Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Jul 27, 2022

ตรวจสภาพรถยนต์ ตรวจอะไรบ้าง? แล้วตรวจที่ไหนได้บ้าง?

เชื่อว่าในช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ หลายคนคงวางแผนเดินทางเพื่อไปท่องเที่ยวพักผ่อน หรือกลับบ้านไปเยี่ยมคนในครอบครัวกันเป็นส่วนมาก หนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก่อนออกเดินทางไกลเลยก็คือ การตรวจสภาพรถยนต์ให้พร้อมก่อนออกเดินทางเสมอ เพื่อความราบรื่นในการเดินทาง และทำให้ถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย ซึ่งเราสามารถตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ดังนี้ :

ตรวจสภาพรถยนต์ เช็คสภาพรถก่อนเดินทางไกล ตรวจอะไรบ้าง?

1. ตรวจสอบแบตเตอรี่รถยนต์

เนื่องจากแบตเตอรี่ถือเป็นระบบจ่ายไฟหลักของรถยนต์ หากเกิดปัญหากับแบตเตอรี่ ก็จะทำให้รถไม่สามารถสตาร์ทได้ การตรวจสอบแบตเตอรี่เบื้องต้นสามารถทำได้โดย หากเป็นแบตเตอรี่แบบน้ำ และแบบกึ่งแห้ง ควรตรวจสอบระดับน้ำกลั่นและเติมน้ำ ซึ่งแบตเตอรี่แบบกึ่งแห้งควรเติมน้ำกลั่นปีละ 1-2 ครั้ง หากเป็นแบตเตอรี่แบบแห้ง ให้ตรวจสอบอายุการใช้งานและวันหมดอายุของแบตเตอรี่ นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่ ความสะอาดและคราบเกลือที่ขั้วแบตเตอรี่ด้วยเช่นกัน

2. ตรวจสอบยางรถยนต์

ถือเป็นหนึ่งสิ่งที่ห้ามละเลยเป็นอันขาดสำหรับการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเดินทางนั่นคือ ยางรถยนต์ เพราะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สัมผัสพื้นถนน และเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากเป็นอันดับต้นๆ สิ่งที่เราควรเช็คเป็นลำดับแรกคือ ลมยาง ที่จะกำหนดปริมาณลมที่เหมาะสมสำหรับรถแต่ละชนิด โดยสามารถดูได้จากคู่มือรถ นอกจากลมยางจะช่วยเรื่องความปลอดภัยแล้ว ก็ยังช่วยเรื่องประหยัดน้ำมันได้อีกด้วย เพราะยางที่อ่อนจะทำให้เกิดอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่า นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบสภาพล้อเบื้องต้น ทั้งดอกยาง รอยแตก รวมไปถึงรอยรั่วและรอยฉีกขาดต่างๆ ด้วยการสังเกตและใช้มือลูบไปที่ผิวยางรถยนต์เพื่อสัมผัสดูสิ่งผิดปกติ

3. ตรวจสอบระบบเบรก และน้ำมันเบรก

ระบบเบรกเป็นอีกหนึ่งระบบที่เรียกได้ว่าสำคัญที่สุดสำหรับการตรวจสภาพรถยนต์ เบื้องต้นให้ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรกให้อยู่ในระดับที่กำหนด ตรวจสอบผ้าเบรกและเสียงเบรกว่าปกติหรือไม่ การทำงานที่ปกติควรจะต้องไม่มีเสียง และสำหรับระบบเบรกแล้ว ควรตรวจสอบด้วยการทดลองการตอบสนองของเบรกจากการขับจริง เบรกที่ดีจะต้องตอบสนองการเบรกที่เร็วและนิ่ง ทำให้รถหยุดได้ทันทีโดยไม่มีการสั่นระหว่างเหยียบเบรก หากพบว่าระบบเบรกมีปัญหา ควรนำเข้าพบช่างหรือเข้าศูนย์เพื่อตรวจสอบก่อนออกเดินทาง

