน หรือความบกพร่องของอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน เหตุการณ์ดังกล่าวได้กระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าของรถไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้น เพื่อป้องกันเหตุการณ์ลักษณะนี้ในอนาคต
รถไฟฟ้า ชาร์จไฟบ้าน ไฟไหม้
การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านถือเป็นวิธีที่สะดวก และประหยัด แต่มีความเสี่ยงเกิดไฟไหม้หากระบบไฟฟ้าในบ้านไม่พร้อม หรือไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์อย่างเหมาะสม สาเหตุหลักที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้ คือ การใช้เต้ารับหรือสายไฟที่ไม่รองรับกระแสไฟฟ้าสูง ความร้อนสะสมจากการชาร์จเป็นเวลานาน และการไม่มีระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร เช่น อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว เพื่อป้องกันปัญหา ควรติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จ (EV Charger) และเต้ารับเฉพาะสำหรับรถไฟฟ้า โดยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า สายไฟหลัก และเบรกเกอร์ว่ารองรับการชาร์จได้หรือไม่ รวมถึงการแยกวงจรไฟสำหรับชาร์จรถยนต์ออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นในบ้าน
หลังจากที่ได้ทราบสาเหตุของรถยนต์ไฟไหม้ วิธีการปฏิบัติ และขั้นตอนการรับมือเบื้องต้น รวมถึงทราบเกี่ยวกับการคุ้มครองของประกันรถยนต์ประเภทต่าง ๆ กันไปแล้ว ก็อย่าลืมเลือกทำประกันภัยรถยนต์กับ แรบบิท แคร์ ไว้ เพื่อความอุ่นใจ เพราะคุ้มครองครอบคลุมทุกสถานการณ์ฉุกเฉินนั่นเอง
ความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์