แคร์สุขภาพ

สารให้ความหวานคืออะไร? จริงหรือจ้อจี้ที่บอกว่าดีกับสุขภาพ?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
 
Published: December 23,2022
สารให้ความหวาน

สารให้ความหวาน อีกหนึ่งเทรนด์ที่คนรักสุขภาพจะต้องรู้จัก ว่าแต่สารให้ความหวานดีจริงไหม คนเป็นเบาหวานสามารถทานได้รึเปล่า? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนไปทำความรู้จักให้มากขึ้น ว่า สารให้ความหวานในปัจจุบันมีอะไรบ้าง? ประโยชน์ของหญ้าหวานมีจริงไหม? ไปหาคำตอบกัน! 

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    สารให้ความหวานคืออะไร? น้ำตาล 0% จริงหรือเปล่า?

    สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือ น้ำตาลเทียม คือ น้ำตาลซูโครส (sucrose) สารที่ถูกออกแบบให้รสชาติหวานคล้ายกับน้ำตาล นิยมใช้เติมในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเพิ่มรสหวานได้เหมือนน้ำตาล เช่น กาแฟ, ชา, ซีเรียล, น้ำอัดลม, ขนมอบ โดยให้แคลอรี่หรือคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาลปกติ 

    นอกจากนี้น้ำตาลเทียมแต่ละชนิดก็ให้พลังงานแตกต่างกันออกไป เพียงแต่พลังงานที่น้อยกว่าน้ำตาลทรายค่อนข้างมาก ไม่ได้หมายความว่าจะแคลอรี่เป็น 0 แต่อย่างใด แต่สารให้ความหวานก็ยังเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือด เช่น โรคเบาหวาน และมีบางการศึกษาเชื่อว่าสารให้ความหวานช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ

    นอกจากนี้ สารให้ความหวาน แท้จริงไม่ได้ให้รสชาติเหมือนน้ำตาลมากขนาดนั้น เพราะบางชนิดอาจจะให้รสชาติขมเฝื่อนหรืออาจไปเปลี่ยนแปลงรสชาติอาหารได้ เราจึงควรศึกษาข้อมูลและศึกษาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะเลือกซื้อ และเลือกใช้ให้เหมาะกับอาหารที่ต้องการจะปรุงเพื่อหลีกเลี่ยงรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ควบคู่ไปด้วย

    สรุปแล้ว น้ำตาลเทียม มีข้อดี ดังนี้

    • ไม่เพิ่มความอยากอาหาร ได้พลังงานที่น้อย แคลอรี่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารอื่น ๆ ที่มีพลังงานสูง
    • ช่วยลดน้ำหนักได้เล็กน้อย รวมทั้งช่วยลดมวลไขมันและเส้นรอบวงเอวได้ เนื่องจากแคลอรี่ และพลังงานน้อยมาก
    • ส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารและอินซูลิน
    • ไม่ถูกหมักในช่องปากโดยเชื้อแบคทีเรีย ลดอัตราการสูญเสียแร่ธาตุของฟัน จึงไม่ทำให้ฟันผุ

    น้ำตาลหญ้าหวาน

    และถึงแม้สารให้ความหวานจะให้แคลอรีต่ำและปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ถ้าบริโภคในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น 

    • กลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ซอร์บิทอล แมนนิทอล เป็นชนิดน้ำตาลที่ไม่สามารถย่อยได้หมด อาจเกิดอาการมวลท้อง ท้องอืด และท้องเสียได้ 
    • สารให้ความหวานเป็นประจำอาจจะทำให้เรารู้สึกติดหวานได้ ทำให้ไม่สามารถควบคุมอาหารการกินได้อย่างเต็มที่
    • ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่เป็นไมเกรน ผู้ป่วยโรคลมชัก และเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี
    • ในงานวิจัยของสมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) พบว่า การทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบสังเคราะห์ เพิ่มความเสี่ยงกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และความจำเสื่อม
    • น้ำตาลเทียมบางชนิด หากบริโภคมากเกินไป อาจพบผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ, คลื่นไส้ วิงเวียน บางชนิดกระตุ้นการเกิดกรดในกระเพาะ เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะได้

    จะเห็นได้ว่า จุดประสงค์หลักของสารให้ความหวาน คือการเป็นหนึ่งในทางเลือกของการดูแลสุขภาพ ช่วยควบคุมพฤติกรรมการทานเท่านั้น ไม่ได้ช่วยรักษาโรคแต่อย่างใด ฉะนั้น หากใครที่ต้องการลดความหวานให้เป็นนิสัย ควรลดบริโภคของหวาน และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาลเทียมในระยะยาวจะดีที่สุด

    ประโยชน์ของหญ้าหวาน

    แล้วแบบนี้ เลือกสารให้ความหวานยังไงดี? 

    ในปัจจุบันมีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ปลอดภัยให้เลือกใช้ในท้องตลาดอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดจะมีข้อดีแตกต่างกันไป เบื้องต้นจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

    • สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน เช่น ฟรุกโทส(น้ำตาลจากผลไม้), มอลทิทอล, ซอร์บิทอล, ไซลิทอล แลน้ำตาลอิริทริทอละ โดยสารให้ความหวานกลุ่มนี้ จะไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน
    • สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน หรือให้พลังงานต่ำ เช่น ซูคราโลส, หญ้าหวาน, แอสปาแตม, อะซิซัลเฟม-เค เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน

    ซึ่งในปัจจุบัน มีน้ำตาลเทียมที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) และกระทรวงสาธารณสุขไทยรับรองให้ใช้ได้อย่างปลอดภัย ดังนี้

    • แอสปาแตม (Aspartame) 

    สารให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200-300 เท่า ให้รสหวานแต่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ และไม่ให้พลังงาน โดยแอสปาแตม จะสลายตัวในอุณหภูมิที่สูง จึงมีคำแนะนำว่าไม่ควรใช้ในอาหารขณะที่กำลังปรุงบนเตา เพราะอุณหภูมิสูงทำให้แอสปาแตมสลายตัว มีผลต่อรสชาติของอาหาร 

    หากเทียบเป็นน้ำอัดลมกระป๋องที่ผสมแอสปาแตมจะสามารถกินได้ไม่ควรเกินวันละ 14 กระป๋อง หรือหากเป็นชนิดซอง ก็ไม่ควรบริโภคเกินวันละ 68 ซอง

    เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่จะไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรียหรือมีภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน 

    • เอซีซัลเฟม โพแทสเซียม (Acesulfame Potassium) 

    หรือที่เรียกว่า Ace-K (ขัณฑสกร อีกประเภท) หวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า รสหวานปนเค็มและฝาดติดลิ้น นิยมผสมกับแอสปาแตมที่ให้แคลอรี่ต่ำ เพื่อเพิ่มรสหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่ม เหมาะสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในขนมหรือใช้ในเชิงอุตสาหกรรมมากกว่าใช้ในครัวเรือน

    น้ำตาลอิริทริทอล
    • สตีเวีย (Stevia) 

    หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ น้ำตาลหญ้าหวาน เป็นสารสกัดจากพืชจากธรรมชาติที่ให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 300 เท่า ปัจจุบันมีการอนุญาตให้ใช้น้ำตาลหญ้าหวานเป็นสารทดแทนน้ำตาลในประเทศต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 30 ประเทศ ทำให้พบได้ในรูปแบบใบสด ใบแห้ง ผง น้ำเชื่อมรวมไปถึงน้ำตาลหญ้าหวาน เป็นต้น  

    ประโยชน์ของหญ้าหวาน แม้จะเป็นสารที่ไม่ให้คุณค่าทางโภชนาการ แต่เหมาะที่จะใช้ควบคุมพฤติกรรมการทาน และเป็นสารให้ความหวานกับอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจ รวมไปถึงเป็นสารให้ความหวาน คีโต นอกจากนี้ยังผลิตจากธรรมชาติ นิยมใช้ในครัวเรือน และถือเป็นน้ำตาลเทียมที่ปลอดภัยเป็นอันดับต้น ๆ

    หากนำไปผสมในน้ำอัดลมสูตรไร้น้ำตาล ไม่ควรบริโภคเกินวันละ 16 กระป๋อง หรือหากเป็นชนิดซอง ก็ไม่ควรบริโภคเกินวันละ 30 ซอง

    • ซูคราโลส (Sucralose)

    เป็นสารให้หวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 600 เท่าของน้ำตาลทราย มีรสชาติดีคล้ายน้ำตาล ไม่มีรสขม ใช้ได้หลากหลาย ทนความร้อนในการหุงต้มและอบ ไม่ทำให้ฟันผุ ใช้ได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเนื่องจากซูคราโลสมีความหวานสูงมาก จึงมีข้อแนะนำให้ใช้ในปริมาณน้อยมาก หากเทียบเป็นน้ำอัดลมกระป๋องสูตรไร้น้ำตาล ไม่ควรบริโภคเกินวันละ 15 กระป๋อง หรือแบบซองได้ไม่เกินวันละ 30 ซอง