4. ตรวจสอบหม้อน้ำ ท่อยาง และระบบหล่อเย็น

เพราะระบบเครื่องยนต์ต้องการระบายความร้อน ระบบระบายความร้อนจึงควรตรวจสอบอยู่เสมอเมื่อมีการตรวจสภาพรถยนต์ เพราะหากระบบระบายความร้อนทำงานได้ไม่ดี หม้อน้ำแห้ง ก็จะทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้ สิ่งสำคัญที่ควรตรวจสอบเลยก็คือ ระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อพักน้ำสำรอง และระดับน้ำในหม้อน้ำรถยนต์ หากระดับน้ำต่ำลงไปจากปกติ สามารถเติมโดยใช้น้ำยาหล่อเย็น หรือน้ำเปล่าผสมกันในอัตราส่วน 50:50 ซึ่งควรทำในขณะที่เครื่องยนต์ไม่มีความร้อน นอกจากนี้ ควรตรวจสอบท่อยางและข้อต่อต่างๆ อีกด้วย ว่ารั่วหรือไม่ เนื่องจากจะเป็นสาเหตุให้น้ำในหม้อน้ำรั่วซึมออกมาได้

5. ตรวจสอบระบบไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟต่างๆ

เนื่องจากการเดินทางไกล บางครั้งเราอาจจะต้องขับรถกินระยะเวลานานผ่านช่วงเวลากลางคืนหรือในที่ที่มีแสงน้อย ทำให้ระบบไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรวจสภาพรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นไฟหน้าสูงหรือต่ำ ไฟท้าย ไฟเบรก ไฟเลี้ยว ไฟถอยหลัง ไฟตัดหมอก และไฟฉุกเฉิน ควรสว่างและใช้งานได้ตามปกติทุกจุด หากเกิดความผิดปกติควรรีบนำรถให้ช่างแก้ไขทันที

ตรวจเช็คสภาพรถก่อนเดินทางด้วย เทคนิค bewagon คืออะไร?

เทคนิค bewagon คือเทคนิคการตรวจเช็คสภาพรถยนต์พื้นฐานก่อนเดินทาง ที่ช่างส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นอย่างดี เป็นหลักการตรวจเช็คสภาพรถตามหมวดอักษรทั้ง 7 หมวด คือ B, E, W, A, G, O และ N ซึ่งหมวดอักษรแต่ละตัวก็จะมีสิ่งที่ต้องตรวจเช็คแตกต่างกันออกไป ได้แก่

  • B ย่อมาจาก Brake หมายถึง การตรวจเช็คระบบเบรกทั้งหมดว่าพร้อมใช้งานหรือไม่ โดยมีสิ่งที่จะต้องตรวจเช็คดังนี้ ผ้าเบรกหน้า ผ้าเบรกหลัง จานเบรก เบรกมือ ท่อน้ำมันเบรก ระดับน้ำมันเบรก หรือ ระดับน้ำมันคลัทช์

  • E ย่อมาจาก Electric หมายถึง การตรวจเช็คระบบไฟฟ้าทั้งหมดว่ามีส่วนไหนชำรุดหรือไม่ โดยมีสิ่งที่จะต้องตรวจเช็คดังนี้ ระบบไฟ ไฟสูง-ต่ำ ไฟเลี้ยว ไฟเบรก ไฟหลัง ไฟฉุกเฉิน แบตเตอรี่ ทั้งส่วนขั้ว สายรัด และแท่นรอง เสียงแตร และ ที่ปัดน้ำฝน

  • W ย่อมาจาก Water หมายถึง การตรวจเช็คระบบน้ำทั้งหมดว่าอยู่ในระดับที่พร้อมใช้งานหรือไม่ โดยมีสิ่งที่จะต้องตรวจเช็คดังนี้ ระดับน้ำในหม้อน้ำระบายความร้อน ระดับน้ำหล่อเย็นในถังพักสำรอง ระดับน้ำกลั่นของแบตเตอรี่ และระดับน้ำในถังฉีดล้างกระจก

  • A ย่อมาจาก Air หมายถึง การตรวจเช็คระบบอากาศ และลม ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่ โดยมีสิ่งที่จะต้องตรวจเช็คดังนี้ การทำงานของเครื่องปรับอากาศ ระดับน้ำยาแอร์ ลมยางและความเรียบร้อยของล้อ

