แคร์สุขภาพ

เช็กสัญญาณอันตราย อาการแบบไหนเรียกว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
Published June 08, 2023
Myasthenia Gravis

แม้ว่าคุณจะดูแลสุขภาพดีแค่ไหนก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นโรคภัยเสมอไป ซึ่งในปัจจุบันนี้มีโรคมากมายที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและมีโอกาสเป็นได้ทุกคน ดังเช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งในบทความนี้ แรบบิท แคร์ จะมาเผยข้อมูลโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และตอบคำถามเกี่ยวกับโรคนี้มาให้คุณได้ทราบกัน

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงคืออะไร?

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis) เป็นโรคที่ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อที่คุณใช้ในการเคลื่อนไหวต่าง ๆ โดยทำให้กล้ามเนื้อนั้น ๆ อ่อนแรงจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของตนเองโจมตีส่วนที่เรียกว่า “ร่องปลายประสาท” ที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ ทำให้สัญญาณประสาทที่ส่งเข้าไปยังกล้ามเนื้อถูกขัดขวาง ผลทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถเกาะติดกับสัญญาณประสาทได้ และนี่คือสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ อ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการเป็นอย่างไร?

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis) มักจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและอาจแย่ลงเรื่อย ๆ อาการสามารถเกิดขึ้นในทุก ๆ กลุ่มกล้ามเนื้อที่คุณสามารถควบคุมได้ แต่โดยทั่วไป อาการจะเริ่มเกิดขึ้นที่หน้าและตาก่อน สิ่งที่คุณจะสังเกตได้รวมถึง:

  • กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตก เนื่องจากความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อตาลดลง อาจทำให้มองเห็นภาพซ้อนได้ หรือบางครั้งตาทั้งสองข้างไม่สามารถเคลื่อนไหวพร้อมกัน
  • มีปัญหาในการพูด พูดไม่ชัด เสียงเบา เสียงอื้ออึงขึ้นจมูก เคี้ยวอาหาร กลืนอาหารลำบาก เนื้อจากสูญเสียการควบคุมของกล้ามเนื้อใบหน้า
  • กล้ามเนื้อบริเวณแขน ขา ลำตัว อ่อนแรง ยากต่อการควบคุม ทำให้ขยับตัวลำบาก เช่น การขึ้น-ลงบันได ยกของ ยกแขน-ขา ลุก-นั่ง เป็นต้น
  • ปัญหาการหายใจ หายใจติดขัด เหนื่อยง่าย ลำบากในการหาย
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีกี่ชนิด

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถจำแนกออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ซึ่งจะจำแนกตามบริเวณของที่เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ดังนี้

1. Ocular Myasthenia Gravis โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบนี้จะส่งผลกระทบเฉพาะกล้ามเนื้อที่อยู่ในตา ทำให้เกิดอาการหนังตาตก มองเห็นภาพซ้อน

2. Generalized Myasthenia Gravis โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบทั่วไป โดยส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงกล้ามเนื้อที่ใช้ในการควบคุมการพูด การกลืน และการหายใจ นอกเหนือจากตา

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง รักษาหายไหม?

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายได้อย่างสิ้นเชิง แต่มีวิธีการรักษาหลายวิธีที่สามารถช่วยควบคุมอาการ และช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างง่ายขึ้น โดยวิธีการรักษาเหล่านี้อาจรวมถึงยาที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับสัญญาณประสาทรวมถึงการกายภาพบำบัด เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และในบางกรณีอาจมีการรักษาด้วยการผ่าตัดศัลยกรรมเข้ามาด้วย

วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาการของผู้ป่วย และสภาพร่างกายของผู้ป่วยโดยรวม ดังนั้นจึงควรให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเป็นคนกำหนดวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

วิธีรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ผู้ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้น จะมีวิธีรักษาที่แตกต่างกันออกไปตามอาการของแต่ละคนดังนี้

1. รักษาด้วยยา ไพริโดสติกมีน (Pyridostigmine) ซึ่งวิธีการนี้จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยอย่างหนังตาตก โดยยาจะทำหน้าที่ส่งเสริมให้เส้นประสาทกับกล้ามเนื้อทำงานได้ดียิ่งขึ้น

2. รักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน corticosteroid, azathioprine และ mycophenolate mofetil ควบคู่ไปกับ ยาประเภทอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์แรงขึ้น เหมาะสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีอาการมาก ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้จัดยาตามความเหมาะสมของอาการคนไข้ในแต่ละราย และยาที่ให้ไปในแต่ละชนิดก็จะส่งผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป ระหว่างการรักษาจึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

3. รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดโดยจะผ่าตัดต่อมไทมัส ซึ่งอยู่ภายในร่างกายบริเวณหน้าอก โดยต่อมนี้มีหน้าที่หลักในการทำให้เม็ดเลือดขาวชนิด T cell ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวอันเป็นส่วนประกอบหลักของภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติ อันเป็นสาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง การผ่าตัดนี้ช่วยจะลดอาการของโรคในระยะยาว

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อันตรายไหม?

ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรกหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกช่วงอายุ แต่จากสถิติทางการแพทย์มักพบว่าผู้หญิงมักมีโอกาสป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้มากกว่าเพศชาย

สามารถป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้หรือไม่?

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis) เกิดจากการทำงานผิดพลาดของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งไม่สามารถที่จะป้องกันโดยตรงได้ แต่คุณสามารถลดโอกาสการเกิดโรคดังกล่าวนี้ได้ดังนี้

1. หมั่นออกกำลังกายทุกวัน เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง

2. หากคุณเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ควรรับประทานยาตามเวลาที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง ร่วมถึงทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

3. พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

4. หมั่นสังเกตอาการ หากมีอาการคล้ายกล้ามเนื้อกระตุก ให้รีบพบแพทย์ทันที

ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

ผู้ป่วยที่รับการดูแลรักษาจากแพทย์สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงหนัก หรือใช้แรงกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง ควรพักผ่อนได้เพียงพอ หลีกเลี่ยงอากาศร้อน และต้องแจ้งโรคประจำตัวอื่น ๆ กับแพทย์เมื่อเข้ารับการรักษาด้วย

สรุปแล้วโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นเป็นภัยร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณ แม้ว่าจะดูแลตัวเองเป็นอย่างดีแล้วก็สามารถเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน และหากโชคร้ายเป็นขึ้นมาก็ต้องมีการรักษา ถ้าคุณทำประกันสุขภาพไว้ก่อนก็คลายความกังวลไปได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากประกันจะดูแลค่ารักษาให้กับคุณ เลือกประกันสุขภาพที่ครอบคลุม เจ็บป่วยแค่ไหนก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เลือกทำประกันสุขภาพกับเรา แรบบิท แคร์

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 86625

    แคร์สุขภาพ

    ไข่เยี่ยวม้า อันตราย กินบ่อยเสี่ยงรับสารตะกั่วทำสมองเสื่อม!

    ไข่เยี่ยวม้าเป็นสิ่งที่ใครหลายคนชื่นชอบหรือเป็นของโปรดที่ต้องกินทุกครั้งที่มีโอกาส เพราะมีรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์
    Mayya Style
    07/09/2023
    Rabbit Care Blog Image 86622

    แคร์สุขภาพ

    เช็คให้ดี! กินอาหารแบบไหน เสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ ภัยเงียบที่ต้องรีบรักษา

    ใครที่กำลังมีความสุขกับการกินอาหารจำพวกของทอด ของมัน ปิ้งย่าง ต่อไปนี้ต้องระวังแล้วล่ะ เพราะการมีพฤติกรรมการกินแบบนี้บ่อย ๆ
    Mayya Style
    07/09/2023
    Rabbit Care Blog Image 86467

    แคร์สุขภาพ

    นั่งนาน ปวดหลังร้าวลงขา ระวัง! เป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท

    มนุษย์ออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ และนั่งไม่ถูกท่า มีอาการปวดหลังหรือหนักถึงขั้นปวดหลังร้าวลงขาบ่อย ๆ รู้ตัวหรือไม่!
    Mayya Style
    29/08/2023