    • นีโอแตม (Neotame) 

    คือ สารให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 7,000 เท่า มีโครงสร้างใกล้เคียงกับสารให้ความหวาน แอสปาแตม

    • น้ำตาลแอลกอฮอล์ (Sugar Alcohol) หรือ โพลิไฮดริกแอลกอฮอล์ (Polyhydric alcohol) 

    เช่น ไซลิทอล (Xylitol), ซอร์บิทอล (Sorbitol) , น้ำตาลอิริทริทอล เป็นน้ำตาลเทียมแทนที่พบได้ในพืชผัก ผลไม้หลายชนิด เช่น สตรอเบอร์รี่, ต้นเบิร์ช, องุ่น, พีช, แตงโม ไม่ทำให้ฟันผุ แต่หากบริโภคมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสียได้

    ส่วน ขัณฑสกร นั้น ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้พยายามที่จะออกกฎหมายบังคับห้ามใช้ขัณฑสกรเป็นส่วนผสมของอาหาร และในประเทศไทยนั้นไม่อนุญาตให้ใช้ขัณฑสกรในเครื่องดื่มสำหรับด้านความปลอดภัยของการบริโภค เนื่องจากทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ ดังนั้นผู้บริโภคควรเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือ และพยายามหลีกเลี่ยงขัณฑสกรด้วย

    หรือหากใครที่กังวลว่าน้ำตาลเทียมสังเคราะห์เหล่านี้จะส่งผลต่อร่างกาย อาจเปลี่ยนมาเลือกใช้สารจากธรรมชาติอื่น ๆ ที่ทดแทนกันได้ เช่น น้ำผึ้ง, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำเชื่อมเมเปิ้ล หรือน้ำเชื่อมจากเกสรดอกไม้ ก็ได้เช่นกัน

    สารให้ความหวาน

    ไขข้อข้องใจ! น้ำตาลเทียมใช้ได้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ทานคีโตได้จริงหรือ? 

    แม้น้ำตาลเทียมจะมีข้อดีมากมาย แต่หลายหลายคนก็ยังคงมีข้อสงสัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลเทียมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักแบบคีโต

    ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่า น้ำตาลเทียมถือว่าปลอดภัยสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่มีพลังงาน หรือให้พลังงานต่ำ น้ำตาลเทียมบางชนิดไม่มีคาร์โบไฮเดรต จึงอาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานโดยไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะกับการควบคุมพฤติกรรมการบริโภคพร้อมกับติดตามการรักษาร่วมกับเเพทย์

    หรือผู้ที่ต้องการสารให้ความหวาน คีโต สำหรับผู้ควบคุมน้ำหนัก ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี หากเคร่งครัดอาจจะเลือกน้ำตาลเทียมเเบบไม่มีคาร์โบไฮเดรตหรือมีต่ำมากที่สุด เพื่อให้ร่างกายนำไขมันออกมาเผาพลาญแทน เช่น น้ำตาลหญ้าหวาน หล่อฮังก๊วย ซูคราโลส เป็นต้น

    อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การเลือกใช้สารให้ความหวานเป็นประจำและบริโภคมากจนเกินไป อาจทำให้ลิ้นของเราเสพติดรสหวาน กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากรับประทานอาหารบ่อยยิ่งขึ้น 

    ฉะนั้น สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลือกบริโภคด้วยปริมาณที่เหมาะสม และพยายามบริโภคอาหารที่เป็นรสธรรมชาติของอาหารให้มากที่สุดจะดีกว่า

    ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ

    เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ สำหรับใครที่อยากได้ตัวช่วยดูแลเรื่องสุขภาพที่นอกเหนือจากการเลือกใช้สารให้ความหวาน ต้องนี่เลย ที่ แรบบิท แคร์ เราเป็นโบรกเกอร์ประกันภัย ที่มีทั้ง ประกันสุขภาพ IPD – OPD  ประกันสุขภาพเด็ก ประกันโรคร้ายแรง ไว้ให้คุณได้อุ่นใจไม่ว่าจะเจ็บป่วยเรื่องไหนก็หายห่วง พร้อมเบี้ยประกันที่จับต้องได้ คลิกเลย! 


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024