  • G ย่อมาจาก Gasoline หมายถึง การตรวจเช็คน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีสิ่งที่จะต้องตรวจเช็คดังนี้ ประเภทของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ ระดับของน้ำมันเชื้อเพลิง ถังน้ำมันเชื้อเพลิง และ ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง

  • O ย่อมาจาก Oil หมายถึง การตรวจเช็คน้ำมันหล่อลื่นในส่วนต่างๆ โดยมีสิ่งที่จะต้องตรวจเช็คดังนี้ ระดับน้ำมันเครื่อง ระดับน้ำมันเบรก ระดับน้ำมันเกียร์ และ ระดับน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์

  • N ย่อมาจาก Noise หมายถึง การตรวจเช็คเสียงความผิดปกติ โดยมีสิ่งที่จะต้องตรวจเช็คดังนี้ เสียงท่อไอเสีย เสียงการทำงานของเครื่องยนต์ เสียงการทำงานของส่วนอื่นๆ และเสียงความผิดปกติที่ไม่เคยได้ยิน

เช็คสภาพรถยนต์ ราคาเท่าไหร่

ราคาของการตรวจสภาพรถยนต์จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับน้ำหนักของรถยนต์แต่ละรุ่น ดังนี้

  • ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
  • ตรวจสภาพรถยนต์ เช็ครถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท
  • ตรวจสภาพรถยนต์ เช็ครถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท
  • ตรวจสภาพรถยนต์ เช็ครถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่ามากกว่า 2000 กิโลกรัม : ราคา 300 บาท

** ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสภาพรถ อู่ที่ไปใช้บริการตรวจสถาพรถยนต์ ผู้ให้บริการ น้ำหนักรถ ระยะทาง และอื่น ๆ

ตรวจสภาพรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
  • สำเนาใบคู่มือจดทะเบียนรถ (สมุดทะเบียนรถ)
  • รถที่ต้องการตรวจ
  • เอกสารรับรองการติดตั้งก๊าซรถยนต์ ในกรณีที่รถยนต์ติดก๊าซ.

ข้อจำกัดในการตรวจสภาพรถยนต์

รถที่ต้องนำไปตรวจสภาพหรือเช็คสภาพรถที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น ไม่สามารถตรวจสถาพรถได้ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ได้ มีดังต่อไปนี้

  • รถที่ดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงสภาพให้ผิดจากที่ได้จดทะเบียนไว้เช่น เปลี่ยนสี เปลี่ยนส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนลักษณะรถ เปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
  • รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ เช่น ไม่ปรากฏตัวเลข หรือมีร่องรอยการแก้ไข ขูด ลบ ลบเลือนหรือตัวเลขชำรุดจนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้
  • รถที่แจ้งการไม่ใช้งาน เช่น แจ้งการไม่ใช้ชั่วคราว หรือแจ้งการไม่ใช้รถตลอดไปไว้
  • รถที่มีเลขทะเบียนรุ่นเก่า เช่น กท-00001, กทจ-0001
  • รถที่ขาดต่อทะเบียนเกิน 1 ปี
  • รถที่ถูกโจรกรรมแล้วได้คืน

ตรวจสภาพรถใช้เวลานานไหม

ในการตรวจสภาพรถ จำเป็นต้องนำเล่มทะเบียนรถไปด้วยเท่านั้น และใช้เวลาเพียง 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ดังนั้นเมื่อไปตรวจสภาพรถ ควรพกเล่มทะเบียนรถไปด้วยเสมอ มิฉะนั้นอาจต้องเสียเวลาขับรถกลับมาอีกครั้งแน่นอน

7 ประโยชน์ของการตรวจเช็คระยะรถยนต์

ส่วนประโยชน์ของการตรวจเช็คระยะรถยนต์ บอกเลยว่า มีมหาศาล แต่ แรบบิท แคร์ จะขอยกตัวอย่าง 5 ข้อให้พอเห็นภาพกันง่ายๆ ดังนี้

1. รู้ระยะเวลาที่ต้องตรวจเช็คและซ่อมบำรุงส่วนต่างๆ ของรถยนต์

ปกติรถยนต์จะไม่มีระบบแจ้งเตือนหรอกว่า ถึงเวลาตรวจสิ่งนี้นะ ถึงเวลาต้องเปลี่ยนสิ่งนั้นนะ แต่จะรู้อีกทีก็ตอนมีสัญญาณเตือนหรือปัญหาเข้ามา การตรวจเช็คระยะรถยนต์เลยทำให้รู้ระยะเวลาล่วงหน้าถึงสิ่งที่ต้องตรวจเช็คและซ่อมบำรุงในส่วนต่างๆ ของรถยนต์ เช่น ครบ 5,000 กิโลเมตร หรือระยะเวลา 1-6 เดือนต้องเตรียมเปลี่ยนยาง ระบบจานเบรก และน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ เป็นต้น

2. ยืดอายุการใช้งานของรถยนต์

การตรวจเช็คระยะรถยนต์และหมั่นซ่อมบำรุงเป็นประจำจะช่วยยืดอายุการใช้งานของรถยนต์ได้นานกว่าคนที่ไม่ได้เช็คและดูแลรถยนต์เท่าไหร่ เพราะได้ดูแลส่วนต่างๆ ให้อยู่ในสภาพเหมาะสมกับการใช้งานอยู่เสมอ

3. ประหยัดค่าใช้จ่าย

การซ่อมบำรุงและเปลี่ยนอุปกรณ์เมื่อถึงเวลาตามการเช็คระยะรถยนต์ย่อมประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าไปซ่อมหรือเปลี่ยนตอนพัง แถมยังจ่ายสบายกว่า เพราะสามารถวางแผนล่วงหน้าได้

4. ตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปีได้ง่าย

ปกติกฎหมายกำหนดให้รถยนต์ต้องเสียภาษีประจำปี และก่อนจะเสียภาษีได้ก็ต้องมีการตรวจสภาพรถยนต์ก่อน หากอยากให้การตรวจสภาพก่อนเสียภาษีประจำปีผ่านได้ง่าย การตรวจเช็คระยะรถยนต์เป็นประจำนี่แหละคือ คำตอบ

5. ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานรถยนต์

นอกจากนี้ การเช็คระยะรถยนต์ยังช่วยให้ปลอดภัยต่อบุคคลผู้ใช้งานรถยนต์คนนั้นตลอดการเดินทาง เพราะการดูแลรถให้ปลอดภัยก็เหมือนกับได้ดูแลตัวเองให้ปลอดภัยด้วย

เทคนิคเลือก ศูนย์บริการรถยนต์ให้ถูกใจ

  1. เลือกศูนย์ที่มีมาตรฐาน ไม่ว่าจะซ่อมอู่ ซ่อมห้าง มีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจเช็ค และซ่อมแซมรถยนต์อย่างครบครัน
  2. เลือกศูนย์ที่มีราคาสมเหตุสมผล เป็นราคามาตรฐาน ไม่แพงหรือถูกจนเกินไป
  3. เลือกศูนย์ที่มีการรับรองมาตรฐานจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ
  4. เลือกศูนย์ที่มีช่างผู้เชี่ยวชาญ การซ่อมรถไม่ใช่ใครก็ทำได้ ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะทางให้และสามารถให้คำแนะนำได้อย่างมืออาชีพ
  5. เลือกศูนย์ที่ให้บริการอย่างรวดเร็ว พร้อมให้บริการ มีชิ้นส่วน อะไหล่ที่หลากหลาย

ตรวจสภาพรถยนต์ เช็คสภาพรถก่อนเดินทางไกล ที่ไหนดี

1. B-Quik

หากคุณต้องการตรวจสภาพรถ น้องแคร์ขอแนะนำบี-ควิก เพราะมีโปรโมชั่นตรวจฟรี 30 รายการ ดังนี้ ยาง ไดชาร์ต โช้คอัพ น้ำมันเครื่อง น้ำมันหล่อเย็น กรองอากาศ น้ำยาแอร์ หัวเทียน ท่อน้ำบน/ล่าง ใบปัดน้ำฝน สายพานพาวเวอร์/ลูกรอก ลูกปืนล้อ กระบอกเบรก จานเบรก น้ำมันเฟืองท้าย ท่อน้ำยาแอร์ ลูกหมากปีกนก น้ำยาฉีดกระจก น้ำกลั่น ผ้าเบรก คาลิปเปอร์เบรก แบตเตอรี่ น้ำมันเกียร์/พาวเวอร์ คอมเพรสเซอร์แอร์ สายพรานไดชาร์ต/แอร์ น้ำมันคอมเพรสเซอร์ ไฟหน้า/เลี้ยว/เบรก เพลาขับ/ยางหุ้มเพลา น้ำมันเบรก/คลัตซ์ และ ลูกหมากบังคับเลี้ยว โดยคุณสามารถเข้าไปใช้บริการได้ทุกสาขาทั่วประเทศ และไม่จำเป็นต้องสมัครสมาชิกหรือเคยใช้บริการใด ๆ มาก่อน เปิดให้ใช้บริการตั้งแต่ 8 โมง ถึงสามทุ่ม

2. COCKPIT

นอกจาก B-Quik หากคุณต้องการเช็คระยะรถยนต์ อย่าลังเลที่จะมาที่ COCKPIT เพราะที่นี่มีทีมงานคุณภาพที่มีประสบการณ์ด้านการเช็คสภาพรถคอยให้บริการ มีอะไหล่รถยนต์รองรับหลายยี่ห้อหากจำเป็นต้องเปลี่ยน เช่น ยาง น้ำมันเครื่อง ผ้าเบรค แบตเตอรี่ โช๊ค และอื่น ๆ มีศูนย์บริการทั่วประเทศไทยมากกว่า 30 สาขา มากไปกว่านั้น ยังมีห้องพักคอยให้แก่ผู้ขับขี่หรือผู้มาใช้บริการอีกด้วย เรียกได้ว่า ครบ จบในที่เดียว บริการหลัก ๆ ของ COCKPIT เช่น เปลี่ยนยาง เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ตรวจสอบผ้าเบรค

3. Bosch Car Service

Bosch car service มีศูนย์ให้บริการลูกค้า 16,000 สาขาทั่วประเทศ จึงไม่แปลกว่าทำไมชื่อนี้จึงเป็นที่โด่งดังในหมู่ผู้ใช้รถ ภายในศูนย์มีอุปกรณ์การตรวจเช็ครถที่ทันสมัย มีที่พักระหว่างคอย มาพร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลที่เป็นมืออาชีพ ทำให้การเช็คระยะรถทำได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย มีอะไหล่รถยนต์รองรับหลายยี่ห้อหากจำเป็นต้องเปลี่ยน เช่น ยางล้อ ผ้าเบรค และอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการบริการอื่น ๆ ให้คุณได้เลือกสรร เช่น บริการล้างแอร์รถยนต์ หรือ บริการซ่อมระบบเกียร์

เช็คอาการรถยนต์ เบื้องต้นต้องเช็คอะไรบ้าง?

ก่อนอื่นต้องมารู้กันก่อนว่าการเช็คอาการรถยนต์นั้น จำเป็นจะต้องเช็คอะไรกันบ้าง? เพื่อให้ทราบว่าถึงเวลาที่เราต้องดูแลรถของเราที่ขับอยู่ทุกวันแล้วหรือยัง รถเสียแล้วหรือยัง จะต้องพาเข้าศูนย์ซ่อมหรืออู่ซ่อมแล้วหรือยัง โดยการเช็คอาการรถยนต์เบื้องต้น ที่จะต้องเช็ค มีดังนี้

1. เช็คระบบน้ำมันจุดต่าง ๆ

อย่างเช่น น้ำมันเครื่อง, น้ำมันเบรก, น้ำมันเกียร์, น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์, น้ำมันคลัตช์

2. แบตเตอรี่

แบตเตอรี่รถยนต์ก็จะมีอยู่ 2 แบบหลัก ๆ คือ แบบน้ำและแบบแห้งหรือกึ่งแห้ง หากแบตเตอรี่ที่คุณใช้เป็นแบตแห้งหรือกึ่งแห้ง คุณต้องเช็คอาการแบตเตอรี่รถยนต์ของคุณว่าเริ่มสตาร์ทติดยากแล้วหรือยัง หากสตาร์ทติดยากแล้วละก็ เป็นสัญญาณของรถเสียที่บ่งบอกว่าคุณจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่แล้วล่ะ แต่หากแบตเตอรี่ที่คุณใช้เป็นแบตน้ำ ก็จะต้องมีการเช็คระดับน้ำที่อยู่ในแบตด้วย เพราะเมื่อใช้ไปสักระยะน้ำในแบตจะระเหยออกไป ต้องคอยเติมน้ำให้อยู่ในระดับที่พอดี ไม่ล้นจนเกินไป เพราะตอนเดือด กรดจะล้นออกมากัดขั้วหรือตัวถังรถ ทำให้เครื่องยนต์ในรถเสียหายได้

3. ท่อยาง

เช็คว่าท่อทางเดินต่าง ๆ ในห้องเครื่องมีตรงส่วนไหนผิดปกติหรือไม่ ท่อเชื่อมต่อต่าง ๆ ยังอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานหรือไม่ ต้องไม่มีการรั่ว ซึม แฉะ ฯลฯ รวมถึงสภาพท่อต้องไม่กรอบ แข็ง หรือนิ่มเกินไป

4. น้ำยาหล่อเย็นในหม้อน้ำ

เช็คสี เช็คสภาพว่ายังอยู่ในสภาพดีเหมือนตอนแรกอยู่หรือไม่ ระดับน้ำลดหายไปมากเพียงใด หากระดับน้ำลดไปเยอะ ต้องเติมน้ำยาหล่อเย็นเข้าไป เพื่อให้น้ำยาหล่อเย็นทำหน้าที่ในการป้องกันหม้อน้ำ หากมีสีของสนิม ควรเปลี่ยนถ่ายทันที

5. ยางรถยนต์

เช็คสภาพยางทั้ง 4 ล้อ รวมถึงยางอะไหล่ ว่ายังพร้อมใช้งานอยู่หรือไม่ ตรวจเช็คลมยางแต่ละล้อว่ามียางเส้นไหนผิดปกติหรือไม่ หากยางรถยนต์ไม่ได้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ต้องรีบเปลี่ยนทันที เพราะยางมีความสำคัญในการใช้รถบนถนนเป็นอย่างมาก มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายหากสภาพยางไม่ได้สภาพสมบูรณ์ มากไปกว่านั้นอย่างลืมตั้งศูนย์ถ่วงล้อโดยสามารถทำได้ที่ศูนย์หรืออู่ซ่อมรถได้เลย

6. สัญญาณไฟ

สัญญาณไฟเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการใช้งานรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณไฟหน้า ไฟสูง-ต่ำ ไฟเบรก ไฟถอย ไฟฉุกเฉิน และอื่น ๆ โดยเฉพาะสัญญาณไฟเลี้ยว หากไม่ติดขณะขับขี่ก็จะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมาก ๆ และเป็นอีกหนึ่งสัญญาณรถเสียที่สำคัญมาก ดังนั้นระบบสัญญาณไฟทั้งหมดของรถยนต์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเช็คว่ามีสัญญาณใดดับ ๆ ติด ๆ หรือไม่ติดเลยหรือไม่ หากพบปัญหาก็ควรแก้ไขโดยเร็ว

ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ คืออะไร

การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เป็นการปรับระบบกันการสั่นสะเทือนของรถยนต์ที่ติดอยู่กับล้อ แต่หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นการปรับตำแหน่งยางล้อ แต่ที่จริงแล้วการตั้งศูนย์ล้อไม่ได้เป็นการปรับล้อหรือยาง เพียงแต่ปรับมุมของล้อที่มีผลต่อการสัมผัสบนท้องถนน เพื่อให้รถวิ่งได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ ราคา

โดยปกติแล้วราคาตั้งศูนย์ล้อสำหรับ 2 ล้อ เฉลี่ยทั้งร้านเล็ก-กลาง-ใหญ่ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 200 - 300 บาท และ 4 ล้อ ราคาประมาณ 400 - 500 บาท

2. ตั้งศูนย์ถ่วงล้อใช้เวลาเท่าไร

การตั้งศูนย์ถ่วงล้อจะใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที ขึ้นอยู่กับขนาดของล้อรถยนต์ของคุณ โดยการตั้งศูนย์ล้อต้องทำเมื่อล้อรถผ่านการใช้งานเป็นระยะยเวลา 10,000-12,000 กม.เพราะการสึกหรอของดอกยางมีผลต่อการขับขี่ได้

3. ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เพื่ออะไร

การตั้งศูนย์ล้อจะช่วยป้องกันการสึกของดอกยางได้ และยังทำให้ยืดอายุการใช้งานของยางได้อีกด้วย

วิธีรับมือกับรถเสีย

อาการรถเสียที่มักเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ที่สามารถสังเกตได้จากความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของเราได้ง่ายที่สุด ก็คือ อาการสตาร์ทไม่ติด เมื่อไหร่ก็ตามที่รถยนต์ของคุณเริ่มมีอาการสตาร์ทไม่ค่อยจะติด หรือถ้าสตาร์ทติดก็ค่อนข้างใช้เวลานานกว่าปกติในการสตาร์ท ให้คุณสันนิษฐานได้เลยว่าอาการแบบนี้รถเสียแน่ ๆ และน่าจะเกิดมาจากไดสตาร์ท แบตเตอรี่ หรือระบบจ่ายน้ำมัน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ที่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อีกต่อไป หากอาการหนักถึงขนาดไม่สามารถสตาร์ทติดอีกต่อไปได้ แบบนี้ก็รถเสียแน่นอน ควรเอารถเข้าอู่ซ่อมหรือศูนย์ซ่อมให้ช่างจัดการแก้ปัญหาให้เรียบร้อย

5 เรื่องต้องเตรียมตัวก่อนเอารถเข้าอู่

ก่อนที่จะเอารถเข้าอู่ไปใช้บริการตามที่คุณต้องการ ก่อนอื่นขอแนะนำให้มาเตรียมตัว 5 เรื่องเหล่านี้ก่อนเอารถเข้าอู่กัน

1. สังเกตอาการรถยนต์ด้วยตัวเองเบื้องต้น ก่อนจะเอารถเข้าอู่และฟังการอธิบายของช่างใหญ่ประจำอู่ อย่างน้อยคุณควรสังเกตอาการความผิดปกติของรถยนต์คุณด้วยตัวเองเบื้องต้น เพื่อให้สื่อสารกันได้เข้าใจ และป้องกันการถูกยัดอาการ เพิ่มค่าใช้จ่ายจากการซ่อมแซมในส่วนที่ไม่จำเป็นหรือไม่ได้เป็นปัญหาแบบแท้จริง

2. ตรวจเช็คและถ่ายรูปสภาพโดยรอบ แม้จะเป็นช่างที่มีความเชี่ยวชาญ แต่ทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้ และระหว่างเอารถเข้าอู่ก็อาจเกิดร่องรอยเพิ่มขึ้นจากความผิดพลาดได้เช่นกัน เพราะงั้นอย่าลืมตรวจเช็คและถ่ายรูปสภาพโดยรอบของรถเราเอาไว้ด้วย

3. เคลียร์สิ่งของลงจากรถ คนส่วนใหญ่ชอบขนสัมภาระและของใช้ใส่ในรถยนต์คู่ใจ เพราะไปไหนไปกันมีของเหล่านี้ไว้ก็อุ่นใจกว่า แต่เมื่อตัดสินใจจะเอารถเข้าอู่แล้ว หากไม่ได้มีเวลาพอจะมานั่งดูช่างซ่อมรถของคุณตลอดเวลาก็อย่าลืมเคลียร์สิ่งของเหล่านั้นลงจากรถ เพื่อป้องกันสิ่งมีค่าสูญหายขณะที่รถอยู่ในอู่

4. พูดคุยเรื่องค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน ก่อนเอารถเข้าอู่และหลังจากให้ช่างเช็คอาการรถยนต์ที่อู่เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมพูดคุยเรื่องค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและนำราคาไปเปรียบเทียบกับแต่ละร้าน เพื่อความคุ้มค่าและได้เช็คมาตรฐานของอู่ซ่อมรถในตัว หากเป็นไปได้ควรเก็บหลักฐานด้วย

5. เติมน้ำมันไว้แค่พอใช้ขับรถไปกลับ พวกของเหลวที่สามารถดูดออกไปได้ไม่จำเป็นต้องเติมไว้เยอะ โดยเฉพาะน้ำมันเติมไว้แค่พอใช้งานขับขี่รถไปกลับระหว่างบ้านและอู่ซ่อมรถ เพื่อความชัวร์อาจเผื่อเหลือเผื่อขาดเล็กน้อยก็พอ

เอารถเข้าอู่ ใช้เวลานานไหม?

หลังจากการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาก็คือการนำเอารถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุเสียหายเข้าศูนย์หรืออู่ซ่อมรถ เพื่อดำเนินการซ่อมแซมสภาพรถยนต์ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติหรืออยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เช่นเดิม ซึ่งในส่วนของการนำรถเข้าอู่ซ่อมรถให้ทำเรื่องเสนอราคากับทางบริษัทประกัน เพื่อเคลมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับบริษัทประกันรถยนต์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่คุณถืออยู่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเคลมประกันจากการเกิดอุบัติเหตุก็จะมีอยู่ด้วยกันอยู่ 2 แบบ ก็คือ

1. การเคลมสด เป็นการเคลมประกันรถทันทีในที่เกิดเหตุ มีฝ่ายผิด ฝ่ายถูก และหลักฐานต่าง ๆ ขณะเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันก็จะเป็นผู้รวบรวมหลักฐาน จากการถ่ายภาพ จากนั้นก็จะมีการออกเอกสารการเคลมประกันไม่ว่าอุบัติเหตุดังกล่าวจะมีคู่กรณีหรือไม่ก็ตาม

2. การเคลมแห้ง การเคลมแห้งหรือที่เรียกกันว่าการเคลมรอบคัน ก็คือการเคลมประกันรถที่ผู้เอาประกันไปดำเนินการเคลมด้วยตัวเอง มักจะเกิดขึ้นในกรณีที่เป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณีและไม่ได้เป็นอุบัติเหตุที่รุนแรงมาก การเคลมแห้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจดบันทึกหลักฐาน วัน เวลา สถานที่เกิดเหตุให้ชัดเจน เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่แจ้งเคลมประกันต่อไป

เอารถเข้าอู่ หลังซ่อมเสร็จ ต้องตรวจอะไรบ้าง?

1. ตรวจความสมบูรณ์ของส่วนที่ซ่อม เรื่องแรกที่ต้องตรวจสอบหลังเอารถเข้าอู่ซ่อมรถคือ เช็คความสมบูรณ์ของส่วนที่ซ่อมตามใบรายการซ่อม ดูว่า งานเรียบร้อยมั้ย อุปกรณ์หรืออะไหล่สมบูรณ์และมีคุณภาพรึเปล่า หากมีปัญหาอะไรควรรีบแจ้งกับช่างประจำอู่ก่อนขับรถออกจะได้รีบแก้ไขไม่ต้องเสียเงินเสียเวลาแวะมาบ่อย

2. ดูสภาพโดยรอบเทียบกับภาพก่อนเอารถเข้าอู่ หลังจากนั้นให้ตรวจเช็คสภาพโดยรอบเทียบกับภาพก่อนเอารถเข้าอู่ซ่อมรถ ยางเหมือนเดิมมั้ย รอบรถมีรอยเพิ่มรึเปล่า มีชิ้นส่วนไหนขาดหรือเกินตรงจุดไหนบ้าง และถ้ามีโอกาสลองเปิดห้องเครื่องยนต์กันดูซักนิดว่า มีส่วนไหนถูกเปลี่ยนเอาของแท้ออกมั้ย ชื่อแบรนด์หรือหน้าตาบางส่วนดูไม่คุ้นรึเปล่า

3. เช็คความถูกต้องของใบเสร็จ ใบเสร็จหลังเอารถเข้าอู่จะเป็นเหมือนใบรับประกัน หากมีปัญหาในจุดเดิมก็สามารถเข้าไปคุยกับช่างได้ว่า เกิดจากสาเหตุอะไร เพราะซ่อมเสร็จแล้วปัญหาก็ควรจะจบ และใบเสร็จเหล่านี้จำเป็นกับการใช้ในการยื่นเคลมกับบริษัทประกันเลยควรเช็คความถูกต้องด้วย

4. ทดลองใช้งานจริง สุดท้ายแล้วตรวจสอบด้วยการทดลองใช้งานขับขี่จริง อย่างน้อยก็ระหว่างกลับจากอู่

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา